หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ระบบทุนนิยมกับสภาพภูมิอากาศ

ระบบทุนนิยมกับสภาพภูมิอากาศ 

 

 
โดย มาติน เอมพ์ซอน
เรียบเรียงโดย นุ่มนวล  ยัพราช


โศกนาฎกรรมจากไต้ฝุ่นไฮ่เยี่ยนในฟิลิบปินส์ สะเทือนใจคนเป็นล้านทั่วโลก ประชาชนหลายพันเสียชีวิต อีกมากมายสูญเสียที่อยู่อาศัย ที่ทำงาน ฟาร์ม และธุรกิจ 

ตลอด ประวัติศาสตร์ของมนุษย์เรามักจะดำรงอยู่ใต้อำนาจของสภาพภูมิอากาศ  แต่การพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และการขยายตัวของพลังการผลิตภายใต้ทุนนิยมได้แปล เปลี่ยนสภาพเช่นนี้ไป อย่างไรก็ตามระบบทุนนิยมนั้นสร้างความยากจนและความหิวโหยสำหรับคนเป็นล้าน ล้าน และมันทำลายสภาพภูมิอากาศและนำไปสู่วิกฤติธรรมชาติ

 พายุไฮเยี่ยนโหมพัดเข้ามาในฟิลิปปินส์ ในขณะที่สหประชาชาติกำลังจัดการประชุมระดับโลกเรื่องปัญหาโลกร้อนที่เมือง วอร์ซอร์ ประเทศโปรแลนท์  นาเดเรฟ ซาโน สมาชิกคณะกรรมการโลกร้อนของฟิลิปปินส์ที่เข้าร่วมประชุมสหประชาชาติครั้งนี้  ได้ปราศรัยด้วยอารมณ์จากใจจริงเพื่อเรียกร้องให้ประเทศต่างๆ ลงมือแก้ปัญหาโลกร้อนอย่างเป็นรูปธรรม หลังจากนั้นเขาประกาศว่าจะงดอาหารจนกว่าการประชุมจะจบลง

แต่ ซาโน และคนอื่นๆในประเทศฟิลิปปินส์จะผิดหวังในผลการประชุมครั้งนี้  ครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 19 แต่การประชุมระดับโลกครั้งนี้ คงไม่ต่างจากการประชุมครั้งที่ผ่านมา 18 ครั้ง เพราะมันจะไม่มีการตกลงอะไรเป็นรูปธรรม การลงมือในการแก้ปัญหาโลกร้อนอย่างจริงจัง ถูกทำให้มีอุปสรรคโดยนักการเมืองที่เน้นผลประโยชน์ของกลุ่มทุนใหญ่เหนือการแก้ปัญหาของสิ่งแวดล้อม  
  
นี่คือสภาพปกติของทุนนิยมชนชั้นปกครองดูแลผลประโยชน์ของตนเองเท่านั้น  พวกนายทุนเชื่อว่าการแข่งขันอย่างหน้าเลือดในตลาดเสรีเป็นระบบที่ดีที่สุด  แต่ เฟรเดอริค เองเกิลส์ ได้เขียนไว้ตั้งแต่ปี 1876 ว่า “ในเรื่องธรรมชาติ และ ในเรื่องสังคม ระบบการผลิตในปัจจุบันเน้นหนักแต่ผลประโยชน์เฉพาะหน้าเท่านั้น และแล้วพวกนั้นก็แปลกใจเมื่อผลของการกระทำต่างๆ ในระบบนี้ตรงกันข้ามกับความหวังของคนส่วนใหญ่” 
   
ผลของระบบทุนนิยมทำให้คนเป็นล้านเผชิญหน้ากับวิกฤติสิ่งแวดล้อม ในประเทศอย่างฟิลิปปินส์ คนจนไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากจะพยายามกอบกู้วิกฤติชีวิตจากโศกนาฎกรรมที่เกิดขึ้นเป็นระยะๆ การขยายตัวของเมือง ความยากจน และการขาดแคลนที่ดิน  มันหมายความว่าคนจำนวนมากถูกบังคับให้ต้องอาศัยในพื้นที่เสี่ยง แม้แต่ในกรณีที่คนอาจจะย้ายถิ่นได้เขาก็ไม่ไปเพราะในถิ่นใหม่ไม่มีงานทำ 

