หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2557

จาก ๖ ตุลา ถึงเผด็จการยุคนี้

จาก ๖ ตุลา ถึงเผด็จการยุคนี้


000033 
โดย ใจ อึ๊งภากรณ์

ถ้าเราเปรียบเทียบเหตุการณ์นองเลือด ๖ ตุลา ๒๕๑๙ กับ วิกฤตประชาธิปไตยภายใต้เผด็จการทหารยุคนี้ เราจะเห็นชัดว่า “เรื่องประชาธิปไตย” กับเรื่องความเหลื่อมล้ำทางชนชั้น เป็นเรื่องที่แยกออกจากกันไม่ได้

การปราบปรามนักศึกษาและประชาชนฝ่ายซ้ายที่ธรรมศาสตร์ ในปี ๒๕๑๙ เป็นผลพวงของการลุกฮือล้มเผด็จการในวันที่ ๑๔ ตุลา สามปีก่อนหน้านั้น และรากฐานการลุกฮือของนักศึกษา กรรมาชีพ และเกษตรกรสมัยนั้น มาจากความเหลื่อมล้ำทางอำนาจการเมืองกับฐานะทางเศรษฐกิจ และสภาพสังคมที่ถูกแช่แข็งไว้ภายใต้เผด็จการ สฤษดิ์ ถนอม ประภาส คือไม่มีการพัฒนาไปสู่ประชาธิปไตย ไม่มีการปรับค่าจ้าง ไม่มีการพัฒนาสภาพการจ้างงาน และไม่มีการพัฒนาสภาพความเป็นอยู่ของเกษตรกรในชนบท ทั้งๆ ที่เศรษฐกิจก็ขยายตัว แต่ในขณะเดียวกันมีคนรุ่นใหม่ที่ตื่นตัว และไม่ยอมรับสภาพเช่นนี้อีกต่อไป มีคลื่นการนัดหยุดงานของกรรมาชีพเกิดขึ้น นักศึกษาตื่นตัวมากขึ้น และเกษตรกรเริ่มออกมาประท้วง  นั้นคือสาเหตุที่มวลชนเหล่านี้ชื่นชมแนวสังคมนิยมในหลากหลายรูปแบบ เพราะสังคมนิยมคือแนวคิดที่ต้องการล้มเผด็จการขุนศึกและนายทุน และแก้ไขปัหญาความเหลื่อมล้ำพร้อมๆ กัน

ที่สำคัญคือมีการจัดตั้งคนชั้นล่างในรูปแบบพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ซึ่งมีเป้าหมายในการเปลี่ยนแปลงสังคมและยึดอำนาจรัฐ นี่คือสิ่งที่ชนชั้นปกครองไทยรับไม่ได้ และเป็นสาเหตุที่เขาเข่นฆ่าประชาชนและก่อรัฐประหาร

วิกฤตปัจจุบันมีจุดร่วมตรงที่ ข้อเสนอของทักษิณและพรรคไทยรักไทยหลังวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง เปิดโอกาสให้มีการพัฒนาสังคมให้ทันสมัย พร้อมกับมีการดึงประชาชนเข้ามาเป็นผู้ร่วมพัฒนา และประชาชนก็อาศัยระบบการเลือกตั้งเพื่อแสดงความชื่นชมกับนโยบายรูปธรรมของ ไทยรักไทย การที่ไทยรักไทยครองใจประชาชนผ่านนโยบาย มีผลทำให้ชนชั้นปกครองไทยซีกอนุรักษ์นิยม รับไม่ได้กับประชาธิปไตยและการพยายามแก้ปัญหาความเหลื่อม เขาหวงสภาพเดิมที่เขาเป็นอภิสิทธิ์ชน

