หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2557

การชุมนุมของมวลชนเสื้อแดงเพื่อต้านกระแสม็อบสุเทพเป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องทำ

การชุมนุมของมวลชนเสื้อแดงเพื่อต้านกระแสม็อบสุเทพเป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องทำ


 

สิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตยได้มา และปกป้องจากการโดนคุกคาม โดยการต่อสู้เคลื่อนไหวของมวลชน ไม่ได้มาจากการ “ยกให้” ของผู้หลักผู้ใหญ่แต่อย่างใด ไม่ได้มาจากการหนุนช่วยของสหประชาชาติหรือรัฐบาลมหาอำนาจ และมันไม่เกิดเองจากการร่างรัฐธรรมนูญโดย “ผู้รู้” นี่คือสิ่งที่นักสังคมนิยมสรุปมาจากประวัติศาสตร์ทั่วโลกในสองร้อยปีที่ผ่านมา และนอกจากนี้มันตรงกับสิ่งที่นักวิชาการสาย “ประชาสังคม” สรุปด้วย

ในเมื่อฝ่ายเผด็จการปลุกม็อบและสร้างกระแสเพื่อทำลายประชาธิปไตย ฝ่ายเรา ฝ่ายเสื้อแดง ต้องชุมนุม การชุมนุมมีความสำคัญ เพราะมันจะช่วยคานกระแสพวกที่สนับสนุนอำนาจเผด็จการ ทำลายความมั่นใจ ของเขาให้ลังเลได้ ถ้าเรามีจำนวนที่มากพอ

แต่การชุมนุมของเสื้อแดง อาจจะต้องจัดในในสถานการณ์ที่ประเมินได้ว่าไม่มีการเผชิญหน้าเกิดขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำได้

การกลัวการปะทะกันไม่ควรกลายเป็นข้ออ้างของพวกที่ไม่อยากทำอะไร

เหตุผลสำคัญที่เราส่งเสริมการชุมนุมของผู้ที่รักประชาธิปไตยคือ การต่อสู้ครั้งนี้ เป็นการต่อสู้ทางการเมือง เป็นการต่อสู้ช่วงชิงกระแสทางการเมืองของคนในสังคม โดยเฉพาะคนที่ยังลังเลอยู่ การชุมนุมจึงเป็นวิถีทางแบบหนึ่ง ที่มีประสิทธิภาพที่จะโน้มน้าว ชักชวน สร้างกำลัง ในรูปแบบการรวมกลุ่มได้มากกว่ารูปแบบปัจเจกบุคคล บางครั้งคนเมื่ออยู่ลำพัง มักจะขาดความมั่นใจ ในการตัดสินใจทางความคิดใดๆ แต่ถ้ามีการรวมกลุ่ม หรือสัมผัส การรวมกลุ่ม ก็จะเกิดความมั่นใจมากขึ้นได้ 

ไม่ว่าเราจะเชื่อถือการนำของ นปช. หรือไม่ แต่สิ่งสำคัญ คือ เราต้องปกป้องประชาธิปไตย เราต้องซ้อม และพร้อมรบ ไม่ว่าจะผ่านเวทีประชุมกลุ่มศึกษา หรือผ่านเวทีการชุมนุมปราศรัย เพื่อถกเถียง แลกเปลี่ยน นำบทเรียนต่างๆ ในประวัติศาสตร์ ในสากล มาศึกษา มาวิเคราะห์ เพื่อหาทางปกป้อง และสร้างสรรค์ ประชาธิปไตย การคุยกันในเฟซบุ๊ค มีประโยชน์ระดับหนึ่ง ในการนัดหมาย ทำความรู้จัก แต่ไม่เคยพอ และพิสูจน์กันเป็นรูปธรรมยาก

(ที่มา)
http://turnleftthai.blogspot.dk/2014/01/blog-post.html  

นปช.เล็งนัดมวลชน 'เปิดกรุงเทพฯ' 13 ม.ค.

นปช.เล็งนัดมวลชน 'เปิดกรุงเทพฯ' 13 ม.ค.


