หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สัมภาษณ์ รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ – เหลียวหลังแลหน้าประชาธิปไตยไทย ๘๐ ปี

สัมภาษณ์ รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ – เหลียวหลังแลหน้าประชาธิปไตยไทย ๘๐ ปี


“เราต้องใช้อำนาจอันชอบธรรมที่เกิดจากเสียงของประชาชน ไปทำลายอำนาจอันไม่ชอบธรรมที่เกิดจากรถถังและปากกระบอกปืน”



เมื่อเวลาย่ำรุ่ง วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕
คณะราษฎรอันประกอบด้วยข้าราชการ ทหารบก ทหารเรือ พลเรือน เข้ายึดอำนาจและเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบ ประชาธิปไตย ภายใต้เจตนารมณ์ที่ว่าอำนาจสูงสุดเป็นของราษฎร บุคคลทุกคนย่อมเสมอภาคกันตามกฎหมาย

การเปลี่ยนแปลงครั้งนั้นนำพาสยามประเทศเข้าสู่ระบอบการเมืองแบบใหม่ เปลี่ยนภูมิทัศน์ทางสังคมการเมืองและจินตนาการของผู้คนในเรื่องสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค จิตใจเป็นเจ้าของชาติ

ในรอบ ๘ ทศวรรษ สังคมการเมืองไทยผ่านเหตุการณ์อันเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญๆ หลายเหตุการณ์ อันได้แก่เหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖, ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙, พฤษภาคม ๒๕๓๕  จนมาถึงเหตุการณ์เดือนเมษายน-พฤษภาคม ๒๕๕๓

๘๐ ปีประชาธิปไตยไทย ผ่านการรัฐประหารมาร่วม ๑๐ ครั้ง  มีรัฐธรรมนูญมาแล้ว ๑๘ ฉบับ  วันนี้เราเดินทางมาถึงจุดเปลี่ยนสำคัญอีกครั้งของการเมืองไทยนับแต่หลังรัฐ ประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ เป็นต้นมา เราได้เห็นสังคมไทยตกอยู่ในสถานการณ์การใช้กฎหมายอย่างบิดเบี้ยว การป้ายสีกล่าวหาฝ่ายตรงข้ามที่เห็นต่างทางการเมืองด้วยการใช้กฎหมายหมิ่น พระบรมเดชานุภาพเป็นเครื่องมือ จนเป็นเหตุให้มีผู้ตกเป็น “เหยื่อ” ทางการเมืองมากมาย

ผลพวงของรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ ได้แบ่งแยกสังคมออกเป็นเสี่ยง นำไปสู่การเคลื่อนไหวของพลังมวลชนระดับชาติ และความเคลื่อนไหวทางวิชาการในพื้นที่สาธารณะขนานใหญ่นับแต่ข้อเสนอของ

คณะนิติราษฎร์ (กลุ่มอาจารย์นิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์  ก่อตั้งเมื่อ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๓) ว่าด้วยเรื่องการลบล้างผลพวงของรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙, การแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒, การเยียวยาผู้เสียหายจากการชุมนุมทางการเมือง และการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ถูกโยนสู่สังคมไทย


นิติราษฎร์ประกาศตัวว่าข้อเสนอเหล่านั้นอิงกับหลักนิติรัฐประชาธิปไตยอัน เป็นหลักการพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตยและยึดโยงกับอุดมการณ์ของคณะราษฎร  ไม่มีใครคาดคิดว่าข้อเสนอของนิติราษฎร์จะได้รับการตอบรับและส่งผลสะเทือน กลายเป็นกระแสที่ถูกพูดถึงอย่างกว้างขวาง  ในขณะเดียวกันการโต้กลับวิพากษ์วิจารณ์ข้อเสนอนั้นก็รุนแรงขึ้นเป็นลำดับจน ถึงขนาดมีการทำร้ายร่างกายหนึ่งในคณาจารย์นิติราษฎร์อันเนื่องมาจากไม่เห็น ด้วยกับการเคลื่อนไหวของพวกเขา

ในวาระ ๘๐ ปีการอภิวัฒน์สยาม ๒๔๗๕  สารคดี มีโอกาสสนทนากับนักวิชาการ ๔ คน– รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์, คำนูณ สิทธิสมาน, รศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร, ศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ ว่าด้วยเรื่องเส้นทางประชาธิปไตยที่เราเดินมา และหนทางข้างหน้าที่เราจะก้าวเดินไป

ด้วยความหวังว่าอรุณรุ่งของประชาธิปไตยในเมืองไทยจะมาถึงในวันหนึ่ง

การอภิวัฒน์สยาม ๒๔๗๕ ในมุมมองของอาจารย์เป็นอย่างไร  อุดมการณ์ของคณะราษฎรได้ลงหลักปักฐานในสังคมไทยแล้วหรือยัง

การอภิวัฒน์สยาม ๒๔๗๕ นั้นคือการเปลี่ยนระบอบ จากเดิมที่กษัตริย์มีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด กลายเป็นระบอบที่เจ้าของอำนาจนั้นคือประชาชน แล้วกษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ  ผมคิดว่า ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ นำมาซึ่งหลักการในเชิงของการปกครองอยู่ ๓ ประการใหญ่ๆ  ประการแรกคือยังคงรูปของรัฐไว้เป็นราชอาณาจักร