ศัพท์ภาษาอังกฤษน่ารู้เกี่ยวกับคำว่าเผด็จการ

ศัพท์ภาษาอังกฤษน่ารู้เกี่ยวกับคำว่าเผด็จการ




 
โดย อรรถสิทธิ์  เมืองอินทร์

 
ขออนุญาตเดาใจว่า พลเอกประยุทธ์    จันทร์โอชาคงไม่ชอบคำว่า “เผด็จการ” ซึ่งถือได้ว่าเป็นคำไม่ค่อยสุภาพในศตวรรษที่ 21 เช่นเดียวกับคำว่า"ปฏิวัติ" หรือ "รัฐประหาร"  เป็นแน่ นายกรัฐมนตรีคนที่ 29 น่าจะพอใจกับคำเรียกอื่นแทนอัตลักษณ์ของตัวท่านอย่างเช่น "นักปกครองผู้เด็ดขาด" หรือ "ผู้รับใช้บ้านเมืองที่ร้องขอ (บังคับ)ให้ประชาชนยอมสละเสรีภาพเพื่อให้บ้านเมืองเข้าสู่ภาวะปกติ (ซึ่งจะมีเมื่อไรก็ไม่ทราบ) "  หรืออะไรก็ได้ที่ไม่มีคำว่าเผด็จการเจือปนอยู่เป็นอันขาด ดังจะดูได้จากพฤติกรรมหนึ่งที่ท่านทำในสิ่งที่เผด็จการไม่ค่อยทำได้แก่การ กล่าวคำโทษและการไหว้นักข่าว

ต่อไปนี้เป็นศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับคำว่าเผด็จการหรือคนๆ เดียวที่มีอำนาจสูงสุด ไร้การถ่วงดุล การโต้แย้งหรือการตรวจสอบและมักมีการปกครองที่เลวร้ายโหดเหี้ยม คำเหล่านั้นแม้มีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปแต่ก็ความหมายก็มีความใกล้เคียง หรือทับซ้อนกัน บทความนี้ยังต้องการเชิญชวนให้ผู้อ่านตัดสินว่าพลเอกประยุทธ์นั้นเหมาะสม หรือเข้าข่ายคำไหนที่สุดมากที่สุด (หากมองว่าการไหว้หรือการขอโทษเป็นการแสดงทางการเมืองอย่างหนึ่ง)

1.Dictator
Dictator เป็นคำภาษาอังกฤษของเผด็จการที่ได้รับคำนิยม มากที่สุด มาจากคำกิริยาที่ว่า dictate  มีความหมายคือบีบบังคับหรือกดดันให้คนอื่นกระทำตามที่ตัวเองต้องการ   คำว่า dictator ในสมัยยุคสาธารณรัฐโรมันกลับเป็นคำที่ยกย่อง บุคคลที่ได้ชื่อว่าเป็น dictator คือคนที่นักปกครองสูงสุดหรือกงศุลได้เลือกให้มีอำนาจโดยเด็ดขาดผ่านการ รับรองของสภาแต่เพียงชั่วคราวเพื่อนำพาอาณาจักรให้รอดพ้นจากภัยอันใหญ่หลวง เช่นสงครามและมักจะมีวาระการดำรงตำแหน่งที่แน่นอน แต่ในยุคใหม่ dictator เป็นคำที่ไม่สู้ดีนักอันมีสาเหตุมาจากผู้นำเผด็จการในลัทธิฟาสซิสต์ของ เยอรมัน อิตาลีและญี่ปุ่นที่ทำให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2
   
นอกจากนี้คำว่า Dictator มักถูกโยงเข้ากับทหาร เพราะตั้งแต่ศตวรรษที่ 20 ประเทศในโลกที่ 3 จำนวนมาก ทหารได้ทำรัฐประหารและเข้ามาเป็นผู้ปกครองเสียเองดังคำศัพท์ว่า Military dictatorship  หรือรัฐบาลเผด็จการทหาร  (หากเราเติมคำว่า ship ต่อท้ายก็จะหมายถึงการปกครองแบบเผด็จการ)  สำหรับในด้านวัฒนธรรมได้แก่ภาพยนตร์ของชาร์ลี  แชปลินที่สร้างขึ้นมาล้อเลียนฮิตเลอร์ในปี 1940 เรื่อง The Great Dictator  หรือภาพยนตร์เรื่อง Banana  ของวูดดี อัลเลนที่ล้อเลียนเผด็จการในอเมริกาใต้ในปี 1971  ซึ่งสะท้อนว่ามุมมองของชาติตะวันตกต่อเผด็จการเหล่านั้นในด้านลบ

