หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ประสงค์ สุ่นศิริ ให้สัมภาษณ์...".รัฐบาลจะถูกขับไล่ออกไปก่อนสิ้นปีนี้"

ประสงค์ สุ่นศิริ ให้สัมภาษณ์...".รัฐบาลจะถูกขับไล่ออกไปก่อนสิ้นปีนี้"






ตากใบคืออาชญากรรมของรัฐ

ตากใบคืออาชญากรรมของรัฐ 

 


ตากใบคืออาชญากรรมของรัฐ
 http://thaienews.blogspot.dk/2009/06/blog-post.html 

โดย ใจ อึ๊งภากรณ์


การสลายการชุมนุมของประชาชนผู้ไร้อาวุธที่ตากใบในวันที่ 25 ตุลาคม 2547 โดยการขนประชาชนขึ้นรถทหารในลักษณะเลวร้ายยิ่งกว่าหมูหมา ด้วยการผูกมือไว้ข้างหลังแล้วให้นอนทับกันหกถึงเจ็ดชั้น ท่ามกลางแสงแดดเป็นเวลานาน มีผลทำให้คนตาย 78 คน (ไม่นับผู้ที่ถูกยิงตาย) ต้องถือว่าเป็นอาชญากรรมของรัฐไทย เทียบเท่าการฆ่าประชาชนในเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม, ๖ ตุลาคม, พฤษภาคม ๓๕, และเมษายน ๒๕๕๒  

ดังนั้นการที่ศาลสงขลาตัดสินว่าเจ้าหน้าที่รัฐ ‘ไม่ได้ทำความผิด’ เป็นตัวอย่างของกระบวนการยุติธรรมไทยที่ไร้ความยุติธรรมโดยสิ้นเชิง กระบวนการยุติธรรมไทยเลือกที่จะปกป้องทหาร ตำรวจ และอำมาตย์มาตลอด แทนที่จะปกป้องสิทธิเสรีภาพและชีวิตของประชาชน มันเป็นอีกตัวอย่างของสองมาตรฐาน และฟ้องถึงสภาพนิติรัฐของไทย

‘ในไทย... ฆ่าคนไม่ผิดถ้าเป็นฝ่ายรัฐ แต่ประชาชนที่วิจารณ์ ความผิดต้องติดคุก’
นี่คือสภาพเลวร้ายของสังคม มันพิสูจน์ว่า รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่มีความตั้งใจที่จะสร้างความยุติธรรมแต่อย่างใด และมันพิสูจน์ว่า เราต้องปฏิรูประบบยุติธรรมไทยแบบถอนรากถอนโคน ต้องยกเลิกกฎหมายหมิ่นศาล และกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ 


สำหรับคนเสื้อแดง กรณีตากใบ กรือแซะ และกรณีสงครามยาเสพติดที่มีคนบริสุทธิ์ต้องถูกฆ่าตายเป็นจำนวนมาก และผู้กระทำผิดยังไม่ถูกนำตัวมาขึ้นศาล เป็นสิ่งที่ท้าทายความคิด เพราะอาชญากรรมเหล่านี้เกิดขึ้นภายใต้รัฐบาลไทยรักไทยของนายกฯทักษิณ ชินวัตร 

ถ้าเราชาวเสื้อแดงรักประชาธิปไตยจริง เราไม่สามารถแก้ตัวแทนรัฐบาลทักษิณได้ในจุดนี้ และเราไม่ควรมองข้ามไม่พูดถึง เพราะ ‘ผิด’ ก็ ‘ผิด’ ไม่ว่าใครจะทำ เราไม่อยากสร้างสองมาตรฐานเหมือนคนเสื้อเหลือง และที่สำคัญเราต้องโตและพัฒนาพอที่จะยอมรับข้อผิดพลาดในอดีตของรัฐบาลไทยรัก ไทยได้ เราต้องฟันธงไปว่า ถ้าในอนาคตมีรัฐบาลเสื้อแดง รัฐบาลนี้จะไม่ก่ออาชญากรรมอีก จะปกป้องสิทธิเสรีภาพ และจะนำผู้กระทำความผิด โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่รัฐ มาลงโทษ

