หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เสวนากฎหมายสิทธิสตรี

เสวนากฎหมายสิทธิสตรี





เสวนากฎหมายสิทธิสตรี 1/8
http://www.youtube.com/watch?v=y_5_KjrN9lI&feature=relmfu

อัพเดทสถานการณ์วิกฤตทางเศรษฐกิจและการเมืองในยุโรป ตอนที่ 2

อัพเดทสถานการณ์วิกฤตทางเศรษฐกิจและการเมืองในยุโรป ตอนที่ 2 


 

โดย นุ่มนวล ยัพราช


อัพเดทสถานการณ์วิกฤติเศรษฐกิจและการเมืองในสหภาพยุโรป (1)
http://turnleftthai.blogspot.dk/2012/06/1.html 
 

ท่ามกลางสภาวะที่วิกฤติเศรษฐกิจที่เรื้อรังมามากกว่า 5 ปี พวกนักการเมืองและนักคิดกระแสหลักเสรีนิยมได้ทำลายกลไกและโครงสร้างของ สถาบันหลักๆ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของพวกนายธนาคาร ไม่ว่าจะเป็นการย้ายหนี้เอกชนมาเป็นหนี้ของรัฐ จากนั้นก็ตัดสวัสดิการของรัฐเพื่อหาเงินไปอุ้มธนาคารซึ่งเป็นการบังคับให้คน จนอุ้มคนรวย จากนั้นมีการเสนอให้ปฏิรูปมาตรฐานการจ้างงาน(แนวเสรีนิยมจัด) ให้มีความยืดหยุ่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขัน ในรูปธรรม แช่แข็งค่าแรงและบังคับลดค่าแรง

มันเป็นการเสนอให้ตัดสิทธิแรงงานชนิดต่างๆ และเพิ่มอำนาจให้นายจ้างไล่คนงานออกได้ตามอำเภอใจ ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ไม่ต้องให้เหตุผลว่าคนงานทำผิดอะไร รวมถึงมีการบังคับให้คนงานจ่ายเงินเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญเพิ่มขึ้น ขยายอายุการทำงานไปจนถึง 68-70 ปี(ตัวเลขอาจจะเพิ่มขึ้นเพราะอ้างว่าคนมีอายุเฉลี่ยยาวขึ้น) ซึ่งเงินเหล่านั้นจะไม่ได้กลับคืนมาสู่คนงานแต่อย่างไร แต่มันจะไหลไปเข้าคลังและคลังก็จะนำเงินเหล่านั้นไปอุ้มพวกนายธนาคาร


มาตรการเหล่านี้จะไม่ทำให้สหภาพยุโรปฟื้นตัวจากวิกฤติเศรษฐกิจแต่อย่างไร ในทางกลับกันมันจะทำให้วิกฤตเศรษฐกิจเลวร้ายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะตัดค่าแรงทำให้กำลังซื้อหมดไป หนำซ้ำการตัดสวัสดิการทำคนงานคนธรรมดาหมดความมั่นคงไม่มีที่พึ่งพิงยามยาก บ่อยครั้งจะระเบิดออกมาในรูปของการจลาจล อันนี้ยังไม่ต้องพูดถึงการขึ้นมาของฝ่ายขวาจัดที่ปลุกกระแสชาตินิยม สร้างความเกลียดชังแรงงานข้ามชาติที่มาจากยุโรปตะวันออก และที่มาจากนอก EU (สหภาพยุโรป) แน่นอนมันเป็นโอกาสทองสำหรับฝ่ายซ้ายด้วยเช่นกัน เดี๋ยวจะกล่าวในรายละเอียดในย่อหน้าข้างหน้า

ผลพวงที่เกิดขึ้นจากวิกฤติเศรษฐกิจ คือ ช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวยเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดดอย่างน่ากลัว

เดอะอีโคนีมิคช่วงต้นปีนี้ รายงานว่ากลุ่มคนที่เงินมากที่สุดของอเมริกาและยุโรปไม่ยอมใช้จ่ายเงินในการ ลงทุนท่ามกลางวิกฤติทำให้เงินจำนวนมากไม่ไหลวนในเศรษฐกิจ ในขณะที่รัฐบาลของยุโรปหวังพึ่งนายทุนเอกชนในการขยายตัวทางเศรษฐกิจ สื่อบางส่วนเริ่มเสนอว่ากลไกตลาดมันใช้ไม่ได้ผล

