หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การแก้หรือยกเลิกกฏหมาย 112 เป็นการล้มล้างทหาร กษัตริย์เป็นเพียงองค์ประกอบรอง

การแก้หรือยกเลิกกฏหมาย 112 เป็นการล้มล้างทหาร กษัตริย์เป็นเพียงองค์ประกอบรอง




ทหารโกหกว่าเขารับใช้กษัตริย์เสมอ แต่แท้จริงแล้ว เขารับใช้ตัวเองต่างหาก
 
เมื่อทหารก่อรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ ทหารโกหกว่ากระทำไปเพื่อ ปกป้องระบบ ประชาธิปไตยอันมีกษัตริย์เป็นประมุข ต่อจากนั้นมีการเพิ่มการใช้กฏหมายหมิ่นกษัตริย์ฯ (มาตรา 112) ในการปิดปากผู้ที่คัดค้านรัฐประหาร และเพื่อให้ความชอบธรรมกับทุกอย่างที่ทหารและรัฐบาลอภิสิทธิ์ทำในภายหลัง จนในที่สุดมีการเข่นฆ่าประชาชนเสื้อแดงมือเปล่าด้วยข้ออ้างว่ากำลัง ปกป้องสถาบันกษัตริย์” 

เราจำเป็นที่จะต้องศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ทหาร กษัตริย์ และ กฏหมาย 112 เพื่อให้เราชัดเจนว่าจะแก้ปัญหาเผด็จการตรงจุดใดบ้าง

ผู้ที่ทำลายประชาธิปไตยไทยอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ยุคจอมพลป. พิบูลสงคราม คือทหาร โดยที่กษัตริย์ภูมิพลมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ในการถูกใช้เป็นเครื่องมือเชิงสัญญลักษณ์ เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับทหารเป็นหลัก และกฏหมาย 112 มีไว้เพื่อไม่ให้ตรวจสอบวิพากษ์วิจารณ์พฤติกรรมของทหาร 

ทหารโกหกว่าเขารับใช้กษัตริย์เสมอ แต่แท้จริงแล้ว เขารับใช้ตัวเองต่างหาก

การสร้างความชอบธรรมจากกษัตริย์มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับทหารไทย เพราะทุกวันนี้กระแสประชาธิปไตยขยายไปทั่วโลกในจิตใจประชาชน เวลาทหารทำรัฐประหารก็อาจพยายามอ้างว่าทำ เพื่อประชาธิปไตยแต่ ไม่ค่อยมีใครเชื่อ เพราะบทบาททหารในการเมืองกับระบบประชาธิปไตยมันไปด้วยกันไม่ได้ นอกจากนี้กองทัพไทยไม่มีประวัติอะไรเลยในการปลดแอกประเทศไทยอย่างในกรณีกอง ทัพอินโดนีเซียหรือเวียดนาม ดังนั้นทหารต้องอ้างความชอบธรรมจากที่อื่น คือจากสถาปันกษัตริย์ ซึ่งทหารเป็นผู้ปั้นขึ้นกับมือในอดีต

นอกจากทหารแล้ว ชนชั้นนายทุนกับข้าราชการชั้นสูงในไทย ก็พยายามเกาะโหนกษัตริย์ภูมิพลในรูปแบบเดียวกันด้วย แต่นั้นไม่ได้แปลว่านายภูมิพลเป็น เหยื่อเพราะ เขาพร้อมใจจะร่วมมือกับทหารและนายทุนเสมอ และที่สำคัญคือพร้อมจะรับตำแหน่งการเป็นประมุขของประเทศ และได้ดิบได้ดีในด้านการเงินจากบทบาทนี้ ถ้าไม่อยากทำก็ควรลาออกตั้งแต่แรก