เราต้องเสนอต่อไปให้นักการเมืองไทยรักไทยทบทวนความคิด และต้องเสนอว่า สงครามกลางเมืองในภาคใต้ และปัญหายาเสพติด ต้องแก้ไขด้วยนโยบายการเมืองและนโยบายสังคม ไม่ใช่การทหาร การปราบปราม หรือการใช้ความรุนแรง ผมเชื่อมั่นว่า คนเสื้อแดงจะเข้าใจประเด็นนี้ เพราะเราคือผู้ใช้เหตุผล เราไม่ได้บ้าคลั่งเหมือนคนเสื้อเหลือง

การที่คนในภาคใต้จับอาวุธสู้กับรัฐบาลไทยมีเหตุผล มันมาจากการที่เขาไม่เคยได้รับความเคารพในฐานะที่เป็นคนมาเลย์มุสลิม รัฐไทยทำให้เขาเป็นพลเมืองชั้นสอง การที่คนใช้ยาเสพติดก็มีเหตุผล อาจมีปัญหาทางจิตใจ อาจเศร้า อยู่ในสภาวะแปลกแยกจากสังคม หรืออาจเป็นความจำเป็นในการทำงานหลายชั่วโมงต่อวัน หรือแค่เสพเพื่อความสุข ดังนั้นปัญหาแบบนี้ล้วนต้องแก้ที่ต้นเหตุ ด้วยความใจกว้าง ด้วยความเมตตา และด้วยหลักสิทธิมนุษยชน

ทั้งหมดที่ผมเขียนมานี้ ไม่สามารถเป็นข้ออ้างในการให้ความชอบธรรมกับทหาร คมช. พันธมิตรฯ เนวิน หรือประชาธิปัตย์ ในการใช้อำนาจเผด็จการเพื่อล้มล้างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งแต่อย่างใด เพราะทหารมีส่วนสำคัญในการก่ออาชญากรรมที่กรือแซะและตากใบ และในเหตุการณ์อาชญากรรมอื่นๆ ที่ผมกล่าวถึงไปแล้ว ส่วนพวกเสื้อเหลืองพันธมาร เนวิน หรือพรรค ‘อำมาติปัตย์’ ของอภิสิทธิ์ ก็มือเปื้อนเลือดเช่นกัน เราต้องเอามันออกให้หมด

(ที่มา)
http://prachatai.com/journal/2009/06/24525 

Wake up Thailand ประจำวันอังคารที่ 23 ตุลาคม 2555

Wake up Thailand ประจำวันอังคารที่ 23 ตุลาคม 2555 
       



3G ไทยแพงที่สุดในอาเซียน ยังแพงไม่พอ?

(คลิกฟัง)
http://www.dailymotion.com/video/xujaub_3g

Divas Cafe ประจำวันที่ 23 ตุลาคม 2555

Divas Cafe ประจำวันที่ 23 ตุลาคม 2555

  

นุ่งสั้น..วัดเสื่อม? 'กาลเทศะ' สำคัญกว่าสั้นยาว

(คลิกฟัง)
http://www.dailymotion.com/video/xujvi8_

ตัวแทนข้าหลวงใหญ่ฯ สนับสนุนรัฐบาลผลักดันประกันตัวนักโทษ112 และปฏิรูปม.112

ตัวแทนข้าหลวงใหญ่ฯ สนับสนุนรัฐบาลผลักดันประกันตัวนักโทษ112 และปฏิรูปม.112

 

 

15 ต.ค.55 มาทิลดา บอกเนอร์ ผู้แทนสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติ (UN Office of High Commissioner for Human Rights - UNOHCHR) ประจำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้าเยี่ยมนักโทษที่ต้องคดี ม. 112 ทั้งนี้โดนผ่านการประสานงานกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและอธิบดีกรม ราชทัณฑ์

ตัวแทนสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชา ชาติภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระบุว่าได้พบกับนักโทษ ม. 112 จำนวน 8 คน เป็นนักโทษชาย 7 คนได้แก่ สมยศ พฤกษาเกษมสุข , สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์, ธันย์ฐวุฒิ (สงวนนามสกุล), สุรภักดิ์ (สงวนนามสกุล), วันชัย (สงวนนามสกุล), เสถียร (สงวนนามสกุล),โดยใช้เวลาสนทนา 1.30 ชม. และนักโทษหญิง 1 คน คือ ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล เนื้อหาการสนทนาเป็นเรื่องของคดีของแต่ละคน และสภาพของการคุมขัง

การสนทนาดังกล่าวได้รับการรายงานต่อไปยังสำนักงานข้าหลวงใหญ่แล้ว และจะมีการหารือกันต่อไปถึงประเด็นที่ผู้ต้องขังได้หยิบยกขึ้นหารือ

ตัว แทนสำนักงานยังระบุว่าจะขอเรียกร้องและสนับสนุนให้รัฐบาลไทยมีมาตรการเกี่ยว กับการให้ประกันตัว และการปฏิรูปกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนสากลด้วย

(ที่มา)
http://www.prachatai.com/journal/2012/10/43290

แรงดัน"เพรียวพันธ์" เงาบ้าน"จันทร์ส่องหล้า" เขย่าโผ"ครม.ปู3"กระเพื่อม

แรงดัน"เพรียวพันธ์" เงาบ้าน"จันทร์ส่องหล้า" เขย่าโผ"ครม.ปู3"กระเพื่อม




เพียง 15 วัน หลังการเกษียณอายุราชการในตำแหน่ง "ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ" (ผบ.ตร.) ของ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ หรือ "บิ๊กอ๊อบ" เท่านั้น

กลายเป็น 15 วัน แห่งการตัดสินใจทางการเมืองอย่างรวดเร็ว แม้แต่ผู้บริหารพรรคเพื่อไทย (พท.) อย่าง ภูมิธรรม เวชยชัย ผู้อำนวยการพรรค ยังคาดไม่ถึง

เป็น 15 วัน แห่งการเปิดใจของ "พล.ต.อ. เพรียวพันธ์" ภายหลังสวมเสื้อสมาชิกพรรคเพื่อไทยอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม โดยยืนยันเป็น "สัญญาประชาคม" ต่อสาธารณะว่า "หัวหน้าพรรคไม่เอา ไม่เป็นเลย ไม่มีทางเลย การเมืองผมไม่เป็น"

จับประโยคเปิดใจของ "เพรียวพันธ์" ถือเป็นอีกสัญญาณหนึ่งแห่งการปฏิเสธไม่เข้ารับตำแหน่ง "หัวหน้าพรรคเพื่อไทย" ที่จะมีการประชุมเพื่อคัดเลือกในวันที่ 30 ตุลาคมนี้

แม้ก่อนหน้านี้ชื่อของ "เพรียวพันธ์" จะถูกคาดหมายมีแนวโน้มสูงจะเข้ามานั่ง "ประมุข" แห่งพรรคการเมืองที่มี ส.ส.ในสภาผู้แทนราษฎรมากที่สุดในขณะนี้
และยังเป็นอีก 1 สัญญาณแห่งการปฏิเสธอาสาลงสนามเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ในระยะอันใกล้นี้

แม้ ก่อนหน้านี้ชื่อของ "เพรียวพันธ์" จะถูกปล่อยผ่านออกมาหน้าสื่อเป็นระยะว่าเป็นหนึ่งใน "แคนดิเดต" ผู้ท้าช้าชิงในนาม "พรรคเพื่อไทย"

แต่เมื่อ "เพรียวพันธ์" ตอบคำถามถึงการเข้ามาเป็นหนึ่งในสมาชิกพรรคครั้งนี้ ถึงตำแหน่ง "รัฐมนตรี" ในคณะรัฐมนตรี (ครม.) ของ "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 3" ในเร็ววันนี้