 

แกนนำ นปช.เตรียมระดมมวลชน 13 ม.ค.วันเดียวกับที่ กปปส.นัดปิดกรุงเทพฯ พร้อมพิทักษ์รักษาประชาธิปไตย ชี้ถ้ามีรัฐประหาร ประชาชนไม่ยอมแน่


2 ม.ค.2557 สำนักข่าวไทย ราน งานว่า แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) โดยนางธิดา ถาวรเศรษฐ ประธาน นปช. แถลงกรณีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการกลุ่มประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่ สมบูรณ์ อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ประกาศปิดกรุงเทพฯ วันที่ 13 ม.ค.นี้ ว่า เป็นเผด็จการของคนกลุ่มน้อยที่ทำกับคนกลุ่มใหญ่โดยอ้างการปฏิรูป ซึ่งแท้ที่จริงไม่ใช่การปฏิรูป แต่เป็นการทำให้ประเทศถอยหลัง หันหลังให้ประชาธิปไตย เป็นการต่อสู้นอกระบบ บิดเบือนทำลายประเทศ เห็นได้จากการยุยงส่งเสริมให้ขัดขวางการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นการทำผิดกฎหมาย และขอฝากถึงคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) บอกว่าคนทั้งประเทศรู้ว่า กกต.กำลังทำอะไร จุดยืนของ กกต.อยู่ที่ไหน ใครที่อ้างว่าตัวเองเป็นกลาง แต่การปฏิบัติชัดเจนว่าเลือกข้าง ถือเป็นเรื่องที่ไม่ควรทำ

นางธิดา กล่าวว่า การปิดกรุงเทพฯ จะทำให้เกิดความเดือดร้อนกับประชาชน เป็นการกระทำที่มากเกินไป ทั้งหมดแสดงเห็นว่า กปปส.และพรรคประชาธิปัตย์กำลังเป็นกองหน้าของเครือข่ายอำมาตย์ที่ต้องการขัด ขวางประชาธิปไตย ในฐานะฝ่ายประชาชน เรายินดีให้เครือข่ายอำมาตย์และความคิดอนุรักษ์นิยมมีพื้นที่ในประเทศนี้ แต่ต้องเป็นตัวตนในพื้นที่ในระบบกฎหมาย และรัฐธรรมนูญไม่ใช่การแสดงตัวตนเพื่อต่อสู้นอกระบบอย่างไม่เป็นประชาธิปไตย

ปฏิวัติประชาชน

ปฏิวัติประชาชน


 
โดย  อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์


สภาประชาชนของ กปปส.ถูกอาจารย์ธีรยุทธ์ บุญมียกระดับขึ้นมาเป็นการปฏิวัติของประชาชนไปแล้ว

คำว่า "ประชาชน" นี้น่าสนใจเป็นพิเศษ และควรทำความเข้าใจให้ถ่องแท้เสียก่อน "ประชาชน" เป็นนามธรรม หมายถึงองค์รวมของคนทั้งหมดในชาติ ไม่ใช่คน 65 ล้านคนรวมกัน ซึ่งอาจแยกออกเป็นคนๆ ได้ และอาจตรวจวัดว่าแต่ละคนมีเจตจำนงทางการเมืองอย่างไรได้

ดังนั้น "ประชาชน" ที่เป็นนามธรรมจึงไม่มีเจตจำนงทางการเมืองของตนเอง ขึ้นอยู่กับว่าใครจะสามารถยึดกุม "ประชาชน" ที่เป็นนามธรรมนี้ แล้วอ้างเอาเจตจำนงทางการเมืองของตนไปเป็นเจตจำนงของ "ประชาชน" ที่อยู่ในหมอกควันนี้เท่านั้น

วิธีในการยึดกุมหมอกควัน "ประชาชน" นี้ ทำได้หลายอย่าง อาจารย์ธีรยุทธยกกรณีที่ประมุขแห่งรัฐให้การรับรอง ซึ่งก็ปรากฏอยู่บ่อยครั้งในประวัติศาสตร์ไทย เมื่อกองทัพอ้าง "ข้าราชการทหาร พลเรือน พ่อค้า ประชาชน" เข้าไปยึดอำนาจรัฐด้วยการรัฐประหารในนามของ "ประชาชน" ที่เป็นแค่หมอกควัน นี่ก็เป็นวิธีการหนึ่งซึ่งคนไทยคุ้นเคย

