หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2556

Alienation: การสร้างสภาวะแปลกแยกโดยระบบทุนนิยม (ตอนที่ 2)

Alienation: การสร้างสภาวะแปลกแยกโดยระบบทุนนิยม (ตอนที่ 2)

 

 

พจนา วลัย
องค์กรเลี้ยวซ้าย
พจนา วลัย
องค์กรเลี้ยวซ้าย
รัฐทุนนิยมกับการสร้างสภาวะแปลกแยก
           
จากตอนที่ 1 อธิบายถึงการสร้างสภาวะแปลกแยกในโครงสร้างทางเศรษฐกิจของระบบทุนนิยม และในตอนที่ 2 นี้เชื่อมโยงโครงสร้างทางการเมืองระดับบนหรือระบบรัฐว่าสัมพันธ์กับโครง สร้างระดับฐานอย่างไร รัฐเป็นตัวสร้างสภาวะแปลกแยกเหินห่างจากความเป็นมนุษย์ และปัญหาความขัดแย้งทางชนชั้นอย่างไร
 
จากการที่ระบบทุนนิยมเป็นระบบที่คอยสัญญากับประชาชนว่า ประชาชนจะมีความสุขและประสบความสำเร็จในชีวิต แต่เมื่อมองไปรอบๆ ตัว ช่างดูห่างไกลคือ เราเห็นอัตราการหย่าร้าง ครอบครัวแตกแยก การกดขี่ผู้หญิงและเด็ก การค้าหญิงบริการทั่วไป การใช้ความรุนแรง การติดยาเสพติด ปัญหาโรคติดต่อ ความเครียด เสียสุขภาพจิตและความรู้สึกแปลกแยก ความหดหู่ของผู้คนจำนวนมาก  ดังนั้นสิ่งที่มากไปกว่าความสำเร็จในชีวิต คือ คนจำนวนมากกำลังเผชิญกับความแปลกแยก ในขณะที่มีคนหลายคนไม่รู้สึกแปลกแยก แต่อาจมีแนวโน้มที่จะหลอกตัวเองในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง บางทีมีความรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า มีความหมายเพราะมีมายาคติเกี่ยวกับบริบท/สภาพแวดล้อมและตัวตนของตัวเอง
 
ทำไมระบบทุนยังคงผลิตซ้ำสังคมแบบชนชั้นได้ จวบมาถึงยุคสมัยใหม่ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ข้างต้นเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางทั่วโลก ความแปลกแยกของมนุษย์ยังคงฝังรากลึกในสังคมชนชั้น (เออร์เนส แมนเดลและจอร์ช โนแว็ค.  The Marxist Theory of Alienation. New York: Pathfinder Press. 2nd edition, 1973, น.7) ที่ชนชั้นแรงงานถูกทำให้ไร้อำนาจในการตัดสินใจผลิตและเป็นเจ้าของผลผลิตร่วม กัน ส่วนชนชั้นนายทุนผูกขาดอำนาจการบริหารปกครองในภาคการผลิต และเป็นอภิสิทธิชน   ทั้งนี้มีรัฐ ชนชั้นผู้ปกครองช่วยรักษาสถาบัน ระเบียบ กฎหมายที่ให้อำนาจแก่ชนชั้นนายทุน สร้างความชอบธรรมและส่งเสริมการปรับปรุงระบบให้มีประสิทธิภาพในการผลิต และเพิ่มอัตราการขูดรีดผู้ใช้แรงงานมากขึ้นด้วย  
 
ระบบรัฐทุนนิยมเกี่ยวข้องกับสภาวะแปลกแยกอย่างไร
 
รัฐสมัยใหม่ประกอบด้วยสถาบันทางการเมือง สถาบันที่เกี่ยวข้องกับพลเมือง วัฒนธรรมและความเชื่อ แต่ยังประกอบด้วยระบบความสัมพันธ์ของกลุ่มพลังทางสังคมที่พยายามถ่วงดุล อำนาจซึ่งกันและกัน ต่อสู้กันและผลผลิตของการต่อสู้ก็อยู่ในระบบรัฐสมัยใหม่ ซึ่งรัฐสมัยใหม่เป็นรัฐทุนนิยม เพราะมีกลไกอุดมการณ์ ความคิดความเชื่อที่ครอบงำแรงงานให้มีรูปการจิตสำนึกผลิตซ้ำระบบทุนนิยม แม้จะมีการต่อสู้กันระหว่างชนชั้น แต่ก็มีการประนีประนอมกันได้เป็นช่วงๆ
 
จากรูปธรรม รัฐต้องการเงินภาษีจากนายทุน และมีผลประโยชน์ของตัวเอง เพราะรัฐก็ผลิต หาเงิน สะสมทุนด้วย จึงมีกฎหมาย สถาบันค้ำจุนระบบทุนนิยม และไปเสริมสร้างสภาวะแปลกแยกให้แก่พลเมืองมากขึ้น  เนื่องจากรัฐใช้อำนาจก้าวก่ายชีวิตของพลเมืองมากเกินไป เสริมสร้างระบบการแบ่งงานกันทำ ใช้ระบบการจ้างงานยืดหยุ่น คนทำงานขาดความมั่นคง สังคมขาดการคุ้มครอง คนตกงาน ได้รับผลกระทบเมื่อเกิดวิกฤตมากกว่าพวกนายทุน
 