"เพรียวพันธ์" กลับเลือกตอบด้วยท่าทีแบ่งรับแบ่งสู้ว่า "ผมมีความตั้งใจในเรื่องจะดูแลปราบปรามยาเสพติดและเรื่องความปลอดภัย ผมพร้อมครับ"

การปฏิเสธเก้าอี้ "หัวหน้าพรรคเพื่อไทย" และการปฏิเสธลงสนามเลือกตั้ง "ผู้ว่าฯกทม." แต่เลือกอาสาช่วยงานด้านความมั่นคงในการปราบปรามยาเสพติดและแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

นั่นคือการเปิดทางในการเข้ามาช่วยขับเคลื่อนนโยบายของ "รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์" ในปีที่ 2

เนื่อง ด้วย "รัฐบาลนารี" เคยให้คำมั่นต่อ "รัฐสภา" ภายหลังเข้ามาบริหารราชการแผ่นดินโดยจะดำเนินการภายในระยะ 4 ปีของรัฐบาลด้วยการเร่งแก้ไขปัญหายาเสพติด

การเข้ามาสวมเสื้อ "พรรคเพื่อไทย" พร้อมด้วยคณะเตรียมทหาร (ตท.) รุ่นที่ 10 ของ "เพรียวพันธ์" ถึงแม้จะปฏิเสธว่า "พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร" ไม่ได้เกี่ยวข้อง

ถึงแม้ "เพรียวพันธ์" จะระบุว่า คุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์ น้องสาวของตนจะไม่ล่วงรู้มาก่อนถึงการเข้ากรอกใบสมัครสมาชิกพรรคก็ตาม


ทว่า "จังหวะ" ในความเคลื่อนไหว 1 ของ "บิ๊กอ๊อบ" กลับหลีกหนี "เงา" ของ "คุณหญิงพจมาน" ไม่พ้น
และในความเคลื่อนไหว 1 หลีกหนีความเป็น "พรรค" ของเครือญาติตระกูล "ชินวัตร" ไม่พ้น
"มัน เป็นธรรมดาที่คนจะคิดอย่างนั้น แต่มาถึงตอนนี้ ผมภูมิใจนะที่คนมองที่ตัวผม งานของผม คำว่าผมเป็นพี่ มันถูกลบไปหมดแล้ว ประชาชนเชื่อผม และก็ขึ้นมาด้วยฝีมือ ผมได้พิสูจน์ตัวเองด้วยการทำงาน"

นั่นคือประโยคของ "เพรียวพันธ์" ก่อนเกษียณอายุราชการ แม้จะเห็นว่าเป็นธรรมดา

หาก "ผู้มีอำนาจ" ใน "บ้านจันทร์ส่องหล้า" จะเปิดไฟเขียวให้เข้าสู่ "สนามการเมือง"

ล่าสุดแม้ "น.ส.ยิ่งลักษณ์" จะออกตัวว่ายังไม่ปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในจังหวะนี้ ภายหลัง "เพรียวพันธ์" เข้ามาสังกัด "พรรคเพื่อไทย"
 
(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1350962638&grpid=01&catid=&subcatid=

เก็นตกงานเปิดตัวหนังสือ "ประชาธิปไตย...เข้าใจไหม?"

เก็นตกงานเปิดตัวหนังสือ "ประชาธิปไตย...เข้าใจไหม?"





งานเปิดตัวหนังสือ "ประชาธิปไตย...เข้าใจไหม?"
ผู้นำเสนอ ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข
ผู้วิจารณ์ สิริวัฑฒก์ วัฒนกูล กลุ่มใส่ใจไทย
สมบัติ บุญงามอนงค์ กลุ่มอาทิตย์สีแดง
รุ่งโรจน์ วรรณสูทร
ผู้ดำเนินรายการ ดร.วิภา ดาวมณี วิทยาลัยนวตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 
"ประชาธิปไตย...เข้าใจไหม?" 26/03/11 p.1/5
 http://www.youtube.com/watch?v=kfsk8ikMQkM