ไม่ได้เปลี่ยนแปลงรูปของรัฐให้กลายเป็นสาธารณรัฐ คือยังคงมีกษัตริย์เป็นประมุข เพียงแต่กษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ


ประการที่ ๒  ๒๔๗๕ เป็นการวางหลักนิติรัฐ ซึ่งปรากฏอยู่ในหลัก ๖ ประการของคณะราษฎร และปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช ๒๔๗๕ (รัฐ-ธรรมนูญฉบับที่ ๒) “นิติรัฐ” คือการปกครองโดยกฎหมายเป็นใหญ่ โดยกฎหมายนั้นเป็นกฎหมายที่ยุติธรรม ประกันสิทธิเสรีภาพของราษฎร ประกันอิสระของผู้พิพากษาตุลาการ มีการแบ่งแยกอำนาจ ไม่ให้อำนาจนั้นรวมศูนย์อยู่ในมือใครคนใดคนหนึ่งหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่ง

ประการที่ ๓  ๒๔๗๕ ได้วางหลักประชาธิปไตย คือการกำหนดให้เจ้าของอำนาจสูงสุดของประเทศนั้นคือราษฎรทั้งหลาย  หลายคนมองว่าเป็นการชิงสุกก่อนห่าม หลายคนมองว่าเป็นการแย่งชิงพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ แต่ผมมีความเห็นว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองแต่ดั้งเดิมเป็นของราษฎร  ๒๔๗๕ จึงเป็นการทำให้อำนาจนั้นกลับคืนสู่มือของเจ้าของที่แท้จริง  แล้วก็ไม่ใช่การชิงสุกก่อนห่าม ถ้าย้อนดูบริบทการเมืองในเวลานั้นจะพบว่าเกิดความเปลี่ยนแปลงภายในรัฐ ไทยอยู่แล้ว ทั้งความเสื่อมโทรมของการบริหารราชการ ความไม่พร้อมต่อการปรับตัวสู่รัฐสมัยใหม่ ซึ่งล้วนเป็นผลที่อย่างไรก็จะต้องนำไปสู่เหตุการณ์ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ อยู่ดี

เพราะฉะนั้นผมคิดว่าการอภิวัฒน์ ๒๔๗๕ จบไปแล้วในแง่ของการยึดอำนาจรัฐเพื่อเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง และสถาปนาการปกครองระบอบประชาธิปไตยขึ้น (ไม่ใช่รัฐประหารเพียงเพื่อเปลี่ยนแปลงรัฐบาลและฉีกรัฐธรรมนูญ) แต่ว่าการปลูกฝังอุดมการณ์ประชาธิปไตย การปลูกฝังนิติรัฐยังไม่จบ และยิ่งไม่จบหนักขึ้นเมื่อเกิดการโต้การอภิวัฒน์

จุดเปลี่ยนสำคัญที่เรียกว่า “การโต้การอภิวัฒน์” นั้นมี ๒ ช่วง คือรัฐประหารปี ๒๔๙๐ นำโดย ผิน ชุณหะวัณ ซึ่งเป็นผลพวงมาจากกรณีสวรรคตวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๔๘๙  มันเปลี่ยนภูมิทัศน์ทางการเมืองของประเทศไทยไปอย่างสิ้นเชิง  แล้วถูกทับอีกครั้งในช่วงรัฐประหารปี ๒๕๐๐ นำโดย สฤษดิ์ ธนะรัชต์  ความสำเร็จนี้เกิดจากการทำงานหนักของคนหลายคนซึ่งอยู่เบื้องหลัง  แน่นอนเบื้องหลังความสำเร็จนี้มีเหตุปัจจัยหนุนช่วยหลายอย่าง บางกลุ่มการเมืองก็ได้ฉวยโอกาสนี้ไปใช้หาอำนาจต่อได้อีก  แล้ววิธีคิดทางการเมืองแบบนี้ได้แทรกซึมไปในทุกอณูของสังคมไทย

(อ่านต่อ)
http://www.sarakadee.com/2012/07/19/worajet/

ส่อ"ถอย"อีก

ส่อ"ถอย"อีก

 

 

โดยส่วนตัวอยากจะเห็นการลงประชามติ วัดใจคนไทยไปเลยว่า จะเห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2550 ทั้งฉบับ ยกเว้นหมวดพระมหากษัตริย์ หรือไม่

เพราะจะทำให้หลายเรื่องชัดเจนขึ้น

ถ้า เห็นชอบ ก็สามารถเดินหน้ารื้อรัฐธรรมนูญที่เป็นผลพวงการรัฐประหารได้โดยไม่ต้องกังวล กับขบวนการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ จากใครหรือฝ่ายใดอีก

ใครขัดขวางก็เท่ากับไม่เคารพประชามติของประชาชน
เช่นกัน ในกรณีประชามติไม่ผ่าน 

พรรคเพื่อไทยก็ต้อง "ถอย" ไม่ผลักดันเรื่องนี้อีก
ประชามตินอกจากจะทำให้เรื่องรัฐธรรมนูญชัดเจนแล้ว
ที่จะทำให้ชัดเจนอีกประเด็นหนึ่ง นั่นก็คือ จะได้พิสูจน์ว่า รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อยู่ในใจของชาวบ้านอย่างที่อ้างหรือเปล่าซึ่งจะให้นัยยะทางการเมืองสูงยิ่ง