ชนชั้นปกครองไทย โดยเฉพาะทหาร นายทุนใหญ่ และนักการเมืองในรัฐสภา ต้องการให้ประชาชนมองว่านายภูมิพลเป็นทั้ง กษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญประชาธิปไตย” “กษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์และ เทวดาพร้อมๆ กันหมด และจะมีการยัดเยียดสิ่งนี้ตลอด โดยเริ่มในโรงเรียนประถม แต่มันมีเป้าหมายแอบแฟง เพราะทุกอย่างที่ชนชั้นปกครองทำกับพลเมืองไทย ในสังคมที่เต็มไปด้วยความอยุติธรรม จะถูกเสนอว่าเป็นนโยบายของประมุข ดังนั้นเราไม่มีสิทธิ์วิจารณ์ ดังนั้นหน้าที่ของกษัตริย์ภูมิพลคือการให้ความชอบธรรมกับพฤติกรรมเลวๆ ของทหาร นายทุน และนักการเมือง

ผู้เขียนมองว่าเราไม่ได้อยู่ในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ รัฐไทยเป็นรัฐทุนนิยมสมัยใหม่ ทั้งๆที่มีอำนาจนอกรัฐธรรมนูญดำรงอยู่ในรูปแบบทหารและอำมาตย์ส่วนอื่นๆ     การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง ทหาร กษัตริย์ และกฏหมาย 112 แบบนี้ แปลว่าในรูปธรรม การจัดการกับกฏหมาย 112 ต้องทำพร้อมกับการลดอำนาจอันไม่ชอบธรรมของทหาร นี่คือสาเหตุที่นายพลหัวโบราณทั้งหลาย น้ำลายฟูมปาก และพูดถึงการทำรัฐประหารรอบใหม่ เมื่อประชาชนออกมาเสนอให้แก้ไขหรือยกเลิก 112

พูดง่ายๆ 112 มีไว้ปกป้องทหารเป็นหลัก

การเริ่มเข้าใจว่าทหารคือศัตรูหลักของประชาธิปไตย และ กฏหมาย 112 ถูก ใช้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของทหารเป็นหลัก ไม่ได้ทำให้การต่อสู้ง่ายขึ้นเท่าไร แต่อย่างน้อยมันช่วยให้เราชัดเจนว่าเราสู้กับใคร แต่เรายังต้องหาทางกำจัดอำนาจทหารที่มาจากการใช้อาวุธและความรุนแรงอย่างที่ เราเห็นที่ผ่านฟ้าและราชประสงค์เมื่อปี ๒๕๕๓

แน่นอนบทความนี้จะถูกตัดสินโดยทหารและพรรคพวกว่า “ผิดกฏหมาย 112” แต่มันไม่ใช่เพราะบทความนี้สร้างภาพว่ากษัตริย์ภูมิพลอ่อนแอ มัน “ผิด 112” เพราะมันเปิดโปงบทบาทของทหารในการใช้กษัตริย์ต่างหาก

แกนนำ นปช. เปลี่ยนจากนักต่อสู้ไปเป็นไม้ประดับของรัฐบาล


เรา ต้องเข้าใจว่าในอดีต รัฐบาลไทยรักไทยและนายกทักษิณ ไม่ต่างอะไรจากทหาร นายทุน และนักการเมืองอื่นๆ ที่พยายามใช้กษัตริย์ภูมิพล เพื่อสร้างความชอบธรรมกับอำนาจตนเองในสังคมที่เต็มไปด้วยความเหลื่อมล้ำ นี่คือสาเหตุที่รัฐบาลพรรคเพื่อไทยของยิ่งลักษณ์พร้อมจะใช้ 112 หนักขึ้นและคัดค้านการปฏิรูปใดๆ อีกสาเหตุคือเขากำลังปรองดองยอมจำนนกับอำนาจทหารด้วย

ในขณะเดียวกัน รัฐบาลพรรคเพื่อไทยทราบดีว่าถ้าไม่มีเสื้อแดงแต่แรก เขาคงไม่ได้ชนะการเลือกตั้งแน่ และเขาทราบดีว่าเสื้อแดงจำนวนมากไม่สบายใจกับการจับมือประนีประนอมกับอำนาจ ทหาร ดังนั้นจึงมีการแต่งตั้งรัฐมนตรีเสื้อแดงอย่าง ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ในตำแหน่งที่ไม่ค่อยสำคัญ เพื่อเป็นไม้ประดับหลอกลวงและกล่อมขบวนการเสื้อแดงให้นิ่ง ในขณะเดียวกันแกนนำ นปช. อื่นๆ ก็ค่อยๆ สลายพลังการเคลื่อนไหวของขบวนการ เพื่อที่จะเป็นแค่กองเชียร์ของรัฐบาล และกองเชียร์ของรัฐบาลเพื่อไทย ก็เท่ากับเชียร์ให้กับการก้มหัวให้ทหาร 