ปฏิกิริยาจากนักการเมือง สื่อ พวกนักนโยบายหรือพวกนักเศรษฐศาสตร์ จะสื่อออกมาสองแบบ แบบแรกคือพวกเสรีนิยมฝ่ายขวา เน้นการลดบทบาทรัฐโดยการปล่อยให้กลไกตลาดจัดการกับทุกๆ เรื่อง พวกนี้ไม่ได้ให้ความสำคัญกับปัญหาทางสังคมที่เกิดขึ้น นอกจากพูดซ้ำแล้วซ้ำอีกเหมือนแผ่นเสียงตกร่อง ถึงนโยบายการตัดสวัสดิการโดยภาครัฐ(austerity) แปรรูปรัฐวิสาหกิจเต็มที่ ควบคู่ไปกับการใช้อุดมการณ์ทางการเมืองฝ่ายขวา เช่น การสร้างนิยายเกี่ยวกับวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในประเทศกรีซ ว่าเป็นเพราะความเกลียดคร้าน ใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย ไม่มีวินัยทางการเมือง เป็นต้น ในขณะที่ถ้าเราไปดูตัวเลขชั่วโมงการทำงานในยุโรป จะเห็นว่า คนงานกรีกมีชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานเป็นลำดับต้นๆ 44 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ในขณะที่เยอรมันนีมีชั่วโมงการทำงานน้อยกว่ากรีซ  หรือ โจมตีคนจนที่พึ่งสวัสดิการว่าเป็นคนขี้เกียจ ไม่ชอบทำงานและเอาเปรียบคนอื่น


เมื่อประชาชนแสดงออกว่าพวกเขาไม่เห็นด้วยกับแนวทางการตัดสวัสดิการ พวกเสรีนิยมถึงกับทำลายรัฐบาลที่มาจากเลือกตั้ง สื่อและนักวิชาการเสรีนิยมขวาจัดออกมาขานรับทันที โดยอธิบายบางครั้งประชาธิปไตยไม่ค่อยมีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ตัวอย่างที่ชัดเจนมากๆ คือ กรณีที่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในกรีซและอิตาลีถูกล้มและมีการแต่งตั้ง พวกนักแทรคโนแคตที่มาจากสถาบันทางการเงินแทน มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างดุเดือดจากซีกซ้ายเกี่ยวกับการทำลายหลักการ ประชาธิปไตย หรือ ที่เรียกกันว่า การขาดดุลทางประชาธิปไตย(Democratic deficit) แต่อย่างไรก็ตามนักเทคโนแครตก็ได้พิสูจน์แล้วไร้ประสิทธิภาพในการแก้ปัญหา เศรษฐกิจอย่างสิ้นเชิง ไม่ว่าจะเป็นกรณีกรีซหรืออิตาลี


ยุโรปเคยมีเสียงของการเป็นเสาหลักของระบบ ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน และเป็นต้นแบบของการปฏิรูปการเมืองที่กระจายอำนาจและความเสมอภาคที่หลายๆ ประเทศทั่วโลกฝันถึง แต่ปัจจุบันเรื่องเหล่านี้ดูเหมือนกำลังจะกลายเป็นเรื่องราวในประวัติศาสตร์ เพราะสิทธิขั้นพื้นฐานหลายๆ อย่างมีมาตรฐานเลวลงอย่างรอบด้าน คนรวยและนักการเมืองทำลายระบบโดยการหลีกเลี่ยงภาษีกันแบบหน้าด้านๆ

นโยบายที่ผลักภาระให้คนจนและการเน้นนโยบายอุ้มนายธนาคาร ทำให้ชนชั้นปกครองแนวเสรีนิยมล้มละลายทั้งในทางศีลธรรม ความโปร่งใส และความคิด ประชาชนหมดความศรัทธาอย่างสิ้นเชิง เช่น ผลการเลือกตั้งในฝรั่งเศส พรรคสังคมนิยมได้เสียงข้างมากอย่างขาดลอย กรีซ รวมถึงการเลือกตั้งในระดับมลรัฐในเดือนพฤษภาคมที่เยอรมันนีพรรค Christian Democratic Union of Germany (CDU) ของนาง Angela Dorothea Merkel ที่เป็นนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีคลังของประเทศเยอรมันแพ้การเลือกตั้งให้กับ Social Democrat Party (SPD: พรรคสังคมนิยมประชาธิปไตย ซ้ายกลางๆ แต่ช่วงหลังๆ หันมาใช้แนวเสรีนิยมเลยแพ้การเลือกตั้ง) ในรัฐ North Rhine-Westphalia ซึ่งเป็นฐานเสียงที่สำคัญของ CDU

แนวที่สองจะเป็นแนวที่เน้นบทบาทรัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือ ที่เรียกว่าแนวเคนส์ แนวนี้เสนอแนวทางในการแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจโดยที่รัฐต้องลงทุนเพิ่มใน เศรษฐกิจทั้งในด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ ลดความเหลื่อมล้ำโดยการปฏิรูปภาษีและพัฒนาระบบสวัสดิการ ซึ่งข้อเสนอดังกล่าวนั้นจะมีประสิทธิภาพมากกว่าแนวกลไกตลาดในการเพิ่มกำลัง ซื้อและการจ้างงาน ธนาคารจะต้องถูกควบคุมแทนที่จะปล่อยให้นายธนาคารเอกชนเก็งกำไรอย่างบ้าคลั่ง ซึ่งเป็นสาเหตุหลักๆ ที่ทำเกิดวิกฤติเศรษฐกิจในปัจจุบัน


