หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เราไม่ลืม 6 ตุลา 19

เราไม่ลืม 6 ตุลา 19




(คลิกอ่าน)
www.2519.net 

ก.ข.ค. ของการสร้างพลังสหภาพแรงงาน

ก.ข.ค. ของการสร้างพลังสหภาพแรงงาน


ในการต่อสู้หรือในข้อพิพาทต่างๆ ตัวแทนสหภาพระดับรากหญ้าเหล่านี้เป็นแกนนำสำคัญในการไปสู่ชัยชนะ เพราะจะทำให้คนงานธรรมดามีส่วนร่วมตลอด ตัวอย่างที่ดีคือสภาพความเป็นอยู่ในสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ในอดีต ก่อนที่จะถูกนายจ้างทำลายในยุครัฐประหาร ๑๙ กันยา

โดย ใจ อึ๊งภากรณ์ 

นักสหภาพแรงงานเข้าใจดีว่าเราต้องมีสหภาพแรงงาน เพราะถ้าเราจะต่อรองหรือเผชิญหน้ากับนายจ้างหรือรัฐ เราทำคนเดียวไม่ได้ เราต้องรวมตัวกันและสู้แบบรวมหมู่ และสิ่งนี้ทำได้ง่ายขึ้นเพราะคนงานหรือลูกจ้างจำนวนมาก ทำงานในที่เดียวกันและมีสภาพการจ้างคล้ายๆ กัน คือเงินไม่พอ สวัสดิการไม่พอ บ่อยครั้งงานน่าเบื่อ ชั่วโมงการทำงานมากไป และแถมเราโดนเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้าง หรือโดนนายจ้างสั่งและด่าด้วยวาจาก้าวร้าว ดังนั้นนักสหภาพแรงงานจะพยายามดึงเพื่อนร่วมงานเข้ามาเป็นสมาชิกให้มากที่ สุด พูดง่ายๆ พลังของเรามาจากความสามัคคีสมานฉันท์ในหมู่ลูกจ้าง

อย่างไรก็ตาม ทั้งๆ ที่นักสหภาพแรงงานจำนวนมากเข้าใจเรื่องนี้ แต่จะมีสักกี่คนที่มองกว้างและไกลออกไป มีแต่คนที่เข้าใจการเมือง การที่หลายคนไม่มองไกลออกไปไม่ใช่เพราะโง่ แต่เป็นเพราะเราขาดความมั่นใจที่จะคิดต่อ หรือเราถูกกล่อมเกลาให้คิดในกรอบของระบบ “แรงงานสัมพันธ์” ของนายทุน

จัดตั้งข้ามรั้วสถานที่ทำงาน

การคิดกว้างและไกลออกไปในกรณีนี้หมายความว่าเราต้องหาทางสมานฉันท์สามัคคี ข้ามรั้วโรงงานหรือข้ามรั้วสถานที่ทำงาน ในรูปธรรมมันแปลว่านักสหภาพแรงงานในสถานที่ทำงานในย่านใกล้เคียงกัน หรือในภาคการผลิตหรือธุรกิจคล้ายๆ กัน ต้องสร้างเครือข่ายที่แข็งแกร่งกว่าที่เป็น จริงอยู่เรามีกลุ่มย่าน เรามีสหพันธ์แรงงานในธุรกิจที่คล้ายกัน แต่เรายังไม่ยกระดับการต่อสู้ร่วมกัน คือเราต้องหาทางยื่นข้อเรียกร้องพร้อมกันในรูปแบบเดียวกัน เพื่อนัดหยุดงานพร้อมกัน และถ้ามีประเด็นระดับชาติต้องหาทางนัดหยุดงานทั่วไป ประเด็นระดับชาติก็เช่นเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำหรือการประกันสังคม แต่เป็นที่น่าเสียดายที่สหภาพแรงงานส่วนใหญ่สู้แต่ในประเด็นของตนเองตาม ลำพัง
   