นี่คือยุทธิ์วิธี “การนำนักเคลื่อนไหวมาเป็นพวก” เพื่อมัดมือปิดปากและสลายขบวนการ ในอดีตมีการใช้วิธีนี้ในฟิลิปปินส์หลังการล้มเผด็จการมาร์คอส และในอังกฤษพรรคแรงงานมีความเชี่ยวชาญในวิธีการนี้เป็นพิเศษ เมื่อใช้กับสหภาพแรงงาน
 
ด้วยเหตุนี้ ขบวนการรณรงค์ให้แก้หรือยกเลิก 112 และขบวนการเพื่อให้ปฏิรูปรัฐธรรมนูญอย่างถอนรากถอนโคนโดยลบล้างผลพวงของรัฐ ประหาร ๑๙ กันยา มาจากคนก้าวหน้า ทั้งเสื้อแดงและคนอื่น ที่ไม่ได้เป็นกองเชียร์ให้รัฐบาลเพื่อไทย และไม่ได้อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของ นปช. แต่อย่างใด หกเดือนหลังการเลือกตั้ง คนเหล่านี้คือความหวังของทุกคนที่อยากเห็นประชาธิปไตยและวัฒนธรรมพลเมือง เกิดขึ้นอย่างแท้จริงในประเทศของเรา

(ที่มา)

โหยไห้ยุติธรรม แด่ “อากง sms”


โหยไห้ยุติธรรม แด่ “อากง sms”

 

ประมวลคำไว้อาลัยแด่อากงและกระบวนการยุติธรรมไทย หน้าศาลอาญารัชดา วันที่ 9 พ.ค.55


 
 
“เราน่าจะได้รู้ตัวบ้างว่าภัยร้ายอยู่ใกล้ตัวแก ครอบครัวจะได้เตรียมตัว อย่างน้อยอากงก็จะไม่ตายอย่างเดียวดาย” รสมาลิน ภรรยา อากง sms
 
 
 
 
“อากงและน้องเกดเหมือนกัน น้องเกดเสียชีวิตเพราะผังล้มเจ้า อากงเสียชีวิตเพราะ ม.112 ทั้งสองอย่างมาจากรากเหง้าเดียวกัน” พะเยาว์ อัคฮาด แม่น้องเกด
 
 

 
“กระบวนการ ยุติธรรมในประเทศไทยผิดปกติและอัปลักษณ์ คนที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรมควรอดสูใจอย่างยิ่ง การใช้กฎหมายกดขี่ข่มเหงกดขี่คนจนคนรากหญ้ามีอยู่ทุกวัน ไม่ใช่เฉพาะอากง คุกไทยมีไว้ขังคนจน และนักโทษการเมืองเท่านั้น” พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
 
 

“ต่อไปนี้ พวกเราจะร่างกฎที่รับใช้ประชาชน มีเสียงเจ็บปวดถาม ส.ส.เพื่อไทยว่า จะกล้าแตะ ม.112 มั้ย เราขอเชิญชวนให้ไปยื่นจดหมายถึงพวกเรา พวกเราจะรออยู่” ดร.จารุพรรณ กุลดิลก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคเพื่อไทย
 
 

 
 “ม.112 เป็นรูปธรรมที่ชัดเจนที่ก่อความสะเทือนใจ และฉาวโฉ่ไปทั่วโลก เรากำลังเผชิญชะตากรรมในความหวาดกลัว เช่นเดียวกับอากง” ทองธัช เทพารักษ์ นักวาดการ์ตูน
 
 

