หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ด่วน! พบแล้วสาเหตุ นาซ่า เลิกใช้สนามบินอู่ตะเภา ปชป. ไม่ควรพลาด !

ด่วน! พบแล้วสาเหตุ นาซ่า เลิกใช้สนามบินอู่ตะเภา ปชป. ไม่ควรพลาด !

 

พบแล้วสาเหตุ นาซ่า เลิกใช้สนามบินอู่ตะเภา



 

เชิญร่วมกลุ่มศึกษา "ปรองดองกับหลักการทำงานแนวร่วมในมุมมองมาร์คซิสต์"

เชิญร่วมกลุ่มศึกษา "ปรองดองกับหลักการทำงานแนวร่วมในมุมมองมาร์คซิสต์"

 

 

เชิญร่วมกลุ่มศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมืองมาร์คซิสต์

หัวข้อ "ปรองดองกับหลักการทำงานแนวร่วมในมุมมองมาร์คซิสต์"

นำเสนอโดย วิภา ดาวมณี

วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม 55 เวลา 14.00-16.00 น.
ณ สำนักงาน TLC ซ.ลาดพร้าว 64 แยก 5(ไมมีที่จอดรถ)

สนใจร่วมวงโทรสำรองที่นั่งล่วงหน้าได้ที่เบอร์  085 044 1778

(ที่มา)http://turnleftthai.blogspot.dk/2012/06/blog-post_29.html?spref=fb 

ย้อนรอย Intelligence 80 ปี ปฏิวัติประชาธิปไตย

ย้อนรอย Intelligence 80 ปี ปฏิวัติประชาธิปไตย

 

 

 

80 ปี ปฏิวัติประชาธิปไตย "เงื่อนไขปฏิวัติสุกงอม"

http://shows.voicetv.co.th/intelligence/42038.html

 

80 ปี ปฏิวัติประชาธิปไตย 'บทเรียนจากคณะราษฎร'

http://shows.voicetv.co.th/intelligence/42491.html

 

80 ปี ปฏิวัติประชาธิปไตย ''ประวัติศาสตร์ที่ถูกทำให้ลืม''


http://shows.voicetv.co.th/intelligence/42671.html

และสุดท้าย ในวันเสาร์ 30 มิ.ย 2555
80 ปี ปฏิวัติประชาธิปไตย "ปฐมบทรัฐธรรมนูญ"

http://shows.voicetv.co.th/intelligence/43170.html

เจาะข่าวตื้น 62 : สอดแหนมนาซา

เจาะข่าวตื้น 62 : สอดแหนมนาซา

 

เจาะข่าวตื้น 56 : เจาะรถไฟไทย

ขอต้อนรับเข้าสู่เจาะข่าวตื้นประจำวันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน 2555


(คลิกฟัง)
http://www.youtube.com/watch?v=-nFb-kru6lQ&feature=player_embedded

เด็กสวนนันฯ ย้ำ ไม่เอา ม.นอกระบบ

เด็กสวนนันฯ ย้ำ ไม่เอา ม.นอกระบบ




นศ.มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา คัดค้านการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ระบุการดำเนินการขาดความโปร่งใส ไม่เป็นธรรม รวมทั้งขาดการมีส่วนร่วมของประชาคมสวนสุนันทา


เมื่อวันที่ 27 มิ.ย. เวลาประมาณ 13.00 น. สภานักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา พร้อมด้วยนักศึกษากว่า 300 คน รวมตัวกันบริเวณหน้าตึก 31 อาคารที่ใช้เป็นห้องประชุม เพื่อคัดค้านการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบด้วยเหตุผลที่ว่า "การดำเนินการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบที่เกิดขึ้นขาดความโปร่งใสและเป็นธรรม รวมทั้งขาดการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงของประชาคมสวนสุนันทา" 

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/06/41330

โลกร้องรัฐบาลไทย 'ร่วม' ภาคีศาลอาญาระหว่างประเทศ

โลกร้องรัฐบาลไทย 'ร่วม' ภาคีศาลอาญาระหว่างประเทศ

 

โลกร้องรัฐบาลไทย 'ร่วม' ภาคีศาลอาญาระหว่างประเทศ

http://www.iccnow.org/

 
รายงานข่าวจากเว็บไซต์ประชาไท เผย คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย (Asian Human Rights Commission: AHRC) ได้เผยแพร่แถลงการณ์ร่วมโดย องค์กรเครือข่ายเพื่อศาลอาญาระหว่างประเทศ (Coalition for the International Criminal Court - CICC) เรียกร้องให้รัฐบาลไทยแสดงเจตจำนงที่จะร่วมกับประชาคมโลกในการต่อสู้ ต่อต้านระบบ “ลบล้างความผิด” (Impunity) ด้วยการให้สัตยาบันต่อธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court – ICC) ซึ่งเป็นศาลอาญาถาวรระหว่างประเทศแห่งแรก และแห่งเดียวของโลก ที่มุ่งจัดการกับคดีที่มีลักษณะเป็นอาชญากรรมสงคราม อาชญากรรมต่อต้านมนุษยชาติ และการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
 
ประเทศไทย เป็นประเทศเป้าหมายหลักของการรณรงค์ระดับโลก เพื่อการให้สัตยาบันต่อธรรมนูญกรุงโรม ในเดือนตุลาคม 2554 การรณรงค์ดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ที่จะเรียกร้องให้ประเทศภาคีสมาชิกของสห ประชาชาติให้สัตยาบันต่อธรรมนูญกรุงโรม ซึ่งถือเป็นอนุสัญญาสาคัญที่เป็นพื้นฐานแห่งการจัดตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศ ขึ้น
 
หนังสือลงวันที่ 3 ตุลาคม 2554 ที่องค์กรเครือข่ายระหว่างประเทศ ซึ่งมีสมาชิกหลากหลายมากมายกว่า 2500 องค์กร/ หน่วยงาน จาก 150 ประเทศทั่วโลก มีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้เกิดศาลอาญาระหว่างประเทศ ที่มีความเที่ยงธรรม มีประสิทธิภาพ และมีความเป็นอิสระ ส่งถึง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เรียกร้องให้รัฐบาลไทยได้ดำเนินการให้เกิดความคืบหน้าสู่การให้สัตยาบันต่อ ธรรมนูญกรุงโรม ว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศในเร็ววัน 
 
ปัจจุบัน 118 รัฐภาคีทั่วโลก ได้เข้าร่วมกับภาคีธรรมนูญกรุงโรม ว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศแล้ว และล่าสุดประเทศมัลดริฟส์ได้เข้าร่วมเป็นภาคีสนธิสัญญาฉบับนี้ ในรอบสองปีที่ผ่านมา ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเซียได้เริ่มเข้ามีส่วนร่วมในศาลอาญาระหว่างประเทศมากยิ่งขึ้น อาทิ เช่น บังกลาเทศให้สัตยาบันเมื่อเดือนมีนาคม 2553 ฟิลิปปินส์ให้สัตยาบันเมื่อเดือนสิงหาคม 2554 และตามด้วยมัลดริฟส์ เมื่อเดือนกันยายน ที่ผ่านมา ภูมิภาคเอเซียยังคงเป็นภูมิภาคที่ด้อยจานวนภาคีสมาชิกในศาลอาญาระหว่าง ประเทศอยู่มากเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ กล่าวคือ มีเพียง 9 รัฐภาคีเท่านั้น ในปัจจุบัน 
 
การให้สัตยาบันต่อธรรมนูญกรุงโรมแห่งศาลอาญาระหว่างประเทศของรัฐบาลไทย จะเป็นแบบอย่างที่ดียิ่งสำหรับประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียน “ประเทศไทยอยู่ในฐานะที่มีบทบาทโดดเด่นในภูมิภาคเอเซีย และบทบาทนำในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในภูมิภาค” Evelyn Balais Serrano ผู้ประสานงานภูมิภาคเอเซียแปซิฟิกขององค์กรเครือข่ายเพื่อศาลอาญาระหว่าง ประเทศระบุ
 
“ภายใต้รัฐบาลใหม่ ถือได้ว่านี่เป็นโอกาสอันสาคัญยิ่งที่ประเทศไทยจะพิจารณาให้สัตยาบันเข้า เป็นภาคีธรรมนูญกรุงโรมแห่งศาลอาญาระหว่างประเทศอย่างจริงจัง และนี่จะเป็นความพยายามในการกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศและประเทศเพื่อน บ้าน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลในการหยุดยั้ง และขจัด ‘การลบล้างความผิด’ (Impunity) และดำเนินการให้เกิดความยุติธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเหยื่อผู้ถูกล่วงละเมิดท่ามกลางความขัดแย้งในอดีต ทั้งนี้ให้เป็นไปบนหลักการพื้นฐาน เป้าหมาย และเจตนารมย์แห่งธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ” 
 