"ประชาธิปไตย...เข้าใจไหม?" 26/03/11 p.2/5
http://www.youtube.com/watch?v=l3dvoNGL2lU&feature=relmfu

"ประชาธิปไตย...เข้าใจไหม?" 26/03/11 p.3/5
http://www.youtube.com/watch?v=BmpqeEK8sXA&feature=relmfu

"ประชาธิปไตย...เข้าใจไหม?" 26/03/11 p.4/5
http://www.youtube.com/watch?v=CdejL4ahTn8&feature=relmfu

"ประชาธิปไตย...เข้าใจไหม?" 26/03/11 p.5/5
http://www.youtube.com/watch?v=d2XQT1s2gh8&feature=relmfu

ที่นี่ความจริง

ที่นี่ความจริง



ที่นี่ความจริง ศพที่ 99 23 10 2012
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=XHfkX_BTrsg#!

ที่นี่ความจริง 22 10 2012
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=ldZr--OHrws 

ประวัติศาสตร์ฉบับย่อว่าด้วยการเลิกทาสและไพร่สยาม

ประวัติศาสตร์ฉบับย่อว่าด้วยการเลิกทาสและไพร่สยาม

 

 

โดย  อภิชาต สถิตนิรามัย

 

จำได้ว่าในช่วงชั้นมัธยมต้น เมื่อใดที่วันปิยมหาราชเวียนมาถึง บรรดาคุณครูวิชาสังคมมักตักเตือนให้นักเรียนรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของ รัชกาลที่ห้าในการยกเลิกระบบไพร่และทาส โดยเน้นว่าเป็นการค่อยๆ ยกเลิกทีละขั้นทีละตอน ทั้งนี้เพื่อไม่ให้มีการเสียเลือดเนื้อ ดังเช่นที่เกิดกับประเทศอเมริกา ซึ่งการเลิกระบบทาสทำให้เกิดสงครามกลางเมือง ผมและเพื่อนๆ ก็ซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณมานาน จนกระทั่งได้เรียนวิชาเศรษฐศาสตร์ ซึ่งเป็นวิชาที่ ‘ป่าเถื่อน’ มาก เนื่องจากข้อสมมุติแรกสุดของวิชานี้เริ่มต้นโดยถือว่า มนุษย์ทุกคนเป็น “สัตว์เศรษฐกิจ” ในความหมายว่า การกระทำหรือไม่กระทำการใดๆ นั้นก็เพื่อผลประโยชน์ของเขาเอง ศีลธรรมจึงไม่มีที่ทางในวิชานี้

David Feeny นักประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทยเสนอว่า เราควรจะเข้าใจเรื่องนี้ภายใต้บริบทใหญ่ของการเปลี่ยนแปลงของยุครัชกาลที่ ห้าในสามประเด็นคือ การขยายตัวของการค้าและระบบตลาด, ความขัดแย้งระหว่างกษัตรย์และขุนนางในการควบคุมแรงงาน, และการปฏิรูปเพื่อรวมศูนย์อำนาจรัฐเข้าสู่กรุงเทพฯ

ภายหลังการเซ็นสนธิสัญญาเบาว์ริ่งในปี พ.ศ. 2398 แล้ว การค้าระหว่างประเทศของสยามโดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งออกข้าวได้เพิ่มขึ้นมาก ในขณะที่เส้นทางเดินเรือกลไฟระหว่างจีนตอนใต้กับสยามทำให้มีแรงงานจีนอพยพ เข้าสู่กรุงเทพมหาศาล เนื่องจากมีค่าแรงสูงสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การเพิ่มขึ้นของกรรมกรจีนซึ่งเป็นแรงงานรับจ้าง ไม่ใช่แรงงานไพร่ที่ถูกเกณฑ์และบังคับให้ทำงานโดยไม่ได้รับค่าตอบแทน (ซ้ำยังต้องเตรียมเสบียงกรังมาเองสำหรับใช้ในช่วงที่ถูกเกณฑ์ด้วย) ย่อมมีแรงจูงใจที่จะทำงานมากกว่าไพร่