นอกจากนี้รัฐทุนนิยมยังส่งเสริมระบบเศรษฐกิจที่สร้างลัทธิบูชา/คลั่ง สินค้า (Commodity fetishism) และความเชื่อบางอย่าง ที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์แปลกแยกเหินห่างซึ่งกันและกัน ทั้งนี้อยู่ภายใต้ฐานเศรษฐกิจแบบแบ่งงานกันทำ แบ่งเป็นสาขาวิชา ข้อมูลถูกแยกส่วน ความเป็นผู้เชี่ยวชาญ แรงงานสมอง แรงงานไร้ฝีมือ ที่ทำให้สังคมมองแรงงานเป็นแค่เครื่องมือการผลิต แต่ไม่ใช่ผู้มีอำนาจตัดสินใจในระบบการผลิต จากนั้นความเป็นอยู่ของทุนกับแรงงานก็แตกต่างเหลื่อมล้ำกันจากความสัมพันธ์ เชิงอำนาจที่ไม่เท่าเทียมกันนั่นเอง
 
ลัทธิบูชาสินค้า คือ การแปลงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ที่มีรากมาจากการค้าขายสินค้าในระบบตลาด ด้วยวิธีที่ความสัมพันธ์ทางสังคมของคนถูกแสดงออกมาในลักษณะเป็นความสัมพันธ์ ทางเศรษฐกิจ/วัตถุบริโภค เป็นความสัมพันธ์ในเชิงแลกเปลี่ยนระหว่างเงินและสินค้า ผู้ซื้อกับผู้ขาย นั่นคือ การแปลงลักษณะอัตวิสัย/นามธรรมของมูลค่าทางเศรษฐกิจไปเป็นตัววัตถุ สิ่งของที่คนเชื่อว่ามีค่าอยู่ในตัวอยู่แล้ว (โดยไม่ต้องไปสืบค้นหาที่มาของการสร้างมูลค่าของผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการ ซึ่งจริงๆ มาจากการทำงานของแรงงาน)  พูดง่ายๆ คือ คนมักสัมพันธ์กันในระบบการซื้อขาย แลกเปลี่ยนในตลาด สนใจแต่เรื่องมูลค่าแลกเปลี่ยนหรือราคาตลาด แต่ไม่สนใจว่าสินค้าหรือบริการนั้นถูกสร้างให้มีมูลค่าในระบบการผลิตอย่างไร ด้วยเหตุนี้การแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการในตลาดจึงคอยบดบังลักษณะทาง เศรษฐกิจที่แท้จริง (Real economy) ที่เป็นความสัมพันธ์ของมนุษย์ในระบบการผลิต ความสัมพันธ์ระหว่างทุนกับแรงงานคือแก่นสารของระบบทุนนิยมนั่นเอง
 
การที่รัฐเข้าไปค้ำจุนระบบทุนนิยม และตอกย้ำสภาวะแปลกแยกให้แก่ชนชั้นแรงงานและความแตกแยกทางชนชั้นมากขึ้น คือ การกีดกันประชาชนออกไปจากการมีส่วนร่วมในการเมือง การบริหาร การปกครอง การทำให้เป็นพลเมืองชั้นสอง การทำให้เป็นชายขอบ เพื่อไม่ให้เข้าถึงสิทธิประโยชน์ ทรัพยากร ปัจจัยการผลิตในการดำรงชีพและพัฒนาระบบการเมืองให้เป็นประชาธิปไตย และรัฐยังมีบทบาทในการประนีประนอมการต่อสู้ระหว่างทุนกับแรงงาน อีกทั้งจัดตั้งและใช้กลไกปราบปราม (คุก ศาล ทหาร ตำรวจ) ในการจัดการ ทำลายขบวนการประชาธิปไตย
 