องค์กรเครือข่ายเพื่อศาลอาญาระหว่างประเทศ (CICC) ยังได้เรียกร้องให้รัฐบาลไทยได้มีส่วนร่วมในการประชุม ณ กรุงโรม และมีการดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อเข้าสู่กระบวนการให้สัตยาบัน และขณะเดียวกันก็ตระหนักว่าข้อท้าทายทางกฎหมายต่าง ๆ ซึ่งเกิดเป็นประเด็นคำถามขึ้น อันสืบเนื่องมาจากความ (ไม่) สอดคล้องกันระหว่างธรรมนูญศาล กับกฎหมายภายในประเทศ องค์กรเครือข่ายเพื่อศาลอาญาระหว่างประเทศ (CICC) เรียกร้องให้รัฐไทยได้ศึกษาบทเรียนการแก้ปัญหา หรือคลี่คลายความกังวลจากรัฐภาคีอื่นๆ ซึ่งประสบผลสำเร็จในการฝ่าข้ามความกังวลเหล่านั้นมาแล้วด้วยดี รัฐบาลใหม่ต้องแสดงจุดยืน และความมุ่งมั่นในการส่งเสริม ปกป้อง และคุ้มครองสิทธิมนุษยชน 
 
“ภายใต้การปฏิรูประบบ กลไก และนโยบายหลักโดยรัฐบาล ผู้บริหารชุดใหม่พึงจะได้รับประโยชน์จากการเข้าเป็นภาคีธรรมนูญกรุงโรมด้วย ทั้งนี้จะเป็นการแสดงให้เป็นที่ปรากฎว่า ประชาชนไทยมีความห่วงใยและเห็นอกเห็นใจ รู้สึกในความสมานฉันท์กับผู้เจ็บปวด ผู้สูญเสีย และเหยื่อของความขัดแย้งในภูมิภาคเอเซีย และประเทศทั่วโลก” นายแพทย์แท้จริง ศิริพานิช กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และผู้นำสำคัญในคณะทำงานไทยว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศกล่าว 
 
เมื่อเข้าเป็นภาคีแล้ว รัฐบาลไทยจะสามารถเข้ามีส่วนร่วมในการประชุมประจำปีของรัฐภาคีของศาลอาญา ระหว่างประเทศ ในฐานะสมาชิก และเข้าร่วมประชุมเพื่อร่วมพิจารณาในประเด็นปัญหาสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการ บริหารจัดการภารกิจศาล ตลอดจนการสรรหา/เลือกตั้งผู้พิพากษา หัวหน้าอัยการศาล และเจ้าหน้าที่ตาแหน่งสาคัญอื่น ๆ 
 
ข้อมูลพื้นฐาน 
ศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC) (ซึ่งแตกต่างจากศาลโลก หรือ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ - บรรณาธิการแปล) เป็นศาลถาวรระดับนานาชาติที่มีบทบาทอานาจในการพิจารณาพิพากษาคดีอาชญากรรม สงคราม อาชญากรรมต่อต้านมนุษยชาติ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ โดยที่อำนาจหน้าที่ของศาลจะยืนบนหลักการ “เสริมแรง” (Complimentarity) คือ มีอำนาจเสริมกับระบบศาลระดับประเทศ ไม่แทรกแซงหรือก้าวก่ายอำนาจศาลในประเทศนั้น ๆ ทั้งนี้ศาลอาญาระหว่างประเทศ จะมีอำนาจในการตรวจสอบต่อเมื่อระบบศาลในประเทศนั้นไม่ “ใส่ใจ” หรือ “ไม่มีความสามารถ” ที่จะพิจารณารับคำฟ้องดังกล่าว อันมีลักษณะที่จะต้องดาเนินการให้ผู้บงการให้เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ อาชญากรรมต่อต้านมนุษยชาติ และอาชญากรรมสงคราม ได้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม 
 
จนถึงปัจจุบัน อัยการศาลกำลังไต่สวนอยู่ 6 คดี ก่อนนำขึ้นสู่การพิจารณาคดีในชั้นศาล ได้แก่ คดีประเทศแอฟริกากลาง คดีสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก คดีดาร์ฟูร์ ประเทศซูดาน คดีอูกันดา คดีเคนยา และคดีลิเบีย 
 
ศาลได้ออกหมายจับ 18 ฉบับ หมายเรียก 9 ฉบับ มีคดี 3 คดีอยู่ระหว่างการพิจารณา นอกจากนี้ อัยการศาลยังขออนุมัติอำนาจจากศาลเมื่อเร็วๆ นี้ ให้เปิดการไต่สวนกรณีไอวอรี่ โคสต์ อัยการศาลยังระบุว่า เขากาลังพิจารณา 8 กรณี จาก 4 ภูมิภาค อันได้แก่ แอฟกานิสถาน โคลอมเบีย จอร์เจีย กีนี ฮอนดูรัส เกาหลีใต้ ไนขีเรีย และปาเลสไตน์ 
 
องค์กรเครือข่ายเพื่อศาลอาญาระหว่างประเทศ เป็นเครือข่ายระดับโลกขององค์กรภาคประชาสังคม ใน 150 ประเทศ ที่ทำงานร่วมกันในการสร้างเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศกับศาลอาญาระหว่าง ประเทศ เพื่อให้มีหลักประกันว่า ศาลจะมีความเที่ยงธรรม มีประสิทธิภาพ และเป็นอิสระ ดำเนินการเพื่อให้เกิดความยุติธรรมอย่างชัดแจ้ง และมีความเป็นสากล นอกจากนี้ ยังรวมถึงการช่วยพัฒนากฎหมายในระดับประเทศให้สามารถอำนวยความเป็นธรรมแก่ เหยื่อจากอาชญากรรมสงคราม อาชญากรรมต่อต้านมนุษยชาติ และการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ 
 
(ที่มา)  
http://news.voicetv.co.th/global/19877.html

hot topic บทบาทศาลรัฐธรรมนูญกับการเมือง 29 6 2012

hot topic บทบาทศาลรัฐธรรมนูญกับการเมือง 29 6 2012






(คลิกฟัง)
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=6T50vBvcSXo 

เปิดรายงาน “โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม”

เปิดรายงาน “โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม”

 



โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ยื่นคำร้องผ่านอัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ ยกประเด็นขอบเขตอำนาจทางพื้นที่ เนื่องจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีสัญชาติอังกฤษโดยกำเนิด 
 
อาจารย์ปิยบุตร แสงกนกกุล นักวิชาการจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อธิบายระบบศาลอาญาระหว่างประเทศ หรือ ICC  ว่า  เป็นศาลที่ผู้รับผิดทางอาญาเป็นบุคคลธรรมดา   เป็นศาลเสริม เข้าไปไต่สวนในกรณีที่กระบวนการยุติธรรมในประเทศภาคีสมาชิกไม่สามารถดำเนิน การได้   ขณะนี้มีประเทศภาคีสมาชิกที่ให้สัตยาบรรณแล้ว 114  ประเทศ มี 54  ประเทศที่ลงนามในสนธิสัญญากรุงโรม แต่ยังไม่ได้ให้สัตยาบรรณ รวมทั้งประเทศไทย

ขอบเขตอำนาจของศาลอาญาระหว่างประเทศ แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ เขตอำนาจทางเวลา เขตอำนาจทางเนื้อหา และเขตอำนาจทางพื้นที่หรือบุคคล  ศาลอาญาระหว่างประเทศ ดำเนินคดี 4 ฐานความผิด คือ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์  อาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ อาชญากรรมสงคราม และการรุกราน

การยื่นฟ้องต่อศาลอาญาระหว่างประเทศกระทำได้ผ่าน 2 องค์กร คือ รัฐภาคี และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ แต่นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ยื่นคำร้องผ่านอัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ ให้เปิดการไต่สวนด้วยตนเอง โดยยกประเด็นขอบเขตอำนาจทางพื้นที่ เนื่องจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีสัญชาติอังกฤษโดยกำเนิด  เนื่องจากอังกฤษเป็นรัฐภาคีของศาลอาญาระหว่างประเทศ
อาจารย์ปิยบุตร สำรวจสถิติคำร้องที่องค์กรต่าง ๆ ยื่นต่อ อัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ ในรอบ 8 ปี นับแต่การก่อตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศเมื่อปี 2002 พบว่า มีการยื่นคำร้องถึง 3,000 กว่าคำร้อง  แต่ที่มีการเปิดการไต่สวนมีเพียง  20 %  เท่านั้น

อาจารย์ปิยบุตร แบ่งเนื้อหารายงาน 250 หน้า ของโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ทนายความของกลุ่มคนเสื้อแดง ที่ยื่นต่ออัยการศาลอาญาระหว่างประเทศเป็น 3 ส่วน  คือ   ความเป็นมาของคนเสื้อแดง  การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการสังหารหมู่ และขอบเขตอำนาจของศาลอาญาระหว่างประเทศ

 
(คลิกฟัง)
http://shows.voicetv.co.th/intelligence/3881.html

"ซ้อมทรมานแบบไทยๆ" เปิดปมปัญหา-หลากข้อเสนอรูปธรรม

"ซ้อมทรมานแบบไทยๆ" เปิดปมปัญหา-หลากข้อเสนอรูปธรรม

 

