หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2556

Asean Weekly : MY ASEAN HERO ตอน 1

Asean Weekly : MY ASEAN HERO ตอน 1

 

 

สัปดาห์นี้ เปลี่ยนบรรยากาศมาฟังการเสวนาวิชาการเกี่ยวกับเรื่องราววีรบุรุษของอาเซียน ในหัวข้อ "MY ASEAN HERO ก้าวข้ามความขัดแย้งสู่ประชาคมอาเซียน" ซึ่งจัดโดยนิยสารสารคดี เมื่อวันที่ 12 มี.ค.2556 ที่ร้านหนังสือริมขอบฟ้า ถนนราชดำเนิน โดยมีผู้ร่วมร่วมเสวนา ประกอบด้วย อ.ดุลยภาค ปรีชารัชช จากโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มธ. ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์การเมืองพม่า, โซ อ่อง ตัวแทนภาคประชาชนพม่า Forum Democracy in Burma และอดีนักศึกษารุ่น 8888, อ.สิทธา เลิศไพบูลย์ศิริ อาจารย์พิเศษประจำโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มธ. ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์อินโดนีเซีย และ อ.มรกตวงศ์ ภูมิพลับ อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มธ. ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์การเมืองเวียดนาม ดำเนินรายการโดย สุเจน กรรพฤทธิ์ นักเขียนประจำกอง บก. นิตยสารสารคดี

(ที่มา)

Wake Up Thailand

Wake Up Thailand
 

WAKEUP Meet Fanclub  ตอนที่ 1

 
Wake Up Thailand ประจำวันที่ 15 เมษายน 2556 (ตอนที่ 1)
WAKEUP Meet Fanclub ตอนที่ 1 
http://www.dailymotion.com/user/VoiceTV/1#video=xz0hn7 

Divas Cafe ประจำวันที่ 15 เมษายน 2556

Divas Cafe ประจำวันที่ 15 เมษายน 2556


Diva's Café ตอบโจทย์ประชาชน 
 
Diva's Café ตอบโจทย์ประชาชน 
http://www.dailymotion.com/user/VoiceTV/1#video=xz0jg7

วาทะจุดประกาย : มาร์กาเรต แทตเชอร์

วาทะจุดประกาย : มาร์กาเรต แทตเชอร์

 

 


"ไม่มีหรอกสิ่งที่เรียกว่าสังคม มีแต่เพียงปัจเจกชนชาย หญิง และก็ครอบครัว"
"There is no such thing as society. There are individual men and women, and there are families."

- มาร์กาเรต แทตเชอร์ (Margaret Thatcher), 1987

นายกรัฐมนตรีสตรีคนแรกของของอังกฤษตั้งแต่ 1979 ถึง 1990 และเป็นผู้นำพรรคอนุรักษนิยม เจ้าของฉายา "หญิงเหล็ก" ที่พึ่งเสียชีวิตในวัย 87 ปี ไปเมื่อวันที่ 8 เม.ย.ที่ผ่านมา จากอาการเส้นเลือดในสมองแตก

(ที่มา)
http://www.prachatai.com/radio/2013/04/233

เอาเขาพระวิหารคืนมา!!! ศาลโลกไม่เกี่ยว

เอาเขาพระวิหารคืนมา!!! ศาลโลกไม่เกี่ยว?!?


 

ฝ่าวิกฤตชายแดนไทยเขมร 1/4
http://www.youtube.com/watch?v=pMm2JP_hQS8

ฝ่าวิกฤตชายแดนไทยเขมร 2/4
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=echgWAUwxS8 

ฝ่าวิกฤตชายแดนไทยเขมร 3/4
http://www.youtube.com /watch?feature=player_embedded&v=rx-BRZ2U_Ss 

ฝ่าวิกฤตชายแดนไทยเขมร 4/4
http://www.youtube.com/watch?v=eSgvkI0wQGo&feature=share 

คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เชิญผู้สนใจเข้าร่วมเสวนาวิชาการ "รัฐศาสตร์ภาคประชาชน ครั้งที่ 1" หัวข้อ "ฝ่าวิกฤตชายแดน" ในวันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 13.00-16.00 น. ณ ห้องประชุมมาลัยหุวนันท์ ตึก 3 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ร่วม ยกพล โดย ศ.ดร.ธงชัย วินิจจะกูล อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-เมดิสัน ประเทศสหรัฐอเมริกา และ รศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข อาจารย์ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดำเนินการเจรจาโดย ดร.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