อนึ่งรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตยก็เป็นเผด็จการได้ดังเช่น Elective Dictatorship หรือ Parliamentary Dictatorship อันหมายถึง รัฐบาลที่มีเสียงข้างมากในสภาจนสามารถผูกขาดการออกกฏหมายหรือทำการใดๆ  ก็ได้ตามอำเภอใจของหัวหน้ารัฐบาล คำนี้เป็นสมญานามที่กลุ่มเสื้อเหลืองหรือกปปส.ใช้ในการโจมตีทักษิณอย่างต่อ เนื่อง ซึ่งก็น่าดีใจว่าเมืองไทยในปัจจุบันไม่มีเผด็จการเช่นนี้อีกต่อไป เพราะมี Military dictatorship   แทน

การสอบที่ยากที่สุดของธรรมศาสตร์

การสอบที่ยากที่สุดของธรรมศาสตร์



 
 
 
6 ตุลาคม 2519 .. นี่คือการสอบปลายภาคที่ยากที่สุดของเด็กธร
­รมศาสตร์ เป็นเพื่อนกับจารุพงษ์ ทองสินธุ์
https://www.youtube.com/watch?v=_QyGp-68OLA 

15 เรื่องเพื่อทำความรู้จักกับ "จารุพงษ์ ทองสินธุ์" หนึ่งในผู้เข้าสอบ 6 ตุลาคม 2519
http://www.prachatai.com/journal/2013/10/49130 

ห้ามวิจารณ์ว่าจับแพะ ไม่งั้นเขาอาจจะจับท่าน!

ห้ามวิจารณ์ว่าจับแพะ ไม่งั้นเขาอาจจะจับท่าน!



 



 ตำรวจยุคเผด็จการ ห้ามวิจารณ์ว่าจับแพะ ไม่งั้นเขาอาจจะจับท่าน แหม!บอบบางเหลือเกิน
http://news.sanook.com/1677605/วอนแกมขู่-สังคมออนไลน์กล่าวหาจับแพะ-เสี่ยงคดีอาญา/


นักสิทธิฯกังวลจับผู้ต้องหาฆ่านักท่องเที่ยวอังกฤษไม่โปร่งใส
http://news.thaipbs.or.th/content/%E0%AA

จากคดีเกาะเต่า สะเทือนถึงโลก เมื่อชาวต่างชาติ "รณรงค์ออนไลน์" ให้รัฐบาลอังกฤษ เข้าตรวจสอบด้วยตนเอง
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1412477659

ลงไปปราบคนคิดต่าง!

ลงไปปราบคนคิดต่าง!


Photo: คสช จัดทหารลงพื้นที่พบชุมชนกัน"เข้าใจผิด" หรือ "ลงไปปราบคนคิดต่าง"

http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRReE1qTXhOemsyTXc9PQ%3D%3D&subcatid 

คสช จัดทหารลงพื้นที่พบชุมชนกัน"เข้าใจผิด" หรือ "ลงไปปราบคนคิดต่าง"
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRReE1qTXhOemsyTXc9PQ%3D%3D&subcatid

สภานี้สีเขียว!!!

สภานี้สีเขียว!!!


 
 
นโยบายเพิ่มพื้นที่สีเขียวของ คสช. แต่งตั้ง สนช.เพิ่มเติม28คน เป็นทหาร17คน สภานี้สีเขียว!!!
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9570000111339
 

ลูกชายแห่งต้นมะขาม (38 ปี 6 ตุลา)

ลูกชายแห่งต้นมะขาม (38 ปี 6 ตุลา)




 

ต้นมะขามเดือนตุลาไม่ว้าเหว่
เมื่อเรื่องเล่าเริ่มถ่ายเทสู่บทใหม่
จากบทเก่าที่เขาลืมอย่างจงใจ
คงศพเดิมไม่แกว่งไกวอย่างเดียวดาย


ลูกของพ่อถูกลบศพถูกเกลื่อน
วันเวลาพาเลือนลบความหมาย
ชัดเพียงแค่ห้วงคำนึงถึงลูกชาย
น้ำตาพ่อเปียกรูปถ่ายไม่เว้นวัน


ร่างของลูกใต้ต้นมะขามเก่า
ใบหน้าลูกยังโศกเศร้าในความฝัน
สามสิบแปดปีแต่เหมือนชั่วนิรันดร์
หัวใจพ่อเหมือนถูกหั่นไม่เปลี่ยนแปลง