ญาติเหยื่อทหารเกณฑ์ตายคาแข้งครูฝึก เล่าประสบการณ์เรียกร้องความเป็นธรรมที่ยังมาไม่ถึง ทนายความสิทธิฯ เผย 3 คดีเหนือ-อีสาน-ใต้ โชว์ความบกพร่องกฎหมายพิเศษ องค์กรสิทธิเสนอร่าง กม.ตั้งคณะกรรมการสอบสวนการซ้อมทรมาน ขณะศาลเตือนตั้งองค์กรใหม่ไม่เวิร์ค-เปลืองงบประมาณ

ในการเสวนาสาธารณะ เรื่อง การเข้าถึงความยุติธรรมและการเยียวยาเหยื่อซ้อมทรมาน ซึ่งจัดโดยคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย เมื่อวันที่ 26 มิ.ย. เนื่องในวันต่อต้านการซ้อมทรมานสากล พรเพ็ญ คงเจริญเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม ผู้ดำเนินรายการ กล่าวนำการอภิปรายว่า ปัจจุบันประเทศไทยเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน ซึ่งให้นิยามคำว่า "การทรมาน" ไว้ว่าคือการทำให้เกิดความเจ็บปวดทุกข์ทรมาน ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งเกิดขึ้นจากการกระทำที่เป็นเจตนา โดยมุ่งหมายต่อข้อสนเทศ คือ การรับสารภาพ หรือข้อมูลข่าวสาร ที่อาจจะเป็นประโยชน์กับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ แต่หากผู้ที่กระทำการดังกล่าวไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐ จะไม่ใช่การทรมานตามความหมายนี้ อย่างไรก็ตาม มีข้อยกเว้นว่าการทรมานกระทำได้ ถ้าเป็นการลงโทษที่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งประเทศไทยเป็นเพียงไม่กี่ประเทศที่ยังมีโทษประหารชีวิต ซึ่งก็เป็นที่วิจารณ์กันในวงการสิทธิมนุษยชนว่า อาจเข้าข่ายการทรมาน หรือเป็นการปฏิบัติโดยไร้มนุษยธรรมด้วย

ญาติเหยื่อบอกเล่าความยุติธรรมที่ยังมาไม่ถึง

ด้าน นริศราวัลณ์ แก้วนพรัตน์ นักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 คณะสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เล่าถึงการเรียกร้องความเป็นธรรมในพลทหารวิเชียร เผือกสม น้าชาย ซึ่งเป็นทหารเกณฑ์ในพื้นที่สามจังหวัดและถูกครูฝึกรุมทำร้ายจนเสียชีวิต โดยได้ร้องเรียนมาตั้งแต่หลังจากผู้ตายเสียชีวิตเมื่อวันที่ 5 มิ.ย.54 จนปัจจุบันนี้ก็ยังไม่ได้รับความเป็นธรรม



(อ่านนต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/06/41323

วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555

Divas Cafe

Divas Cafe

 

แดงโห่ ปชป เฮ นักวิชาการซัด กระแสตีกลับเพื่อไทย Divas Cafe 13มิย55
http://youtu.be/vTCbQdANN1k

 

ปชต อันเบาบางในหนังไทย สื่อตัวการสร้างพฤติกรรมเลียนแบบ Divas Cafe 29มิย55


(คลิกฟัง)
http://www.youtube.com/watch?v=wmPhJx1siqg

The Daily Dose

The Daily Dose 


The Daily Dose 29มิย55


(คลิกฟัง)
http://www.youtube.com/watch?v=fY_OZAuu1pY&feature=player_embedded

Wake Up Thailand 29มิย55

Wake Up Thailand 29มิย55

 

 

Wake Up Thailand 29มิย55

(คลิกฟัง)http://www.youtube.com/watch?v=enEq26s46PA&feature=plcp

คำถามถึงรัฐบาลเพื่อไทย ทำไมไม่ช่วยนักโทษ 112

คำถามถึงรัฐบาลเพื่อไทย ทำไมไม่ช่วยนักโทษ  112

   
    Photo: อากงคงไม่ใช่เหยื่อ 112 คนสุดท้าย แต่เป็นฟางเส้นใกล้ ๆ สุดท้าย ทีจะทำให้อูฐหลังหักได้
โดย ลูกชาวนาไทย เมื่อวันพุธ ที่ 09 พฤษภาคม 2012

เรื่องของอากง เป็นเรื่องของสิทธิมนุษยชน และศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ที่ถูกละเมิดโดยกฎหมายที่โหดอำมหิต ไร้ความปรานี รวมทั้งระบบยุติธรรม ที่มุ่งกดหัวประชาชนให้หวาดกลัวหรือแก้แค้น ไม่ใช่ระบบยุติธรรมที่มุ่งลงโทษให้คนพอแต่หลาบจำ

... ระบบยุติธรรมแบบนี้ มันจะทำลายตัวของมันเองไปเรื่อยๆ

พวกเขาชะล่าใจไม่แคร์ใครทั้งสิ้น เพราะคิดว่าข้าเป็นศาลยิ่งใหญ่ ไม่มีใครทำอะไรได้

พวกเขาคงคิดว่า "ขังมันไว้สักครู่" เพื่อขู่พวกที่เหลือ อีกสักปีสองปีค่อยอภัยโทษ

ไม่นึกว่า "อากง" จะด่วนตายอย่างรวดเร็ว จนพวกเขาตั้งตัวไม่ทัน กลายเป็นบูมเมอแรงมหึมา เหวี่ยงกลับมาอย่างรวดเร็ว

เรื่องอากง มันท้าทายมโนธรรมอย่างยิ่ง ใครได้ยินข่าวอากงตาย ใจไม่สะเทือน คนนั้นก็ไม่ใช่มนุษย์ปุถุชนปกติแล้ว แต่จิตใจหยาบกระด้าง ไร้ซึ่งความปรานี

การไม่ยอมให้ประกันตัวหลายครั้งของศาล อ้างว่ากลัวหลบหนี ทั้งๆ ที่กรณี สนธิ ลิ้มทองกุล หรือ แม้แต่นักค้ายาเสพติด ก็ยอมให้ประกันตัว แต่ชายแก่เป็นโรคมะเร็ง ฐานะไม่ได้ร่ำรวยอะไรเลย จะหลบหนีไปอยู่ประเทศไหนกัน เขาจะอยู่คนเดียวได้หรือ ห่างจากสังคมที่เขารู้จัก

เป็นข้ออ้างของศาลที่ฟังไม่ขึ้น แต่ต้องการใช้อำนาจเพื่อ "กดขี่" พวกที่เห็นแตกต่างให้สยบยอม

ความตายของอากง จึงเป็นเหมือนสายฟ้าที่ฟาดใส่ พวกเขาอย่างรุนแรง เผยให้เห็นความ อำมหิต ไร้คุณธรรม จริยธรรมของพวกเขาเอง

ต่อไป พวกเขาอ้างธรรมะ คนส่วนใหญ่ก็คงหัวเราะในใจว่า พวกนี้เป็น "สมี" เหมือนพระที่ปาราชิก เพราะอ้างคุณธรรมที่ไม่มีในตน หรืออวดตริมนุษธรรม นั่นเอง

ไม่มีความกรุณาปรานี ไม่มีจิตใจที่มีเมตตา จะให้คนทั้งหลายรักพวกเขาไปได้อย่างไร
โลกยุคนี้ ไม่ใช่จะโปรประกันดา แต่ข้างเดียวได้เหมือนยุคก่อนๆ เพราะข่าวสารไม่ได้ถูกผูกขาดอีกแล้ว

เจตนาทำอะไร เจตนาอย่างไร มีหรือประชาชนจะโง่ มองไม่ออก

อากง อาจไม่ถึงกับเป็นฟางเส้นสุดท้าย แต่มันก็ใกล้จะถึงเส้นสุดท้ายแล้ว

อูฐคงได้หลังหักเข้าสักวันแน่นอน
ทุกวันนี้ ผมก็รู้สึกว่า บ่าของผมจะแบกไม่ไหวแล้ว
 
ในการเปิดสภาสมัยหน้า คงเป็นการพิสูจน์ความจริงใจของรัฐบาลที่พวกเราเลือก เราสนับสนุน กันอีกครั้งหนึ่ง ว่าเขามีใจจะช่วยเอาเพื่อนนักโทษการเมืองของเราในคุกออกมาหรือไม่ ทางกฎหมาย ทางทฤษฎี ทางหลักการ "ทำได้แน่ๆ"
 
โดย Nithiwat Wannasiri
ที่มา www.facebook.com

 
ผมตั้งประเด็นอย่างนี้ ...เรื่องการช่วยเหลือนักโทษการเมืองคดี 112

รัฐบาลมีเหตุผลอะไรที่จะไม่ยอมออก พรบ.นิรโทษกรรม ให้พวกเขาเหล่านั้นที่เป็นนักโทษทางการเมืองอย่างเร่งด่วน

คำ ถามมีอยู่ว่า ถ้ารัฐบาลจะเสนอ พรบ.นิรโทษกรรม ผู้ชุมนุมทางการเมืองและนักโทษทางความคิด คดี 112 โดยยังไม่รวมการนิรโทษกรรมคุณทักษิณหรือแกนนำในฝ่ายและสีต่างๆ
รัฐบาลจะโดนทหารล้มด้วยการรัฐประหารหรือ ?
รัฐบาลจะโดนยุบพรรคหรือ ?
เสื้อเหลืองจะออกมาไล่รัฐบาลอย่างจริงจังด้วยประเด็นเล็กๆ แบบนี้หรือ?