งานของอันโตนิโอ กรัมชี่ ได้อธิบายรัฐว่าเป็นระบบความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มพลังทางสังคมหรือชนชั้น ที่ประกอบด้วย 2 ชนชั้นคือ ชนชั้นปกครองและชนชั้นผู้ถูกปกครอง  (ชนชั้นปกครองหรือผู้มีปัจจัยการผลิต ประกอบด้วยนายทุนใหญ่ เจ้าที่ดินและนายทุนน้อยหรือนายทุนในชนบท ซึ่งครอบครองปัจจัยการผลิต  และชนชั้นผู้ถูกปกครองคือ ชาวนาและกรรมาชีพในความหมายที่กว้างคือทั้งคนงานในโรงงาน ช่างฝีมือ นักบวชและกลุ่มปัญญาชนด้วย)  แต่ชนชั้นปกครองเข้าถึงการใช้อำนาจบังคับ สร้างความยินยอมพร้อมใจเหนือผู้ถูกปกครอง และครอบงำด้วยอุดมการณ์ และไม่ต้องการที่จะถูกท้าทายจากกลุ่มพลังอื่นๆ นั่นหมายความว่า ในระบบรัฐเต็มไปด้วยนายทุน (ผู้บังคับบัญชา) มากกว่าแรงงาน (ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา)  นายทุนในคราบนักการเมืองรวยๆ ในพรรคการเมืองที่ใช้นโยบายเอื้อให้เอกชนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ผลิต และสะสมทุนต่อไปได้ รวมทั้งองค์กร หน่วยงานรัฐที่ประกอบการ ข้าราชการถือหุ้นรัฐวิสาหกิจ บรรษัท ไต่เต้าและสะสมความมั่งคั่งเช่นกัน  แต่สิ่งนี้ถูกทำให้ชอบธรรม บดบัง บิดเบือนได้ด้วยกระบวนการกล่อมเกลา อบรมทางสังคม ด้วยความคิดความเชื่อทางอุดมการณ์อยู่เบื้องหลัง

รายงาน: กลัวอะไรนักหนากับ FTA สหภาพยุโรป? ดูโพยคำตอบจากอินเดีย

รายงาน: กลัวอะไรนักหนากับ FTA สหภาพยุโรป? ดูโพยคำตอบจากอินเดีย





เอฟทีเอไทย-สหภาพยุโรป (อียู) กำลังจะเริ่มต้นขึ้นในอีกไม่กี่วันนี้

ตามแผนการเดินทางเยือนสหภาพยุโรปของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 4-6 มีนาคม จะมีการประกาศเปิดการเจรจาโดยมีกรอบครอบคลุมในด้านการค้า การลงทุน และลดอุปสรรคการค้า

“ยืนยันว่าไทยจะได้ประโยชน์มากกว่าเสียประโยชน์ และเอฟทีเอจะทดแทนกรณีอียูตัดการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร(จีเอสพี)ในปี 2557”  บุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีพาณิชย์กล่าว

สิทธิพิเศษทางภาษีดูจะเป็นประเด็นที่รัฐบาลและภาคเอกชนให้ความสำคัญยิ่ง โดยเฉพาะเมื่อมันกำลังจะหมดลงภายในปี 2557 นี้ และหากไม่มีการเจรจาเอฟทีเอ อียูก็อาจไม่ต่อสิทธิพิเศษนี้ให้

ขณะเดียวกัน ภาคประชาสังคมก็ส่งเสียงค้านกันจ้าละหวั่น เพราะเห็นว่าในเนื้อหาส่วนที่ไม่ใช่เรื่องการค้าโดยตรง อย่างบทว่าด้วยเรื่องทรัพย์สินทางปัญญานั้นมีปัญหาที่จะทำให้ราคายาพุ่งสูง และการคุ้มครองสิทธิของนักลงทุนจะมีความสำคัญมากกว่าสวัสดิการของประชาชน

สิ่งที่เป็นคีย์เวิร์ดในเรื่องนี้ที่เราได้ยินบ่อยก็คือ “ทริปส์พลัส” หรือข้อตกลงด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่มากไปกว่าที่องค์การการค้าโลกกำหนด และแน่นอน มันถูกบรรจุอยู่ในเอฟทีเอฉบับต่างๆ ทั้งของอเมริกาและยุโรป

แม้ว่ารัฐมนตรีพาณิชย์ จะออกมายืนยันว่า “การเจรจาจะไม่เกินหลักเกณฑ์องค์การการค้าโลก” แต่คำพูดสวยหรูนี้ก็ไม่อาจเป็นหลักประกันที่น่าเชื่อถือได้

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ 1. กระบวนการเจรจาขาดความโปร่งใส และการมีส่วนร่วมตลอดกระบวนการ 2. ความเคี่ยวของประเทศมหาอำนาจเอง

ในกรณีหลังนี้เราจะลองเทียบจากประสบการณ์ของอินเดียที่เริ่มต้นเจรจากับ อียูมาก่อนหน้านี้หลายปี และยังยื้อกันอยู่อย่างแข็งแกร่ง เพราะอะไร? มีอะไรน่ากังวล?
 
(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2013/02/4554

สื่อตปท.ชี้ไทยลงนามบีอาร์เอ็นแค่"ขั้นตอนแรก"ยุติไฟใต้ ชี้หนทางยังยาวไกล-ไม่ใช่เรื่องง่าย

สื่อตปท.ชี้ไทยลงนามบีอาร์เอ็นแค่"ขั้นตอนแรก"ยุติไฟใต้ ชี้หนทางยังยาวไกล-ไม่ใช่เรื่องง่าย
 

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 1 มี.ค.ว่า นักวิเคราะห์มองว่า กรณีรัฐบาลไทยได้ลงนามข้อตกลงเจรจากับกลุ่มบีอาร์เอ็น ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มติดอาวุธแบ่งแยกดินแดนภาคใต้ของไทย อาจมองว่าเป็นขั้นตอนที่ดีได้ แต่ไม่น่าที่จะยุติความขัดแย้งสถานการณ์ไฟใต้ของไทยได้ทั้งหมด เนื่องจากมีหลายกลุ่มติดอาวุธที่ต่อสู้เพื่อแบ่งแยกดินแดน และกลุ่มเหล่านี้ยังไม่พร้อมที่จะเจรจาเหมือนกลุ่มบีอาร์เอ็น 