มาวันนี้ฉากละครยังซ้ำซาก
แต่ละศพยังถูกลากถูกสาปแช่ง
ย้อมหญ้าสนามหลวงด้วยเลือดแดง
เก้าอี้ฟาดเอาขวดแทงตรงหัวใจ


ศพลูกๆเดือนตุลาคงไม่เหงา
มีศพเพื่อนร่วมเศร้ามาเพิ่มใหม่
ตัวละครหมุนเวียนเปลี่ยนหน้าไป
แต่ฉากฆ่าควักหัวใจยังสมจริง


เมื่อความเกลียดอ้างรักมาเหยียบย่ำ
ความงมงายไล่กระทำดั่งผีสิง
หัวใจพ่อก็ยับเยินเกินอ้างอิง
เสียงร้องไห้ก็เหมือนยิ่งไร้คนฟัง


กิ่งมะขามที่แขวนศพเดือนตุลา
ห้อยประจานความคลั่งบ้าแต่หนหลัง
คอที่พาดผ่านเชือกแห่งความชัง
เรียงรายบนสองฝั่งกาลเวลา


จากลานโพธิ์มาสู่ราชประสงค์
ประวัติศาสตร์ยังคงไม่เดินหน้า
ที่ไหลท่วมแผ่นดินคือน้ำตา
และสายเลือดที่หลั่งมาเซ่นความดี


จากศพลูกเดือนตุลาถึงศพไพร่
ถมศพเก่าเอาศพใหม่มาแทนที่
ต้นมะขามที่ซับเลือดมานานปี
ยังเหยียดกิ่งขึ้นชูชี้ฆาตกร

 
รชา พรมภวังค์

ย้อนอดีต ถึง 6 ตุลา ไปกับ ศนปท.

ย้อนอดีต ถึง 6 ตุลา ไปกับ ศนปท.



อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ที่  

http://www.thaiscd.com/?p=714

วันนี้ก็ได้มาถึงบทสรุป ของความพ่ายแพ้ครั้งสำคัญของฝ่ายประชาธิปไตย ดังบทสรุป เหตุการณ์ของวันที่ 6 ตุลา 2519 ดังนี้

ความเสียหายจากเหตุการณ์ 6 ตุลา ตามตัวเลขทางการระบุว่ามีผู้เสียชีวิต 39 คน บาดเจ็บ 145 คน (ในจำนวนนี้เป็นตำรวจเสียชีวิต 2 คน บาดเจ็บ 23 คน) นักศึกษาประชาชนถูกจับกุม 3,094 คน เป็นชาย 2,432 คน หญิง 662 คน ขณะที่แหล่งข่าวอ้างอิงจากการเก็บศพของเจ้าหน้าที่มูลนิธิร่วมกตัญญู ประมาณว่ามีนักศึกษาประชาชนเสียชีวิต 530 คน ส่วนทรัพย์สิน (จากการสำรวจของคณะกรรมการของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) มีครุภัณฑ์และวัสดุของคณะต่างๆ เสียหายเป็นมูลค่า 50 กว่าล้านบาท ร้านสหกรณ์มีสินค้าและทรัพย์สิน เสียหาย 1 ล้าน 3 แสนบาท สิ่งของมีค่าหายสาบสูญ อาทิ โทรทัศน์ เครื่องพิมพ์ดีด กล้องถ่ายรูป เทปบันทึกเสียง เครื่องเย็บกระดาษ เสื้อผ้า เงินสด รายงานแจ้งว่า “หน้าต่างถูกทุบและโดนลูกกระสุนเสียหาย โต๊ะเก้าอี้พัง ห้องพักอาจารย์ถูกรื้อค้นกระจัดกระจาย”


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ที่  
http://www.thaiscd.com/?p=714 

สรุปข้อมูลเกีรยวกับเหตุการณ์นองเลือด 6 ตุลา 2519

สรุปข้อมูลเกียวกับเหตุการณ์นองเลือด 6 ตุลา 2519



 
อาชญากรรมที่รัฐและผูมี อํานาจกระทํ าต่อประชาชนในความ  ขัดแย้งทางการเมือง 

(อ่านต่อ)
https://www.scribd.com/doc/41270968/%E0%B9%96%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B9%92%E0%B9%95%E0%B9%91%E0%B9%99 