อย่างไรก็ตาม เมื่อลงสู่รายละเอียด พบว่าเรื่องประชามติไม่ง่ายอย่างที่คิด เดิมไปคิดถึงเฉพาะการลงประชามติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2550 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2550

ซึ่งตอนนั้นผู้มีสิทธิออกเสียงมี 45,092,955 คน
มาใช้สิทธิ 25,978,954 คน หรือ 57.61%
เห็นชอบ 14,727,306 คน 56.69%
ไม่เห็นชอบ 10,747,441 คน 41.37%
และ อย่างที่ทราบกัน คนอีสานที่มาใช้สิทธิ 8,350,677 คน หรือ 54.39% เห็นชอบ 3,050,182 หรือ 36.53% น้อยกว่าไม่เห็นชอบ 5,149,957 หรือ 61.67%

รัฐธรรมนูญ ปี 2550 จึงไม่ได้เป็นฉันทามติร่วมกันของคนทั้งประเทศ

เสียงเห็นชอบก็ไม่ถึงกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด
แต่ตอนนั้น ยึดหลักเพียงเสียงส่วนใหญ่เห็นชอบก็ถือว่าผ่าน
รัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2550 จึงถือว่าได้รับความเห็นชอบ

ซึ่ง แตกต่างจากตอนนี้ เพราะรัฐธรรมนูญปี 2550 มาตรา 165 (2) ระบุว่า การออกเสียงประชามติ จะมีข้อยุติโดยเสียงข้างมากของผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติ

นั่นก็หมายความว่า หากผู้มีสิทธิลงประชามติ มีจำนวน 45 ล้านคน ประชามติจะต้องได้เสียงสนับสนุนถึง 23 ล้านคน
สูงลิบลิ่ว

(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1342972130&grpid=03&catid=02&subcatid=0207

Wake Up Thailand 23กรกฎาคม55

Wake Up Thailand 23กรกฎาคม55

 

(คลิกฟัง)

สัญญาณการปรองดอง

สัญญาณการปรองดอง

 

โดยสุชาติ ศรีสุวรรณ

 

ถ้ามอง "ปรองดอง" ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศเรียกร้องต้องการ เป็นเรื่องระหว่าง "อำนาจเดิม" ที่ยังมีบทบาทและอิทธิพลสูงยิ่งกับความรู้สึกนึกคิดของคนในสังคม กับ "อำนาจจากประชาธิปไตย" ซึ่งค่อยๆ เข้ามามีบทบาทแท น ด้วยกระแสที่แรงขึ้นเรื่อยๆ

"อำนาจเดิม" ประกอบด้วยผู้มีบารมีนอกระบบ แต่มีอิทธิพลต่อกลไกราชการ โดยเฉพาะทหาร และองค์กรอิสระ มีพรรคประชาธิปัตย์เป็นฝ่ายการเมืองที่เสนอตัวให้เลือกใช้

"อำนาจจากประชาธิปไตย" ซึ่งก็คือพรรคการเมืองที่ประชาชนเลือกเข้ามาด้วยเสียงข้างมาก ขณะนี้ก็คือพรรคเพื่อไทย

และหากมองว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในคดี "ล้มล้างการปกครอง" ที่เพิ่งผ่านมา เป็นการแสดงท่าทีของ "ฝ่ายอำนาจเดิม"

ก็ น่าจะเป็นเรื่องน่ายินดีสำหรับคนส่วนใหญ่ เพราะว่าท่าทีดังกล่าวชัดเจนว่า "อำนาจเดิม" ยอมให้พรรคเพื่อไทยบริหารประเทศต่อไป ด้วยการยกคำร้อง

แต่ มีเงื่อนไขว่าเป็นคำเตือนว่าจะต้องอยู่ในกรอบกติกาของรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 ซึ่ง "อำนาจเดิม" ยังควบคุมพฤติกรรมการบริหารประเทศได้ด้วยอำนาจของ "องค์กรอิสระ" ทั้งหลาย

ไม่ใช่การเลือกใช้ "พรรคประชาธิปัตย์" เหมือนที่ผ่านมา

การเลือกให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์บริหารประเทศในเงื่อนไขต้องเป็นไปตามกติกาที่อำนาจเดิมกำหนด ถือเป็นการ "ปรองดอง" ระดับหนึ่ง

จากความชัดเจนนี้ ทำให้ "รัฐบาลพรรคเพื่อไทย" ต้องกำหนดยุทธศาสตร์อย่างรอบคอบยิ่ง

ทางแรก รับภาพ "ตัวเลือก" ของ "อำนาจเดิม" เพื่อรักษา "ความเป็นผู้กุมอำนาจรัฐ" ไว้ แม้จะต้องอยู่ในกติกาที่ตัวเองกำหนดไม่ได้

ทาง ที่สองคือ "แตกหัก" ไม่ยอมรับการขึ้นอยู่กับ "กติกา" ที่เอื้อต่ออิทธิพลของ "อำนาจเก่า" ที่จะเข้ามามีบทบาทควบคุมรัฐบาลอย่างเข้มข้น

