หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ผู้นำ"อังกฤษ-สก็อตแลนด์"เตรียมรับรองแผนทำ"ประชามติแยกประเทศ"

ผู้นำ"อังกฤษ-สก็อตแลนด์"เตรียมรับรองแผนทำ"ประชามติแยกประเทศ"

 


รัฐบาลสก็อตแลนด์ยืนยันว่าประสบผลสำเร็จในสิ่งที่เตรียมการไว้ที่ใช้ในการเจรจาเพื่อจัดทำประชามติแยกประเทศ

นางนิโคลา สเตอร์เจียน รองหัวหน้าคณะรัฐบาลสก็อตแลนด์ เปิดเผยว่า ข้อตกลงดังกล่าวหมายถึงว่าจะมีการจัดการลงประชามติขึ้นที่สก็อตแลนด์ ก่อนหน้าที่นายกรัฐมนตรีเดวิด คาเมรอนของอังกฤษ และนายอเล็กซ์ ซัลมอนด์ หัวหน้าคณะรัฐบาลสกอตแลนด์จะรับรองแผนการทำประชามติแยกประเทศในวันพรุ่งนี้

ทั้งนี้ คาดกันว่า คำถามที่จะใช้ในการลงประชามติว่าสก็อตแลนด์ต้องการแยกตัวจากสหราชอาณาจักร จะเป็นคำถามที่ต้องการคำตอบเพียงว่า ใช่/ไม่ เท่านั้น และคาดว่า รัฐบาลอังกฤษจะจำกัดอำนาจบางส่วนไว้แก่รัฐสภาสก็อตแลนด์ เพื่อจัดการลงประชามติตามกฎหมาย ภายใต้กลไกที่เรียกว่า "เซ็กชัน 30" (Section 30) โดยคาดว่าการหยั่งเสียงครั้งนี้จะครอบคลุมถึงกลุ่มวัยรุ่นอายุ 16 ปีด้วย

นายกรัฐมนตรีคาเมรอนซึ่งประกาศคัดค้านการแยกสกอตแลนด์ออกจากสหราช อาณาจักรอย่างแข็งขันจะพบปะกับนายซัลมอนด์ ผู้นำพรรคสก็อตติชเนชันแนล (เอสเอ็นพี) ซึ่งชูนโยบายเอกราชสกอตแลนด์ที่เมืองเอดินเบอระหลังคณะรัฐมนตรีประกาศบรรลุ ข้อตกลงรายละเอียดสำหรับการทำประชามติแยกตัวออกจากสหราชอาณาจักรในช่วงปลาย ปี 2014

นางสเตอร์เจียนกล่าวว่า การลงประชามติครั้งนี้ ถือว่าเป็นโอกาสครั้งสำคัญที่สุดของประชาชนในรอบกว่า 300 ปี ว่าต้องการให้สก็อตแลนด์อยู่ในสถานะใด และไม่น่าประหลาดใจว่าชาวสก็อตส่วนใหญ่ต้องการอาศัยอยู่ในสังคมที่มีความ ยุติธรรมกว่า มั่งคั่งกว่า เท่าที่ความมีอิสรภาพจะเอื้ออำนวยให้ และหากเมื่อใดที่ข้อตกลงได้รับการลงนาม ประชาชนก็จะมีโอกาสในการกำหนดอนาคตได้ด้วยตนเอง

ด้านผลสำรวจความคิดเห็นระบุว่า แผนการรณรงค์แยกสกอตแลนด์เป็นประเทศเอกราชของนายซัลมอนด์ได้รับการสนับสนุน จากชาวสกอตเพียงร้อยละ 28 แต่จากกำหนดการลงคะแนนเสียงซึ่งจะมีขึ้นในอีกสองปีข้างหน้าทำให้พรรคเอสเอ็น พียังมีเวลาเก็บเกี่ยวเสียงสนับสนุน    รัฐบาลสกอตแลนด์ได้รับมอบอำนาจบริหารเฉพาะในขอบเขตจำกัด โดยครอบคลุมถึงงานสาธารณสุข การศึกษา และระบบยุติธรรม ขณะที่การบริหารงานความมั่นคง พลังงาน และต่างประเทศยังคงเป็นของรัฐบาลอังกฤษ  ซึ่งนายซัลมอนด์เรียกร้องให้สกอตแลนด์สามารถดำเนินนโยบายความมั่นคง เศรษฐกิจ และต่างประเทศด้วยตนเอง
 

(ที่มา)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1350202826&grpid=&catid=06&subcatid=0600

รัฐไทยไม่เคยแทรกแซงตลาดการค้าข้าวจริง?