มองย้อนกลับไปสู่เหตุการณ์นองเลือด ๖ ตุลา ๒๕๑๙
http://www.khonthaiuk.org/forum/index.php?topic=4299.0;wap2

ขอเชิญร่วมงาน "6 ตุลา ร้อยเรียง เสียงดนตรี "

ขอเชิญร่วมงาน "6 ตุลา ร้อยเรียง เสียงดนตรี "


 

*กำหนดการ*
งาน "6 ตุลา ร้อยเรียง เสียงดนตรี "

วันจันทร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2557 เวลา 16.30 – 18.30 น.
ณ ลานปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

16.30 – 16.50 น. กล่าวรำลึกบทเรียน 6 ตุลา โดย อ.สุลักษณ์ ศิวลักษณ์


16.50 - 17.50 น. "6 ตุลา ร้อยเรียง เสียงดนตรี " แสดงดนตรีสด บทเพลงเดือนตุลา

17.50 - 18.00 น. ร่ายบทกวี รำลึกพี่

18.00 -18.30 น. การแสดงดนตรีจากวงรับเชิญและแขกรับเชิญพิเศษ

18.30 ปิดงาน

หมายเหตุ*กำหนดการอาจจะมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมภายหลังได้

‘วิภา ดาวมณี’ 17 ปี กับการขยายพื้นที่ ‘6 ตุลา’ ในวันที่ถูกกระชับพื้นที่กิจกรรม

‘วิภา ดาวมณี’ 17 ปี กับการขยายพื้นที่ ‘6 ตุลา’ ในวันที่ถูกกระชับพื้นที่กิจกรรม






สัมภาษณ์ ‘วิภา ดาวมณี’ กับ 17 ปีการขยายพื้นที่ประวัติศาสตร์เหตุการณ์ 6 ต.ค.19 ผ่านกิจกรรมรำลึก ในวันที่ถูกกระชับพื้นที่จัดงาน พร้อมมองความรับรู้ต่อสังคมไทย ยิ่งประชาชนตื่นตัวยิ่งรับรู้และเข้าใจเหตุการณ์มากขึ้น

วันพรุ่งนี้(6 ต.ค.57) จะเป็นวันครบรอบ 38 ปี เหตุการณ์กวาดล้างสังหารหมู่นักศึกษาและประชาชนผู้เรียกร้องประชาธิปไตย ภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่ภายหลังเหตุการเข้ายึดอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เมื่อ พ.ค.ที่ผ่านมา กิจกรรมที่มีความหมายทางการเมืองโดยเฉพาะในลักษณะส่งเสริมประชาธิปไตยจะ ถูกระงับตลอดมา และกิจกรรมรำลึก ‘6 ตุลา’ นี้ก็เช่นกัน เมื่อวันที่ 3 ต.ค. ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ทหารมณฑลทหารบกที่ 32 ได้แจ้งขอให้งดกิจกรรมที่กลุ่มเกลียวแห่งธรรม ซึ่งเป็นกลุ่มนักศึกษาอิสระที่ทำกิจกรรมด้านจิตอาสาภายในมหาวิทยาลัยธรรม ศาสตร์ ศูนย์ลำปาง จะจัดงานรำลึกเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ในชื่อกิจกรรมงานรำลึก “6 ตุลา วันฟ้าเปลี่ยนสี” โดยทหารให้เหตุผลว่ากิจกรรมมีลักษณะเป็นกิจกรรมทางการเมือง ล่อแหลมต่อการสร้างความแตกแยก (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ : ทหารห้ามนักศึกษา มธ.ศูนย์ลำปาง จัดงานรำลึก 6 ตุลา)

โดยก่อนหน้ากลางเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา ด้านมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ วิภา ดาวมณี คณะกรรมการรับข้อมูลและสืบพยานเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 ผู้ซึ่งจัดกิจกรรมรำลึก เหตุการณ์ดังกล่าวมา 17 ปี ออกมาเปิดเผยว่าในปีนี้ คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะขอให้มีการงดการจัดกิจกรรม ในงานรำลึกเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 โดยจะไปรวมเป็นกิจกรรมวันเดียวกันกับการรำลึกเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 แทน