ดังนั้น มันจึงคุ้มค่ากว่าที่ผู้ปกครองจะจ้างกรรมกรจีนให้ทำงานแทนการบังคับใช้แรง งานจากไพร่ ผู้ปกครองจึงเริ่มอนุญาตให้ไพร่จ่ายเงินทดแทนการเกณฑ์แรงงานได้ แต่พวกไพร่ๆ จะไปหาเงินจากไหนมาจ่าย หากระบบเศรษฐกิจการตลาดและการหมุนเวียนของเงินตรายังไม่ขยายตัว คำตอบคือการขยายตัวของการส่งออกข้าวหลังสัญญาเบาว์ริ่ง พูดอีกแบบคือ พวกไพร่เมื่อไม่ต้องถูกบังคับใช้แรงงานแล้วจึงหันไปปลูกข้าวขาย เอาเงินมาจ่ายให้ผู้ปกครองแทนการเกณฑ์แรงงาน ดังเช่นที่เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 2413 ต้นรัชการที่ 5 ไพร่หลวงต้องจ่ายเงิน 9-12 บาทแทนการถูกเกณฑ์แรงงาน และลดลงเหลือ 6 บาทต่อปีในช่วง พ.ศ. 2440-2441 ต่อมาจึงยกเลิกระบบการเกณฑ์แรงงานไพร่ หันมาเก็บภาษีรัชชูปการแทน (ภาษีต่อหัวที่สามัญชนทุกคนต้องจ่ายรายปี–poll tax) ในปี 2442 รวมทั้งออกกฎหมายเกณฑ์ทหารในสามปีถัดมา เป็นอันว่าภาษีรัชชูปการและการเกณฑ์ทหารจึงมาแทนการทำงานของระบบไพร่เมื่อ ร้อยปีเศษมานี่เอง

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/10/43289

ประกาศการยกเลิกหมอบคลาน

ประกาศการยกเลิกหมอบคลาน
 




แม้ ร.5 จะประกาศยกเลิกการหมอบคลานกราบมาร้อยกว่าปีแล้ว ตั้งแต่ครั้งเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และประชาชนยังไม่มีสิทธิเสรีภาพ พร้อมให้เหตุผลว่ามันเป็นการ "การกดขี่" ราษฎรอย่างรุนแรง แต่วันนี้วันที่เราเป็นประชาชนในระบอบประชาธิปไตย เรามีสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ แต่เราก็ยังต้องหมอบคลานกราบอยู่...

"แลธรรมเนียมที่หมอบคลานกรา
บไหว้ในประเทศสยามนี้ เหนว่าเป็นการกดขี่แก่กันแขงแรงนั

ก ผู้น้อยที่ต้องหมอบคลานนั้น ได้ความเหน็จเหนื่อยลำบาก เพราะจะให้ยศแก่ท่านผู้ใหญ่ ก็การทำยศที่ให้คนหมอบคลานกราบไหว้นี้ไม่ทรงเหนว่ามีประโยชน์แก่บ้านเมือง แต่สิ่งหนึ่งสิ่งใดเลย ผู้น้อยที่ต้องมาหมอบคลานกราบไหว้ให้ยศต่อท่านผู้ที่เปนใหญ่นั้น ก็ต้องทนลำบากอยู่ จนสิ้นวาระของตนแล้วจึ่งจะได้ออกมา พ้นท่านผู้ที่เปนใหญ่ ธรรมเนียมอันนี้แลเหนว่าเปนต้นแห่งการที่เปนการกดขี่แก่กันทั้งปวง เพราะฉนั้นจึ่งจะต้องละพระราชประเพณีเดิม ที่ถือว่าหมอบคลานเปนการเคารพอย่างยิ่งในประเทศสยามนี้เสีย"

ส่วนหนึ่งในคำประกาศเปลี่ยน
ธรรมเนียมใหม่
หนังสือราชกิจจานุเบกษา ประกาศการยกเลิกการหมอบคลาน

พ.ศ. 2416

ที่มา:
http://prachatai.com/journal/2012/10/4327