สื่อนอกชี้ "นายกฯปู" อาจเลือกยุบสภา

สื่อนอกชี้ "นายกฯปู" อาจเลือกยุบสภา

 


เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน สำนักข่าวเอเอฟพีได้เผยแพร่ข้อเขียนของ เคลลี แมคนามารา ผู้สื่อข่าวเอเอฟพีที่อ้างความเห็นของผู้สังเกตการณ์ทางการเมืองที่มีต่อ สถานการณ์การเมืองไทยในขณะนี้ โดยมองว่า การเมืองไทยได้เข้าสู่ยุคแห่งความวุ่นวายครั้งใหม่ ที่พรรคเพื่อไทยกำลังต่อสู้กับการท้าทายของพรรคฝ่ายค้าน และการชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาลครั้งใหญ่ โดยคาดว่า วันที่ 24 พฤศจิกายน จะมีกลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลนับหลายหมื่นคนและกลุ่มคนเสื้อแดงที่สนับ สนุนรัฐบาลออกมารวมตัวชุมนุมกันในกรุงเทพฯ 

แมค นามาราอ้างความเห็นของ นายฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า เหตุการณ์คงความตึงเครียดต่อไป โดยกลุ่มผู้ประท้วงรัฐบาลมีความแข็งแกร่งมากพอที่จะขัดขวางการดำเนินนโยบาย ของรัฐบาล และทำให้รัฐบาลไม่สามารถทำให้นโยบายที่มีอยู่บรรลุผลได้ ทั้งนี้ คิดว่าอาจจะได้เห็นการเลือกตั้งใหม่เกิดขึ้น 

ขอเชิญทุกท่านร่วมงานเสวน "นิติศาสตร์-รัฐศาสตร์หลังศาลรัฐธรรมนูญ: นี่เราเรียนอะไรกันอยู่(วะ)เนี่ย??"

ขอเชิญทุกท่านร่วมงานเสวน "นิติศาสตร์-รัฐศาสตร์หลังศาลรัฐธรรมนูญ: นี่เราเรียนอะไรกันอยู่(วะ)เนี่ย??"




ร่วมฟังความคิดเห็นประเด็นคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญกรณีที่มา ส.ว. จากนักศึกษาคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ ที่ต้องถกเถียงกับมาตรฐานใหม่ทางการเมือง-กฎหมายที่เกิดขึ้น 

โดย
ปณิธาน พฤกษาเกษมสุข
ต่อศักดิ์ สุขศรี
นิติกร ชัยวิเศษ
ธนู รุ่งโรจน์เรืองฉาย
ธรรมชาติ กรีอักษร
สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์
รังสิมันต์ โรม

ดำเนินรายการโดย: กวินวุฒิ เล็กศรีสกุล


24 พฤศจิกายน 2556 นี้ เวลา 13:00-16:00 น.
ที่ห้อง ศศ.201 คณะศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

Wake up Thailand

Wake up Thailand
 



Wake up Thailand ประจำวันที่ 22 พฤศจิกายน 2556 ตอนที่ 2
เปิดชื่อมาเลย สว.สรรหามีดีกี่คน 
http://www.youtube.com/watch?v=4cpd6VdWd3U 
 
Wake up Thailand ประจำวันที่ 22 พฤศจิกายน 2556 ตอนที่ 1
เพิ่งจะรู้หรอว่าเป็น 70 : 30 มาตั้งนานแล้ว
http://www.dailymotion.com/video/x17h3zd_เพ-งจะร-หรอว-าเป-น-70-30-มาต-งนานแล 
 
Wake up Thailand ประจำวันที่ 21 พฤศจิกายน 2556 ตอนที่ 2
สื่อฝรั่งฟันธงศาลรัฐธรรมนูญเล่นการเมือง 
http://www.dailymotion.com/video/x17fqmf_ส-อฝร-งฟ-นธงศาลร-ฐธรรมน-ญเล-นการเม-อง 
  