อย่างไรก็ตามธรรมนูญสหภาพยุโรปนั้นเขียนตามกรอบของแนวเสรีนิยมอย่างสุด ขั้ว(ซึ่งได้ลงรายละเอียดไปแล้วในตอนที่ 1) ตอนนี้แนวนี้เสนอให้มีการปฏิรูปและเปลี่ยนทิศทางการกำหนดนโยบายในสหภาพยุโรป โดยการหันมาใช้แนวทางเคนส์มากขึ้น ซึ่งทิศทางนี้จะเกิดขึ้นได้ถ้าประชาชนในหลายประเทศร่วมมือกันสู้


การขึ้นมาของฝ่ายซ้าย และ ฝ่ายขวาจัด

ปัญหาใหญ่มากของเกือบทุกประเทศในสหภาพยุโรปคือ อัตราการว่างงาน ในประเทศที่กำลังมีวิกฤติเศรษฐกิจหนักๆเช่น กรีซ สเปน อิตาลี โปรตุเกส ไอร์แลนท์ อัตราการว่างงานสูงมาก โดยเฉพาะในสองประเทศแรกที่สัดส่วนการว่างงานของเยาวชนที่อายุต่ำกว่า 30 สูงมากกว่า 50% และอัตราการว่างงานในวัยทำงานสูงกว่า 20% ในส่วนอื่นๆ ของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปก็มีอัตราการว่างงานสูงมากเช่นเดียวกัน เช่น ยุโรปตะวันออก ซึ่งประชาชนในประเทศเหล่านี้จะมีการอพยพไปหางานทำในประเทศที่มีความเข้มแข็ง ทางเศรษฐกิจมากกว่า เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน สแกนดิเนเวีย หรือที่เรียกว่ากลุ่มประเทศทางเหนือ


แรงงานเหล่านี้ยินดีทำงานในมาตรฐานที่ต่ำกว่าและค่าแรงถูกกว่า ซึ่งรัฐบาลประเทศทางเหนือจะต้องเข้ามาจัดการควบคุม แต่รัฐบาลฝ่ายขวาเลือกไม่ทำซึ่งมันมีผลสองด้านคือ


หนึ่งแรงงานจากยุโรปตะวันออกพวกนี้ถูกเอารัดเอา เปรียบมาก และสองซึ่งเป็นผลพวงโดยไม่ตั้งใจ แรงงานที่มาจากยุโรปตะวันออกได้ดึงมาตราฐานการจ้างที่ดีให้แย่ลงสร้างความ ไม่พอใจให้กับกรรมกาชีพเจ้าบ้านเป็นอย่างยิ่ง

เรื่องมันไปจบลงที่ฝ่ายขวาจัดและฝ่ายอนุรักษ์นิยมปลุกระดมแนวชาตินิยม โดยอ้างว่าปัญหาการว่างงานนั้นมีสาเหตุมาจากแรงงานจากยุโรปตะวันออก ในขณะแรงงานจากยุโรปตะวันออกที่ไร้จิตสำนึกทางการเมืองก็โจมตีกรรมาชีพใน ประเทศเหนือว่าเลือกงาน หรือทำงานหนักไม่พอ เป็นต้น ในโซนของยุโรปตะวันออกเองกลุ่มฟาสซิสต์ได้ขยายตัวอย่างเปิดเผยและรัฐบาล เหล่านั้นไม่ได้แก้ปัญหานี้แต่อย่างใด

กลุ่มฟาสซิสต์เกิดขึ้นในหลายประเทศ ในกรณีของ ฮอลแลนท์ กรีซ และฝรั่งเศษ พรรคนาซีชนะการเลือกตั้งและมี สส.ในรัฐสภาด้วย พรรคนาซีเหล่านี้มีชื่อแตกต่างกันในแต่ละประเทศ ซึ่งพรรคเหล่านี้ส่งเสริมการใช้ความรุนแรง และปลุกระดมให้มีการเกลียดชังทางเชื้อชาติ ในกรณีของฝรั่งเศส French National(พรรคนาซี)ตั้งเป้าไปที่กลุ่มมุสลิม และเสนอให้มีการปิดพรมแดนเพื่อไม่ให้แรงงานจากยุโรปตะวันออกเข้ามามากเกินไป ในกรีซสมาชิกพรรคนาซี(Golden Dawn)ซึ่งสมาชิก 1 ใน 2 เป็นตำรวจ