รัฐไทยไม่เคยแทรกแซงตลาดการค้าข้าวจริง?

 


(คลิกฟัง)
http://www.dailymotion.com/video/xuaplb

รัฐไทยไม่เคยแทรกแซงตลาดการค้าข้าวจริง? ตอน 2

(คลิกฟัง)
http://www.dailymotion.com/video/xubhr2 


วิพากษ์นโยบายข้าว 'จำนำ – ประกันรายได้'
วิพากษ์นโยบายข้าว 'จำนำ – ประกันรายได้'

(คลิกฟัง)
http://www.dailymotion.com/video/xuapkx

ทำไมต้อง "ปฏิรูปศาล"

ทำไมต้อง "ปฏิรูปศาล"

 


ทำไมต้อง "ปฏิรูปศาล"
ทำไมต้อง "ปฏิรูปศาล


รายการ Intelligence ตลอดเดือนกันยายนและตุลาคม นำเสนอตอนพิเศษ "อนาคตประเทศไทย" หรือ "Thailland 's Future หลังจากเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม กีฬา บันเทิง เทคโนโลยี มาแล้ว วันนี้จะเจาะลึก"กระบวนการยุติธรรม" ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ "ศาล" โดยตั้งโจทก์ไว้ว่า ทำไมต้อง "ปฏิรูปศาล"

รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเป็นหนึ่งในคณะนักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ ชี้แจงว่า การปฏิรูปศาลเป็นสิ่งจำเป็น เพราะตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ.2475 สถาบันศาลเป็นสถาบันที่แทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงให้ยึดโยงกับประชาชน เหมือนกับฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหาร ที่มีการเลือกตั้ง ทำให้เกิดการยึดโยงกับประชาชน

รศ.ดร.วรเจตน์ มองว่า การปฏิรูปศาล จำเป็นต้องปฏิรูปพร้อมกับ 4 ส่วน คือ ปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ ปฏิรูปสถาบันการเมืองและปฏิรูปองค์กรอิสระ ประเทศไทยเป็นประเทศที่ใช้ระบบศาลคู่ นับตั้งแต่รัฐธรรมนูญปี พ.ศ.2540 เป็นต้นมา มีศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และศาลรัฐธรรมนูญ แต่ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ระบบศาลคู่ หรือศาลเดี่ยว ปัญหาอยู่ที่การยึดโยงกับประชาชน โดยยังคงความอิสระในการทำหน้าที่พิพากษาคดีได้
 
ในประเด็นความเป็นอิสระนั้นรศ.ดร.วรเจตน์ อธิบายไว้เป็น 3 ส่วน คือ

1. อิสระในทางเนื้อหา หมายความว่าพิพากษาคดีไปตามวิชาชีพ ไม่รับใบสั่งจากใคร 
2.อิสระต่ออำนาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ คือศาลไม่จำเป็นต้องผูกพันกับศาลสูงที่เคยตัดสินแล้ว หากมีเหตุผลที่ดีกว่าก็สามารถกลับคำตัดสินได้ 
3.ศาลต้องเป็นอิสระต่ออิทธิพลทางสังคม หลักการนี้ใช้เฉพาะการกระทำการในทางตุลาการเท่านั้น

(เก็บตกข้ามปี)เสรีภาพนิสิตนักศึกษาในพระ​ปรมาภิไธย

(เก็บตกข้ามปี)เสรีภาพนิสิตนักศึกษาในพระ​ปรมาภิไธย 


เสวนา: เสรีภาพนิสิตนักศึกษาในพระปรมาภิไธย


1 เสรีภาพนิสิตนักศึกษาในพระ​ปรมาภิไธย 27 12 2011
http://www.youtube.com/watch?v=jLvsu3dgYws&feature=relmfu


2 เสรีภาพนิสิตนักศึกษาในพระ​ปรมาภิไธย 27 12 2011
http://www.youtube.com/watch?v=7lCBoaUAyQI&feature=related


3 เสรีภาพนิสิตนักศึกษาในพระ​ปรมาภิไธย 27 12 2011
http://www.youtube.com/watch?v=vc9Tp7T2KJ8&feature=relmfu