Wake up Thailand ประจำวันที่ 21 พฤศจิกายน 2556 ตอนที่ 1
ศาลรัฐธรรมนูญเหนือทุกสถาบัน 
http://www.dailymotion.com/video/x17fqm8_ศาลร-ฐธรรมน-ญเหน-อท-กสถาบ- 

Divas Cafe

Divas Cafe

 
  
 
Divas Cafe ประจำวันที่ 22 พฤศจิกายน 2556
หาทาง 'ลง' ให้ประเทศ กับนักวิชาการ ดร.พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย 
http://www.dailymotion.com/video/x17h7zq_หาทาง-ลง-ให-ประเทศ-ก-บน-กว-ชาการ-ดร-พรส-นต-เล-ยงบ 

Divas Cafe ประจำวันที่ 21 พฤศจิกายน 2556 
ทบทวนคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ กับ อ.พนัส ทัศนียานนท์ 
http://www.dailymotion.com/video/x17fsyg_ทบทวนคำว-น-จฉ-ยศาลร-ฐธรรมน-ญ-ก-บ-อ-พน-ส-ท-ศน- 

อำนาจศาลเป็นโมฆะ

อำนาจศาลเป็นโมฆะ 

 

อำนาจศาลเป็นโมฆะ

อำนาจศาลเป็นโมฆะ intelligence 23 11 56
http://www.youtube.com/watch?v=CddDRFlqSXY

ชาญวิทย์ หนุนยุบศาลรธน -พนัส ชี้กองทัพอาจอ้างเงื่อนไขรัฐประหาร

ชาญวิทย์ หนุนยุบศาลรธน -พนัส ชี้กองทัพอาจอ้างเงื่อนไขรัฐประหาร


ชาญวิทย์ หนุนยุบศาลรธน -พนัส ชี้กองทัพอาจอ้างเงื่อนไขรัฐประหาร
 
สัมภาษณ์พิเศษ นายชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนายพนัส ทัศนียานนท์ อดีตสมาชิกวุฒิสภาและอดีตคณบดีนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทางออกหลังคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ กรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มา ส.ว. ออก

คณะนิติราษฎร์ แถลงกรณี คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ กรณีแก้ที่มาสว.ขัดมาตรา68

คณะนิติราษฎร์ แถลงกรณี คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ กรณีแก้ที่มาสว.ขัดมาตรา68


'นิติราษฎร์' แนะรัฐสภาปฏิเสธคำวินิจฉัยศาล รธน.

คณะนิติราษฎร์ แถลงกรณีคำวินิจฉัยศาล รธน.
https://www.youtube.com/watch?v=uC60ZzzlYLo#t=51

32 องค์กรออกแถลงการณ์ค้านรัฐบาลแห่งชาติ เดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ

32 องค์กรออกแถลงการณ์ค้านรัฐบาลแห่งชาติ เดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ

 



23 พ.ย. 2556 - 32 องค์กรประชาชนนำโดยกลุ่มสร้างสรรค์ชีวิตและสังคมอีสาน (กสส.)  ออกแถลงการณ์ “ต่อต้านรัฐบาลแห่งชาติ ปกป้องรัฐบาลประชาธิปไตย เดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ” วอน “คนเสื้อแดง” และ “กลุ่มพลังประชาธิปไตย” ให้สามัคคีกันมากขึ้น และให้มั่นคงในจุดยืนที่อยู่เคียงข้างฝ่ายที่ถูกต้องคือฝ่ายประชาธิปไตยตลอด กาล โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้


แถลงการณ์ ฉบับที่ 1/2556

“ต่อต้านรัฐบาลแห่งชาติ ปกป้องรัฐบาลประชาธิปไตย เดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ”

นิติราษฎร์ชี้คำวินิจฉัยศาลรธน.ไม่มีผลทางกฎหมาย ร่างแก้ไข รธน.ยังสมบูรณ์

นิติราษฎร์ชี้คำวินิจฉัยศาลรธน.ไม่มีผลทางกฎหมาย ร่างแก้ไข รธน.ยังสมบูรณ์

 

 
แถลงการณ์นิติราษฎร์ เรื่องคำวินิจฉัยศาลรธน.กรณีแก้ไขรธน.เรื่องที่มาสว.