ซึ่ง Voice TV ได้ สอบถามไปยัง ศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ชี้แจงต่อกรณีดังกล่าว โดยกล่าวว่าการงดจัดกิจกรรมในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 จะงดเพียงกิจกรรมเสวนาทางวิชาการและการแสดงที่ใช้พื้นที่หอประชุม เนื่องจากในปีที่ผ่านมามีการใช้สถานที่จนเกิดปัญหาความขัดแย้งขึ้น ทางมหาวิทยาลัยในฐานะผู้อำนวยการสถานที่จึงต้องขอให้งดจัดเวทีในปีนี้ ทั้งนี้ กิจกรรมในช่วงเช้า คือพิธีกรรมทางศาสนา และการกล่าวรำลึกโดยตัวแทนญาติวีรชน 6 ตุลาฯ และองค์กรต่างๆ จะยังคงมีอยู่เหมือนเดิม ส่วนกิจกรรมเวทีต่างๆ จะไปรวมกับการรำลึกวันที่ 14 ตุลาคมในปีนี้เป็นวันเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม วิภา กล่าวว่า มูลนิธิวีรชนประชาธิปไตย และมูลนิธินิคม จันทรวิทุร ซึ่งเป็นองค์กรร่วมจัด จะยังคงขอเดินหน้าจัดกิจกรรม ในงานรำลึกเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ต่อไป โดยยังคงอยู่ระหว่างการประสานงานกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อขอใช้พื้นที่ในการจัดงานดังกล่าว

(อ่านต่อ)
http://prachatai.org/journal/2014/10/55845 

จาก ๖ ตุลา ถึงเผด็จการยุคนี้

จาก ๖ ตุลา ถึงเผด็จการยุคนี้


000033 
โดย ใจ อึ๊งภากรณ์

ถ้าเราเปรียบเทียบเหตุการณ์นองเลือด ๖ ตุลา ๒๕๑๙ กับ วิกฤตประชาธิปไตยภายใต้เผด็จการทหารยุคนี้ เราจะเห็นชัดว่า “เรื่องประชาธิปไตย” กับเรื่องความเหลื่อมล้ำทางชนชั้น เป็นเรื่องที่แยกออกจากกันไม่ได้

การปราบปรามนักศึกษาและประชาชนฝ่ายซ้ายที่ธรรมศาสตร์ ในปี ๒๕๑๙ เป็นผลพวงของการลุกฮือล้มเผด็จการในวันที่ ๑๔ ตุลา สามปีก่อนหน้านั้น และรากฐานการลุกฮือของนักศึกษา กรรมาชีพ และเกษตรกรสมัยนั้น มาจากความเหลื่อมล้ำทางอำนาจการเมืองกับฐานะทางเศรษฐกิจ และสภาพสังคมที่ถูกแช่แข็งไว้ภายใต้เผด็จการ สฤษดิ์ ถนอม ประภาส คือไม่มีการพัฒนาไปสู่ประชาธิปไตย ไม่มีการปรับค่าจ้าง ไม่มีการพัฒนาสภาพการจ้างงาน และไม่มีการพัฒนาสภาพความเป็นอยู่ของเกษตรกรในชนบท ทั้งๆ ที่เศรษฐกิจก็ขยายตัว แต่ในขณะเดียวกันมีคนรุ่นใหม่ที่ตื่นตัว และไม่ยอมรับสภาพเช่นนี้อีกต่อไป มีคลื่นการนัดหยุดงานของกรรมาชีพเกิดขึ้น นักศึกษาตื่นตัวมากขึ้น และเกษตรกรเริ่มออกมาประท้วง  นั้นคือสาเหตุที่มวลชนเหล่านี้ชื่นชมแนวสังคมนิยมในหลากหลายรูปแบบ เพราะสังคมนิยมคือแนวคิดที่ต้องการล้มเผด็จการขุนศึกและนายทุน และแก้ไขปัหญาความเหลื่อมล้ำพร้อมๆ กัน

ที่สำคัญคือมีการจัดตั้งคนชั้นล่างในรูปแบบพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ซึ่งมีเป้าหมายในการเปลี่ยนแปลงสังคมและยึดอำนาจรัฐ นี่คือสิ่งที่ชนชั้นปกครองไทยรับไม่ได้ และเป็นสาเหตุที่เขาเข่นฆ่าประชาชนและก่อรัฐประหาร