การจะเลือกเดินทางใด จำเป็นจะต้องวิเคราะห์ถึงพลังทางสังคมอย่างละเอียด

แม้ จะได้รับการเลือกตั้งมาอย่างท่วมท้น แต่จริงหรือไม่ว่าหากเดินไปในทางแตกหัก หาญสู้กับอิทธิพลของอำนาจเดิมแบบแพ้ชนะกันไปข้าง แล้วพรรคเพื่อไทยจะชนะได้

ถ้ายังไม่เห็นทางชนะ การยอมรับการเป็น "ตัวเลือก" แล้วค่อยๆ หาทางเคลียร์ทีละเรื่อง จะเป็นทางออกที่ดีกว่าหรือไม่

"อยู่ในอำนาจไว้ก่อน" อย่างอื่นค่อยๆ เคลียร์


(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1342972691&grpid=&catid=02&subcatid=0207

กลุ่มปฏิญญาหน้าศาลเรียกร้องเสรีภาพนักโทษการเมือง-คาดไม่ถอนประกันจตุพร

กลุ่มปฏิญญาหน้าศาลเรียกร้องเสรีภาพนักโทษการเมือง-คาดไม่ถอนประกันจตุพร

 

โฟนอิน จตุพร ชี้แจงศาลถอนประกันพรุ่งนี้

http://www.youtube.com/watch?v=tLsTa_eu5EQ&feature=g-all-u 
 
วันที่ 22 ก.ค. ที่หน้าศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มปฏิญญาหน้าศาล ซึ่งเป็นอีกกลุ่มหนึ่งของคนเสื้อแดง ที่มารวมตัวกันจัดเสวนาประจำสัปดาห์ทุกวันอาทิตย์ ได้มีการจัดเสวนาบนบาทวิถีเรื่องเกี่ยวกับการปฏิวัติฝรั่งเศสและการจัดตั้ง องค์กรภาคประชาชนขึ้นมา โดยมีแกนนำหลักผู้จัดงาน คือผศ.ดร.สุดา รังกุพันธุ์  หรืออาจารย์หวาน อาจารย์คณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และไม้หนึ่ง ก กุณฑี ซึ่งมี ผศ.จรัล ดิษฐาอภิชัย อดีตแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ (นปช.) และอดีตคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นวิทยากรหลักในการเสวนาในครั้งนี้  โดยมีผู้เข้ามาร่วมรับฟังประมาณกว่า 50 คน อยู่บริเวณทางเท้าหน้าป้ายศาลอาญา

ไม้หนึ่ง กล่าวว่า  กลุ่มปฏิญญาหน้าศาลเป็นกลุ่มที่ออกมาเคลื่อนไหวเพื่อช่วยเหลือนักโทษทางการ เมืองและกระบวนการมนุษยธรรมไทย ซึ่งได้ออกมาเคลื่อนไหวแล้วประมาณ 5 เดือนที่ผ่านมา

ด้าน ผศ.ดร.สุดา กล่าวว่า กลุ่มปฏิญญาหน้าศาลต้องการออกมาเคลื่อนไหวนักโทษทางการเมืองทั้งหมดไม่ว่าจะ เป็นในเรือนจำกลางครองเปรม 20 ราย หรือ เรือนจำพิเศษกลุ่ม 27 ราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อยู่ภายในเรือนจำต่างจังหวัดได้แก่ เชียงใหม่  พัทยา อุดรธานี ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นผู้ที่เข้ามาร่วมการเรียกร้องคัดค้านการทำรัฐประหาร เมื่อปี 2549 ให้ได้รับสิทธิและการประกันตัว รวมถึงผู้ที่ไม่ยอมรับที่ความอยุติธรรมของศาลไทย หลับหนี้อยู่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ให้ได้การปลดปล่อยจากการเป็นนักโทษทางการเมือง  ซึ่งการออกมาเคลื่อนไหวเป็นรูปแบบของการอดข้าวในช่วงแรก แต่ไม่ได้รับความสนใจ จึงเปลี่ยนรูปแบบมาเป็นการเสวนาบาทวิถีแทน ที่จะจัดขึ้นทุกวันอาทิตย์ตั้งแต่เวลา 13.00 น. – 16.00 น.

เมื่อถาม ถึงความเห็นการที่ศาลนัดฟังคำสั่งเพิกถอนประกันตัวนายจตุพร พรหมพันธุ์  แกนนำกลุ่มนปช.นั้น  ผศ.ดร.สุดา กล่าวว่า คาดว่าผลน่าจะออกมาไม่ถอนประกันตัว เนื่องจากการเป็นการคุกคามเสรีภาพของประชาชน และจะทำให้องค์กรศาลที่มีความศักดิ์สิทธิ์เหนือทุกอย่าง เหนือรัฐบาล เหนือประชาชน  แต่การตัดสินแก้ไม่ให้มีความผิด อาจจะเป็นการปรามเพื่อควบคุมพฤติกรรมตามที่สาธารณะเวลาที่ ซึ่งนายจตุพรจะถูกปราบให้ลดบทบาทในการปราศรัย เพราะการที่ศาลรับคำร้องตามที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้ยืนคัดค้านการ ประกันตัวมา ก็คือการได้ละเมิดสิทธิเสรีภาพอย่างชัดเจนแล้ว

