หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2557

สปป.ชี้คำวินิจฉัยตลก.ไม่ชอบธรรม วรเจตน์ยันพ.ร.ฎ.โมฆะ คะแนนเสียง 'ไม่' โมฆะ

สปป.ชี้คำวินิจฉัยตลก.ไม่ชอบธรรม วรเจตน์ยันพ.ร.ฎ.โมฆะ คะแนนเสียง 'ไม่' โมฆะ



ชมวิดีโอการอ่านแถลงการณ์ สปป.โดย พวงทอง ภวัครพันธุ์ และประจักษ์ ก้องกีรติ

สปป.แถลงกรณี 'เลือกตั้ง 2 ก.พ.เป็นโมฆะ' : วรเจตน์ ภาคีรัตน์

สปป.แถลงกรณี 'เลือกตั้ง 2 ก.พ.เป็นโมฆะ' : เกษียร เตชะพีระ

สปป.แถลงค้านคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญกรณีเลือกตั้ง 2 ก.พ. ระบุ 7 ประการ ไม่มีความชอบธรรมทางการเมืองและทางรัฐธรรมนูญ วรเจตน์ ชีปัญหาหลายระดับ ให้พ.ร.ฏ.เป็นโมฆะครึ่งเดียว และไม่ได้ฟันให้ 20 ล้านเสียงที่ลงคะแนนโมฆะ เพราะรู้ดีไม่มีกฎหมายรองรับอำนาจ

13.30 น. ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย (สปป.) แถลงข่าวคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่วินิจฉัยให้ พ.ร.ฎ.ยุบสภาและกำหนดวันเลือกตั้งส.ส.ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 108 วรรค 2 โดยชี้ว่าคำวินิจฉัยดังกล่าวมีปัญหาความชอบธรรมทั้งทางการเมืองและทางรัฐ ธรรมนูญ (อ่านแถลงการณ์ในล้อมกรอบด้านล่าง) 

(อ่านต่อ)

สับคำวินิจฉัย ตลก. 'โมฆะ' 'นอก รธน.' 'นำสู่ความรุนแรง'

สับคำวินิจฉัย ตลก. 'โมฆะ' 'นอก รธน.' 'นำสู่ความรุนแรง'



 
 
สถิตย์ ไพเราะ ชี้หมดศรัทธาศาลนานแล้ว หลังตัดสินให้ กม.มีผลย้อนหลัง ด้านปิยบุตร ชี้คำวินิจฉัยศาล รธน.ต่างหากที่ "โมฆะ" เพราะไม่มีอำนาจตั้งแต่ต้น คณินจวกคำวินิจฉัย "นอกรัฐธรรมนูญ" ซ้ำกลายเป็นแก้รธน.นอกสภา ใบตองแห้งหวั่นคำตัดสินนำสู่การนองเลือด 

22 มี.ค. 2557 สถาบันพัฒนาประชาธิปไตย จัดเสวนาหัวข้อ "ฤาตุลาการจะทำให้ประเทศแตกแยก" ที่โรงแรมมิราเคิล ถนนวิภาวดี ดำเนินรายการโดย ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ นักวิชาการอิสระ โดยเรื่องที่ถูกหยิบยกมาพูดถึงมากที่สุดคือมติศาลรัฐ ธรรมนูญวานนี้ ที่ระบุว่า พระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) ยุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2556 เฉพาะในส่วนที่กำหนดให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. เป็นการทั่วไป ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมานั้น ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 108 วรรค 2 เนื่องจากไม่สามารถกระทำการเลือกตั้งในวันเดียวกันได้ทั้งราชอาณาจักร