โดยดร.ปณิธาน วัฒนายากร นักวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกว่า ยังมีหลายกลุ่มที่อยากจะเจรจากับทางการไทย และไม่ยอมออกมาเจรจาเพราะรัฐบาลไทยไม่ได้รับประกันสวัสดิภาพให้แก่พวกเขา โดยเฉพาะการให้อภัยโทษ ซึ่งรัฐบาลไทยไม่ให้สัญญาแก่กลุ่มเหล่านี้ นอกจากนี้ กลุ่มแบ่งแยกดินแดนเหล่านี้ยังจะคุยกันเองภายในกลุ่ม ก่อนจะตัดสินใจว่าจะยอมเปิดโต๊ะเจรจากับทางการไทยหรือไม่ ดังนั้น ในอนาคตอันใกล้ ยังไม่แน่ชัดว่า ความรุนแรงในภาคใต้จะลดลง

Wake Up Thailand

Wake Up Thailand


ไม่อยากให้เจรจา  หรือจะให้ยิงกันไปเรื่อยๆ

Wake Up Thailand ประจำวันที่ 1 มีนาคม 2556  ตอนที่ 2  
ไม่อยากให้เจรจา หรือจะให้ยิงกันไปเรื่อยๆ 
http://www.dailymotion.com/video/xxv9jz_yy- 
 

รักใครก็เลือกได้คนนั้น

Wake Up Thailand ประจำวันที่ 1 มีนาคม 2556  ตอนที่ 1
รักใครก็เลือกได้คนนั้น 
http://www.dailymotion.com/video/xxv90x_y-yyyyy 
 

 Coffee with : ครบรอบ 37 ปีการเสียชีวิต 'ดร.บุญสนอง บุณโยทยาน'

Wake Up Thailand ประจำวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556  ตอนที่ 2
Coffee with : ครบรอบ 37 ปีการเสียชีวิต 'ดร.บุญสนอง บุณโยทยาน'
Coffee with : ครบรอบ 37 ปีการเสียชีวิต 'ดร.บุญสนอง บุณโยทยาน' 
 

30 ตัวช่วยชายหมู 'ช่วยหรือฉุด'

Wake Up Thailand ประจำวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556  ตอนที่ 1
30 ตัวช่วยชายหมู 'ช่วยหรือฉุด' 
http://www.dailymotion.com/video/xxu9kr_30-y-yy-  

The Daily Dose

The Daily Dose

 
นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ ชนะโพลล์ THE DAILY DOSE  
 
The Daily Dose ประจำวันที่ 1 มีนาคม 2556
นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ ชนะโพลล์ THE DAILY DOSE 
http://www.dailymotion.com/video/xxvpmp_yyyy-y 
  
The Daily Dose ประจำวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556
ภาคประชาชนเตรียมชุมนุมค้าน FTA Thai-EU
http://www.dailymotion.com/video/xxushr_yyyyy 

Divas Cafe

Divas Cafe 

 
Divas Cafe ประจำวันที่ 1 มีนาคม 2556 
ดีเบต คนวัย Plus : สศษ vs สศจ 
http://www.dailymotion.com/user/VoiceTV/1#video=xxvbgr 

  
ฤาเลือดไพร่มันไร้ค่า กับ อ.สลิสา ยุกตะนันทน์ 
 
Divas Cafe ประจำวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 
ฤาเลือดไพร่มันไร้ค่า กับ อ.สลิสา ยุกตะนันทน์

ซีรีส์ทบทวน 15 ปีองค์กรอิสระ2 ศราวุฒิ ประทุมราช: กสม. ล้มเหลวในการปกป้องสิทธิทางการเมือง

ซีรีส์ทบทวน 15 ปีองค์กรอิสระ2 ศราวุฒิ ประทุมราช: กสม. ล้มเหลวในการปกป้องสิทธิทางการเมือง

 

ศราวุฒิ ประทุมราช  
ผู้อำนวยการสถาบันหลักนิติธรรมและสิทธิมนุษยชน และอนุกรรมการสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง กสม.