ก่อนหน้าที่จะมีการเลือกตั้งรอบที่สองในวันที่ 17 มิถุนายน ที่ผ่านมา สมาชิก Golden Dawn ได้ตบหน้าแคนดิเดตผู้หญิงจากพรรคฝ่ายซ้ายสองคนออกโทรทัศน์ จากนั้นได้ฟ้องร้องสมาชิกพรรคฝ่ายซ้ายว่าเป็นฝ่ายผิดเพราะไปกระตุ้นให้ตนเอง ใช้ความรุนแรง ซึ่งเหตุการณ์นี้ได้สร้างความไม่พอใจให้กับชาวกรีก ซึ่งหลังเหตุการณ์มีการเดินขบวนประท้วงพวกฟาสซิสต์ในหลายเมือง ซึ่งการเดินขบวนในครั้งนี้ฝ่ายซ้ายมีบทบาทมากในการจัดตั้ง


เรื่องที่เป็นบวกมากที่เกิดขึ้นในกรีซและฝรั่งเศสคือ ผลการเลือกตั้งโดยเฉพาะในประเทศกรีซ ที่แนวร่วมฝ่ายซ้าย(Syriza) ได้คะแนนมาเป็นที่สองและพรรคอนุรักษ์นิยม(New Democracy) มีคะแนนนำอย่างเฉียดฉิวเท่านั้น ทั้งที่ นักการเมือง พวกที่มีตำแหน่งสูงๆ ในองค์กรระหว่างประเทศ เช่น IMF ธนาคารกลางยุโรป สื่อกระแสหลักในยุโรป ได้ดาหน้าออกมาโจมตีฝ่ายซ้ายในกรีซ หรือ แบล็คเมล์ น่าจะเป็นคำเรียกที่เหมาะสมกว่า เพราะมีการข่มขู่ว่าถ้าเลือก Syriza กรีซจะต้องออกจากสหภาพยุโรปและจะไม่มีใครให้ความช่วยเหลือ แต่ Syriza ก็ได้คะแนนเพิ่มขึ้นอย่างล้นหลาม เพราะเป็นพรรคเดียวที่ประกาศจุดยืนว่าจะต่อต้านแนวเสรีนิยมที่มาจาก Troika ว่าเป็นนโยบายที่ไม่มีความเป็นธรรมและเรียกร้องให้มีการเปิดการเจรจารอบใหม่ (รายละเอียดดูได้ในตอนที่ 1)


มาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชนกรีกนั้นแย่มาก มีการลดค่าแรงลงกว่า 50% ขยายอายุการทำงาน ลดเงินบำเหน็จบำนาญ สถานที่ทำงานบางแห่งคนงานไม่ได้รับเงินเดือนมาบางที่ 1 ปี บางที่ 6 เดือน โรงพยาบาลหลายแห่งปิด โรงเรียนต้องแจกแผ่นดิสให้กับนักเรียนเพราะไม่มีเงินพิมพ์หรือซื้อหนังสือ จำนวนคนจรจัดหรือคนไร้บ้านเพิ่มมากขึ้นในเมืองหลวง คนธรรมดาไม่มีปัญญาจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ในขณะที่คนรวยยังอยู่สุขสบาย นี่เป็นคำอธิบายว่าทำไมการต่อสู้ที่กรีกถึงมีความดุเดือดมาก


อย่างไรก็ตามทั้ง Syriza และ พรรคสังคมนิยมฝรั่งเศส อาจจะทรยศประชาชนได้ง่ายๆ ซึ่งมันหมายความว่าฝ่ายซ้ายนอกรัฐสภาทั้งในกรีซ(Antarsy) ฝรั่งเศส(Radical Left) จะต้องกดดันจากข้างนอกรัฐสภาเพื่อกำหนดกรอบเดินที่ก้าวหน้าต่อไป
 
สเปนเป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีการต่อสู้กับนโยบายจาก Troika อย่างดุเดือด ซึ่งหลายฝ่ายทำนายว่าจะเดินตามกรอบของชาวกรีกทุกก้าว ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพชีวิตที่จะต้องถูกทำลาย และรัฐบาลจะบังคับใช้นโยบายการตัดสวัสดิการอย่างสุดขั้วต่อไป วิกฤตินั้นไม่มีท่าทีจะสิ้นสุดง่ายๆ จากสเปน ก็จะไปต่อที่อิตาลี จากอิตาลีก็จะไปต่อที่โปรตุเกส ไอร์แลนท์ ตอนนี้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเยอรมันและฝรั่งเศสเริ่มส่อเค้าไม่ดี วิกฤติเศรษฐกิจและการเมืองของสหภาพยุโรปได้เข้าสู่เฟรสใหม่เรียบร้อยแล้ว 
 