(อ่านต่อ)
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNME1qazFOemd3TUE9PQ%3D%3D&subcatid

"การจัดตั้งองค์กรปฏิวัตของประชาชน(ฝรั่งเศส)"


"การจัดตั้งองค์กรปฏิวัตของประชาชน(ฝรั่งเศส)" 


Posted Image


อ.จรัล เสวนาหน้าศาล 22-07-12

http://www.youtube.com/watch?v=3YXPNFDB-9s&feature=youtu.be

อ.พลท เสวนาหน้าศาล 22-07-12

http://www.youtube.com/watch?v=HHYBpBzaXA4&feature=youtu.be

คณะตลก.รธน.ไฟเย็น 

http://www.youtube.com/watch?v=BTXRY9K4gCs&feature=relmfu 

แหกประตูคุกให้เพื่อน.ไฟเย็น 

http://www.youtube.com/watch?v=We22WDh0W-k&feature=relmfu 

ความสำคัญของ “การปฏิวัติถาวร” ในโลกปัจจุบัน

ความสำคัญของ “การปฏิวัติถาวร” ในโลกปัจจุบัน


Leon Trotsky   

โดย ใจ อึ๊งภากรณ์

คำว่า
“การปฏิวัติถาวร” เป็นคำที่คาร์ล มาร์คซ์ เริ่มใช้ในปี ค.ศ. 1848 เมื่อเขาเห็นว่าชนชั้นนายทุนในยุโรปหมดสภาพในการเป็น “ชนชั้นก้าวหน้าปฏิวัติ” ที่จะล้มซากของระบบฟิวเดิลที่ยังหลงเหลืออยู่ก่อนหน้านั้นในปี 1640-1688 ในอังกฤษ ในปี 1776 ที่อเมริกา และในปี 1789 ที่ฝรั่งเศส

ชนชั้นนายทุนเป็นหัวหอกในการนำการปฏิวัติที่ล้มอำนาจเก่า แต่พอมาถึง ค.ศ. 1848 ชนชั้นนายทุนเกรงกลัวชนชั้นใหม่ที่ยืนอยู่ข้างหลัง นั้นคือชนชั้นกรรมาชีพ นายทุนกลัวว่าถ้าปลุกกระแสปฏิวัติ กรรมาชีพจะไม่หยุดง่ายๆ และจะต่อสู้ต่อไปเพื่อกำจัดการกดขี่ขูดรีดของนายทุนและอำนาจเก่าที่เป็นซาก ระบบขุนนางด้วยพร้อมๆ กัน ดังนั้นการลุกฮือปฏิวัติถาวรของกรรมาชีพคือสิ่งที่คาร์ล มาร์คซ์หันมาสนับสนุนเต็มที่ตั้งแต่ 1848


ในปี ค.ศ. 1906
ลีออน ตรอทสกี เริ่มฟื้นฟูความคิดปฏิวัติถาวรของมาร์คซ์ในรัสเซีย เพื่อเสนอว่ากรรมาชีพรัสเซียต้องต่อสู้อิสระจากนายทุนชาตินิยม และควรก้าวข้ามขั้นตอนประชาธิปไตยทุนนิยมหลังล้มกษัตริย์ซาร์ เพื่อไปสู่การปฏิวัติสังคมนิยมและอำนาจของรัฐกรรมาชีพทันที และเราก็เห็นว่าในปี 1917 การล้มกษัตริย์ซาร์ในเดือนกุมภาพันธ์ ตามมาด้วยการปฏิวัติสังคมนิยมในเดือนตุลาคม โดยที่พรรคบอล์เชวิคเป็นหัวหอกของกรรมาชีพผู้ปฏิวัติ และเลนินมีข้อสรุปตรงกับมาร์คซ์และตรอทสกี มาตั้งแต่เดือนเมษายน 1917 อีกด้วย

หลังการปฏิวัติรัสเซีย ประเด็นเรื่อง
“การปฏิวัติถาวร” กลายเป็นเรื่องชี้ขาดในการปฏิวัติจีนและสเปน แต่พรรคคอมมิวนิสต์สากลสมัยนั้นเริ่มตกอยู่ในมือของพรรคพวกของสตาลิน ที่ขึ้นมาปฏิวัติซ้อนและระงับความก้าวหน้าของรัสเซีย สตาลินเน้นเสถียรภาพของรัสเซียและของรัฐบาลข้าราชการแดงเป็นหลัก จึงไม่อยากให้การปฏิวัติในที่อื่นๆ มารบกวนการคานอำนาจทั่วโลก เพราะเขาต้องการเอาใจมหาอำนาจทุนนิยมตะวันตก

ดังนั้นพรรคคอมมิวนิสต์สายสตาลินเหมาในจีน และสายสตาลินในสเปน เริ่มปฏิเสธแนวปฏิวัติถาวร เพื่อทำแนวร่วมกับนายทุนชาตินิยมแทน ผลคือนายทุนชาตินิยมในพรรคก๊กหมินตั๋งจีน จัดการปราบและสลายพวกคอมมิวนิสต์ จนสหายที่รอดตายต้องหนีออกจากเมือง และในสเปนการยอมจำนนต่อทุนนิยมทำให้กระแสปฏิวัติพ่ายแพ้และฟาสซิสต์ขึ้นมา ครองประเทศได้