นับแต่มีการต่อต้านรัฐบาลทักษิณเรื่อยมาจนถึงการรัฐประหาร กรรมการสิทธิมนุษยชนของไทยถูกตั้งคำถามไม่น้อย ถึงบทบาทหน้าที่ในการปกป้องสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ประชาไทสัมภาษณ์ ศราวุฒิ ประทุมราช ซึ่งวิพากษ์การทำงานของกรรมการสิทธิรวมถึงที่มาซึ่งเขาเห็นว่าไม่เป็น ประชาธิปไตยและต้องแก้ไข


กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ก่อตั้งขึ้นตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นผลจากการเคลื่อนไหวของนักกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชนส่วนหนึ่ง ในช่วงนั้นศราวุฒิ ประทุมราช ก็อยู่ในเครือข่ายที่ร่วมผลักดันโครงสร้างกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติขึ้น และยังได้ทำงานร่วมกับคณะกรรมการฯ ทั้งชุดแรกและชุดปัจจุบัน ในฐานะอนุกรรมการด้านสิทธิทางการเมืองและสิทธิพลเมือง

แน่นอนว่า ในห้วงเวลานับแต่มีการต่อต้านรัฐบาลทักษิณเรื่อยมาจนถึงการรัฐประหาร กรรมการสิทธิมนุษยชนของไทยนั้นถูกตั้งคำถามไม่น้อย ถึงบทบาทหน้าที่ในการปกป้องสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองในฐานะที่เป็น ส่วนหนึ่งของสิทธิมนุษยชน

ที่ผ่านมา ประชาไทได้สัมภาษณ์ผู้ปฏิบัติหน้าที่กรรมการสิทธิทั้งชุดแรก คือ จรัล ดิษฐาอภิชัย [1] และกรรมการสิทธิชุดปัจจุบันคือ น.พ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ [2] เพื่อทบทวนประสบการณ์ และเงื่อนไขข้อจำกัดของการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะกรรมการสิทธิมาแล้ว

เพื่อสะท้อนเสียงจากคนทำงานภาคประชาสังคม ที่ได้รู้เห็นและมีส่วนร่วมในการทำงานกับกรรมการสิทธิ ครั้งนี้ประชาไทคุยกับศราวุฒิในฐานะคนทำงานด้านสิทธิมนุษยชน ที่ติดตามมาตั้งแต่ต้น จนถึงวันนี้ เขาได้กรรมการสิทธิที่เขาคาดหวังหรือไม่ และมองการทำงานของกรรมการสิทธิอย่างไร

ประชาไท: ทำไมตอนนั้น (รณรงค์ร่างรัฐธรรมนูญ 2540) จึงมีแนวคิดเรื่องการก่อตั้งกรรมการสิทธิ 

ศราวุฒิ: ช่วงเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว เมืองไทยขาดองค์กรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบในเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน ถ้าเกิดการละเมิดสิทธิโดยรัฐหรือโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ กระบวนการที่ใช้อยู่ตามปกติก็มีสองส่วนคือ กลไกของฝ่ายบริหารเอง เช่น ถ้าตำรวจละเมิดก็ไปร้องเรียนที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรืออย่างมากก็ไปฟ้องศาล แต่ถามว่ากระบวนการพวกนี้ใช้เวลาไหม- ใช้เวลานาน

อีกกลไกหนึ่งก็คือไปที่สภาผู้แทน กรรมาธิการสามัญ ซึ่งก็ไม่มีอำนาจอะไร ทำได้เพียงเรียกคนนั้นคนนี้มาชี้แจง แล้วก็ทำรายงานต่อสภา สภาก็ทำการตรวจสอบกับรัฐบาลในการอภิปรายหรือในการตั้งกระทู้ถาม กระบวนการพวกนี้ไม่ได้ให้คุณให้โทษได้โดยตรง อาจจะทำให้เสียหน้าแต่ก็ไม่เกิดผลในทางปฏิบัติ แล้วก็ถ้าจะฟ้องศาลคุณก็ต้องมีทุนทรัพย์พอสมควร ต้องมีทนายความ จะไปพึ่งสภาทนายความก็ได้ แต่ก็อาจจะเป็นเรื่องที่ทำคดีได้ยาก ก็เลยมีการศึกษาดูว่าในต่างประเทศเขามีกลไกอะไรที่พอจะเป็นหน่วยงานที่อิสระ ไม่ขึ้นกับฝ่ายบริหาร ไม่ขึ้นกับศาล ทำหน้าที่กึ่งตุลาการ ก็ได้เจอหลักการเกี่ยวกับกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่เกิดขึ้นจากหลักการ ปารีส ระบุเอาไว้ว่ากลไกหรือองค์กรสถาบันสิทธิมนุษยชนระดับชาติที่รัฐต้องสนับสนุน ให้มีขึ้นมา และทำหน้าที่ในการตรวจสอบการทำงานของรัฐ และเอกชนด้วย

ระลึกถึง สหายบุญสนอง บุณโยทยาน

ระลึกถึง สหายบุญสนอง บุณโยทยาน


โดย ใจ อึ๊งภากรณ์


ผมไม่เคยรู้จัก ดร.บุญสนอง บุณโยทยาน เป็นส่วนตัว แต่ผมได้ยินชื่อเขามานานและได้อ่านเรื่องราวเกี่ยวกับเขาพอสมควร ผมขออนุญาตเรียกเขาเป็น “สหาย” เพราะเขาเป็นวีรบุรุษคนหนึ่งของขบวนการสังคมนิยมและขบวนการประชาธิปไตยไทย และเขาคงไม่ถือตัวต้องการเป็น “ท่าน” หรืออะไรแบบนั้น เพราะเขาใช้ชีวิตและเสียสละชีวิต เพืสังคมที่เท่าเทียมกัน และเพื่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ 