(ที่มา) 
http://turnleftthai.blogspot.dk/2012/08/2.html

"วอลสตรีท"ตั้งท่าขยับ ระวังผลกระทบยูโรล่ม

"วอลสตรีท"ตั้งท่าขยับ ระวังผลกระทบยูโรล่ม



 
เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทม์สของอังกฤษรายงานว่า บรรดาสถาบันการเงินการธนาคารต่างๆ ในย่านวอลสตรีทของนิวยอร์ก ได้เพิ่มความระมัดระวังในการลงทุนซื้อขายตราสารหนี้ต่างๆ ที่เชื่อมโยงไปถึงกลุ่มประเทศสมาชิกยูโรโซน ที่กำลังประสบกับปัญหาวิกฤต ถึงขั้นร้องขอคู่สัญญาให้มีการปรับปรุงสัญญากันใหม่ ไม่เช่นนั้นก็ให้เปลี่ยนไปใช้บริการของธนาคารอื่นแทน ในจำนวนนี้ รวมถึงการเพิ่มค่าธรรมเนียมป้องกันความเสี่ยงของตราสารหนี้ และปฏิเสธที่จะรับชำระคืนเงินสกุลอื่นนอกเหนือจากเงินยูโร หากประเทศนั้นประสบกับปัญหาการเงินจนต้องออกจากการเป็นสมาชิกการเงินกลุ่มยู โร

แหล่งข่าวผู้บริหารอาวุโสรายหนึ่งเปิดเผยว่า ธนาคารได้เรียกร้องให้คู่สัญญา ที่จะใช้กฎหมายตราสารหนี้ของอังกฤษ ซึ่งกำหนดให้คู่สัญญาต้องชำระเงินคืนในรูปของเงินสกุลยูโร ไม่ใช่เงินสกุลใหม่ ที่จะมีมูลค่าลดลง หรือไม่ก็ต้องตกลงด้วยว่า เงินสกุลที่จะชำระ ต้องเป็นไปด้วยความยินยอมพร้อมใจของคู่สัญญา ขณะเดียวกัน หลักทรัพย์ของบรรษัทเอกชนในกลุ่มประเทศยูโรโซนที่ประสบกับภาวะวิกฤตหนี้นั้น ยังคงบังคับให้ชำระหนี้เป็นเงินสกุลยูโรได้ ตราบเท่าที่ยังมีเงินยูโรใช้กันอยู่ ไม่เหมือนตราสารหนี้ของรัฐบาลที่เลิกใช้เงินยูโร ซึ่งสัญญานี้คงไม่อาจบังคับใช้ไปโดยอัตโนมัติ

ไฟแนนเชียลไทม์สรายงาน ว่า กองทุนเก็งกำไรการเงินหลายแห่งถึงกับหยุดทำตราสารหนี้กับคู่สัญญาที่เป็น พลเมืองของกรีซและรัฐบาลกรีซ ขณะที่สถาบันการเงินการธนาคารยักษ์ใหญ่อย่างมอร์แกนสแตนเลย์ ธนาคารแบงก์ออฟอเมริกา ซิตี้กรุ๊ป เจพีมอร์แกนเชส และโกลด์แมนแซคส์ ที่ถือสัญญาการเงินไว้กับสเปน กรีซ อิตาลี ไอร์แลนด์ และโปรตุเกส ตั้งแต่ 5,400 ถึงกว่า 20,000 ล้านดอลลาร์ ยังคงเชื่อมั่นว่า ตนจะยังคงบริหารและจัดการกับเงินทุนกองนี้ได้

(ที่มา)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1344318020&grpid=&catid=06&subcatid=0600

Wake Up Thailand 07 สค 55

Wake Up Thailand 07 สค 55 


(คลิกฟัง)
http://www.youtube.com/watch?v=zrNiQJ8HnPQ&feature=player_embedded

The Daily Dose 07สค55

The Daily Dose 07สค55 


(คลิกฟัง)
http://www.youtube.com/watch?v=cP4F9_CTrvs

ที่นี่ความจริง 07 สค 55

ที่นี่ความจริง 07 สค 55 


(คลิกฟัง)
http://www.youtube.com/watch?v=T35B0q89IEk

ทำไมรัชกาลที่ 1 สั่ง"เผาศพ" พระเจ้าตาก ในปี พ.ศ.2327 ?

ทำไมรัชกาลที่ 1 สั่ง"เผาศพ" พระเจ้าตาก ในปี พ.ศ.2327 ?


พระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินหน้าพระอุโบสถหลังใหม่ วัดอินทาราม ธนบุรี


บรรดาพระมหากษัตริย์ของสยามเรื่องราวเกี่ยวกับ "พระเจ้าตาก" มีการกล่าวถึงมากที่สุดพระองค์หนึ่ง 


ใคร จะคิดว่ากษัตริย์ที่ถูกรัฐประหาร ต้องโทษจนสิ้นพระชนม์ ราชธานีกรุงธนบุรี และพระราชวงศ์ที่มีอายุแค่ 14-15 ปี ไม่ได้มีเวลาสร้างรากฐานมั่นคง ยิ่งใหญ่ หรือเป็นที่ยำเกรงเท่าใดนัก จะเป็นที่สนใจของผู้คนและสังคมมากกว่า 200 ปี

นั่นเพราะอีกมุมหนึ่ง พระองค์คือกษัตริย์ผู้กอบกู้อิสรภาพของสยามจากพม่า

ปรา มินทร์ เครือทอง ค้นหามาเล่าสู่กันฟังในนิตยสาร "ศิลปวัฒนธรรม" ฉบับเดือนสิงหาคม ในบทความที่ชื่อว่า "สงสัย รัชกาลที่ 1 รออะไรถึง 2 ปี ก่อนขุดหีบศพพระเจ้าตากมาเผา?"

เมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการสำเร็จโทษพระเจ้าตากโดยตัดพระเศียร ณ ป้อมวิไชยประสิทธิ์ แล้วนำพระบรมศพไปฝังที่วัดบางยี่เรือใต้ (วัดอินทาราม) ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2325

หลังจากนั้น 2 ปี (พ.ศ.2327) พระองค์มีพระราชดำรัสให้ "ขุดศพ" พระเจ้าตากขึ้นมาเผา อะไรคือเหตุผลในครั้งนั้น ปรามินทร์สงสัยและตั้งคำถามได้น่าสนใจ

1.เป็นการดำเนินการตามโบราณราชประเพณีหรือ?

(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1344310768&grpid=01&catid=&subcatid=

"อธิปไตยเป็นของปวงชน"

"อธิปไตยเป็นของปวงชน"

 

HAPPY BIRTHDAY ASEAN: 8 สิงหาคม

HAPPY BIRTHDAY ASEAN: 8 สิงหาคม

 

 

โดย อ.ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์
มหาวิทยาลัยเกียวโต

พรุ่งนี้ วันที่ 8 สิงหาคม เป็นวันเกิดอาเซียน อาเซียนก่อตั้งขึ้นในปี 2510 (1967) ในช่วงสงครามเย็น โดยมีจุดมุ่งหมายหลักๆ เพื่อต่อต้านการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคนี้ หลังจากสงครามเย็นสิ้นสุดลง อาเซียนก็หันมาพัฒนาความเข้มแข็งทางองค์กรมากขึ้น และเริ่มกระบวนการการรวมตัวทางเศรษฐกิจ ขณะเดียวกัน ได้เริ่มสร้างปฏิสัมพันธ์กับประเทศนอกภูมิภาคอย่างจริงจัง และหากมองย้อนหลังในช่วงที่ผ่านมา อาเซียนได้มีความพยายามอย่างเต็มที่ในการฉายภาพลักษณ์ของการเป็นองค์การแห่ง ภูมิภาคที่มีความแน่วแน่ที่จะทำให้การรวมตัวของประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศนั้น ประสบความสำเร็จด้วยดี ไม่ว่าจะเริ่มจากการประกาศใช้รัฐธรรมนูญอาเซียน (ASEAN Charter) ในปี 2550 และการกำหนดการสร้างชุมชนอาเซียนทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม-วัฒนธรรมในปี 2558 (2015) ที่จะถึงนี้

อย่างไรก็ตาม พัฒนาการของอาเซียนไม่ได้ราบรื่นอย่างที่คิด อาเซียนยังประสบปัญหาอีกมาก โดยเฉพาะในเรื่องของการสร้างฉันทามติในกลุ่มสมาชิก ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนที่ กรุงพนมเปญเมื่อเดือนที่แล้ว อาเซียนไม่สามารถออกแถลงการณ์การประชุมได้ เนื่องจากความไม่สามารถในการแก้ไขปัญหาในทะเลจีนใต้ที่ประเทศสมาชิกอาเซียน 4 ประเทศ ได้แก่ เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และบรูไน อ้างกรรมสิทธิ์เหนือหมู่เกาะร่วมกับจีน สิ่งท้าทายประการหนึ่งจึงอยู่ที่ความสามารถของอาเซียนในการกำหนดท่าทีและ นโยบายที่มีต่อจีนร่วมกัน แต่ดังที่ปรากฏ แต่ละประเทศก็มีนโยบายและมุมมองที่มีต่อจีนต่างกันไป การมีจุดยืนที่ต่างกันนี้เป็นโอกาสเหมาะที่จีนจะเข้ามาสร้างความอ่อนแอให้ กับภูมิภาค