นอกจากการยื่นข้อเรียกร้องพร้อมกัน หรือนัดหยุดงานพร้อมกันแล้ว นักสหภาพแรงงานต้องหาทางสร้างความสมานฉันท์ที่เป็นจริง ไม่ใช่พูดลอยๆ ถ้ามีสถานที่ทำงานแห่งหนึ่งที่มีการเลิกจ้างแกนนำสหภาพ หรือปิดโรงงานจนลูกจ้างตกยากลำบาก สถานที่ทำงานอื่นๆ ควรให้การสนับสนุน ในขั้นตอนแรกด้วยการเรี่ยรายเงินช่วยเหลือ แต่ในที่สุดด้วยการหยุดงานและร่วมประท้วง แน่นอนเรื่องแบบนี้ “ผิดกฏหมายแรงงาน” ที่นายจ้างและรัฐร่างมาเพื่อประโยชน์ของชนชั้นเขาเอง แต่เราสามารถฝืนกฏหมายได้ถ้าเรามีมวลชนเพียงพอ การยึดสถานที่ทำงานก็เป็นอาวุธสำคัญของคนงาน เพราะทำให้นายจ้างขนของออกไม่ได้ หรือนำคนงาน “ฆ่าเพื่อน” มาทำงานแทนยากขึ้น และในไทยก็เคยมีการยึดสถานที่ทำงานโดยสหภาพแรงงานเช่นที่โรงงานไทยเกรียง ทั้งๆ ที่มัน “ผิดกฏหมาย” ของนายทุน ที่อื่นในยุโรป เกาหลี หรือญี่ปุ่นก็เช่นกัน
   
การที่คนทำงานจากที่หนึ่งจะไปสนับสนุนคนจากอีกที่หนึ่ง คือ “การหนุนช่วยซึ่งกันและกัน” และมันอาศัยกิจกรรมจากทุกฝ่าย คือคนที่มีปัญหาต้องกล้าไปติดต่อเพื่อนรอบข้าง และเพื่อนรอบข้างต้องรับฟังและยอมช่วยเหลือ คราวต่อไปก็จะเป็นตาของคนที่เคยมีปัญหาที่จะช่วยคนอื่น

เน้นการนำจากล่างสู่บน

การ “ร่วมกันสู้เป็นหมู่” มันมีประเด็นและมิติอื่นๆ ด้วย เรื่องสำคัญคือ สมาชิกพื้นฐานมีส่วนร่วมในกิจการสหภาพมากแค่ไหน จากประสบการในการต่อสู้ทั่วโลกและในไทย สหภาพแรงงานที่เข้มแข็งจะมีตัวแทนของสหภาพแรงงานในทุกแผนก ที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นประจำ และมีหน้าที่คุยกับเพื่อนร่วมงานและรายงานความเห็นต่อกรรมการสหภาพ เพื่อการนำจากล่างสู่บน

ในการต่อสู้หรือในข้อพิพาทต่างๆ ตัวแทนสหภาพระดับรากหญ้าเหล่านี้เป็นแกนนำสำคัญในการไปสู่ชัยชนะ เพราะจะทำให้คนงานธรรมดามีส่วนร่วมตลอด ตัวอย่างที่ดีคือสภาพความเป็นอยู่ในสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ในอดีต ก่อนที่จะถูกนายจ้างทำลายในยุครัฐประหาร ๑๙ กันยา ซึ่งบทเรียนตรงนี้คือ รูปแบบการมีผู้แทนสหภาพในทุกแผนกนำไปสู่พลัง แต่พลังนั้นไม่คงที่ตลอดไป ถ้านายจ้างสร้างความแตกแยกในหมู่คนงานได้ เขาก็จะทำลายสหภาพได้
   
ตัวอย่างอื่นของสหภาพแรงงานที่มีผู้แทนระดับรากหญ้าบ้าง คือในย่านอุตสาหกรรมภาคตะวันออก แต่ตรงนั้นก็มีความพยายามของนายจ้างและรัฐที่จะสร้างความแตกแยกทางการเมือง ระหว่างเหลืองกับแดงด้วย
   
ในมุมกลับสหภาพแรงงานที่ “มีแต่หัว” ที่เป็นแกนนำมานาน และไม่เคยคุยกับสมาชิกธรรมดาอย่างจริงจัง จะเป็นสหภาพที่อ่อนแอและสู้ไม่ได้ บางทีจะไปพึ่งพิงความสัมพันธ์กับนายจ้างหรือนักการเมืองแทน ตัวอย่างที่ชัดเจนคือสหภาพแรงงานในรัฐวิสาหกิจ เช่นรถไฟหรือ กฟผ. ซึ่งเกือบจะไม่มีผู้แทนสหภาพในแผนกต่างๆ เลย และอาศัยการนำแบบ “ขุนนางสั่งไพร่” จนแกนนำไปนอนกอดพวกเสื้อเหลืองล้าหลัง และสมาชิกธรรมดา ซึ่งคงไม่ใช่เสื้อเหลืองเองทุกคน ทำอะไรไม่ได้
   