 
“ในที่สุดอากงก็ ได้รับอิสรภาพ แม้จะเป็นอิสรภาพที่ไม่ได้มาในโลกนี้ แต่เป็นโลกอีกโลกหนึ่ง เป็นอิสรภาพที่รอเราอยู่ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นใคร” คำ ผกา นักเขียน นักคิด และพิธีกรรายการ ‘คิดเล่นเห็นต่าง กับ คำผกา’
 
 

 
“ตอนนี้กฎหมายมาตรา 112 ไม่ได้แค่พรากชีวิต แต่ได้พรากจิตวิญญาณความเป็นมนุษย์ไปด้วย” วันรัก สุวรรณวัฒนา อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
 
 
 
“ความตายของอากง ถ้าเราไม่โกรธ เราก็ไม่ใช่คนแล้ว เราโกรธ แต่ต้องโกรธอย่างมีสติ” วัฒน์ วรรลยางกูร นักเขียนรางวัลศรีบูรพา
 
 

 
“ความตายของอากง เป็นความตายของนักสู้ ท่านสู้ในทางคดี ในการถูกจับกุมคุมขัง แม้จะถูกกลั่นแกล้ง ดำเนินคดีอย่างไม่ยุติธรรม และต่อสู้จนถึงวาระสุดท้าย” จรัล ดิษฐาอภิชัย อดีตแกนนำ นปก.รุ่น 2
 
 
 
“เราไม่สามารถ เรียกร้องความเมตตา หรือมนุษยธรรมใดๆ ได้จากกระบวนการยุติธรรม ความตายนี้เป็นบทเรียนว่าเราต้องสู้ต่อไปเพื่อแก้ไขกฎหมายนี้” พวงทอง ภวัครพันธุ์ คณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 (ครก. 112)
 
(ที่มา)

อากงกับความศรัทธาต่อสถาบันกษัตริย์

อากงกับความศรัทธาต่อสถาบันกษัตริย์



โดยปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์
 

การเสียชีวิตของอากง มันหนักหนาเหลือเกิน และยากที่ผมจะทำใจได้ – นี่คือข้อความที่ผมลงในเฟซบุ๊คส่วนตัวหนึ่งวันหลังจากที่ทราบข่าวว่าอากงได้ สิ้นชีวิตแล้ว สิ้นชีวิตเยี่ยงนักโทษที่ต้องถูกกักขังด้วยความผิดที่ตัวเองไม่ได้ก่อ ถึงเวลาแล้วที่สังคมไทยต้องหันมามองปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้กฏหมายหมิ่น พระบรมเดชานุภาพ มาตรา 112 ไปในทางที่ผิด ถึงเวลาแล้วที่เราต้องหันมามองระบบยุติธรรมของไทยที่ยังคงรับใช้ระบบเจ้าขุน มูลนาย และถึงเวลาแล้วที่เราไม่อาจเพิกเฉยต่อสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชน คนไทยทุกคนควรมีสิทธิขั้นพื้นฐานเท่ากัน แต่ที่ผ่านมา คนจนและไร้ฐานันดรกลับถูกปฏิบัติเยี่ยงสัตว์เดรัจฉาน ถึงเวลาแล้วที่เราต้องแก้ไขปัญหาเหล่านี้

ผมเคยมองว่า การประนีประนอมและการเปิดช่องทางของการสื่อสารกับผู้ใหญ่ในสังคมนี้ยังเป็น ไปได้ แต่คดีแล้วคดีเล่า โดยเฉพาะคดีที่เกี่ยวข้องกับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ช่องทางการเจรจาไม่เคยเปิด ผู้มีอำนาจปฏิเสธที่จะค้นหาความเป็นจริงบนพื้นฐานของการยึดมั่นในหลัก ยุติธรรม แต่กลับใช้อำนาจตัวเองที่มีอยู่ในการปกป้องเชิดชูสถาบันกษัตริย์อย่างหลับหู หลับตา และละเลยความรับผิดชอบในการปกป้องสถาบันประชาชน เราเดินมาถึงทางตัน ทางตันที่บอกกับเราว่า ต่อไปนี้ การเรียกร้องขอความเป็นธรรมจากสังคมคงไม่สามารถทำได้แค่เพียงลมปาก แต่เราต้องส่งเสริมให้มีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องในเชิงรูปธรรม จนกว่าสังคมจะได้รับความยุติธรรมคืน ผมจะไม่ปล่อยให้อากงเสียชีวิตโดยเปล่าประโยชน์