หลังจากนั้น จนถึงยุคพังทลายของกำแพงเมืองเบอร์ลินและการสิ้นสุดของสงครามเย็น องค์กรหลักที่คัดค้านการปฏิวัติถาวร เพื่อระงับการต่อสู้ไม่ให้ไปถึงสังคมนิยม คือพรรคคอมมิวนิสต์ทั่วโลก และพรรคเหล่านี้ ไม่ว่าจะในตะวันออกกลางหรือในอินโดนีเซียหรือไทย ก็เสนอให้ฝ่ายซ้ายจับมือกับผู้นำชนชั้นนายทุน เช่น นาเซอร์ในอียิปต์ ซะดัมในอิรัก ซุการ์โน ในอินโดนีเซีย หรือสฤษดิ์ ในไทย และทุกครั้งโดยไม่มีข้อยกเว้น ผู้นำเหล่านั้นจะหักหลังพรรคคอมมิวนิสต์ และการต่อสู่ก็จบลงด้วยความพ่ายแพ้และการนองเลือด


หลังจากที่พรรคคอมมิวนิสต์ล่มสลายทั่วโลก ประเด็นการปฏิวัติถาวรไม่ได้จบไป เมื่อต้นปี ค.ศ. 2011 ในตะวันออกกลาง มีการลุกฮือล้มเผด็จการ และเรื่อง
“การปฏิวัติถาวร” กลายเป็นเรื่องแหลมคมอีกครั้ง เพราะคนที่คัดค้านการปฏิวัติถาวรไปสู่อำนาจกรรมาชีพและสังคมนิยม กลายเป็นรัฐบาลทหารอียิปต์และพรรคมุสลิม เพราะสองกลุ่มอำนาจนี้ต้องการรักษาโครงสร้างเดิมในอียิปต์ไว้แต่เปลี่ยนแค่ ผู้นำ จากผู้นำเผด็จการมูบารัก ไปสู่ผู้นำที่มาจากการเลือกตั้ง โดยที่สภาพความเป็นอยู่ของคนส่วนใหญ่ไม่เปลี่ยนแปลงเลย ดังนั้นเราจะเห็นว่าคนหนุ่มสาวและนักสังคมนิยมที่ออกมาต่อสู้กับรัฐบาลทหาร ในอียิปต์เมื่อปลายปีเดียวกัน เป็นพวกที่ต้องการให้ปฏิวัติถาวร
ในลิบเบีย มหาอำนาจตะวันตกเข้ามาแทรกแซงการปฏิวัติเพื่อล้มเผด็จการกาดาฟี เพื่อไม่ให้นักสู้รากหญ้าเดินตามแนวปฏิวัติถาวร ตะวันตกต้องการเปลี่ยนผู้นำ แต่ต้องการรักษาโครงสร้างที่พร้อมจะขายน้ำมันให้บริษัทข้ามชาติ
ในไทย หลังจากที่พรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้ง รัฐบาลเพื่อไทย และแกนนำ นปช. ต้องการที่จะให้โครงสร้างเก่าคงอยู่ เพียงแต่เปลี่ยนรัฐบาล จากรัฐบาล “พรรคทหาร” ไปสู่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง เราเห็นชัดในกรณีที่เพื่อไทยและ นปช. ไม่ยอมแตะอำนาจทหาร และกฎหมายเผด็จการต่างๆ เช่น 112 เป็นต้น และถ้าเราต้องการให้ไทยเป็นประชาธิปไตยแท้ และต้องการเปลี่ยนสภาพความเป็นอยู่ของคนส่วนใหญ่ในสังคม เพื่อยุติการกดขี่ขูดรีด เราต้องสู้ต่อไป ไม่ใช่หยุดอยู่แค่ขั้นตอนการมีรัฐบาลจากการเลือกตั้งเท่านั้น

ทั้งหมดนี้แสดงให้เราเห็นความสำคัญของ “การปฏิวัติถาวร” ในโลกปัจจุบัน

(ที่มา)
http://turnleftthai.blogspot.dk/2011/12/blog-post_06.html


รัฐกับการปฏิวัติโดย เลนิน. (The State and Revolution by V.I.Lenin). บทที่ 1. สังคมชนชั้นกับรัฐ. 1. รัฐเป็นผลผลิตของความออมชอมกันไม่ได่ ซึ่งความปฏิปักษ์ทางชนชั้น
 
(คลิกอ่าน)
http://data5.blog.de/media/561/3351561_1c6b417029_d.pdf

ว่าด้วยทุน: เล่ม 1 ภาคที่ 4 อัตราและปริมาณมูลค่าส่วนเกิน(บทที่15)

ว่าด้วยทุน: เล่ม 1 ภาคที่ 4 อัตราและปริมาณมูลค่าส่วนเกิน(บทที่15)

 

 