ใน การอ้างถึงสหายบุญสนองแบบนี้ ผมไม่อยากอ้างชื่อเขามาเพื่อให้ความชอบธรรมกับแนวคิดของผม หรือสิ่งที่ผมกระทำ นั้นเป็นเรื่องที่ไม่สำคัญและการอ้างผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว เพื่อทำให้ตนเองดูดี เป็นเรื่องน่าเกลียดไม่สมควร ผมเพียงแต่เสนอว่า สหายบุญสนอง “เป็นพวกเรา” และ “เรา” ในที่นี้หมายถึงขบวนการของคนที่รักความเป็นธรรม ขบวนการสังคมนิยม และขบวนการประชาธิปไตย ที่ต่อสู้มายาวนานในประเทศไทย ขบวนการนี้ยังต่อสู้อยู่ในรูปแบบของคนเสื้อแดงที่กำลังสู้กับอำมาตย์ แต่อย่าไปเสียเวลาเดาว่า สหายบุญสนอง ถ้ายังมีชีวิตอยู่ จะเป็นเสื้อแดงเหมือนผมหรือไม่ เพราะเราไม่มีวันทราบและมันเป็นการเดาในเรื่องที่ไม่เป็นเรื่อง 

บุญสนอง บุณโยทยาน เป็นนักสังคมนิยมอีกคนหนึ่ง ในหมู่นักสังคมนิยมไทย เช่น ปรีดี พนมยงค์ จิตร ภูมิศักดิ์ กุหลาบ สายประดิษฐ์ ฯลฯ ที่เราควรจะศึกษาและเคารพ และการเคารพที่จริงใจจะมองเขาในฐานะที่เป็นเพื่อนมนุษย์ที่ได้รับอิทธิพลจากยุคสมัย เราวิจารณ์หรือมองต่างมุมได้ จริงๆ แล้วการเคารพต้องประกอบไปด้วยการพยายามพูดความจริงเกี่ยวกับเขาในมุมมองของเรา

สหายบุญสนอง บุณโยทยาน มีบทบาทสำคัญในการนำแนวสังคมนิยมลงสู่ภาคปฏิบัติของการเมืองโลกจริงผ่านการเคลื่อนไหวของพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทยในยุคระหว่าง ๑๔ ตุลา ๒๕๑๖ กับ ๒๕๑๙ การหาเสียงของพรรคนี้ในหมู่บ้านทางภาคเหนือของไทย ไม่เหมือนการหาเสียงของนักการเมืองนายทุนประเภทที่ไร้นโยบายในสมัยนั้นหรือสมัยนี้ เพราะมีการจัดเวทีประชุมใหญ่ๆ เพื่อเสนอนโยบายการเมืองแบบสังคมนิยมที่เป็นรูปธรรมกับชาวบ้านรากหญ้า โดยไม่มีการซื้อเสียง นอกจากนี้สหายบุญสนองอธิบายว่าในการเลือกเขตเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้ง พรรคสังคมนิยมและพรรคแนวร่วมสังคมนิยมพยายามลดความสำคัญของตัวบุคคลและเพิ่มความสำคัญของนโยบายทางการเมือง (สัมภาษณ์ใน Far Eastern Economic Review 17/1/1975; 26) วิธีการนี้ได้ผลพอสมควรเพราะในการเลือกตั้งปี ๒๕๑๘ พรรคสังคมนิยมต่างๆได้ประมาณสิบห้าที่นั่ง

งานรำลึก 37 ปี การจากไปของ ดร.บุญสนอง บุณโยทยาน

งานรำลึก 37 ปี การจากไปของ ดร.บุญสนอง บุณโยทยาน

กำหนดการ

13:00 น.  กล่าวเปิดงาน
สิลปวิทย์ จิวังกูร
ตัวแทนโครงการรวบรวมประวัติและผลงานของ ดร.บุญสนอง บุณโยทยาน  ผู้จัดทำเว็บไซต์ www.doctorboonsanong.org 

13:10 น.  ปาฐกถา "เหลียวหลัง แลหน้า ทางออก ระบบพรรคการเมืองไทย"
จาตุรนต์ ฉายแสง
สถาบันศึกษาและพัฒนาประชาธิปไตย 

13:30 น.เสวนาวิชาการ “ว่าด้วยพรรคการเมืองในโลกประชาธิปไตย”

-พลวัตพรรคการเมืองในอเมริกากลาง กรณีศึกษาพรรคการเมืองในเอลซัลวาดอร์
อานนท์ ชวาลาวัณย์
กลุ่มประกายไฟ
-พรรคการเมืองทางเลือกในยุโรป กรณีศึกษาพรรคการเมืองทางเลือกในเยอรมัน
ดร.จิตติพร ฉายแสงมงคล
เครือข่ายพลเมืองเน็ต
-พรรคฝ่ายซ้ายในอาเซียน กรณีศึกษาพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายในมาเลเซีย
พัชณีย์ คำหนัก
นักวิจัยโครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย
-การกลับมาของพรรคสังคมนิยมในฝรั่งเศส
ดร.ปิยบุตร แสงกนกกุล
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดำเนินรายการโดย พิเชฐ ยิ่งเกียรติคุณ
SIAM INTELLIGENCE UNIT