4 เสรีภาพนิสิตนักศึกษาในพระ​ปรมาภิไธย 27 12 2011
http://www.youtube.com/watch?v=B86EmLSw5-E&feature=relmfu

5 เสรีภาพนิสิตนักศึกษาในพระ​ปรมาภิไธย 27 12 2011
http://www.youtube.com/watch?v=kvf7Rbe-iJg&feature=relmfu 

6 เสรีภาพนิสิตนักศึกษาในพระ​ปรมาภิไธย 27 12 2011
http://www.youtube.com/watch?v=DdR3D_RCUKE&feature=relmfu 


7 เสรีภาพนิสิตนักศึกษาในพระ​ปรมาภิไธย 27 12 2011
http://www.youtube.com/watch?v=PpQmift3AdQ&feature=relmfu


คลิปงานเสวนาเสรีภาพนิสิตนักศึกษาในพระปรมาภิไธย - ปิยบุตร แสงกนกกุล
http://www.enlightened-jurists.com/page/258

ความป่าเถื่อนของ ม.112

ความป่าเถื่อนของ ม.112


Posted Image 
ปั่นให้รัก ปลุกให้เกลียด 
 
มาตรา112 เป็นกฎหมายเผด็จการiที่ห้ามพูดความจริงซึ่งเป็นต้นตอสำคัญของปัญหาการเมืองไทย ห้ามพูด ห้ามสอบสวน ห้ามพิสูจน์ความจริง ทำให้มีคนอยู่เหนือกฎหมาย ผูกขาดอำนาจ และเป็นต้นตอของความชั่วร้ายที่ไม่อาจตรวจสอบหรือแก้ไขได้เลยแม้แต่น้อย


Photo: ผมขอย้ำว่า ม.112 ของไทย มีบทลงโทษรุนแรงที่สุดในโลก
ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
(อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)


กลุ่มแรก ไม่มีกฎหมายการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ แต่ใช้กฎหมายหมิ่นประมาทเหมือนบุคคลทั่วไป คือ ญี่ปุ่น และ อังกฤษ ส่วนบทลงโทษเมื่อผิดตามกฎหมายการหมิ่นประมาทของไทย ปัจจุบันยกเลิกการจำคุกไปแล้ว เหลือพียงโทษปรับ

กลุ่มที่สอง มีกฎหมายการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ แต่แทบไม่นำมาใช้เลย หรือจะนำมาใช้ก็เพียงลงโทษปรับธรรมดา คือ เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก นอร์เวย์ สวีเดน สเปน

กลุ่มที่สาม มีกฎหมายการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ แต่บทลงโทษต่ำกว่าของไทยเป็นอย่างมาก คือ โมร็อกโก ซึ่งมีโทษจำคุก1 ปี ถึง 5 ปี หรือ ปรับ 200 ถึง 1000 ดีร์แฮม (ประมาณ 750-3760 บาท)

แหล่งข้อมูล : เอกสารแจกของ คณะรณรงค์แก้ไข ม.112 (ค ร ก 112)


ข้อมูลเพิ่มเติมที่แสดงให้เห็นว่ากฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มาตรา 112 เป็นกฎหมายที่มีบทลงโทษรุนแรงที่สุด
http://news.voicetv.co.th/global/25763.html
http://ggnanny507.blogspot.com/2012/07/blog-post_989.html


ม 112 ของไทย รุนแรงที่สุดในโลก Full HD 1080
http://www.youtube.com/watch?v=gqH6iIkVpdI&feature=plcp 
 
กลุ่ม แรก ไม่มีกฎหมายการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ แต่ใช้กฎหมายหมิ่นประมาทเหมือนบุคคลทั่วไป คือ ญี่ปุ่น และ อังกฤษ ส่วนบทลงโทษเมื่อผิดตามกฎหมายการหมิ่นประมาทของไทย ปัจจุบันยกเลิกการจำคุกไปแล้ว เหลือพียงโทษปรับ

กลุ่มที่สอง มีกฎหมายการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ แต่แทบไม่นำมาใช้เลย หรือจะนำมาใช้ก็เพียงลงโทษปรับธรรมดา คือ เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก นอร์เวย์ สวีเดน สเปน 
กลุ่มที่สาม มีกฎหมายการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ แต่บทลงโทษต่ำกว่าของไทยเป็นอย่างมาก คือ โมร็อกโก ซึ่งมีโทษจำคุก1 ปี ถึง 5 ปี หรือ ปรับ 200 ถึง 1000 ดีร์แฮม (ประมาณ 750-3760 บาท)
 
แหล่งข้อมูล : เอกสารแจกของ คณะรณรงค์แก้ไข ม.112 (ค ร ก 112)


ข้อมูลเพิ่มเติมที่แสดงให้เห็นว่ากฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มาตรา 112 เป็นกฎหมายที่มีบทลงโทษรุนแรงที่สุด
http://ggnanny507.blogspot.com/2012/07/blog-post_989.htm 

16 ตุลา ใครฆ่า 3 จี ?