ดังนั้น ผมมีความเห็นว่า การยกเลิกกฏหมายมาตรา 112 เท่านั้น (ไม่ใช่เพียงแค่แก้ไขดังที่ผมเคยเสนอก่อนหน้านี้) ที่จะเป็นทางออกเดียวของการสร้างความยุติธรรมและความเป็นประชาธิปไตยที่แท้ จริงของสังคม การยกเลิกกฏหมายนี้จะเป็นช่องทางเดียวที่ทำให้ทุกคนมีสิทธิแสรีภาพในการ แสดงออกซึ่งความเห็นทางการเมืองอย่างตรงไปตรงมาโดยไม่หวาดเกรงต่ออิทธิพลใดๆ นอกจากนี้ จะยังเป็นทางออกเดียวที่คนไทยทุกคนจะได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมกัน ไม่มีใครมีความเป็นเดรัจฉานหรือความมีอารยะมากหรือน้อยไปกว่ากัน ประเทศนี้ไม่ได้ปกครองด้วยระบบเจ้า เราไม่ได้อยู่ภายใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

ถ้าหากกลุ่มที่รักสถาบันพระมหากษัตริย์มีความรักและความเคารพต่อสถาบัน จริงดังที่มักกล่าวอ้างเช่นนั้น กลุ่มคนเหล่านี้ต้องเข้าใจถึงผลกระทบที่เกิดจากกรณีการเสียชีวิตของอากง และกรณีนักโทษการเมืองอื่นๆ โดยเฉพาะผลกระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์เอง พวกเค้าต้องเข้าใจว่า การกักขังอากง คนแก่ที่มีโรคประจำตัวโดยไม่ได้รับอนุญาติให้ประกันตัว เป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ นี่ยังไม่รวมถึงการลงโทษอากงเป็นเวลาถึง 20 ปีจากความผิดที่อากงไม่ได้ก่อ การลงโทษที่โหดเหี้ยมเช่นนี้ เป็นการสร้างกำแพงกั้นระหว่างสถาบันกษัตริย์กับกลุ่มที่มองเห็นว่าความ ยุติธรรมกำลังสลายสูญหายไป นำไปสู่ความคิดและความรู้สึกรักและเคารพในสถาบันต้องลดน้อยลง นำไปสู่การสร้างภาพลักษณ์ใหม่ของสถาบันกษัตริย์ โดยเปลี่ยนแปลงจากสถาบันที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความเมตตาและการให้อภัย ไปสู่การเป็นสถาบันที่เป็นสัญลักษณ์ของความเกลียดชัง การลงโทษ และการโดดเดี่ยวผู้ที่มีความเชื่อต่างจากไปตัวเอง


(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/05/40442

ดิฉันปลงไม่ตก: เปิดคำเฉลยที่มาแห่งคดี

ดิฉันปลงไม่ตก: เปิดคำเฉลยที่มาแห่งคดี


Posted Image

โดยขวัญระวี วังอุดม


คำถามสั้นๆถึง “คนดี”ในระบอบตุลาการทั้งหลาย จะต้องให้มีคนตายในนาม “ประชาธิปไตยแบบไทยๆ"- อันมีลักษณะเฉพาะไม่เหมือนใครในโลก - อีกกี่ศพ จึงจะเลิกเฉไฉ/ บิดเบือนและหันมายึดมั่นในหลักนิติธรรมอย่างที่มักอ้างกันเสียที?!!