23 พ.ย.2556 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ กลุ่มนิติราษฎร์จัดแถลงข่าววิพากษ์คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญกรณีร่างแก้ไข เพิ่มเติมรัฐธรรมนูญประเด็นที่มาของ ส.ว. ที่มีคำวินิจฉัยไปเมื่อ 20 พ.ย.ที่ผ่านมา  การแถลงข่าวครั้งนี้ได้รับความสนใจจากสื่อมวลขนและประชาชนเป็นจำนวนมาก

ช่วยเสียงข้างน้อยทำลายเจตนารมณ์ของเสียงข้างมาก

วรเจตน์ ภาคีรัตน์ เริ่มการแถลงข่าว ระบุว่า นิติราษฎร์เห็นว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีความผิดพลาดร้ายแรงในแง่ของ เขตอำนาจของศาลตลอดจนความบกพร่องในการวินิจฉัย ซึ่งศาลชี้ว่าร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมีความบกพร่องทั้งในแง่เทคนิค คือ เนื่องจากมีการเสียบบัตรลงคะแนนแทนกัน รวมถึงกรณีความบกพร่องทางเนื้อหา

สำหรับเขตอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญนั้น วรเจตน์ชี้ว่า นี่เป็นประเด็นสำคัญที่สุดที่ถ้าทำให้ความเข้าใจถ่องแล้วก็ไม่ต้องวิเคราะห์ เรื่องอื่นต่อไปอีก

ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรที่เกิดขึ้นจากรัฐธรรมนูญไม่ได้เกิดขึ้นมาเอง ด้วยตัวเอง ไม่ได้เกิดจากกฎหมายธรรมชาติหรือเทศบัญญัติหรือกฎหมายอื่นใด ถ้าไม่มีรัฐธรรมนูญก็ไม่มีศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อรัฐธรรมนูญก่อตั้งศาลขึ้นมาก็กำหนดอำนาจหน้าที่ขึ้นมา

บุคคลที่ทรงอำนาจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญคือรัฐสภา เวลาที่ศาลรัฐธรรมนูญจะทำงานหรือตัดสินคดีไม่สามารถตัดสินคดีได้ตามอำเภอใจ เช่นมีคนฆ่าคนตาย ฝ่ายของคนที่ถูกฆ่าตายก็ไปร้องให้ศาลวินิจฉัยโดยเชื่อว่าศาลจะทรงความ ยุติธรรมเหนือกว่าศาลอื่นใด ทำอย่างนั้นไม่ได้ เพราะเรื่องเหล่านี้ไม่ได้อยู่ในอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ ถ้าศาลรับตัดสินก็ไม่มีผลทางกฎหมาย

ศาลมีเขตอำนาจจำกัดตามที่รธน. และการดูเรื่องขอบเขตอำนาจเป็นเรื่องต้องทำก่อนการวินิจฉัยคดี

สิ่งที่ทำเมื่อวันที่ 20 พ.ย. คือศาลไม่ได้วินิจฉัยว่าตัวเองมีอำนาจวินิจฉัย แต่ไปอ้างหลักการเสียงข้างน้อยมาใช้ ฟังดูอาจจะเคลิ้มแต่ถ้าเราคิดและตรึกตรองดูให้ดีแล้วจะพบว่าการอ้างหลักการ คุ้มครองเสียงข้างน้อยมีความคลาดเคลื่อนหลายประการ