15:10-15:30 น. coffee break

15:30 น.   รำลึกถึงชีวิตและผลงานของ ดร.บุญสนอง บุณโยทยาน และแนะนำwww.doctorboonsanong.org 
ดร.ประแสง มงคลศิริ 
เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

16:00-17:00 น. ร่วมกันรำลึกถึงดร.บุญสนอง บุณโยทาน สนทนาและแลกเปลี่ยนความทรงจำโดยผู้ร่วมอุดมการณ์
จรัล ดิษฐาภิชัย, สุธรรม แสงประทุม




องค์กรร่วมจัดงาน :โครงการ รวบรวมประวัติและผลงานของ ดร.บุญสนอง บุณโยทยาน  , สำนักข่าวประชาไท, Siam Intelligence Unit, Book Re;public, กลุ่มเพื่อนรัฐธรรมนูญปี 2540, กลุ่ม Local-Globe, โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย, โครงการจัดตั้งมูลนิธิอินเทอร์เน็ตและวัฒนธรรมพลเมือง
- See more at: http://www.prachatai3.info/activity/2013/02/45410#sthash.nx62gHiA.dpuf



งานรำลึก 37 ปี การจากไปของ ดร.บุญสนอง บุณโยทยาน

Activity Date: 
Sat, 2013-03-02 13:00
- See more at: http://www.prachatai3.info/activity/2013/02/45410#sthash.nx62gHiA.dpuf

งานรำลึก 37 ปี การจากไปของ ดร.บุญสนอง บุณโยทยาน

Activity Date: 
Sat, 2013-03-02 13:00
- See more at: http://www.prachatai3.info/activity/2013/02/45410#sthash.nx62gHiA.dpuf
 
 
กำหนดการ

13:00 น.  กล่าวเปิดงาน
สิลปวิทย์ จิวังกูร
ตัวแทนโครงการรวบรวมประวัติและผลงานของ ดร.บุญสนอง บุณโยทยาน  ผู้จัดทำเว็บไซต์ www.doctorboonsanong.org 

13:10 น.  ปาฐกถา "เหลียวหลัง แลหน้า ทางออก ระบบพรรคการเมืองไทย"
จาตุรนต์ ฉายแสง
สถาบันศึกษาและพัฒนาประชาธิปไตย 

13:30 น.เสวนาวิชาการ “ว่าด้วยพรรคการเมืองในโลกประชาธิปไตย”

-พลวัตพรรคการเมืองในอเมริกากลาง กรณีศึกษาพรรคการเมืองในเอลซัลวาดอร์
อานนท์ ชวาลาวัณย์
กลุ่มประกายไฟ

 -พรรคการเมืองทางเลือกในยุโรป กรณีศึกษาพรรคการเมืองทางเลือกในเยอรมัน
ดร.จิตติพร ฉายแสงมงคล
เครือข่ายพลเมืองเน็ต
-พรรคฝ่ายซ้ายในอาเซียน กรณีศึกษาพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายในมาเลเซีย
พัชณีย์ คำหนัก
นักวิจัยโครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย
-การกลับมาของพรรคสังคมนิยมในฝรั่งเศส
ดร.ปิยบุตร แสงกนกกุล
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดำเนินรายการโดย พิเชฐ ยิ่งเกียรติคุณ
SIAM INTELLIGENCE UNIT


15:10-15:30 น. coffee break

15:30 น.   รำลึกถึงชีวิตและผลงานของ ดร.บุญสนอง บุณโยทยาน และแนะนำwww.doctorboonsanong.org 
ดร.ประแสง มงคลศิริ 
เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

16:00-17:00 น. ร่วมกันรำลึกถึงดร.บุญสนอง บุณโยทาน สนทนาและแลกเปลี่ยนความทรงจำโดยผู้ร่วมอุดมการณ์
จรัล ดิษฐาภิชัย, สุธรรม แสงประทุม

(ที่มา)

ปัญหาใต้ ต้องเปิดช่องเคลื่อนไหวสันติ

ปัญหาใต้ ต้องเปิดช่องเคลื่อนไหวสันติ

 

"Southern Criminals or People's Fighters"
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=3ZfXltWjZd0#! 