หากมองถึงความสัมพันธ์ระหว่างจีนและอาเซียนในวันนี้ มีอยู่มุมมอง 2 มุมมองครับ ทางหนึ่งเป็นมิตรและอีกทางหนึ่งเป็นภัย อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุผลทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ อาเซียนจำเป็นต้องร่วมมือกับจีนอย่างใกล้ชิด และในความเป็นจริง อาเซียนและจีนก็มีความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจอย่างแน่นแฟ้น ตัวอย่างเช่น เมื่อรวมเอาประชากรอาเซียนและจีนจะมีมากถึง 1.9 พันล้านคน และเมื่อรวมมวลรวมทางด้านเศรษฐกิจไว้ด้วยกันก็มีมูลค่ามากถึง 3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ทางด้านการทหารนั้น ความสัมพันธ์ก็เป็นไปด้วยดี มีการแลกเปลี่ยนการเยือนในระดับสูงมีการฝึกซ้อมรบร่วมกัน มีการสั่งซื้อแลกเปลี่ยนอาวุธยุทโธปกรณ์ระหว่างกัน และต่างเข้าร่วมกรอบความร่วมมือด้านความมั่นคงในภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบัน จีนมีกรอบการหารือทางทหารกับประเทศทั้ง 6 ในอาเซียน ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทยและเวียดนาม รวมถึงมีกับอาเซียน (ในฐานะองค์การระหว่างประเทศ)

นอกจากนี้ จีนยังใช้ soft power กับประเทศในภูมิภาคนี้ ความช่วยเหลือของจีนเป็นสิ่งที่หลายๆ ประเทศต้องการ เนื่องจากมักไม่มีข้อผูกมัดเป็นการแลกเปลี่ยน เช่น ต้องมีการส่งเสริมประชาธิปไตยหรือการปกป้องสิ่งแวดล้อมเป็นการแลกเปลี่ยน นี่เป็นสิ่งที่สะท้อนอุดมการณ์ของจีนเรื่องไม่ก้าวก่ายในกิจการภายในต่อกัน

แต่ขณะเดียวกัน ภาพลักษณ์ของการเป็นภัยของจีนก็ยังมีอยู่ ข้อพิพาทในทะเลจีนใต้เป็นเครื่องย้ำเตือนว่า ความหวาดระแวงที่อาเซียนมีต่อจีนนั้นเป็นเรื่องที่อธิบายได้ ขณะเดียวกัน ภัยที่มาจากจีนไม่ใช่เป็นแค่เรื่องการทหาร แต่ยังเป็นภัยที่มาจากด้านการค้า จีนกลายมาเป็นคู่แข่งสำคัญของหลายๆ ประเทศในอาเซียน แม้ไทยเองจะได้ลงนามในความตกลงจัดตั้งเขตการค้าเสรีกับจีนและการค้าทวิภาคี มีการเติบโตที่ดี แต่ไทยเองก็ขาดดุลการค้าของจีนตลอดมา

ที่ผ่านมา ประเทศในภูมิภาคนี้เลือกที่จะจัดการความสัมพันธ์ที่มีกับจีนโดยผ่านกรอบของ อาเซียน โดยต่างใช้อาเซียนเป็นกรอบในการตรวจสอบจีนและในการผลักดันให้เอเชียตะวันออก เฉียงใต้เป็นผู้นำในการสร้างภูมิภาคนิยม ขณะเดียวกัน ก็เพื่อลดอิทธิพลของจีน ดังนั้น ประเทศส่วนใหญ่ของอาเซียนจึงส่งเสริมระบบภูมิภาคนิยมแบบเปิด (open regionalism) และได้เชิญให้ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และอินเดีย เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาภูมิภาคนิยมร่วมกับอาเซียน ขณะเดียวกัน ประเทศนอกภูมิภาคเหล่านี้ก็สนใจที่จะเข้ามาร่วมกับอาเซียนเพื่อลดอิทธิพลของ จีนเช่นเดียวกัน

อย่างไรก็ดี การสร้างภูมิภาคนิยมแบบเปิดไม่ได้เป็นแนวทางลดอิทธิพลของจีนได้เสมอไป อาเซียนยังไม่สามารถหาข้อสรุปเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายต่อจีน—นโยบายที่ ประเทศสมาชิกจะเห็นพ้องร่วมกัน มุมมองที่แตกต่างนี้เองที่ทำให้จีนมีแต้มต่อเหนืออาเซียน จีนรู้จุดอ่อนของอาเซียนและพยายามใช้ประโยชน์จากจุดอ่อนนี้ ดังที่ปรากฏในกรณีที่จีนพยายามกระชับความสัมพันธ์กับประเทศอาเซียนใหม่—ลาว กัมพูชา และพม่า อาทิ จีนเป็นผู้ให้ความชอบธรรมกับรัฐบาลทหารพม่ามาโดยตลอด และจีนเองก็มีความสัมพันธ์ส่วนตัวที่แนบแน่นกับผู้นำลาวและกัมพูชา และเทเงินเข้าไปร่วมลงทุนในโครงการใหญ่ๆ อาทิ โครงการสร้างเขื่อนในลาวและนิคมอุตสาหกรรมในกัมพูชา