นิติราษฎร์เห็นว่าสาระสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตยคือเสียงของ ประชาชน และประชาชนนั้นมีจำนานมาก และมีความคิดความเห็นต่างกัน หากต้องหาเจตจำนงของประชาชนให้ยุติโดยความเห็นพ้องอย่างเอกฉันท์นั้นเป็นไป ไม่ได้ จึงต้องใช้หลักเสียงข้างมาก แต่ก็ต้องมีหลักการคุ้มครองเสียงข้างน้อยเพื่อให้ข้อยุติจากเสียงข้างมาก เป็นไปอย่างมีเหตุผล แต่การคุ้มครองเสียงข้างน้อยไม่ใช่การยอมทำตามเสียงข้างน้อย แต่เปิดโอกาสให้เสียงข้างน้อยได้แสดงความเห็น เพื่อโน้มน้าวให้เสียงส่วนใหญ่เห็นด้วยเพื่อจะเป็นเสียงข้างมากในวันหนึ่ง นี่เป็นสิ่งที่ไม่ปรากฏในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญทั้งๆ ที่เป็นหลักการที่สำคัญ

ศาลของรัฐธรรมนูญไม่ได้มีหน้าที่ในการทำให้เสียงข้างน้อยบรรลุเป้าหมาย เพราะศาลรธน. ไม่ใช่ผู้แทนของเสียงข้างน้อย ผู้แทนของเสียงข้างน้อยคือฝ่ายค้านในสภา แต่ศาลรธน.เป็นคนกลางที่ทำหน้าที่วินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญสรุปลงอย่างง่ายๆ ว่าเสียงข้างน้อยไม่มีที่อยู่ที่ยืน แต่ไม่มีข้อเท็จจริงใดๆ ที่สนับสนุนว่าเสียงข้างน้อยในประเทศนี้ไม่มีที่อยู่ที่ยืนอย่างไร ไม่มีที่บอกว่าทุกวันนี้ไม่มีกลไกการตรวจสอบเสียงข้างมาก ตราบที่มีศาลรัฐธรรมนูญมันยังมีกลไกตรวจสอบ ยังมีมติสาธารณะ มีคอลัมนิสต์มีการแสดงความเห็นที่ทำให้เห็นว่าเสียงข้างน้อยมีที่อยู่ที่ยืน

สำหรับการแก้ไขที่มา ส.ว.เสียงข้างน้อยที่ไมเห็นด้วยกับเสียงข้างมากที่ลงคะแนนไปแล้วก็ควรจะไป รณรงค์ใช้เหตุผลโน้มน้าวใจคนอื่นให้เห็นด้วย ไม่ใช่การบังคับข่มขืนใจคนอื่นให้เห็นด้วยได้

ศาลรธน. สมควรต้องตระหนักและสำนึกว่าการออกแบบโครงสร้างการเมืองว่าควรอย่างไร เป็นเรื่องของประชาชนและองค์กรทางการเมืองคือ รัฐสภา เพราะบุคคลเหล่านี้มีความชอบธรรมทางประชาธิปไตย ไม่ใช่หน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญที่จะมาบอกว่าต้องเป็นแบบนี้ แต่เป็นหน้าที่ของประชาชนร่วมกับองค์กรทางการเมือง

ศาลรัฐธรรมนูญได้อ้างหลักนิติธรรมขึ้นในหลายแห่งของคำวินิจฉัย ฟังดูดีแต่พอดูรายละเอียดจะพบว่าเป็นการอ้างที่เลื่อนลอย การอ้างอย่างนี้โดยผลของคำวินิจฉัยนี้ก็คือการควบคุมขัดขวางเสียงข้างมาก เพื่อให้ความต้องการของเสียงข้างน้อยบรรลุผล การทำอย่างนี้สุดท้ายเป็นการช่วยให้เสียงข้างน้อยทำลายเจตนารมณ์ของเสียง ข้างมาก และทำให้เสียงข้างมากต่างหากที่ไม่มีที่อยู่ที่ยืน เป็นการสนับสนุนเผด็จการเสียงข้างน้อยในที่สุด

ตอแหลแลนด์ แสนด์ ออฟ ตอ ลอ

ตอแหลแลนด์ แสนด์ ออฟ ตอ ลอ 


ตอแหลแลนด์ (THorlaeland) - หน่อยน้อยนอย Live Session
http://www.youtube.com/watch?v=0I2rnr4xEEY&feature=share

ศาลรัฐธรรมนูญกับมาตรฐานมโนสำนึก

ศาลรัฐธรรมนูญกับมาตรฐานมโนสำนึก 


 
โดย วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ 


เกี่ยวกับผู้เขียน นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (รางวัลทุนฟุลไบรท์และวิทยานิพนธ์เกียรตินิยม). นิติศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง). โทร. +๓๓ ๖ ๔๘ ๓๑ ๓๘ ๕๕ อีเมล verapat@post.harvard.edu.