ถ้าเราให้ความสำคัญกับสมาชิกสหภาพระดับรากหญ้า มันแปลว่าเวลาสหภาพอื่นมีปัญหาอะไร เราต้องคุยกับทุกคน ต้องเรี่ยรายเงินจากทุกคน ไม่ใช่ปล่อยให้แกนนำสหภาพยกมือบริจาคเงินจากกองทุนสหภาพ โดยที่สมาชิกจำนวนมากไม่รู้เรื่องและไม่มีส่วนร่วม ถ้าเป็นแบบนั้นจะไม่มีทางสร้างพลังหนุนช่วยอย่างจริงจัง
 

(อ่านต่อ)
http://turnleftthai.blogspot.dk/2012/10/blog-post.html

สัปดาห์รำลึก 36 ปี 6 ตุลา ประชาธิปไตยประชาชน

สัปดาห์รำลึก 36 ปี 6 ตุลา ประชาธิปไตยประชาชน


 

(คลิกอ่านรายละเอียด)
http://www.facebook.com/events/282546441847558/

Divas Cafe ประจำวันที่ 2 ตุลาคม 2555

Divas Cafe ประจำวันที่ 2 ตุลาคม 2555


แดงโห่ ปชป เฮ นักวิชาการซัด กระแสตีกลับเพื่อไทย Divas Cafe 13มิย55
http://youtu.be/vTCbQdANN1k


แก้ 176 ศัพท์ลูกครึ่งอังกฤษ..ยิ่งแก้ยิ่งสับสน
http://www.dailymotion.com/VoiceTV#video=xu0tzw

Wake up Thailand

Wake up Thailand 
 


Wake up Thailand  2 ตุลาคม 2555  
ป้ายคุณชายถล่ม (ก่อนพายุเข้า)
http://www.dailymotion.com/video/xu0lry 




Wake up Thailand  1 ตุลาคม 2555 
'นิติราษฎร์' ยังอยู่แต่ 'ยงยุทธ' ไปแล้ว
http://www.dailymotion.com/video/xtznc6

The Daily Dose

The Daily Dose 




The Daily Dose 2 ตุลาคม 2555 
ปรับครม.ครั้งใหญ่ปลายปีนี้?
http://www.dailymotion.com/video/xu118d_


The Daily Dose ประจำวันที่ 1 ตุลาคม 2555
เวียดนามขอบคุณไทยที่ให้ 'เเชมป์ส่งออก'
http://www.dailymotion.com/video/xu0391 

เสรีนิยมไปกันได้ด้วยดีกับเศรษฐกิจพอเพียง?

เสรีนิยมไปกันได้ด้วยดีกับเศรษฐกิจพอเพียง?




โดย สามชาย ศรีสันต์



เมื่ออาจารย์คณะพัฒนาเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ยื่นขอให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ โครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลขัดต่อรัฐธรรมนูญฉบับที่มาจากคณะรัฐประหาร พ.ศ.2550 มาตรา  84 (1) ข้อความว่า รัฐต้องดำเนินการตามนโยบายด้านเศรษฐกิจต่อไปนี้ “สนับ สนุนระบบเศรษฐกิจแบบเสรีและเป็นธรรมโดยอาศัยกลไกตลาด และสนับสนุนให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน   โดยต้องยกเลิกและละเว้นการตรากฎหมายและกฎเกณฑ์ที่ควบคุมธุรกิจซึ่งมีบท บัญญัติที่ไม่สอดคล้องกับความจำเป็นทางเศรษฐกิจ และต้องไม่ประกอบกิจการที่มีลักษณะเป็นการแข่งขันกับเอกชน  เว้นแต่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐ...”  ทำให้เกิดความสงสัยอย่างมาก เมื่อเหลียวกลับไปมองมาตราที่อยู่ด้านบนมาตรา 84  เพราะมีข้อความที่ขัดแย้งกันอย่างสิ้นเชิงต่อความรู้สึกที่เคยรับรู้ผ่าน สื่อสารธารณะในสังคมไทยกล่าวคือ มาตรา 83 ของรัฐธรรมนูญเขียนไว้ว่า “รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการดำเนินการตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”