เสวนา มะรอโซ จันทรวดี 21 2 2013
http://www.youtube.com/watch?v=Wn5uZwz-UGc 

บทสัมภาษณ์ผู้เสวนา มะรอโซ.03.mpg
http://www.youtube.com/watch?v=7zxqIdGHBSE

บทสัมภาษณ์ผู้ร่วมเสวนา นายวัฒนะ วรรณ องค์กรเลี้ยวซ้าย
http://www.youtube.com/watch?v=cwj5pBB37O4


มะรอโซ / โบ๊ท บางนา 
http://www.youtube.com/watch?v=GNrP64dpTS4

lagu"Ayuhai Pemuda" new version
http://www.youtube.com/watch?v=TZcboYOazVE 


วง เสวนา มุมมองของชาวมลายูมุสลิมในพื้นที่ภาคใต้ และองค์กรภาคประชาชน เสนอให้รัฐเปิดพื้นที่แสดงออกในทางสันติวิธีให้ประชาชนมากขึ้น เพื่อไม่ให้มีผู้ก่อการรุ่นใหม่เกิดขึ้นอีก 

สภานักศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย หรือ สนนท. และมูลนิธิพัฒนาศักยภาพชุมชน ได้จัดงานเสวนาในหัวข้อ "มะรอโซ จันทรวดี (และพรรคพวก) กบฏสยาม หรือวีรบุรุษนักรบปาตานี" โดยเป็นการเสวนาเกี่ยวกับเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาค ใต้ ในมุมมองของนักศึกษาชาวมลายูมุสลิมและองค์กรภาคประชาชน โดยเฉพาะในกรณีเหตุการณ์โจมตีค่ายนาวิกโยธินครั้งล่าสุด จนเป็นเหตุให้มีผู้ก่อการเสียชีวิตถึง 16 ราย โดยพยายามทำความเข้าใจมูลเหตุของความไม่สงบ และการกำเนิดขึ้นของผู้ก่อการในพื้นที่ 

นายอาเต็ฟ โซ๊ะโก จากสถาบันเยาวชนเพื่อสันติภาพและการพัฒนา กล่าวว่า เหตุการณ์ครั้งล่าสุดนี้ สะท้อนให้เห็นว่าพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีขบวนการที่ต้องการแบ่งแยกดินแดนปัตตานีออกจากรัฐไทยดำรงอยู่จริง 

ส่วนนางสาวชลิดา ทาเจริญศักดิ์ มูลนิธิพัฒนาศักยภาพชุมชน มองว่าประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาของความไม่สงบในพื้นที่ เคยมีความพยายามต่อสู้ด้วยสันติ ของ " ฮะญีสุหลง " ซึ่งนำเสนอในลักษณะของความเป็นวิชาการและปัญญาชน ดังนั้น การเปิดพื้นที่ให้ผู้เห็นต่างสามารถเคลื่อนไหวแสดงความเห็นได้โดยสันติ และการให้ประชาสังคมมีส่วนร่วม จึงน่าจะเป็นหนทางที่ดีที่สุด 

ทางด้านนายวัฒนะ วรรณ สมาชิกองค์กรเลี้ยวซ้าย กล่าวว่าเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น เกิดจากการที่รัฐไทยมีวิธีจัดการปัญหา ที่ไม่เปิดทางเลือกให้ผู้เห็นต่างจากรัฐสามารถเคลื่อนไหวโดยสันติ ซึ่งเมื่อไม่มีทางเลือกที่สันติ การก่อเหตุจึงเป็นหนึ่งในปฏิกิริยาปกติเมื่อรัฐเลือกใช้ความรุนแรง 

(ที่มา)
http://news.voicetv.co.th/thailand/63754.html

ศาลฯให้บ.ประกันภัยจ่ายสินไหมเหตุไฟไหม้เซ็นทรัลเวิลด์รวมกว่า 3,708 ล้านบาท

ศาลฯให้บ.ประกันภัยจ่ายสินไหมเหตุไฟไหม้เซ็นทรัลเวิลด์รวมกว่า 3,708 ล้านบาท


 
 
ด่วน!!! ศาลแพ่งพิพากษาให้เทเวศประกันภัยต้องรับผิดชอบตามกรมธรรม์ ให้แก่ห้างเซ็นทรัลเวิลด์ เนื่องจากไม่ใช่เป็นการก่อการร้าย

รายงานข่าวเปิดเผยว่า วันนี้ (1 มี.ค. )ศาลแพ่งพิพากษาให้เทเวศประกันภัยต้องรับผิดชอบตามกรมธรรม์ ให้แก่ห้างเซ็นทรัลเวิลด์ จากเหตุเพลิงไหม้ระหว่างการชุมนุมของคนเสื้อแดงในวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 เนื่องจากไม่ใช่เป็นการก่อการร้ายหรือกรณีอื่นที่อยู่ในข้อยกเว้นของกรมธรรม์ โดยเทเทเวศประกันภัยจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายต่อทรัพย์สินจำนวน 2,719,734,979.29 บาท และความเสียหายต่อธุรกิจหยุดชะงักจำนวน 989,848,850.01 บาท พร้อมอัตราดอกเบี้ยร้อยละ7.5 ต่อปีนับจากวันที่ 31 มีนาคม 2554 จนกว่าจะชำระครบถ้วน พร้อมทั้งค่าทนายความอีก 60,000 บาท ซึ่งรวมแล้วกว่า 3.7 พันล้านบาท

(ที่มา)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1362127701&grpid=03&catid=03