หมายเหตุจากผู้เขียน ความเห็นนี้ประกอบขึ้นช่วงข้ามคืนหลังจากศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัย เพื่อเสนอสู่สาธารณะในช่วงวันหยุดยาวอันเป็นเวลามงคล แต่ก็ยังพร่องในความสมบูรณ์และหวังจะได้ปรับปรุงต่อไป หากผู้อ่านมีข้อคิดเห็น คำแนะนำ หรือข้อท้วงติง ขอน้อมรับฟังที่ verapat@post.harvard.edu. ประเด็นบางส่วนในที่นี้เคยนำเสนอแล้วในวิทยานิพนธ์ สืบค้นได้ที่ Google: “Verapat Harvard Paper”. อนึ่ง “มาตรา” และ “กฎหมาย” ที่กล่าวถึงในความเห็นนี้ หากบริบทมิแสดงเป็นอื่นหมายถึง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งได้คัดบางส่วนไว้ในภาคผนวกของความเห็นนี้ (สำเนากฎหมายฉบับเต็ม ดูได้ที่เว็บไซต์รัฐสภา http://www.parliament.go.th/mp2550/asset/law_party.pdf)  ความเห็นฉบับเต็ม โปรดดูที่ http://sites.google.com/site/verapat/

บทนำ

ศาล รัฐธรรมนูญวินิจฉัยโดยเสียงข้างมากโดยมติ ๔ ต่อ ๒ เสียง ให้ยกคำร้องที่นายทะเบียนพรรคการเมืองขอให้ศาลมีคำสั่งยุบพรรคประชาธิปัตย์ เหตุใช้เงินสนับสนุนพรรคการเมืองไม่เป็นไปตามกฎหมายและรายงานการใช้เงินไม่ ตรงตามความเป็นจริง (“กรณีเงิน ๒๙ ล้านบาท”) โดยศาลให้เหตุผลว่า กระบวนการยื่นคำร้องขอให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ในที่นี้ ผู้ทำความเห็นอ้างถึงคำวินิจฉัยกลางอย่างไม่เป็นทางการซึ่งศาลได้เผยแพร่ต่อ ประชาชนเป็นลายลักษณ์อักษร ณ เว็บไซต์ศาลรัฐธรรมนูญ (http://www.constitutionalcourt.or.th/) มีทั้งสิ้น ๑๕ หน้า (ผู้ทำความเห็นได้ย่อไว้เป็นภาคผนวก) ซึ่งมีใจความตรงกับคำวินิจฉัยที่ศาลได้อ่านและสื่อมวลชนได้รายงานต่อประชาชน ไปเมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน  ๒๕๕๓ แล้ว ต่อมาในวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้เผยแพร่ข่าวที่ ๒๔/๒๕๕๓ โดยอธิบายถึงวิธีการลงมติของตุลาการเสียงข้างมากที่มีความเห็นเป็นสองกลุ่ม แต่มิได้มีการระบุไว้ในคำวินิจฉัยอย่างไม่เป็นทางการ

ด้วยความ อัศจรรย์ใจในการให้เหตุผลแห่งคำวินิจฉัย กอปรกับความความเคารพอย่างแท้จริงต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญ ผู้ทำความเห็นน้อมและยอมรับคำวินิจฉัยดังกล่าว อีกด้วยสำนึกในสิทธิและหน้าที่ตามมาตรา ๔๕, ๖๙ และ ๗๐ แห่งรัฐธรรมนูญ จึงได้ทำความเห็น ดังมีประการต่อไปนี้

(อ่านต่อ)