ทั้งสองมาตราเป็นสิ่งที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้รัฐบาลไทยต้องดำเนินนโยบายตาม ที่ระบุไว้นี้ จะทำเป็นอย่างอื่นมิได้  คำถามที่ชวนให้สงสัยก็คือ  เศรษฐกิจพอเพียงกับเสรีนิยมอยู่ด้วยกันได้ด้วยหรือ แล้วหน้าตาของนโยบายการปฏิบัติจะออกมาอย่างไร ในเมื่อฝ่ายหนึ่งบอกให้พอเพียง กินใช้เท่าที่ไม่ทำให้ตนเองเดือดร้อน พอใจกับสิ่งที่มีอยู่ ไม่โลภ ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่เป็นหนี้ กับอีกฝ่ายที่ส่งเสริมการแข่งขัน การค้ากำไร โดยไม่มีเส้นจำกัดขีดกั้น ?

ต่อเมื่อได้คิดทบทวน วิเคราะห์แล้วจึงได้คำตอบว่า ทั้งสองสิ่งไปด้วยกันอย่างลงรอย สอดคล้องสนับสนุนซึ่งกันและกันในบริบทของสังคมไทย ด้วยลักษณะดังต่อไปนี้

เสรีนิยม (libertarian) พวกเสรีนิยมเชื่อว่า มนุษย์เป็นเจ้าของร่างของตนเอง เพราะร่างกายคือสิ่งที่ติดตัวเรามาแต่เกิด อยู่กับเรา และไม่มีใครสามารถพรากไปจากเราได้ มนุษย์จึงมีเสรีอย่างเต็มที่ที่จะกระทำใด ๆ ต่อร่างกาย  การถูกใช้กำลังทำร้าย บังคับ ควบคุมต่อร่างกายถือเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ซึ่งเป็นสิทธิที่ติดตัวมาพร้อมกับร่างกาย  ดังนั้น พวกเสรีนิยมเมื่อได้ลงแรงไปกับการทำงานใด ๆ เพื่อผลิต สร้าง ทางเศรษฐกิจด้วยร่างกายที่ตนเป็นเจ้าของแล้ว  ผลผลิตที่ได้มาจากแรงงานนั้นจะต้องตกแก่ตนผู้เป็นเจ้าของแรงงาน ทรัพย์สินที่เกิดขึ้น   ผลผลิตจากการค้า การลงทุน จึงเป็นทรัพย์สินที่ไม่พึงแบ่งปัน หรือกระจายให้กับใคร เพราะเมื่อผู้อื่นไม่ได้ลงแรงผลิตก็ย่อมไม่มีสิทธิที่จะได้รับ เช่นเดียวกันเมื่อรัฐเข้ามาแทรกแซงกลไกราคาทำให้ผลกำไรที่เคยได้รับน้อยลงไป ทั้งที่ตนเองลงแรงเท่าเดิมตามกลไกตลาด ในทัศนะของพวกเสรีนิยมย่อมไม่สามารถยอมรับได้

ความยุติธรรมของเสรีนิยมจึงเป็นเรื่องของการที่รัฐต้องไม่เข้ามายุ่ง เกี่ยวแทรกแซงกับการจัดโครงสร้างการกระจายรายได้ให้ทั่วถึงและเท่าเทียม  ในสายตาของคนกลุ่มนี้ ความยากจน ความเหลื่อมล้ำ ไม่ได้แสดงให้เห็นว่า สังคมไม่เป็นธรรม ในทางตรงข้าม มันเป็นธรรมดีอยู่แล้ว เพราะคนจนไม่มีความสามารถมากพอที่จะหารายได้หรือทรัพย์สินได้เท่ากับคนรวย  รัฐจึงไม่ควรอย่างยิ่งที่จะมาบังคับด้วยการจัดสรรงบประมาณ หรือจัดเก็บภาษีเพื่อให้นำเงินของคนรวยไปช่วยคนจน เพราะมันละเมิดสิทธิความเป็นเจ้าของทรัพย์สินเสมือนเป็นการขโมยแรงงานไปให้ คนยากจนที่ด้อยกว่า
 
(อ่านต่อ)
http://prachatai.com/journal/2012/10/42932

จำนำข้าวเพื่อใคร อจ.นิด้า-มธ.เฉลย ใครได้-ใครเสียประโยชน์ ?