ตั้งแต่ วันที่อากงถูกตัดสินด้วยข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (ม.112) จนกระทั่งวันที่จากลาโลกนี้ไปอย่างไม่มีวันหวนกลับ บรรดาชนชั้นนำในระบอบตุลาการ -- หรือมนุษย์ที่ใครพากันเรียกว่าเป็น “คนดี” – ยังพากันเฉไฉ/ บิดเบือนข้อเท็จจริงอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เริ่มจากการที่โฆษกศาลยุติธรรมเขียนบทความในนสพ.ลงวันที่ 14 ธันวาคม 2554 พาดหัวว่า "อากงปลงไม่ตก: เปิดคำเฉลย!ที่มาแห่งคดี"[i] โดยมีใจความว่าในการตัดสินคดีอากงนั้น ศาลไทยเคารพสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามที่กฎหมายสิทธิมนุษยชน ระหว่างประเทศระบุไว้ โดยเฉพาะกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง (ICPR) ข้อ 19 ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งโฆษกศาลฯกล่าวอย่างถูกต้องว่าขอบเขตในการใช้สิทธิเสรีภาพดังกล่าวตามที่ กำหนดใน ICCPR ต้องไม่ก้าวล้ำชื่อเสียงของบุคคล หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติหรือศีลธรรมอันดี

แต่ สิ่งที่โฆษกศาลฯพูดไม่หมดคือ แม้ ICCPRจะให้ความคุ้มครองชื่อเสียงของบุคคล แต่กระนั้นมีข้อยกเว้น 2 ประการคือ 1. บุคคลสาธารณะย่อมต้องถูกวิพากษ์วิจารณ์ได้ และ 2. ต้องมีการละเว้นโทษหากพิสูจน์ได้ว่าข้อความนั้นเป็นจริง หรือเป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะ หากใครได้อ่านคำพิพากษาจะทราบว่าในการตัดสินของศาล ไม่มีแม้แต่การแยกแยะลักษณะของข้อความ SMSทั้ง 4 ข้อความที่อากงถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ส่ง ซ้ำยังเหมารวมและอาศัยเพียงความเชื่อและความคิดเห็นของผู้พิพากษาว่าทั้ง 4 ข้อความนั้นเป็นเท็จโดยไม่มีการพิสูจน์แต่ประการใด ตามที่ระบุว่า "ข้อเท็จจริงเป็นที่ประจักษ์โดยทั่วไปว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถทรงเปี่ยมไปด้วยพระ เมตตา ทรงห่วงใยประชาชนทุกหมู่เหล่า ทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการเพื่อปวงชนชาวไทย"   

นอกจากนั้นในการอ้างเหตุความมั่นคงของชาติ สิ่งที่โฆษกศาลฯไม่ได้พูดคือผู้ตรวจการพิเศษของสหประชาชาติว่าด้วยเรื่อง สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเคยกล่าวไว้ชัดเจนว่ากฎหมายหมิ่นพระบรมเด ชานุภาพของไทยถูกตีความกว้างเกินไป และโทษ (ที่โฆษกศาลฯกล่าวเสมือนว่ากระทงละ 5 ปีที่อากงได้รับนั้น ศาลมีความปรานีแล้ว) มีความรุนแรงและไม่ได้สัดส่วนกับการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์หรือความมั่น คงของชาติ[ii] ในขณะที่หลักโจฮานเนสเบิร์กว่าด้วยความมั่นคงของชาติ สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และการเข้าถึงข้อมูล (The Johannesburg Principles on National Security, Freedom of Expression and Access to Information) ยังระบุว่า “[การที่รัฐจะลิดรอนสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชน] จำเป็นต้องพิจารณาจากเจตนารมณ์และผลลัพธ์ของการนำกฎหมายนั้นมาบังคับใช้ว่า เป็นไปเพื่อปกป้องความอยู่รอดของชาติหรือไม่ แต่จะไม่เข้าข่ายเมื่อนำมาใช้โดยไม่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาติ เช่น เพื่อปกป้องรัฐบาลจากความอับอายขายหน้า หรือเปิดโปงการกระทำผิด หรือปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานของสถาบันทางสังคมต่างๆ หรือปลูกฝังอุดมการณ์ใดอุดมการณ์หนึ่งโดยเฉพาะ เป็นต้น” [iii] การวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์หรือบุคคลในสถาบันฯจึงไม่ได้ส่งผลให้ประเทศ ชาติต้องล่มสลายแต่อย่างใด อีกทั้งกฎหมายหมิ่นฯต้องไม่ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการปลูกฝังอุดมการณ์ ของรัฐ 
 