สถิตย์ ไพเราะ อดีตรองประธานศาลฎีกา กล่าวว่า เมื่อพูดถึงความแตกแยก สังคมไทยก่อน 2475 ก็มีความแตกแยก แต่ไม่ใช่ความแตกแยกในระบบปกครอง โดยเห็นตรงกันว่าจะเป็นสมบูรณาญาสิทธิราช แต่เถียงกันว่าจะเอาใครมาเป็นพระมหากษัตริย์เท่านั้น พอมาหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง มีการแตกแยกออกเป็นสองฝ่ายระหว่างฝ่ายสมบูรณาญาสิทธิราชแบบเดิมกับฝ่าย ประชาธิปไตย และสู้กันมาจนบัดนี้ ยันกันเรื่อยมาจนตอนหลังฝ่ายเผด็จการมีการใช้ตุลาการเข้ามา ซึ่งสิ่งที่ตุลาการทำนั้นไม่มีใครยอมรับได้

อดีตรองประธานศาลฎีกา กล่าวว่า ส่วนตัวเลิกนับถือศาลมาตั้งแต่ปี 51 ที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าออกกฎหมายย้อนหลังเป็นโทษได้ เพราะการวินิจฉัยเช่นนี้เป็นการทำลายเสรีภาพ ซึ่งเป็นหัวใจของระบอบประชาธิปไตย

ทั้งนี้ เขามองว่าศาลไทยนั้นเกิดจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช ไม่ได้มาจากฝ่ายประชาธิปไตย สิ่งที่ศาลตัดสินครั้งนี้จึงไม่ใช่เรื่องแปลก แต่เป็นเรื่องธรรมชาติ พร้อมเล่าว่า คุณสมบัติผู้พิพากษานั้นกำหนดว่า ต้องเลื่อมใสในระบอบประชาธิปไตย แต่จากที่อยู่ในวงการนี้มา 40 ปี ก็พบว่าไม่เคยมีการสอบถามเรื่องนี้เลย

ปิยบุตร ชี้คำวินิจฉัยศาลรธน.ต่างหากที่ "โมฆะ"
ปิย บุตร แสงกนกกุล นักวิชาการคณะนิติราษฎร์ เริ่มด้วยการวิจารณ์กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่ออกมานั่งอ่านคำวินิจฉัยเต็ม แต่ให้โฆษกออกมาอ่านใบแถลงข่าวว่า เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง และทำเช่นนี้หลายครั้งในระยะหลัง กับคดีสำคัญหลายคดีที่ผ่านมา ทั้งนี้ เมื่ออ่านใบแถลงข่าว แล้ว เห็นว่าไม่มีตรงไหนที่บอกว่าการเลือกตั้ง 2 ก.พ. เป็นโมฆะ หรือถูกเพิกถอนไป แต่เนื่องจากทั้งฝ่ายสนับสนุน และต่อต้านต่างก็มีอารมณ์ร่วมเหมือนกันหมดว่าการเลือกตั้งจะโมฆะแน่นอน จึงตีความกันไปเช่นนั้น

สุรินทร์:ค้านคำสั่ง ตลก.เลือกตั้งโมฆะ คลุมผ้าดำอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ

สุรินทร์:ค้านคำสั่ง ตลก.เลือกตั้งโมฆะ คลุมผ้าดำอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ 



กลุ่มเยาวชนคณะราษฎรเพื่อประชาธิปไตยจังหวัดสุรินทร์ คัดค้านผลการผลการวินิจฉัยให้การเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์เป็นโมฆะ พร้อมชูป้ายผ้า “ราษฎรทั้งหลาย พึงรู้ไว้ ประเทศนี้เปนของ ตุลาการศาลรธน.”

เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2557 ในเวลา 17.30 น.กลุ่มเยาวชนคณะราษฎรเพื่อประชาธิปไตยจังหวัดสุรินทร์ แต่งชุดดำนำป้ายผ้ามาคลุมอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ที่ตั้งอยู่หน้าศาลากลางจังหวัดสุรินทร์ เพื่อเป็นแสดงเชิงสัญญลักษณ์ในการไม่เห็นด้วย กับการวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ให้การเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์เป็นโมฆะ 

(ที่มา)
http://www.prachatai.com/journal/2014/03/52423