จำนำข้าวเพื่อใคร อจ.นิด้า-มธ.เฉลย ใครได้-ใครเสียประโยชน์ ?



ศรรักษ์ จัดออเดิฟ อ.นิด้า
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=J2LO-kacdsw#!

กลุ่มชาวนา-หน้า ม.นิด้า 02-10-12 เทป2/3
http://www.youtube.com/watch?v=8qXeF9lIzo4&feature=share 

เปิบข้าว
http://www.youtube.com/watch?v=ms3chjCNI74&feature=related


มาตรการ "จำนำข้าว" ถูกต่อต้านมาตั้งแต่พรรคเพื่อไทย ชูเป็นหนึ่งในนโยบายที่ใช้เป็นประเด็นหาเสียงเลือกตั้ง 3 กรกฎาคม 2554

ด้วยเหตุผลว่า ในอดีต โครงการนี้เปิดโอกาสให้เกิดการทุจริต เงินในโครงการนี้จะรั่วไหลจำนวนมาก 

ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ย้ำว่า ต้อง "ประกันราคาข้าว" เท่านั้นชาวนาถึงจะได้ประโยชน์

แต่พรรคเพื่อไทยยืนยันจะใช้นโยบายนี้มาตลอดเช่นกัน
ผลคือ พรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้ง 3 กรกฎาคม 2554 อย่างถล่มทลาย
  

 
มาตรการจำนำข้าวจึงเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับผลการเลือกตั้ง 3 กรกฎาคม 2554 อย่างชัดเจน

เป็นความชัดเจนที่พรรคซึ่งไม่ค่อยชนะเลือกตั้งอาจไม่เข้าใจ 

การจำนำข้าว มีจุดเด่นที่ "รัฐ" รับซื้อข้าวทั้งหมด ในราคาที่กำหนดไว้ 1.5-2 หมื่นบาท


ทำให้กลุ่มธุรกิจที่เคยทำกำไรจากราคาข้าวที่ขึ้นๆ ลงๆ เสียประโยชน์มหาศาล

ในแง่หนึ่ง มาตรการนี้ เท่ากับเปลี่ยนโครงสร้างการซื้อขายข้าวเกือบทั้งระบบ

ผู้ที่ลืมตาอ้าปาก ล้างหนี้ได้ ย่อมเป็นชาวนา

เป็นการเปลี่ยนแปลงสำคัญในชนบท แหล่งปลูกข้าว ในวิถีชีวิตของชาวนา

ขณะที่คนเมืองผู้บริโภคข้าว ได้ยินแต่ข่าวร้ายจากนักธุรกิจค้าข้าว ข่าวร้ายจากนักวิชาการบางกลุ่ม

ข่าวร้ายที่ระบุว่า มีการทุจริต โกง ข้าวที่ไปอยู่ในมือรัฐบาลมีจำนวนมาก และราคาสูง ทำให้ไม่สามารถขายหรือระบายออกไปได้

ปัญหาและความเป็นเหตุผล "อเนกนิกรสโมสรสมมติ"

ปัญหาและความเป็นเหตุผล "อเนกนิกรสโมสรสมมติ"





30 ก.ย.55 นักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ร่วมเสวนาหัวข้อ "การรัฐประหารกับระบอบรัฐธรรมนูญ" ที่หอประชุมศรีบูรพา (หอประชุมเล็ก) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล กล่าวถึงทฤษฎีอเนกนิกรสโมสรสมมติ โดยระบุว่าเป็นเรื่องที่ถูกอธิบายมานานแล้ว ตั้งแต่พระองค์เจ้าธานีนิวัต
แต่คำอธิบายเช่นนี้สมเหตุสมผลมากน้อยเพียงใด และมีปัญหาในตัวเองหรือเปล่า

ประเด็นสำคัญของอัคคัญญสูตร คือ เมื่อเกิดปัญหาก็มีการร่วมประชุมกัน "พวกเราจะสมมติผู้หนึ่งให้เป็นผู้ว่ากล่าวได้โดยชอบ ให้เป็นผู้ติเตียนผู้ที่ควรติเตียนได้โดยชอบ ...ส่วนพวกเราจะเป็นผู้แบ่งส่วนข้าวสาลีให้แก่ผู้นั้น"

( ที่มา) 
http://www.prachatai.com/journal/2012/10/42935