ส่วนเรื่องศีลธรรมอันดีนั้น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติได้ให้ข้อคิดเห็นเพื่อเป็นบรรทัดฐาน สำหรับการตีความไว้ว่า ศีลธรรมถูกกำหนดโดยหลักปรัชญาและวัฒนธรรม สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเสมอคือภายในสังคมนั้นๆย่อมมีวัฒนธรรมและหลักเกณฑ์คุณ ค่าที่แตกต่างหลากหลาย[iv] ไม่เพียงโฆษกศาลฯจะไม่ได้เน้นย้ำตามนี้แล้ว กลับยังอ้าง"ความเป็นไทย"เพื่อกีดกันความแตกต่างในสังคมเสมือนเป็นสิ่งชั่ว ร้ายที่ต้องกำจัดให้สิ้นซากโดยไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงหลักนิติธรรมใดๆ  

นอกจากนั้นโฆษกศาลยังลืมไปว่าเจตจำนงของหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่าง ประเทศต้องสอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย -- ประชาธิปไตยที่ไม่ต้องมีลักษณะเฉพาะใดๆพ่วงท้าย  

 

(อ่านต่อ)

http://www.prachatai.com/journal/2012/05/40445

ครบถ้วนขบวนความจริงๆ..

ครบถ้วนขบวนความจริงๆ..


Posted Image


Posted Image 

Posted Image 
 
Posted Image

"นพดล"แถลงนายกฯไม่ปรับครม.เร็วๆนี้ จี้ยุติศึกภายในหวั่นปชช.ผิดหวัง ยัน"แม้ว"บินจีนไม่เกี่ยวขอเก้าอี้

"นพดล"แถลงนายกฯไม่ปรับครม.เร็วๆนี้ จี้ยุติศึกภายในหวั่นปชช.ผิดหวัง ยัน"แม้ว"บินจีนไม่เกี่ยวขอเก้าอี้

 

 



ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ส่งคำแถลงผ่านอีเมล์มายังผู้สื่อข่าวทุกแขนง เพื่อชี้แจงกรณีการปรับคณะรัฐมนตรีและการเดินไปยังประเทศจีนของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โดยระบุว่า การปรับคณะรัฐมนตรีนั้น คาดว่าไม่น่าจะมีการปรับในเร็วๆ นี้ เพราะนายกรัฐมนตรีต้องการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองก่อนปัญหาการเมือง ต้องเร่งแก้ไขปัญหาปากท้องประชาชนก่อน ที่จะมาพิจารณาว่าจะปรับคณะรัฐมนตรีเมื่อใด ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นผู้บริหารมืออาชีพของนายกฯ ที่เห็นถึงความสำคัญของประชาชนมาก่อนนักการเมือง

"ส่วนกรณีที่มีการให้สัมภาษณ์กระทบกระทั่งกันในพรรคเพื่อไทยเกี่ยว กับตัวบุคคลที่จะมาเป็นรัฐมนตรี ส่วนตัวอยากจะให้แต่ละฝ่ายใช้ความอดทนและละเว้นการแสดงความเห็นที่จะสร้าง ความแตกแยกผ่านสื่อมวลชน เพราะในขณะนี้ก็ยังไม่ถึงเวลาที่จะปรับคณะรัฐมนตรี นายกฯ จะเป็นคนกำหนดเองว่าจะปรับเมื่อใดและจะปรับใครเข้าใครออก ขณะนี้ประชาชนอยากเห็นรัฐบาลและพรรคเพื่อไทยทำงานแก้ไขปัญหาปากท้องของ แพงอย่างเร่งด่วน และอยากจะเห็นความเป็นเอกภาพและความสามัคคีกันในพรรคแกนนำ เพราะฉะนั้น เราไม่ควรทำให้ประชาชนผิดหวัง" นายนพดลระบุ


(อ่านต่อ)

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1336633147&grpid=00&catid=&subcatid=