แต่ยังมีวิธีการอื่นๆ อีกมาก เช่นตั้งกองกำลังติดอาวุธของตนเอง ทำสงคราม "ประชาชน" จนได้ชัยชนะแล้วก็สถาปนาระบอบปกครองของตนเองขึ้น ตามเจตจำนงของหมอกควัน "ประชาชน"

บางคนยังสามารถทำให้การอ้างของตนน่าเชื่อถือกว่านั้นอีก เช่น ฮิตเลอร์ชนะการเลือกตั้งในสมัยที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นนายกฯ ด้วยการปราบปรามเข่นฆ่าศัตรูทางการเมืองของตนราบคาบไปแล้ว หรือนโปเลียนจัดให้ลงประชามติหลอกๆ ว่า "ประชาชน" ในหมอกควันมีเจตจำนงที่จะให้เขาดำรงตำแหน่งจักรพรรดิ

5 ข้อสงสัยต่อ กกต.

5 ข้อสงสัยต่อ กกต.


 
โดย ยุกติ มุกดาวิจิตร
สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย
 

 
หากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ชุดนี้ไม่พยายามอย่างถึงที่สุดที่จะจัดให้มีการเลือกตั้ง สาธารณชนก็ย่อมจะมีข้อสงสัยต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ กกต. ดังนี้

1) กกต. เกรงกลัวการข่มขู่ของมวลชนและพรรคการเมืองบางพรรคที่พยายามขัดขวางการเลือกตั้งอย่างนั้นหรือ กกต. ชุดนี้กลัวอำนาจข่มขู่นอกระบบประชาธิปไตย นอกวิถีทางของกฎหมายมากกว่าอำนาจที่ปวงชนชาวไทยให้มาปฎิบัติหน้าที่ผ่านกระบวนการแต่งตั้ง กกต. อย่างถูกต้องตามกฎหมายอย่างนั้นหรือ กกต. ไม่เชื่อมั่นในอำนาจปวงชนชาวไทยที่รับรองให้ตนเองขึ้นมามีอำนาจ แต่กลับไปเชื่อมั่นต่ออำนาจการข่มขู่ของขบวนการที่ละเมิดกฎหมายอย่างนั้นหรือ

2) กกต. ไม่ได้เชื่อมั่นในวิถีทางตามระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งแสดงออกได้ผ่านการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งอย่างนั้นหรือ จึงไม่พยายามผลักดันให้เกิดการแสดงอำนาจของปวงชนชาวไทยอย่างสันติผ่านการลงคะแนนเสียง กกต. ไม่เชื่อมั่นในการแสดงออกของประชาชนอย่างถูกต้อง มากเท่ากับการใช้กำลังขมขู่คุกคามขัดขวางขบวนการที่ถูกต้องอย่างนั้นหรือ

3) กกต. กำลังจะตัดสิทธิ์ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทั้งประเทศ กกต. กำลังจะตัดสิทธิ์ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งทั้งประเทศ และนี่จะกลายเป็นว่า กกต. เอื้อประโยชน์ให้กับ กปปส. ที่กำลังละเมิดสิทธิ์การเลือกตั้งของประชาชน ด้วยหรือไม่ กกต. มีอำนาจจะตัดสิทธิ์ลิดรอนอำนาจของประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งและผู้มีสิทธิ์ได้รับเลือกตั้งด้วยหรือ  

4) กกต. ชุดนี้กำลังให้ความสำคัญเฉพาะแต่กับพรรคการเมืองหนึ่ง ที่ต้องการปฏิรูปก่อนเลือกตั้งหรือไม่ เนื่องจากข้อเรียกร้องให้เลื่อนการเลือกตั้ง สอดคล้องกับข้อเรียกร้องให้ปฏิรูปก่อนการเลือกตั้งของพรรคการเมืองดังกล่าว และจะกลายเป็นว่า กกต. เอนเอียงไปทางพรรคการเมืองดังกล่าว ซึ่งไม่ส่งผู้สมัครเลือกตั้งและมีส่วนสนับสนุนการเคลื่อนไหวของ กปปส. ใช่่หรือไม่ 

5) ท้ายที่สุด สาธารณชนก็อาจสงสัยได้ว่า กกต. ไม่ได้พยายามทำหน้าที่จัดการเลือกตั้ง แต่กลับกำลังสร้างทางตันให้ระบบที่เป็นอยู่ เปิดทางให้กับคณะก่อการปล้นอำนาจรัฐ ตามแนวทางของ กปปส. อยู่หรือไม่5 ข้อสงสัยต่อ กกต. 