มาร์คซ์ เชื่อว่าในระบบสังคมนิยม ภายใต้การปกครองตนเองของกรรมาชีพ โรงเรียนจะฝึกทั้งทฤษฏีและฝีมือในการปฏิบัติงานพร้อมกัน ไม่ใช่แค่สอนให้คนท่องจำทฤษฏีเท่านั้น

โดย กองบรรณาธิการ

บทที่ 15: เครื่องจักรในระบบอุตสาหกรรมขนาดใหญ่


“เครื่องจักร”
ต่างจาก “เครื่องมือ” เพราะเครื่องจักรประกอบไปด้วยเครื่องมือหลายชนิดที่ทำงานพร้อมกัน

ระบบการผลิตแบบอุตสาหกรรมใหญ่ใช้เครื่องจักรอย่างต่อเนื่องเป็นระบบในลักษณะ ที่เพิ่มประสิทธิภาพ ลดความสำคัญของพลังกล้ามเนื้อ และถือได้ว่าเป็นการรวบรวมเครื่องมือต่างๆ มาทำงานแบบรวมหมู่ เหมือนกับที่รวบรวมคนมาทำงานรวมหมู่


• เป้าหมายในการใช้เครื่องจักร ในการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตคือ


1. ทำให้สินค้าถูกลงเพราะลดปริมาณแรงงานที่ใช้สร้างสินค้าแต่ละชิ้น

2. เพิ่มมูลค่าส่วนเกินต่อหัวคนงาน โดยลดชั่วโมงการทำงานที่ใช้ในการผลิตมูลค่ายังชีพพื้นฐาน และเพิ่มสัดส่วนเวลาที่คนงานทำงานฟรีให้นายทุน

การวิวัฒนาการของสังคมยุโรป ต.ต.


1. จากหัตถกรรม => อุตสาหกรรมเล็ก => อุตสาหกรรมใหญ่

2. จากเครื่องมือ => เครื่องจักร => ระบบเครื่องจักร
ต้องอาศัยการพัฒนาทั้ง คน และเทคโนโลจี ของทั้งสังคม (ฐานวัตถุ) ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการผลิตของสังคม (โครงสร้างส่วนบน)

• เครื่องจักรไม่ได้สร้างมูลค่า

• มูลค่าของเครื่องจักรคือปริมาณแรงงานในอดีตที่ใช้สร้างมัน
• มูลค่าสินค้าที่ใช้เครื่องจักรใหญ่ = ปริมาณแรงงานที่มีชีวิต + สัดส่วนมูลค่าเครื่องจักรที่ค่อยๆละลายไปใน ผลผลิตตามอายุการทำงานของเครื่องจักร

• ถ้าเครื่องจักรใช้ทดแทนคนงาน หรือใช้ผลิตสินค้าเร็วขึ้น ผลคือปริมาณแรงงานที่มีชีวิตในสินค้าแต่ละชิ้นนั้นลดลง และมูลค่าเครื่องจักรเพิ่มขึ้นในเชิงเปรียบเทียบ (ทุนคงที่เพิ่มเร็วกว่าทุนแปรผัน) และมูลค่าสินค้าทั้งหมดลดลง

• ถ้าค่าซื้อเครื่องจักร สูงกว่า ค่าจ้างแรงงานที่ถูกทดแทนและตัดออกไป มันไม่คุ้มในระยะสั้น

ผลของเครื่องจักรต่อคนงาน

1. เนื่องจากลดความสำคัญของพลังกล้ามเนื้อ จ้างเด็กและสตรีได้ นำไปสู่การทำลายชีวิตเด็ก เด็กถูกขาย และแม่ไม่มีเวลาดูแลเด็กเล็ก[1]

2. ก่อให้เกิดแรงกดดันให้ยืดชั่วโมงการทำงานต่อวันเพราะ

• จะได้ใช้เครื่องจักรให้คุ้มกับมูลค่าที่ใช้ซื้อในเวลาที่น้อยที่สุด
• เพื่อเร่งผลิตสินค้าก่อนที่เครื่องจักรรุ่นใหม่จะวางตลาด หรือคู่แข่งจะซื้อเครื่องจักรประเภทเดียวกัน
“ในระบบทุนนิยมเครื่องจักรลดชั่วโมงการทำงานของ มนุษย์ได้ แต่กลับถูกใช้เพื่อเพิ่มการทำงานของคนที่มีงานทำ พร้อมกับบังคับให้คนงานอีกส่วนตกงาน”


(อ่านต่อ)
http://turnleftthai.blogspot.dk/2012/07/4-15.html

แผนกำจัด-จำกัดอำนาจ "ศาล รธน."

แผนกำจัด-จำกัดอำนาจ "ศาล รธน."