16 ตุลา ใครฆ่า 3 จี ?

 

 
โดย วีรพัฒน์ ปริยวงศ์
นักกฎหมายอิสระ
http://www.facebook.com/verapat


เส้น ทางที่ ‘เสียงข้างน้อย’ ใช้ตรวจสอบยับยั้งการปกครองโดย ‘เสียงข้างมาก’ ได้นั้น คือ ซอยแคบๆ ที่แยก ‘ประชาธิปไตย’ ออกจากถนนสู่ ‘เผด็จการ’

แต่เพื่อไม่ให้ ‘เสียงข้างน้อย’ กลายเป็น ‘เผด็จการ’ เสียเอง (ดังที่เคยบานปลายไปสู่เหตุการณ์ ‘6 ตุลา’ หรือ ‘14 ตุลา’) การตรวจสอบยับยั้งที่ว่าจึงทำได้ก็แต่โดย ‘ความยินยอม’ ของ ‘เสียงข้างมาก’

‘ความยินยอม’ นี้ไม่อาจเป็นเพียง ‘ความสำนึกตรึกคิด’ และไม่ว่าจะตรึกคิดไปพร้อมกับเสียงเพลงแห่งศีลธรรมอันสูงส่งเพียงใด แต่การตรึกคิดที่ว่า ต้องถูกตราขึ้นในรูปแบบของ ‘กฎหมาย’ ซึ่งประกันสิทธิต่างๆ ให้แก่ ‘เสียงข้างน้อย’

ซึ่งสิทธิที่สำคัญที่สุดประการหนึ่ง ก็คือ ‘สิทธิในการฟ้องคดี’ นั่นเอง

‘ตุลาการ’ จึงถูกสร้างมาเพื่อประกันสิทธิของ ‘เสียงข้างน้อย’ ให้สามารถยื่นกระดาษบางๆ เพียงไม่กี่แผ่น แต่ทำให้ความประสงค์อันหนักแน่นของ ‘เสียงข้างมาก’ ชะงักงันได้ โดยไม่ต้องใช้รถถังหรือกระสุนปืน

ดังนั้น แม้ ‘รัฐสภา’ จะตรากฎหมายให้อำนาจ ‘วุฒิสภา’ ใช้ ‘เสียงข้างมาก’ คัดเลือก กสทช. 11 คน มาเป็นผู้จัดการประมูล 3จี แต่การใช้อำนาจของ กสทช. ก็ย่อมถูก ‘เสียงข้างน้อย’ เช่น นักวิชาการอิสระ หรือ ผู้บริโภค เพียงคนเดียว หรือสมาคมมูลนิธิเพียงไม่กี่แห่ง ใช้ช่องทาง ‘ศาล’ เพื่อตรวจสอบยับยั้งการประมูลได้เช่นกัน

ผู้ที่ศรัทธาในประชาธิปไตย จึงไม่ควรมีปัญหากับ ‘ผู้ที่ไปฟ้องคดี’ แต่หากจะมี ก็อาจต้องมีในกรณีที่ ‘ศาล’ ปล่อยให้ ‘เสียงข้างน้อย’  เข้าไปบีบคั้นจนทำลาย ‘ความยินยอม’ ของ ‘เสียงข้างมาก’ ในที่สุด

ภาพประวัติศาสตร์ 14 ตุลา 16

ภาพประวัติศาสตร์ 14 ตุลา 16 

 


ภาพประวัติศาสตร์ 14 ตุลา

ภาพประวัติศาสตร์ 14 ตุลา

ภาพประวัติศาสตร์ 14 ตุลา

เดือนตุลาคม 2516 วีรชนคนหนุ่มสาวเดินออกจากบ้านและเดินเข้าสู่ดินแดนประวัติศาสตร์ และตำนานที่จะต้องจดจำกันไว้ในแผ่นดินชั่วกาลนาน