วิกฤตปัจจุบันมีจุดร่วมตรงที่ ข้อเสนอของทักษิณและพรรคไทยรักไทยหลังวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง เปิดโอกาสให้มีการพัฒนาสังคมให้ทันสมัย พร้อมกับมีการดึงประชาชนเข้ามาเป็นผู้ร่วมพัฒนา และประชาชนก็อาศัยระบบการเลือกตั้งเพื่อแสดงความชื่นชมกับนโยบายรูปธรรมของ ไทยรักไทย การที่ไทยรักไทยครองใจประชาชนผ่านนโยบาย มีผลทำให้ชนชั้นปกครองไทยซีกอนุรักษ์นิยม รับไม่ได้กับประชาธิปไตยและการพยายามแก้ปัญหาความเหลื่อม เขาหวงสภาพเดิมที่เขาเป็นอภิสิทธิ์ชน

วาทะจุดประกาย


วาทะจุดประกาย



 

"ประเด็นสำคัญคือ "เราจะล้มเผด็จการประยุทธ์และผลพวงปฏิกูลของเผด็จการนี้อย่างไร" ไม่ใช่เรื่องว่าคนแก่สองคนที่ถูกชนชั้นปกครองไทยใช้ ใกล้ตายหรือไม่  เพราะมันไม่มีผลอะไรต่อการสร้างประชาธิปไตย แต่ถ้าเราสู้แล้วได้ประชาธิปไตยมา เราสามารถเดินหน้าสร้างระบบสาธารณรัฐ และสังคมนิยมได้... ถ้าเรามัวแต่หมกมุ่นกับคนข้างบน แล้วรอให้เขาทำอะไรให้ เราจะเป็นทาสตลอดไป" 

Giles Ji Ungpakorn

แถลงการณ์สำนักพระราชวัง ในหลวงทรงมีพระปรอท(ไข้)สูง พระโลหิตติดเชื้อ แพทย์ถวายการรักษาดีขึ้นตามลำดับ

แถลงการณ์สำนักพระราชวัง ในหลวงทรงมีพระปรอท(ไข้)สูง พระโลหิตติดเชื้อ แพทย์ถวายการรักษาดีขึ้นตามลำดับ





มีการสั่งห้ามสำนักข่าวไทยเสนอข่าวอาการป่วยฉุกเฉินในขณะนี้ จนกว่าจะมีการแถลงอย่างเป็นทางการจากสำนักราชวังเท่านั้น
http://asiancorrespondent.com/127214/thailands-86-year-old-king-bhumibol-in-hospital-with 

แถลงการณ์ของสำนักพระราชวังออกมาแล้ว
วันนี้ (4 ต.ค.) สำนักพระราชวังออกแถลงการณ์เรื่อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ไปประทับ ณ โรงพยาบาลศิริราช ฉบับที่ 1
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1412409193

หลายคนสงสัยว่าทำไมไม่นำในหลวงขึ้นฮอร์จากวังไกลกังวลมาส่งโรงพยาบาลศิริราช ซึ่งจะเร็วกว่าการเดินทางโดยรถยนต์ โดยที่ไม่ต้องวุ่นวายในการจัดขบวนรถถึง 40-50 คัน
และระดมตำรวจทุกโรงพัก ให้ไปยืนรักษาความปลอดภัยและรอรับเสด็จตลอดสองข้างทาง
เพื่อให้รถยนต์ราคาแพงลิบจำนวนถึง 45 คน ได้ขับกันชนิดเหยียบจมขันเร่ง จนสามารถเดินทางมาถึงโรงพยาบาลศิริราชได้ในเวลาเพียงชั่วโมงเศษเท่านั้น


เหตุผลมันก็คงอยู่ตรงนี้นี่ล่ะ ตรงที่ความอลังการของขบวนเสด็จ 45 คันและการปิดถนนตลอดเส้นทาง 200 กว่ากิโลเมตรโดยมีตำรวจทุกโรงพัก มายืนรอส่งเสด็จเพื่อยืนยันการเป็น "ตำรวจของในหลวง" เพื่อให้พระบารมีแห่งการเป็นเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินได้เปล่งประกายเฉิดฉาย ... ... นั่นแล!