 

 

ทั้งองคาพยพของฝ่ายเพื่อไทยและเครือข่ายคนเสื้อแดง ร่วมเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกัน คือกำจัดและจำกัดการใช้อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ ผ่านการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 68

พร้อมด้วยข้อเสนอแนบท้ายแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 309 เพื่อตั้งต้น ล้มล้างการกระทำที่เกิดจากการกำจัดและจำกัดอำนาจเงินและอำนาจการเมืองของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

ขณะที่กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญยังคงหยุดนิ่ง เมื่อรัฐบาลพรรคเพื่อไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคประชาธิปัตย์ และคนเสื้อแดง รอให้ศาลรัฐธรรมนูญทำคลอด "คำวินิจฉัยกลาง" เพื่อกำหนดท่าทีเคลื่อนไหวหลังวันที่ 28 ก.ค. 55

แต่กระแส "วิพากษ์ศาลรัฐธรรมนูญ" กลับเร่งสปีดแซงหน้าท่าทีที่ยังไม่ได้ข้อสรุปจากพรรคเพื่อไทย ว่าจะลุยลงมติแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ 3, จัดทำประชามติ หรือแก้ไขรายมาตรา

ใน รอบสัปดาห์ที่ผ่านมาจึงได้ยินเสียงของขุนพล-กูรู ด้านกฎหมายฝ่ายเพื่อไทยดังก้องรอบทิศทั่วกระดานการเมือง เพื่อลบมาตรา 68 ออกจากรัฐธรรมนูญ

"ชูศักดิ์ ศิรินิล" หัวหน้าทีมกฎหมายที่ต่อสู้ศึกแก้รัฐธรรมนูญที่ผ่านมาบอกว่า จะลุยลงมติวาระ 3 ไม่สนคำวินิจฉัยศาลก็ทำได้ แต่ปัญหาจะยังคงวนอยู่ที่เดิม เพราะมีคนจ้องจะร้องศาลในมาตรา 68 อยู่ดี ดังนั้นการทำประชามติจะเป็นใบผ่านทางให้พรรคได้

"ผมคิดไตร่ตรองทั้ง คืนพบว่า ทางออกของประเทศและการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่สะดุดลงทำต่อไปได้ แต่ขอแรงประชาชนหน่อย เห็นแก่ระบอบประชาธิปไตยมาลงประชามติกันเถอะ รัฐบาลต้องตัดสินใจเอานะ เสียเงินหน่อย"

และระหว่างรอ "ประชามติ" จากประชาชน เขาขอให้ทุกคนเบนเข็มกลับมาแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา โดยพุ่งเป้าไปถึงมาตรา 68 เคลียร์ปมคำเชื่อมเจ้าปัญหา "และ หรือ" เพื่อขีดเส้นขอบเขตอำนาจศาลรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่

"จากคำวินิจฉัยศาล รัฐสภาและคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต้องคิดว่า ต่อไปนี้พิจารณากฎหมายใดก็ตาม ไม่ว่าจะอยู่ในวาระใดก็โดนร้องได้หมด ดังนั้นผมเสนอของผม อาจแก้มาตรา 68 พร้อมทำประชามติไปด้วย"

สอดคล้องกับคำพูดของ "จาตุรนต์ ฉายแสง" ที่บอกว่า ควรเร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในบทบัญญัติที่ว่าด้วยศาลรัฐธรรมนูญ และอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อจำกัดอำนาจของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

"ผม มองว่าเป็นการวางหมากที่ซับซ้อนของศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อไม่ให้แก้ไขรัฐธรรมนูญได้ง่าย ๆ และเมื่อคำวินิจฉัยมีผลผูกพันทุกองค์กร ผมก็กังวลว่า อนาคตถ้าจะแก้รัฐธรรมนูญกันอีก คนก็จะยื่นฟ้องกันอีก เพราะศาลรัฐธรรมนูญมีบรรทัดฐานในการรับคำร้องไปแล้ว"

เมื่อฝ่าย เพื่อไทยเห็นตรงกันว่าศาลเริ่มขยายขอบเขตอำนาจ "จาตุรนต์" เสนอหมากแก้เกมใช้อำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ ให้เข้าไปจำกัดอำนาจของศาลเสียใหม่

(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1342933055&grpid=01&catid=01&subcatid=0100

ธาริต หน้าชา ใครบางคนพูดว่า "แม้เกิดความเสียหายต่อสถาบันก็จะต้องดำเนินคดี"

ธาริต หน้าชา ใครบางคนพูดว่า "แม้เกิดความเสียหายต่อสถาบันก็จะต้องดำเนินคดี"

 



หนังสือเห็บเหี้ย
 
ธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ

"ในสังคมปัจจุบันปรากฏว่ามีการกล่าวว่า มีการกระทำความผิดตามมาตรา 112 คดีที่เรียกว่าคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มมากขึ้น มูลเหตุเกิดจาก 2 ประการ คือ 1.มีการกระทำตามมาตรา 112 จริง เพิ่มมากขึ้น 2.มีการใช้ข้ออ้างว่ามีการกระทำความผิดเพื่อเป็นเครื่องมือใส่ร้ายฝ่ายตรงข้ามมากขึ้น"

"บางครั้งเราอาจต้องตั้งคำถามกลับว่าหากเราดำเนินคดีตามมาตรา 112 และการกล่าวอ้างโจม ตีกันว่า ฝ่ายนั้นกระทำผิด เป็นข้อเท็จจริงตามกรณีที่ 1 หรือ 2 และประการสำคัญ เราควรไตร่ตรองว่า ที่อ้างกันว่าปกป้องสถาบันนั้น ผลสัมฤทธิ์สุดท้าย เป็นผลในเชิงปกป้องจริงหรือไม่ หรือรังแต่จะสร้างความเสียหาย ต่อสถาบันมากขึ้น" 
(อ่านต่อ)