สูญญากาศ จะไม่มีวันเกิดขึ้น!?!

สูญญากาศ จะไม่มีวันเกิดขึ้น!?!

 

โดย พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล 
 

ที่ ผ่านมาความพยายามปิดกั้นมิให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งได้ยื่นสมัครรับเลือกตั้ง ต่อ กกต. โดยคณะ กปปส. (กบฏสุเทพ) คือ ความพยายามทำให้หากเกิดอุบัติเหตุในฝ่ายพวกเขา และมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นแล้ว "สภาผู้แทนราษฎรจะไม่ได้ครบองค์ประกอบ" ของสภาผู้แทนราษฎร ตามมาตรา ๙๓ วรรคหก คือ เปิดประชุมรัฐสภาไม่ได้นั่นเอง

ใน เขตจังหวัดที่ไม่อาจจัดให้มีการเลือกตั้งรวมแล้วมีจำนวน ส.ส. กี่ราย หากรวมแล้วไม่ถึงร้อยละห้าของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ๕๐๐ ราย ก็คงไม่มีปัญหา คือ เมื่อเลือกตั้ง ๒ ก.พ. ก็เปิดประชุมสภาได้เลย แล้วคณะกรรมการการเลือกตั้งจัดให้มีการเลือกตั้งในเขตพื้นทีที่เหลือจนกว่า จะครบและให้แล้วเสร็จภายใน ๑๘๐ วันตามมาตรา ๙๓ วรรคหก รัฐธรรมนูญฯ

แต่ หากในเขตจังหวัดที่ไม่อาจจัดให้มีการเลือกตั้งได้ ปรากฏรวมกันแล้วมีจำนวน ส.ส. เกินร้อยละห้าของสภาผู้แทนราษฎร เมื่อเลือกตั้ง ๒ ก.พ. ก็ยังเรียกประชุมรัฐสภาครั้งแรกได้ไม่ทันภายใน ๓๐ วันนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (มาตรา ๑๒๗ วรรคหนึ่ง รัฐธรรมนูญฯ) ในกรณีนี้เอง จะมีนักกฎหมายฝ่ายคณะรัฐประหาร ออกมาโวยวายว่า เมื่อเปิดประชุมรัฐสภาได้ไม่ทัน ๓๐ วันนับแต่มีการเลือกตั้ง ย่อมเปิดประชุมรัฐสภาไม่ได้อีกตลอดไป เชื่อสิครับว่า จะต้องมีนักกฎหมายฝ่ายคณะรัฐประหารมาชี้ว่านี่คือ 'สุญญากาศ'

แต่ อันที่จริง ระยะเวลาภายใน ๓๐ วันนับแต่เลือกตั้ง เป็นเพียงระยะเวลาเร่งรัดให้มีการประชุมรัฐสภาขึ้น หาได้หมายความว่า หากกรณีจำเป็นซึ่งสภายังไม่ครบองค์ประกอบร้อยละ ๙๕ ของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด (๕๐๐คน) จะเป็นอันห้ามเลือกตั้งไม่ กล่าวคือ แม้จะเกินระยะเวลา ๓๐ วันนับแต่เลือกตั้ง ๒ ก.พ.ไปแล้วก็ตาม ก็ต้องจัดให้มีการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จภายใน ๑๘๐ วัน แล้วเปิดประชุมรัฐสภาในโอกาสแรกที่ครบองค์ประกอบของสภาผู้แทนราษฎร ครับ.

................................................................... 

บทบัญญัติรัฐธรรมนูญฯ ที่เกี่ยวข้อง 

มาตรา ๙๓ วรรคหก บัญญัติว่า "ในกรณีที่มีเหตุการณ์ใด ๆ ทําให้การเลือกตั้งทั่วไปครั้งใดมีจํานวนสมาชิกสภาผู้แทราษฎรไม่ถึงห้าร้อย คน แต่มีจํานวนไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบห้าของจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้ง หมดให้ถือว่าสมาชิกจํานวนนั้นประกอบเป็นสภาผู้แทนราษฎร แต่ต้องดําเนินการให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้ครบตามจํานวนที่บัญญัติไว้ใน รัฐธรรมนูญนี้ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันและให้อยู่ในตําแหน่งได้เพียงเท่าอายุ ของสภาผู้แทนราษฎรที่เหลืออยู่"