ตราบใดก็ตามที่อาเซียนไม่สามารถมีจุดยืนร่วมกันเกี่ยวกับการกำหนดความ สัมพันธ์กับจีน ปัญหาที่คงอยู่ระหว่างกัน โดยเฉพาะในทะเลจีนใต้ คงได้รับการแก้ไขลำบาก

วันเกิดอาเซียนปีนี้น่าจะเป็นโอกาสที่ผู้นำอาเซียนจะมาทบทวนยุทธศาสตร์ที่มีต่อจีนใหม่ครับ

(ที่มา)
http://www.prachatai.com/journal/2012/08/41928

เสวนา วันรพี "อำนาจตุลาการกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ"

เสวนา วันรพี "อำนาจตุลาการกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ"






คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาตร์ จัดเสวนาวิชาการวันรพี หัวข้อ "อำนาจตุลาการกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ" เนื่องใน "วันรพี" ประจำปี 2555 โดยมีนักวิชาการและนักการเมื่องร่วมในการเสวนา ณ ห้องจี๊ด เศรษฐบุตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อ 7 ส.ค. 2555

(คลิกฟัง)

ว่าด้วยการหนีทหาร

ว่าด้วยการหนีทหาร

 

โดย อ.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ

 

จากหลักฐานล่าสุด ของ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ก็เป็นที่ยืนยันชัดเจนว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ใช้เอกสารเท็จในการเกณฑ์ทหาร เมื่อตรวจสอบถือว่า ครบถ้วนทั้งเอกสาร และพยานบุคคลในเหตุการณ์ ก็ยังพบว่า การดำเนินการบรรจุเข้ารับราชการเป็นอาจารย์โรงเรียนนายร้อย จปร. และการขึ้นทะเบียนทหารกองประจำการ สด.3 ของ นายอภิสิทธิ์ นั้น ก็เป็นการใช้เอกสารเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงการรับราชการทหาร และแม้ว่าคดีนี้จะหมดอายุความ เพราะนายอภิสิทธิ์ครบอายุ 20 ปี ไปตั้งแต่ พ.ศ.2527 และหลีกเลี่ยงการเกณฑ์ทหารตั้งแต่ พ.ศ.2530 แต่การดำเนินการทางราชการนั้น ไม่มีอายุความ จึงจะส่งผลให้นายอภิสิทธิ์จะต้องถูกดำเนินการถอดยศ ว่าที่ร้อยตรี และต้องถูกเรียกเอาเงินเดือนและเบี้ยหวัดคืน

อันที่จริงแล้ว ถ้าหากว่ากรณีหนีทหารเป็นข้อบกพร่องเพียงประการเดียวของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็คงถือได้ว่า ไม่น่าจะเป็นปัญหามากนัก เพราะลูกหลานอภิสิทธิ์ชนคนร่ำรวยจำนวนมากในประเทศนี้ ส่วนมากก็มีวิธีการในการหนีเกณฑ์ทหารอยู่แล้ว จนทำให้การเกณฑ์ทหารในแต่ละปี ส่วนใหญ่ก็เหลือแต่ลูกหลานประชาชนคนยากจนเท่านั้น ที่จะต้องไปฝึกทหารและเป็นทหารประจำการ ยิ่งกว่านั้น ในปัจจุบันนี้ ระบบการเกณฑ์ทหารก็เป็นที่วิจารณ์อย่างมาก และหลายประเทศก็ยกเลิกการเกณฑ์ทหาร แล้วหันมาใช้ทหารอาสาสมัครและทหารอาชีพแทน ในประเทศไทยก็เคยมีการเสนอในลักษณะเดียวกัน แต่ยังไม่ได้เป็นที่พิจารณาของกองทัพไทยอย่างจริงจัง

ในสังคมก่อนสมัยใหม่นั้น ถือว่ายังไม่มีกองทัพประจำการและระบบทหารเกณฑ์ จนกระทั่งหลังจากการปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ.1789 แล้ว จึงเกิดการเกณฑ์พลเมืองที่เป็นชายหนุ่มเข้าเป็นทหารในกองทัพ เพราะหลังการปฏิวัติ เกิดสงครามระหว่างฝรั่งเศสกับชาติยุโรปอื่นที่อยู่ภายใต้ระบอบกษัตริย์ จึงมีการนำเสนอในลักษณะที่ว่า ชายชาวฝรั่งเศสทุกคนมีหน้าที่จะต้องปกป้องปิตุภูมิฝรั่งเศส ใน ค.ศ.1798 เกิดกองทัพประจำการแห่งชาติฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการ และทำให้ฝรั่งเศสกลายเป็นประเทศที่มีแสนยานุภาพทางบกอันเข้มแข็ง เพราะมีกองทัพประจำการมากถึง 2.6 ล้านคนในระยะต่อมา

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/08/41941