ที่มา)
http://atcloud.com/stories/20003


"เหตุการณ์14 ตุลา16" หรือ "วันมหาวิปโยค" เมื่อนิสิต นักศึกษาและประชาชนกว่า 500,000 คนชุมนุมประท้วงเพื่อ"เรียกร้องรัฐธรรมนูญ"และ"คัดค้านอำนาจรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร" (ซึ่งทำรัฐประหารยึดอำนาจตัวเองเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514)

การ เดินขบวนเริ่มต้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ออกไปตามถนนราชดำเนินสู่ลานพระบรมรูปทรงม้า ก่อนจะปะทะระกับเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหาร กลายเป็นการจราจล และเกิดการนองเลือด มีนักศึกษาและประชาชนสูญเสียชีวิต 77 คนและบาทเจ็บ 857 คน เหตุการณ์สงบลงในค่ำวันที่ 15 ตุลาคม เมื่อ ถนอม ประภาส ณรงค์ หนีออกนอกประเทศ และมีการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกฯ คนใหม่

ปัจจุบัน ได้มีการก่อสร้าง "อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา" ขึ้นเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ดังกล่าวบริเวณ สี่แยกคอกวัว ถนนราชดำเนินกลาง พร้อมทั้งก่อตั้งมูลนิธิ 14 ตุลา ขึ้นด้วย ต่อมาในปี 2545 รัฐบาลได้มีการกำหนดให้วันที่ 14 ตุลาคมของทุกปีเป็น "วันประชาธิปไตย" เหตุการณ์ 14 ตุลา 16 นับเป็นการแสดงพลังทางการเมืองของประชาชนครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์การ เมืองไทยสมัยใหม่ (นิตยสารสารดคี)

14 ตุลาคม 2516 (The 1973 democracy movement : October 14th )
http://www.youtube.com/watch?v=NoZdhZRxZwI

"๓๙ ปี ๑๔ ตุลา ดวงวิญญาณผู้กล้าล้ารันทด"

"๓๙ ปี ๑๔ ตุลา ดวงวิญญาณผู้กล้าล้ารันทด"

 

ภาพประวัติศาสตร์ 14 ตุลา   
 
ย้อนภาพสามสิบเก้าปีที่พ้นผ่าน
ใครร่วมสร้างอุดมการณ์ยึดมั่นได้
ร่วมปักหมุดมหา ประชาธิปไตย
ร่วมขับไล่เผด็จการทหารทมิฬ

ย่ำราตรีที่สิบสามจำได้ไหม
พลังชนพลังใจไม่จบสิ้น
นับแสนผนึกครึกครื้นพี้นธรณินทร์
ทุ่งพระสุเมรุไม่ยลยินเสียงหวอปืน

                ถือท่อนไม้คนละหนึ่่งยังตรึงสู้
กระสุนพรูปืนกลกราดยังอาจฝืน
ภาพผู้กล้าสิ้นดับกับที่ยืน
ตายสิบอีกแสนตื่นฟื้นเสรี

กว่าเจ็ดสิบดวงวิญญาณอันพิสุทธิ์
ผู้ปักหมุด”ประชาธรรมให้คงที่
วีรชนเดือนตุลาผู้กล้าพลี
จากวันนั้นถึงวันนี้....มีใครคิด

 ใครผู้ยังชีพอยู่จักรู้ไหม
ใครคิดต่างกันได้ใช่ความผิด
ใครมีหนทางเดินเผชิญชีวิต
ย่อมมีสิทธิเสมอหน้าไม่ราลด

                แต่หนทางคนตุลาผู้ตราบาป
กากเดนคราบเผด็จการ-ทหารกบฏ
ดวงวิญญาณผู้กล้า...ล้ารันทด
ใครต่างเดิน...ใครต่างหมด.....อุดมการณ์!
                               
นทีทอง สมุทรชลธี             

14 ตุลาคม 2516 ใครฆ่าประชาชน?

14 ตุลาคม 2516 ใครฆ่าประชาชน?
เพียงเขาเล่าขาน
ตำนานการต่อสู้
ประชาธิปไตยคือธงชู
ก้องกู่เสียงประชาชน

กึ่งศตวรรษธรรมศาสตร์ - คาราวา
http://www.youtube.com/watch?v=orwLbduR88A&feature=youtu.be