มาตรา ๑๒๗ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ภายในสามสิบวันนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้มีการเรียกประชุม รัฐสภาเพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก"
 
สรุปว่า แม้ได้ ส.ส. ไม่ครบร้อยละ ๙๕ ก็ไม่ใช่สุญญากาศ ครับ รัฐธรรมนูญฯ "มีทางออก"
 
กกต.ไร้ข้อยุติ ขยายรับสมัคร-ย้ายสถานที่ นัดถกอีกรอบพรุ่งนี้
http://www.prachatai.com/journal/2014/01/50885 

ทันสถานการณ์ โจรยึดเมือง

ทันสถานการณ์ โจรยึดเมือง




Photo 

สุเทพย้ำ 'ชัตดาวน์ กทม.' เพื่อทำให้รัฐบาล้มเหลว-ยึดจนกว่านายกฯ ลาออก
http://www.prachatai.com/journal/2014/01/50884

′สุเทพ′ โพสต์แจงแผนปิดกรุง ตั้งเวทีทุกแยก ให้ตัดน้ำไฟบ้าน นายกฯ-รมต.-สถานที่ราชการ
http://www.prachatai.com/journal/2014/01/50884 

"ปฏิบัติการยึดเมือง" 13 ม.ค. สุเทพรับรองคึกคักแน่นอน กทม.เป็นถนนคนเดิน
http://www.prachatai.com/journal/2014/01/50866 

 
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ตั้งแต่การเริ่มต้นชุมนุมม็อบเทือก


ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มา สว. เพื่อจุดชนวนความขัดแย้งและโจมตีระบอบประชาธิปไตยและโจมตีการเลือกตั้ง ให้ม็อบเทือกนำไปเล่นงานรัฐบาลและระบอบประชาธิปไตยต่อ

การปฏิเสธคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญจากทุกภาคส่วน

ม็อบเทือก โต้ว่ารัฐบาลเป็นโมฆะเพราะไม่ยอมผูกพันคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่เป็นโมฆะ

ข้อเสนอจากที่ประชุมใหญ่อธิการบดี ทุกฉบับ (เรียกร้องให้ยุบสภา และลาออก)

การประกาศหยุดทำการมหาวิทยาลัย 

การ เดินสายของสุรพล นิติไกรพจน์ บรรเจิด สิงคะเนติ การเสนอของ อมร จันทรสมบูรณ์ (ที่ศาลปกครอง เรื่องสภาพระราชทาน) ออกมาติดๆ กัน และมีจุดร่วมสำคัญซึ่งกันและกัน

มาตรการต่างๆ ที่ผ่านมาของม็อบเทือก

บทบาทศาลรัฐธรรมนูญในการพิทักษ์ม็อบเทือก

บทบาททหารที่ผ่านมา

บทบาทของราชสำนัก
บทบาท กกต.ที่พยามเลื่อนการเลือกตั้งออกไป
เหล่านี้จะทำให้เห็นความสัมพันธ์ของคู่ขัดแย้งที่ชัดเจนขึ้น ตามวัน และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ครับ.         

คนเป็นล้าน ไม่รู้จัก คุณสุเทพ ....(ตอน2)

คนเป็นล้าน ไม่รู้จัก คุณสุเทพ ....(ตอน2) 

 

   
ถ้าตรวจสอบตัวตนคุณสุเทพจาก บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินที่เจ้าตัวยื่นต่อป.ป.ช.

จะพบว่า คุณสุเทพ  ครองสถานะ “หม้าย” หลังจากเสียชีวิตของ จุฑาภรณ์ เทือกสุบรรณ

แม่ของ แทน  น้ำตาล และน้ำทิพย์ เทือกสุบรรณ ผู้บริหาร บริษัท ศรีสุบรรณฟาร์ม

ฉะนั้น  “ศรีสกุล พร้อมพันธุ์” ภริยา ที่คอยมาให้กำลังใจกำนัน ตลอดการชุมนุม

จึงเป็น ภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียน  ข้อดีคือ ทำให้ คุณสุเทพ ไม่ต้องแสดงบัญชีของ ศรีสกุล ตลอดหลายปีที่ผ่านมา