พรบ.นิรโทษกรรม ออกได้ทันทีโดยเสียงส่วนใหญ่ของรัฐบาล "อำนาจตุลาการ" ไม่เกี่ยวแล้วไม่ใช่หรือ ถ้าเรายืนยันว่าฝ่าย "นิติบัญญัติ" มีอำนาจเท่าเทียมกัน ?

ตามหลักแล้ว "สามารถทำได้เลย" โดยแทบไม่มีความเสี่ยงใดๆ ต่อการถูกล้ม (โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับการเอาคุณทักษิณกลับบ้านและการผลักดัน พรบ.ปรองดอง)

คำถามคือ อีกไม่กี่เดือนข้างหน้า รัฐบาลนี้จะมีอายุครบปีแล้ว ถ้าไม่รีบช่วยพี่น้องเราที่อยู่ในคุกตอนนี้ออกมาโดยเร็วที่สุด

...จะต้องรอให้พี่น้องเราที่ออกมาเป็นแนวหน้าในการต่อสู้ ต้องติดคุกไปจนครบวาระของรัฐบาลเพื่อไทยเลยหรืออย่างไร ?

ส่วน หนึ่งคนเสื้อแดงที่กาเลือกพรรคเพื่อไทยเข้าไปทำหน้าที่ เพื่อช่วยเหลือพี่น้องเราที่ถูกฝ่ายตรงข้ามเล่นงานทางการเมืองออกจากคุก ใช่หรือไม่ หากไม่ใช่ ก็แสดงออกกันมาให้ชัดๆ...


หลังๆ มานี้เห็นคนออกมาดีเฟนด์รัฐบาลจนโอเว่อร์ว่าทำนู่นก็ไม่ได้ ทำนี่ก็ไม่ได้ ทั้งๆ ที่จริง "เรื่องที่เสี่ยงกว่าช่วยนักโทษการเมือง ก็เร่งทำเร่งผลักดันกันไปหลายเรื่องแล้ว"

บาง คนก็บอกตัวเองมีคดี มีข้อหา รัฐบาลไม่เห็นช่วยอะไร แต่ก็ไม่เคยแหกปากโวยวายให้ใครช่วย ...ก็พูดได้นะครับ ก็พวกคุณไม่ได้ติดคุกมาสองปีเหมือนคนข้างในนั้นนี่นา!

ในการเปิดสภา สมัยหน้า คงเป็นการพิสูจน์ความจริงใจของรัฐบาลที่พวกเราเลือก เราสนับสนุน กันอีกครั้งหนึ่ง ว่าเขามีใจจะช่วยเอาเพื่อนนักโทษการเมืองของเราในคุกออกมาหรือไม่ ทางกฎหมาย ทางทฤษฎี ทางหลักการ "ทำได้แน่ๆ" ง่าย และไม่เสี่ยงถูกใครมาล้ม มากกว่าการพาคุณทักษิณกลับบ้านไม่รู้กี่เท่า แรงต้านน้อยกว่าไม่รู้กี่ขุม แถมจะได้ใจประชาชนคนเสื้อแดงมากกว่าเดิมเสียอีก

ต้องฝากเรียนรัฐบาลอย่างซีเรียสว่า เร่งทำเถิดครับ ก่อนจะเกิดศึกครั้งใหม่ แล้วเพื่อเราจะหมดโอกาสได้มีอิสรภาพอีก...


ปล.นี่ คือคำวิพากษ์ของผม เป็นเพียงแค่มุมมองหนึ่งของคนที่ติดตามคดีการเมือง 112 ต่อรัฐบาลที่ผมเลือก ดังที่ผมประกาศไว้ก่อนหน้านี้ว่า "ผมจะปกป้องรัฐบาลที่ผมเลือก ด้วยคำวิจารณ์ที่ตรงไปตรงมา" นะครับ หวังว่าคงมีใครสักคนได้ยิน เพราะคนในคุกเขาตะโกนหาความช่วยเหลือกันมา 2 ปีแล้ว เสียงคงยังไปไม่ถึงผู้มีอำนาจ!

(อ่าต่อ)http://turnleftthai.blogspot.dk/

เผด็จการรื้อมรดกปฏิวัติ 2475

เผด็จการรื้อมรดกปฏิวัติ 2475

 

โดยเกษียร เตชะพีระ

 

วันชาติ = 24 มิถุนายนแปลว่าอะไร?

* ชาติไทย = ชาติแห่งการปฏิวัติ+ชาติแห่งระบอบรัฐธรรมนูญ+ชาติแห่งประชาธิปไตย

* รักชาติ = รักการปฏิวัติ+รักระบอบรัฐธรรมนูญ+รักประชาธิปไตย

* 24 มิถุนาฯ = Political Valentine Day แห่งชาติ ที่ชาวไทยทุกคนมาแสดงความรัก หวนรำลึกถึงวันพบรัก ครบรอบสมรสสมรักกับ [การปฏิวัติ+ระบอบรัฐธรรมนูญ+ประชาธิปไตย]

สฤษดิ์ยกเลิกวันชาติ

* 18 กรกฎาคม พ.ศ.2481

รัฐบาลนายกฯพระยาพหลพลพยุหเสนา ของคณะราษฎรกำหนด 24 มิถุนายน เป็นวันชาติ

= ระบอบสัมบูรณาญาสิทธิ์ -> ระบอบรัฐธรรมนูญ

* 21 พฤษภาคม พ.ศ.2503


รัฐบาลนายกฯจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ของคณะปฏิวัติยกเลิกวันชาติ 24 มิถุนายนเสีย

แล้วให้ถือเอาวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทยสืบไปแทน

= ระบอบรัฐธรรมนูญ -> ระบอบสัมบูรณาญาสิทธิ์ (ของทหาร)

สฤษดิ์สั่งรื้อหมุดเปลี่ยนแปลงการปกครอง

* จอมพลสฤษดิ์ยังสั่งรื้อหมุด 24 มิถุนายน สัญลักษณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองของชาติไทยที่ลานพระบรมรูปทรงม้า ซ้ายมือพระบรมรูป ซึ่งมีข้อความว่า: - 

"24 มิถุนายน 2475 เวลาย่ำรุ่ง ณ ที่นี้ คณะราษฎรได้กำเนิดรัฐธรรมนูญเพื่อเป็นความเจริญของชาติ" 

* เคราะห์ดี ประเสริฐ ปัทมสุคนธ์ เลขาธิการรัฐสภา เห็นความสำคัญของหมุด เกรงจะถูกทำลายทิ้ง จึงใช้สิทธิเอาหมุดมาเก็บไว้ที่สภา

* หลังสฤษดิ์ตาย ประเสริฐจึงให้ กทม.เอาหมุดประวัติศาสตร์มาประดิษฐานดังเดิม

แต่แล้วเมื่อสฤษดิ์สิ้นชีวิต ปรากฏว่า .....

* เมื่อยึดอำนาจ 20 ต.ค. 2501 จอมพลสฤษดิ์มีทรัพย์สินส่วนตัวและเงินสดรวม 10 ล้านบาท


* เมื่อถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคตับแข็ง 8 ธ.ค. 2506 เขามีทรัพย์สินรวม 2,874 ล้านบาท (ตามยอดที่ทนายความคดีแบ่งทรัพย์สินมรดกจอมพลสฤษดิ์ ชมภู อรรถจินดา ยื่นต่อศาล) 

* นั่นแปลว่าในช่วง 5 ปีเศษที่ครองอำนาจ จอมพลสฤษดิ์มีรายได้เฉลี่ย 

= 2,864 ล้านบาท/1,875 วัน 

= 1.5 ล้านบาท/วัน!

* 20 พ.ย. 2507 นายกรัฐมนตรีจอมพลถนอม กิตติขจร ใช้อำนาจมาตรา 17 ยึดทรัพย์จอมพลสฤษดิ์เป็นของแผ่นดินรวม 604,551,276.62 บาท

* ต่อมา หลัง 14 ต.ค. 2516 นายกรัฐมนตรีสัญญา ธรรมศักดิ์ ก็ใช้อำนาจมาตรา 17 สั่งยึดทรัพย์จอมพลถนอม, จอมพลประภาส จารุเสถียร, พ.อ.ณรงค์และภริยาเช่นกัน

 

(ที่มา)http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1340981466&grpid=&catid=02&subcatid=0200

เจาะใจ"จตุพร" เสียผมไปคนหนึ่งเพื่อให้เกิดพลังมวลชนเป็นล้านๆ ขึ้นมาต่อสู้

เจาะใจ"จตุพร" เสียผมไปคนหนึ่งเพื่อให้เกิดพลังมวลชนเป็นล้านๆ ขึ้นมาต่อสู้ 

 

 

หากเทียบกับแกนนำเสื้อแดงคนอื่นๆ ต้องถือว่าเส้นทางของ นายจตุพร พรหมพันธุ์ เต็มไปด้วยอุปสรรค ขวากหนาม


วันนี้แกนนำนปช.หลายคนมีตำแหน่งหน้าที่ในรัฐบาล เพื่อนสนิทอย่าง นาย ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ขึ้นชั้นเป็นเสนาบดีในตำแหน่ง รมช.เกษตรฯ

ขณะที่นายจตุพรมีชื่อติดโผรัฐมนตรีครั้งแล้วครั้งเล่า แต่ยังไม่เป็นจริงเลย สักครั้ง

ระหว่างลุ้นเสียบ ครม.′ปู 3′ ศาลรัฐ ธรรมนูญก็มีมติให้สิ้นสมาชิกภาพ ส.ส.