ประชาชนสเปนหลายพันเดินขบวนต้านสถาบันกษัตริย์

ประชาชนสเปนหลายพันเดินขบวนต้านสถาบันกษัตริย์



http://www.washingtonpost.com/rf/image_404h/2010-2019/Wires/Online/2013-04-14/AP/Images/APTOPIX%20Spain%20Anti%20Monarchy%20Show%20Details%20.JPEG-03e05.jpg
http://www.washingtonpost.com/rf/image_404h/2010-2019/Wires/Online/2013-04-14/AP/Images/Spain%20Anti%20Monarchy%20.JPEG-083fa.jpg 


ในวันครบรอบ 82 ปีสาธารณรัฐที่ 2 แห่งสเปน ประชาชนหลายพันเดินขบวนใจกลางกรุงมาดริดเพื่อเรียกร้องให้ตำแหน่งประมุขของ รัฐมาจากการเลือกตั้ง ซึ่งสะท้อนความนิยมที่ตกต่ำลงของกษัตริย์ฮวน คาร์ลอส


14 เม.ย. 56 - สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ประชาชนชาวสเปนหลายพันคนร่วมกันเดินขบวนมายังจตุรัสปูแอร์ตา เดล ซอล ใจกลางกรุงมาดริด เพื่อประท้วงต่อต้านสถาบันกษัตริย์ และเรียกร้องให้นำตำแหน่งประมุขของรัฐที่มาจากการเลือกตั้งกลับมาอีกครั้ง


การประท้วงดังกล่าว เกิดขึ้นในวันครบรอบ 82 ปีแห่งสาธารณรัฐที่ 2 แห่งสเปน ซึ่งเป็นสาธารณรัฐสุดท้ายของสเปนก่อนจะถูกโค่นล้มโดยเผด็จการทหาร พลเอกฟรานซิสโก ฟรังโกในปี 2479 ซึ่งปกครองประเทศในระบอบเผด็จการต่อมาถึง 36 ปี โดยก่อนเขาจะหมดจากอำนาจ ฟรังโกได้แต่งตั้งให้กษัตริย์ฮวน คาร์ลอส ดำรงตำแหน่งประมุขแห่งรัฐ และรื้อฟื้นระบอบกษัตริย์กลายเป็น "ราชอาณาจักรสเปน" นับตั้งแต่ปี 2518 เป็นต้นมา 
 

การประท้วงในครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความนิยมในราชวงศ์สเปนที่ลดต่ำลงเรื่อยๆ ในหมู่ประชาชนชาวสเปน เนื่องมาจากเหตุการณ์หลายครั้งในรอบปีที่ผ่านมา อาทิ การเดินทางไปล่าช้างที่ประเทศบอตสวานาของกษัตริย์ฮวน คาร์ลอส ซึ่งถูกเปิดเผยเมื่อพระองค์ต้องเข้ารับการรักษาตัวจากอาการบาดเจ็บ ซึ่งขัดกับบทบาทของพระองค์ในฐานะประธานขององค์การกองทุนสัตว์ป่าโลก (World Wildlife Fund) สาขาสเปน และถูกตั้งคำถามเรื่องการใช้จ่ายงบประมาณท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจของสเปน
 

และล่าสุดคือกรณีอื้อฉาวของเจ้าหญิงคริสตินา พระธิดาของพระองค์ ซึ่งกลายเป็นผู้ต้องสงสัยมีส่วนรู้เห็นในคดีการยักยอกเงินของพระสวามี อินากิ เออร์ดันการิน ซึ่งถูกกล่าวหาว่ายักยอกเงินของรัฐบาลท้องถิ่น ราว 5 ล้านยูโร (ราว 190 ล้านบาท) เข้าสถาบันนูส์ มูลนิธิด้านการกีฬาซึ่งนายเออร์ดันการินเป็นประธานอยู่ระหว่างปี 2547-2549 ทั้งนี้ เจ้าหญิงคริสตินาและนายเออร์ดันการิน ยังมิได้ถูกตั้งข้อกล่าวหา แต่ศาลได้มีอำนาจเรียกให้ทั้งสองไปให้การที่ศาล ในฐานะส่วนหนึ่งของขั้นตอนการสอบสวนคดีคอร์รัปชั่น  
 

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ กษัตริย์ของสเปนได้รับความเคารพโดยประชาชนส่วนใหญ่นานหลายศตวรรษ จากบทบาทของกษัตริย์ฮวน คาร์ลอสในการพิทักษ์ประชาธิปไตยสมัยใหม่จากเผด็จการทหาร เนื่องมาจากเหตุการณ์ความพยายามก่อรัฐประหารนำโดยพันโทอันโตนิโอ เตเคโรในปี 2524 แต่ก็ไม่สำเร็จเนื่องจากกษัตริย์ฮวน คาร์ลอสได้ออกแถลงการณ์ยับยั้งไว้  

เรื่องที่เกี่ยวข้อง:  
Thousands rally in Spain against the monarchy, calling for return of an elected head of state

(ที่มา)