ล่าสุด สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญยังยื่นถอนประกันนายจตุพรต่อศาลอาญาอีก

นายจตุพรจะยืนหยัดต่อสู้กับมรสุมที่กระหน่ำซัดอย่างไร ?

จากสถานการณ์ตอนนี้เจอมรสุมรอบด้าน


หลังจากสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญยื่นถอนประกันผมในคดีก่อการร้าย ทำให้รู้ว่าตัวเองกลายเป็นเป้าสำคัญที่ต้องถูกกำจัด

ย้อนไปตั้งแต่ถูกคุมขังในเรือนจำ ตามมาด้วยกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้พ้นสภาพการเป็นส.ส.ตามคำร้องที่กกต.ส่งเรื่องให้ศาลฯ วินิจฉัย เนื่องจากผมไม่ได้ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งในวันที่ 3 ก.ค. 2554

จนมาถึงวันที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญยื่นถอนประกันทำให้รู้ว่าชีวิตของผมถูกล็อกเป้ามาโดยตลอด

ที่ทำให้แปลกใจคือผมเพิ่งรู้ว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 9 คน แจ้งความดำเนินคดีกับผมในข้อหาหมิ่นประมาท ผมไม่เคยรู้มาก่อน เพราะหากรู้เรื่องนี้มาก่อนคงจะยื่นคัดค้านตั้งแต่เป็นองค์คณะชี้ขาดคุณสมบัติของผมไปนานแล้ว

อีกทั้งเนื้อหาเวลาที่ผมปราศรัยนั้นเป็น การพูดถึงการทำหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นการติชมตามกรอบของรัฐธรรมนูญ คนที่วิพากษ์วิจารณ์การทำหน้าที่ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญก็มีจำนวนมากมาย


สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้ผมรู้ว่าการดำรงอยู่ในประเทศนี้ช่างเป็นเรื่องที่ยากเย็น เหลือเกิน เพราะนับตั้งแต่ที่ผมลงสมัคร รับเลือกตั้งส.ส.บัญชีรายชื่อก็ถูกคุมขัง หลังจากพ้นสภาพความเป็นส.ส.ก็ถูกยื่นถอนประกัน

เรื่องที่เกิดขึ้นทำให้รู้ว่าเพียงแค่เราคิดต่าง หรือไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่เขาทำจะส่งผลกับเราถึงเพียงนี้ ทั้งๆ ที่เราไม่เคยคิดที่จะทำร้ายเขา เพียงแค่เราแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างก็เท่านั้น

การต่อสู้ในหลายปีที่ผ่านมาทำให้ผมรู้ว่าความอยุติธรรมมีมากเหลือเกินในประเทศนี้ มีขบวนการที่จ้องจะเอาอิสรภาพไปจากผมอย่างต่อเนื่อง

การประกาศอดข้าวจะถูกมองเป็นการกดดันศาล


หากศาลอาญามีคำสั่งถอนประกันผมจริงๆ จะเดินเท้าไปเข้าเรือนจำ เชื่อว่าจะมีพี่น้องเสื้อแดงจำนวนมากที่พร้อมจะเดินไปกับผม และเมื่อถูกขังอยู่ในเรือนจำก็จะอดอาหารไปเรื่อยๆ ไม่มีวันสิ้นสุด เป็นการต่อสู้ตามหลักสันติ อหิงสา
ที่ผมปฏิบัติเช่นนี้ก็เพื่อสนองความต้องการของผู้ที่ต้องการเสรีภาพและชีวิตของผม ซึ่งผมจะมอบให้

สิ่งที่ผมจะทำอาจจะดูเสมือนว่ากดดันศาล แต่ที่จริงแล้วเป็นการกดดันตัวเองมากกว่า เพราะหากไม่ทำเช่นนี้พี่น้องกลุ่มคนเสื้อแดงที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขด้วยกันจำนวนมากก็คงจะไม่รอดและจะมีชะตากรรมเช่นเดียวกัน

สิ่งที่ผมทำมาตลอดคือการเรียกร้องความเป็นประชาธิปไตยให้กลับสู่บ้านเมืองนี้โดยเร็วที่สุด

อาจเป็นเงื่อนให้กลุ่มคนเสื้อแดงออกมาชุมนุมอีกครั้ง


เรื่องนี้ต้องไปถามศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฯ ต้องตอบคำถามสังคมให้ได้ว่าการที่ตุลาการฯ เป็นคู่กรณีฟ้องร้องกับผม ทำให้การขอเพิกถอนการประกันตัวในครั้งนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

และสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจจะยื่นถอนประกันผมได้หรือไม่ เพราะตาม พ.ร.บ.สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2542 ระบุว่าต้องยื่นผ่านอัยการสูงสุดเท่านั้น ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นถือเป็นการจัดการนอกศาลหรือไม่

นอกจากนี้ มีถ้อยคำใดที่ผมไปข่มขู่จนถึงขั้นต้องยื่นถอนประกัน ที่ตุลาการฯ ระบุคนขับรถถูกข่มขู่ มีการไปแจ้งความเพื่อดำเนินคดีแล้วหรือไม่ เพราะไม่อยากให้สังคมตั้งคำถามหรือตั้งข้อสงสัยว่าถูกข่มขู่จริงหรือไม่

อีกทั้งการ แสดงความคิดเห็นผ่านสื่อมวลชนเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าหมิ่นเหม่และเข้า ข่ายล้มล้างการปกครองถือว่าเป็นการพูดชี้นำหรือไม่ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่จะต้องเป็นผู้เขียนคำวินิจฉัยแต่กลับออกมาให้ สัมภาษณ์ชี้นำเช่นนี้ เหมาะสมหรือสมควรแล้วหรือ

ผมไม่เคยเห็นศาลใดในโลกนี้กระทำการลักษณะเช่นนี้ ดังนั้น ผมจะรอคำชี้แจงจากศาลรัฐธรรมนูญแบบวิญญูชน ขณะเดียวกันผมจะได้หารือ กับฝ่ายกฎหมายว่าจะดำเนินการเอาผิดศาลรัฐธรรมนูญตามกฎหมายอย่างได้บ้าง

แนวทางการต่อสู้เป็นอย่างไร


ในเบื้องต้นผมเตรียมจะยื่นเรื่องเพื่อขอความเป็นธรรมจากอธิบดีศาลอาญา ในฐานะที่รับผิดชอบเรื่องนี้โดยตรง รวมทั้งจะยื่นเรื่องต่อประธานศาลฎีกา ในฐานะที่เป็นประมุขของฝ่ายตุลาการในสัปดาห์หน้า เพราะ ผมถือว่าการกระทำของศาลรัฐธรรมนูญเป็นไปโดยมิชอบด้วยกฎหมาย รวมทั้งผิดจริยธรรม

ไม่อยากคิดว่าจะมีเรื่องใบสั่งให้จัดการผม แต่กระบวนการทุกอย่างที่เกิดขึ้นกับผมจนถึงขณะนี้ทำให้เห็นแล้วว่าประเทศนี้เป็นอย่างไร

ตลอดระยะเวลาการต่อสู้มาจนถึงขณะนี้เหนื่อยไม่รู้จะเหนื่อยอย่างไรแล้วกับประเทศนี้ ดังนั้น หากถูกถอนประกันก็จะเดินเข้าคุก เมื่อเข้าคุกก็จะอดอาหาร หากอดจนไม่ไหวก็หามผมเข้าโรงพยาบาล หากตายก็เอาผมใส่โลงออกมา
สิ่งที่ผมจะทำไม่ใช่เรื่องของการจำนนหรือจำยอมต่อสถานการณ์ แต่เป็นการต่อสู้อีกรูปแบบหนึ่งเพื่อจะปลุกพลังประชาชนที่เห็นถึงความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นกับประเทศนี้ให้ลุกขึ้นมาต่อสู้ โดยเอาชีวิตและอิสรภาพของผมเป็นเดิมพัน ไม่อย่างนั้นความ อยุติธรรมก็จะยังคงอยู่เป็นวังวนแบบนี้

ผมพร้อมจะเอาอิสรภาพและชีวิตเข้าแลก เสียผมไปคนหนึ่งเพื่อให้เกิดพลังมวลชนเป็นล้านๆ ขึ้นมาต่อสู้ ตอนนี้ถึงจุดอิ่มตัวแล้วเมื่อฝ่ายตรงข้ามเห็นเราเป็นปัญหาก็ต้องลุกขึ้นมาต่อสู้

  

(อ่านต่อ)http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1340942306&grpid=&catid=03&subcatid=0305

เลยไม่ได้ไปอวกาศ เฝ้าดูมดเดินย้ายไข่กันต่อไป

เลยไม่ได้ไปอวกาศ เฝ้าดูมดเดินย้ายไข่กันต่อไป

 

 

ด้วยความคิดเห็นอันเป็นวิทยาศาสตร์ ของเหล่านักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการจำนวนมาก ทำให้การม้วนเสื่อกลับบ้านของโครงการนาซา ส่งผลสะเทือนในด้านลบต่อฝ่ายต่อต้านอย่างมาก จนต้องปฏิเสธกันพัลวัน


โยนผิดกันไปมาระหว่างฝ่ายค้านกับรัฐบาล ว่าใครกันแน่เป็นคนทำพัง

เพราะปฏิกิริยาจากประชาชนส่วนใหญ่ หลังได้รับฟังข้อมูลอันเป็นวิทยาศาสตร์แล้วพบว่า นี่คือการนำเอาโครงการดินฟ้าอากาศที่ประเทศไทยและในภูมิภาคนี้จะได้รับประโยชน์ มาเป็นเกมการเมือง จนสุดท้ายก็พังพินาศ

พังกันต่อหน้าต่อตา แล้วก็มองหน้ากันเลิ่กลั่ก ก่อนชี้นิ้วโทษใส่กัน

อันที่จริงพรรคการเมือง กลุ่ม ส.ว.เครือข่าย กลุ่มเคลื่อน ไหวการเมืองที่อยู่เบื้องหลังม็อบต่อต้านทักษิณทั้งหลาย

มักจับมือกันเล่นงานรัฐบาลยิ่งลักษณ์ในทุกๆ กรณีด้วยสูตรเดียวกันนี้

เริ่มจากจับโยงผลประโยชน์ทักษิณ ตั้งข้อสงสัยด้วย ?ความรู้สึกไม่สบายใจ? ต่างๆ นานา

แล้วก็ลงเอยเป็นการยื่นตีความ ยื่นเอาผิด ยื่นถอดถอน ผ่านองค์กรอิสระต่างๆ

แม้รัฐบาลนี้จะมาจากการเลือกตั้งแท้ๆ มาจากมือของ

คนกว่า 15 ล้าน ได้ชัยชนะอย่างท่วมท้น

แต่สุดท้ายก็พบว่า ปัญหาเดิมๆ ยังไม่จบ

ยุคหนึ่งเรามีรัฐบาลเส้นใหญ่ ทำอะไรก็ชนะทางเทคนิคไปหมด

วันนี้เรามีรัฐบาลที่มาจากเสียงประชาชนส่วนใหญ่ แต่ไม่มีเส้น

อาการสะดุดของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งนำมาสู่การถกเถียงอย่างเปิดเผยและเปิดหน้าของนักวิชาการนักนิติศาสตร์ ได้ทำให้คนส่วนใหญ่ได้เข้าใจถึงความจริงอย่างจะแจ้ง

จนเข้าใจอีกด้วยว่า ทำไมรัฐบาลและพรรคเพื่อไทยต้องยอมถอย

ทั้งที่นักกฎหมายจำนวนมากหนุนหลัง กระแสเสียงสังคมเอื้ออำนวย

เหมือนกับกรณีนาซา ที่เหล่านักวิทยาศาสตร์ล้วนเอาด้วยกับรัฐบาล ประชาชนได้ฟังข้อมูลข่าวสารก็เข้าใจถึงโครงการสำรวจเมฆและฝน รู้เท่าทันขบวนการยกเมฆ

แต่ลงเอยรัฐบาลก็ต้องถอย

นั่นเพราะรัฐบาลชุดนี้ ไม่มั่นใจในหลายๆ กลไกที่อยู่นอกเหนือการเมืองปกติ กลัวเดินไปสู่หลุมดำ

มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมา หลังจากโครงการนาซาต้องยุติลง ว่านี่เป็นเครื่องยืนยันถึงความจำเป็นต้องเร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550

เพราะวันนี้สังคมไทยอยู่ในจุดเผชิญหน้า

ฝ่ายหนึ่งไม่เชื่อระบบรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน มองว่าการเลือกตั้งเป็นเครื่องมือให้นักซื้อเสียงเข้ามายึดกุมอำนาจรัฐ

ฝ่ายนี้เชื่อในกลไกอำนาจอื่นๆ ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนมากกว่า ยังเชื่อว่ากองทัพต้องมีบทบาท ต้องมีหลายๆ กลไก เข้ามาหยุดนักการเมืองโกงชาติ เลยมีรัฐธรรมนูญที่เต็มไปด้วยกับดัก

กับอีกฝ่ายที่เห็นว่า ระบบรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้ง คือระบบที่ประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุด อำนาจอื่นๆ ที่ประชาชนไม่มีส่วนร่วม ควรยุติบทบาทไปเสียที

เท่ากับสู้กันระหว่างฝ่ายอนุรักษนิยม ไม่เชื่อมั่นเลือกตั้ง กับฝ่ายต้องการประชาธิปไตย เสรีภาพของประชาชน

เมื่อยังไม่ไปไหน เราก็เลยไม่ได้ไปอวกาศ

ต้องมานั่งเฝ้าดูมดเดินย้ายไข่กันต่อไป

 

(คลิกอ่าน)http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1340962408&grpid=&catid=02&subcatid=0207

เมื่อ"ยิ่งลักษณ์" ใส่เกียร์ ถอยหลังประเทศไทย


เมื่อ"ยิ่งลักษณ์" ใส่เกียร์ ถอยหลังประเทศไทย





เบื้องหลัง"สุชาติ" ฟันธง ...อายุรัฐบาลจะอยู่ได้ไม่ถึงปี

เบื้องหลัง"สุชาติ" ฟันธง ...อายุรัฐบาลจะอยู่ได้ไม่ถึงปี

 

 

@...ท่ามกลางความแตกแยก ที่แต่ละฝ่ายจ้องเตะตัดขากันทุกเรื่อง "นาซา" ขอใช้ "อู่ตะเภา" สำรวจเมฆ ในยุคสมัยที่ "บรรยากาศโลกวิกฤต" ย่อมเป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติโดยรวม แต่เพราะคิดด้วย "อคติชี้นำ" จึงเปิดประเด็นสงสัยเรื่อง "สงครามจารกรรม" การเมืองที่เห็นประโยชน์ตัวเองมากกว่าส่วนรวม เลอะเทอะขึ้นทุกวัน ถึงขั้นต้อง "ชะลอโครงการที่เป็นประโยชน์กับโลก" คงไม่มีประชาชนประเทศไทย รู้ข่าวแล้วไม่หัวเราะกับ "จริตนักการเมืองไทย"....

@...จริงแน่นอน ตั้ง "องค์กรอิสระ" ขึ้นมาก็เพื่อตรวจสอบรัฐบาล แต่ที่ผ่านมาเกิดความกังขาว่า "มีสองมาตรฐาน" อีกฝ่ายหนึ่งไม่ว่าขยับตรงไหน "ถึงตายได้ทุกเรื่อง" เลยเกิดวิตกจิตใน "เพื่อไทย" ว่า "โครงการนาซา" แม้จะดี แต่หากถูกนำไปเล่นเกมการเมืองแบบ "เล่นพวก" โอกาสที่จะพากันพังมีอยู่ กลายเป็น "รัฐบาลที่ไม่กล้าทำดี" เพราะกลัวจะถูกตีความแบบ "เอ็งเลวทุกเรื่อง"....

@...เมื่อ "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" วางโครงสร้างการทำงานโดยแบ่งเป็น 2 ประเภท "งานบริหาร" ให้รัฐบาลจัดการ ส่วน "งานการเมือง" โยนไปเป็นเรื่องของรัฐสภา ขณะที่ "ประชาธิปัตย์" ฝ่ายค้าน เล่นเกมทำให้ "ทุกเรื่องเป็นการเมือง" ผลคือหาก "ทุกเรื่องต้องเข้าสภา" ขณะที่ "คนในรัฐสภา" เอาแต่เล่นเกมกันเลอะเทอะ ประเทศจะเป็นแบบที่ "หมอประเวศ วะสี" ว่า คือ "รัฐบาลบริหารไม่ได้" นำมาซึ่ง "กลียุค"....

@...ยิ่งเกิดความไม่เชื่อมั่นใน "หลักธรรมาภิบาล" ของ "องค์กรอิสระ" บ้านนี้เมืองนี้จะมี "กลไกบริหารชาติ" ที่เต็มไปด้วยความหวาดระแวง แก้ด้วยการเมือง ด้วยการใช้ "มวลชนเข้ากดดัน" การปะทะทางความคิดจะเกิดขึ้น เมื่อต่างฝ่ายต่างมี "สื่อส่วนตัว" ปลุกปั่น ให้เกลียดชังฝ่ายตรงกัน "ครอบงำ" ให้เห็นพวกตัวเองถูกทุกเรื่อง "สงครามประชาชน" มีโอกาสเกิด ผู้ที่ควรรู้ดีและหาทางป้องกันมากที่สุดคือ "นักการเมือง" แต่คนเหล่านี้กลับทำเหมือนอยากจะเร่งปฏิกิริยาให้ประเทศพินาศโดยเร็ว....

   

(อ่านต่อ)http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1340946337&grpid=01&catid=&subcatid=

คนดีที่คุมไม่ได้เป็นอันตราย

คนดีที่คุมไม่ได้เป็นอันตราย

 

ปรากฏการณ์ 112 ริกเตอร์ : ครก.112


นิธิ เอียวศรีวงศ์&วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ช่วงตอบคำถาม เสวนาปรากฎการณ์ 112 ริคเตอร์ ในบันทึก 112 วัน แก้ไขมาตรา 112 ณ หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2555

(คลิกฟัง)
http://www.youtube.com/watch?v=rFuRVa0lIcs&feature=share

ยูโร 2012: บางแง่มุมของประเด็น ‘ผู้หญิง’ กับยูโร 2012

ยูโร 2012: บางแง่มุมของประเด็น ‘ผู้หญิง’ กับยูโร 2012

 

ยูโร 2012 กับการเปลือยของสาวยูเครน

‘เปลือย’ เพื่อศักดิ์ศรี ‘FEMEN’ ความภูมิใจแห่ง “ผู้หญิงยูเครน”


การประท้วงคัดค้านการปฏิรูปการเกษียณอายุ (ที่มาภาพ kyivpost.com)

 

(คลิก)http://vimeo.com/44345936#


ขณะที่กลุ่ม FEMEN กำลังประท้วงเรื่องเซ็กส์ทัวร์ที่มาพร้อมกับการแข่งขันยูโร 2012 อีกด้านหนึ่งก็มีข่าวลือว่า Olga Kurylenko ดาราซูเปอร์สตาร์เลือดยูเครนจะเปลือยเพื่อชาติหากยูเครนได้แชมป์ (ซึ่งก็พลาดไปแล้ว) … และลองไปดูเรื่องราวบางแง่มุมของประเด็นผู้หญิงๆ ในการแข่งขันยูโร 2012

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/06/41320

วันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2555

80 ปี การปฏิวัติ 2475 "ประเทศเรานี้เป็นของราษฎร" // นสพ.เลี้ยวซ้าย ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มิถุนายน 55

80 ปี การปฏิวัติ 2475 "ประเทศเรานี้เป็นของราษฎร" // นสพ.เลี้ยวซ้าย ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มิถุนายน 55

 

 

 

(คลิกอ่าน) 

Open publication

 

ในเล่มพบกับ

แถลงการณ์ “องค์กรเลี้ยวซ้าย” ในวาระครบรอบ 80 ปี การปฏิวัติ ๒๔๗๕

โดย องค์กรเลี้ยวซ้าย

การปฏิวัติฝรั่งเศส

โดย C.H.

ละครตลกร้าย เรื่องการนำอาชญากรรัฐมาขึ้นศาล

โดย ใจ อึ๊งภากรณ์

Hunger Game ในโลกปัจจุบัน

โดย โคแบร

ยิ่งเลีย....ยิ่งล้าหลัง

โดย สมุดบันทึกสีแดง

อีกหนึ่งบาดแผลที่พวกนักขุดทอง ไม่อยากกล่าวถึงในพม่า

โดย ฮิปโป

รากฐานและรูปแบบของ “อำนาจ”

โดย ลั่นทมขาว
 
สังคมเป็นใหญ่ คือคำโกหกคำโต

โดย ครรชิต พัฒนโภคะ

จากกุข่าวรัฐประหาร กลายเป็นรัฐประหารโดยตุลาการ

โดย ยังดี โดมพระจันทร์
 
ว่าด้วยทุน เล่ม 2 บทที่ 1: วงจรของ “ทุนเงิน”

โดย กองบรรณาธิการ

(ที่มา)

Divas Cafe

Divas Cafe

 

แดงโห่ ปชป เฮ นักวิชาการซัด กระแสตีกลับเพื่อไทย Divas Cafe 13มิย55
http://youtu.be/vTCbQdANN1k
  
300ปี ชาตกาล 'ฌ็อง-ฌัก รุสโซ' 

(คลิกฟัง)
http://shows.voicetv.co.th/divas-cafe/43122.html

Wake Up Thailand

Wake Up Thailand

 

 

Wake Up Thailand 28มิย55

(คลิกฟัง)http://www.youtube.com/watch?v=f1uBISiyf1U&feature=player_embedded

The Daily Dose

The Daily Dose


The Daily Dose 28มิย55

http://www.youtube.com/watch?v=YmueXqINQ88&feature=plcp

จริยธรรมประธานศาลรัฐธรรมนูญ

จริยธรรมประธานศาลรัฐธรรมนูญ


โดยชำนาญ จันทร์เรือง


ไม่น่าเชื่อข่าวที่รายงานใน Manager Online ว่าเป็นคำพูดของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เพราะรายงานข่าวได้บอกว่าเมื่อวันที่ 22 มิ.ย.ศาลรัฐธรรมนูญได้มีการจัดการสัมมนาบทบาทของสื่อมวลชน ในการพัฒนาระบบนิติรัฐและนิติธรรมตามรัฐธรรมนูญ ระหว่างวันที่ 22-23 มิ.ย. ที่โรงแรม แกรนด์แปซิฟิก ซอฟเฟอริน รีสอร์ท แอนด์ สปา ชะอำ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี เพื่อให้สื่อมวลชนมีความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่การนำเสนอข่าวสารให้ สาธารณชนรับทราบในผลการดำเนินงานศาลรัฐธรรมนูญ(???)

ซึ่งนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ได้เปิดเผยในงานสัมมนาว่า การจัดงานพบสื่อไม่ใช่เป็นการจัดเพื่อหาเสียงให้สื่อหันมาสนับสนุน เพราะสื่อถล่มศาลรัฐธรรมนูญอยู่ทุกวัน แต่มีเป้าหมายเป็นการสร้างความเข้าใจบทบาทหน้าที่ซึ่งกันและกัน การที่ว่าสื่อต้องทำความเข้าใจเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้ชัดเจน เรื่องนี้ยาก เพราะสื่อบางครั้งก็ยังไม่เข้าใจเรื่องที่เกิดขึ้น ตลอดระยะเวลา 44 ปีที่ตนเองทำงานด้านกฎหมายมา จะว่าเป็นคนมืออ่อนหรืออย่างไรก็ว่ากันไป แต่ตลกที่มีคนที่ไม่ได้จบกฎหมายออกมาวิจารณ์ด่าศาลรัฐธรรมนูญทางโทรทัศน์ มันก็เป็นเรื่องแปลก ดังนั้น สื่อไม่ได้ทำตัวนำเสนอความคิดเห็นในหลายด้าน

“ขอนำคดีที่อยู่ในความสนใจขณะนี้ เรื่องที่ศาล รัฐธรรมนูญรับพิจารณาคำฟ้องกรณี รัฐบาล รัฐสภา กำลังยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นการล้มล้างระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มาตรา 68 เราก็ไปดูการพิจารณาของสภาวาระที่ 3 ก็เห็นว่าเป็นไปได้เหมือนกัน เพราะ รัฐสภาชุดนี้พิจารณากฎหมายแบบขายขาด แล้วโยนภาระให้ ส.ส.ร. ก็ต้องเสียเงินเลือกตั้ง ส.ส.ร.มาให้ร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีกรอบว่าไม่แตะต้อง หมวด 1 (บททั่วไป) และหมวด 2 (พระมหากษัตริย์) ต้องไม่แตะนะ ถ้าเขาร่างมาแล้วแตะล่ะ ใครจะทำไม อ๋อไม่เป็นไรมีประธานสภาเป็นผู้วินิจฉัย แต่ถ้าประธานสภาเห็นว่าให้ลงมติเลย เวลานั้นศาลรัฐธรรมนูญจะทำอะไรได้อีก เพราะเมื่อมีผลเป็นการลงประชามติไปแล้ว ผมขอย้ำเลยว่าถ้าเชื่อถือในบุคคล ก็ไม่ต้องมีกฎหมาย” นายวสันต์ กล่าว  

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/06/41288

สนนท.จัดกิจกรรม 8 ทศวรรษประชาธิปไตยอำนาจสูงสุดยังไม่เป็นของราษฎรทั้งหลาย

สนนท.จัดกิจกรรม 8 ทศวรรษประชาธิปไตยอำนาจสูงสุดยังไม่เป็นของราษฎรทั้งหลาย

 

 

สนนท. จัดเสวนาและเวทีวัฒนธรรมรำลึก 80 ปีการปฏิวัติประชาธิปไตย ย้ำอำนาจยังไม่เป็นของราษฎร เพราะอำนาจเก่าขัดขวาง หนุนแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยให้ย้อนกลับไปดูรัฐธรรมนูญฉบับแรกในวันที่ 27 มิ.ย.2475 ที่เป็นประชาธิปไตยสุด


09.30 น. วานนี้(27 มิ.ย.) สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย(สนนท.)และเครือข่ายองค์กรนักศึกษา จัดกิจกรรมรำลึก 80 ปีการเปลี่ยนแปลงการปกครองและมีรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทยในชื่องาน “8 ทศวรรษ ประชาธิปไตย อำนาจสูงสุดยังไม่เป็นของราษฎรทั้งหลาย” ที่ อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา สี่แยกคอกวัว ราชดำเนิน โดยเริ่มด้วยการเสวนาโดยนิสิตนักศึกษาในหัวข้อ “ขบวนการนิสิตนักศึกษากับ เจตนารมณ์คณะราษฎร” และหลังจากนั้นบ่ายโมงได้มีการบรรยาย พิเศษคณะราษฎรในความทรงจำ โดย พันตรีพุทธินาถ พหลพลพยุหเสนา ทายาท พระยาพหลพลพยุหเสนา ต่อด้วย เสวนาวิชาการ หัวข้อ “80 ปี ประชาธิปไตย อำนาจสูงสุดยังไม่เป็นของ ราษฎรทั้งหลาย”โดยมี รศ.ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ และ ดร.ปิยบุตร แสงกนกกุล จากคณะนิติราษฎร์ เป็นวิทยากร สุดท้ายในช่วงค่ำมีเวทีวัฒนธรรม ดนตรี กวี ละคร เครือข่ายองค์กรนักศึกษา โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า 80 คน

นายพรชัย ยวนยี เลขาธิการ สนนท. ได้เปิดเผยถึงวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมกับผู้สื่อข่าวว่า “เหตุผลแรกคือเราต้องการรำลึกถึงคุณงามความดีในการนำพาประเทศไทยไปสู่ความ เจริญก้าวหน้าของคณะราษฎรโดยการอภิวัฒน์จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิ์มาเป็นระบอบ ประชาธิปไตยที่อำนาจสูงสุดอยู่ที่ประชาชนทั้งหลาย สิ่งเหล่านี้มันบ่งบอกออกมาผ่านตัวรัฐธรรมนูญ ส่วนเหตุผลที่ 2 ต้องการเปิดพื้นที่ให้กับนักศึกษานักกิจกรรมได้มาพูดคุยกันเกี่ยวกับ เหตุการณ์ทางการเมืองว่า 80 ปีผ่านมาแล้วในการปฏิวัติประเทศไทยนี่ เรามีอำนาจสูงสุดหรือยัง ประชาชนมีอำนาจสูงสุด ในมุมมองของนักศึกษาเห็นอย่างไรกับเจตนารมณ์คณะราษฎรเห็นอย่างไรกับ การอภิวัฒน์สยามเมื่อปี 2475”

(อ่านต่อ)

สมชาย ปรีชาศิลปกุล: อภิรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีไทย 2475-2555

อภิรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีไทย 2475-2555

 

รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล

 

27 มิ.ย.55 เวลา 13.00 น. ที่ห้องประชุม มล.ตุ้ม ชุมสาย ณ อยุธยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนร่วมกับคณะนิติศาสตร์ และภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดเสวนาในหัวข้อ “80 ปีแห่งความย้อนแย้งของประชาธิปไตยไทย” โดยมี รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้อภิปรายในหัวข้อ “อภิรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีไทย 2475-2555”


สมชายเริ่มต้นกล่าวถึงหัวใจสำคัญรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย หรือพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ.2475 ซึ่งมีอยู่สองประการ คือหนึ่ง เป็นรูปแบบการปกครองที่กษัตริย์อยู่ใต้ธรรมนูญการปกครอง และสอง อำนาจสูงสุดเป็นของราษฎรทั้งหลาย

ต่อมารัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคม 2475 ซึ่งว่ากันว่าเป็นฉบับที่ได้รับการยอมรับกันในหลายฝ่ายในชนชั้นนำไทย ในคำปรารภของรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงความคาดหวังว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้จะ “ยืนยงอยู่คู่กับสยามรัฐราชสีมาตราบเท่ากัลปาวสาน” เป็นความมุ่งหมายในช่วงเริ่มต้นรัฐธรรมนูญของไทย ในรัฐธรรมนูญหลังๆ อีกสองสามฉบับหลังจากนั้นก็จะเห็นเรื่องนี้ แต่รัฐธรรมนูญหลังจากนั้น โดยเฉพาะหลังทศวรรษ 2520 เป็นต้นมา ความเข้าใจคือเราทราบกันดีว่ารัฐธรรมนูญไทยไม่มีทางกัลปาวสาน แค่ข้ามทศวรรษได้ก็เก่งแล้ว แต่ในช่วงเริ่มต้นรัฐธรรมนูญไทย อันนี้เป็นนัยยะสำคัญที่มีอยู่

แต่ในความเป็นจริงตั้งแต่ 2475-2525 ครบรอบ 50 ปี เรามีรัฐธรรมนูญแล้ว 13 ฉบับ และจากปี 2475-2555 ครบรอบ 80 ปีรัฐธรรมนูญ มี 18 ฉบับ จะพบว่าอายุเฉลี่ยของรัฐธรรมนูญในเมืองไทยไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยยะ สำคัญ ประมาณ 4 ปีบวกลบนิดหน่อยต่อฉบับ เราจะบอกว่าเป็นความล้มเหลวของรัฐธรรมนูญในสังคมไทยหรือไม่

ปรากฏการณ์นี้นำไปสู่คำถามจำนวนมาก ในหมู่นักกฎหมายก็จะมองว่ารัฐธรรมนูญไทยไม่ได้เป็นกฎหมายสูงสุด หรือนักรัฐศาสตร์ก็ตาม รัฐธรรมนูญอยากจะฉีกเมื่อไรก็ฉีกได้ หรือรัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรม ของนิธิ เอียวศรีวงศ์ ก็เสนอว่ารัฐธรรมนูญไม่ได้มีน้ำยาหรือศักดิ์สิทธิ์เท่าที่ระเบียบในกรมกอง หน่วยงานราชการ หรือรัฐธรรมนูญถูกมองว่าเป็นเครื่องมือของชนชั้นนำในการแย่งชิงอำนาจทางการ เมือง เมื่อไรที่ใครไม่พอใจกฎกติกาที่มีอยู่ ก็ยึดอำนาจ และเขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้สอดคล้องกับความต้องการของตน

 

(อ่านต่อ)http://www.prachatai.com/journal/2012/06/41293

Hot Topic 28มิย55

Hot Topic 28มิย55

 


 

นาซา อู่ตะเภา แผนสหรัฐฯแผ่อิทธิพลสู่เอเซียจริงหรือ Hot Topic 28มิย55 

(คลิกฟัง)
http://www.youtube.com/watch?v=akh_RVt1JcU&feature=player_embedded#!

(ที่มา)
http://shows.voicetv.co.th/hot-topic

อรุณ วัชระสวัสดิ์ : การ์ตูนการเมือง กรณี NASAกับสนามบินอู่ตะเภา

อรุณ วัชระสวัสดิ์ : การ์ตูนการเมือง กรณี NASAกับสนามบินอู่ตะเภา

วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555

80 ปี การปฏิวัติ 2475 "ประเทศเรานี้เป็นของราษฎร" // นสพ.เลี้ยวซ้าย ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มิถุนายน 55

80 ปี การปฏิวัติ 2475 "ประเทศเรานี้เป็นของราษฎร" // นสพ.เลี้ยวซ้าย ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มิถุนายน 55

 

 

 

(คลิกอ่าน) 

Open publication

 

ในเล่มพบกับ

แถลงการณ์ “องค์กรเลี้ยวซ้าย” ในวาระครบรอบ 80 ปี การปฏิวัติ ๒๔๗๕

โดย องค์กรเลี้ยวซ้าย

การปฏิวัติฝรั่งเศส

โดย C.H.

ละครตลกร้าย เรื่องการนำอาชญากรรัฐมาขึ้นศาล

โดย ใจ อึ๊งภากรณ์

Hunger Game ในโลกปัจจุบัน

โดย โคแบร

ยิ่งเลีย....ยิ่งล้าหลัง

โดย สมุดบันทึกสีแดง

อีกหนึ่งบาดแผลที่พวกนักขุดทอง ไม่อยากกล่าวถึงในพม่า

โดย ฮิปโป

รากฐานและรูปแบบของ “อำนาจ”

โดย ลั่นทมขาว
 
สังคมเป็นใหญ่ คือคำโกหกคำโต

โดย ครรชิต พัฒนโภคะ

จากกุข่าวรัฐประหาร กลายเป็นรัฐประหารโดยตุลาการ

โดย ยังดี โดมพระจันทร์
 
ว่าด้วยทุน เล่ม 2 บทที่ 1: วงจรของ “ทุนเงิน”

โดย กองบรรณาธิการ

(ที่มา)