หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2556

ทำไมพวกเราที่อังกฤษฉลองวันตายของทรราชแทชเชอร์

แดงสังคมนิยม

ทำไมพวกเราที่อังกฤษฉลองวันตายของทรราชแทชเชอร์


โดย อ.ใจ อึ๊งภากรณ์

พวก เราชาวสหภาพแรงงานและฝ่ายซ้าย รวมถึงกรรมาชีพธรรมดาๆ ในอังกฤษ รอวันตายของทรราช “แม่มดชั่วแทชเชอร์” อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษมานาน ในวันตายของเขาและวันต่อๆ มา มีการจัดงานฉลองกันในเมืองต่างๆ และในประเทศอื่นเช่นออสเตรเลีย และหลายประเทศของยุโรปเช่นไอร์แลนด์ ก็มีคนที่ดีใจจำนวนมาก นอกจากนี้เพลง “แม่มดชั่วตายแล้ว” จากภาพยนต์เด็กสมัยก่อนขึ้นมาเป็นเพลงยอดนิยมอันดับหนึ่งในอังกฤษ ทำไม?



แทชเชอร์ช่วงชิงการนำในพรรคนายทุน(พรรคคอนเซอร์เวทิฟ) หลังจากที่นายกรัฐบมนตรี เอดเวอร์ด ฮีธ จากพรรคเดียวกันพ่ายแพ้การเผชิญหน้ากับสหภาพเหมืองถ่านหินในปี 1972 ก่อน หน้านั้นแทชเชอร์ขึ้นชื่อว่าเป็น “แทชเชอร์ขโมยนมเด็ก” ในขณะที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีการศึกษา เพราะไปตัดนมฟรีที่เด็กอังกฤษเคยได้ในโรงเรียนภายใต้รัฐสวัสดิการ


แทชเชอร์เป็นนักการเมืองขวาจัดที่คลั่งกลไกตลาดเสรี เขามองว่าภารกิจอันยิ่งใหญ่ของเขาคือการทำลายอำนาจต่อรองของสหภาพแรงงาน และการทำลายรัฐสวัสดิการ ก่อนที่จะชนะการเลือกตั้งในปี 1979 เขา ออกมาปลุกกระแสเหยียดคนต่างชาติ โดยพูดทำนองว่าคนอังกฤษรู้สึกถูกคลื่นคนต่างชาติท่วมบ้านเมือง คำพูดแบบนี้จากนักการเมืองย่อมนำไปสู่การที่คนผิวดำโดนทำร้ายฆ่าตามถนน และทำให้พวกฟาสซิสต์มั่นใจมากขึ้น ผมเองก็เป็น “คนต่างชาติ” ในอังกฤษ เพราะพ่อเป็นคนไทยและผมเกิดที่กรุงเทพฯ


แทชเชอร์เป็นนักการเมืองที่คลั่งสงคราม คู่หูหลักของเขาคือประธานาธิบดี รอนัลด์ เรแกน ของสหรัฐที่พยายามสร้างสถานการณ์ความขัดแย้งอย่างหนักกับรัสเซีย โดยการเร่งสร้างอาวุธใหม่ๆ ซึ่งเสี่ยงกับการก่อสงครามนิวเคลียร์ ช่วงนั้นเป็นช่วงที่สหรัฐนำอาวุธนิวเคลียร์รุ่นใหม่มาไว้ในฐานทัพอเมริกาที่ อังกฤษ หลายคนจึงมองว่าอังกฤษกลายเป็นแค่เรือบรรทุกเครื่องบินรบของสหรัฐ ผมก็เคยไปประท้วงมราฐานทัพทหารสหรัฐในยุคนั้น
 

ในปี 1982 เมื่อเผด็จการทหารอาเจนทีนา ส่งทหารไปบุกหมู่เกาะมัลวีนาส ใกล้ๆ อาเจนทีนา เพื่อปลุกกระแสชาตินิยมและให้ความชอบธรรมกับเผด็จการ แทชเชอร์มองว่า “ยอมไม่ได้” ทั้งๆ ที่อังกฤษขายอาวุธเป็นประจำให้เผด็จการทหารทั่วโลก แทชเชอร์จึงส่งกองทัพไป “กู้” หมู่เกาะที่ชนชั้นปกครองอังกฤษมองว่า “เป็นของอังกฤษ” ทั้งๆ ที่อยู่คนละขั้วโลกกัน ในสงครามครั้งนั้น แทชเชอร์ไม่ยอมเจรจาสันติภาพ และจงใจยิงเรือรบ “เบล์กรานโน” ร่มไปทั้งๆ ที่เรือรบลำนั้นหันกลับ ไม่ได้มุ่งหน้าไปสู่หมู่เกาะมัลวีนาสอย่างที่แทชเชอร์โกหกในรัฐสภา เมื่อเรือลำนี้จม หนุ่มอาเจนทีนาวัย 17 ที่ถูกเกณฑ์เป็นทหาร จมน้ำตายเป็นร้อยๆ และแทชเชอร์ก็แสดงความดีใจ


ชนชั้นปกครองอังกฤษไม่เคยแคร์อะไรกับชาวบ้าน “อังกฤษ” ที่อาศัยบนหมู่เกาะเหล่านั้น เพราะทุกวันนี้เขาไม่มีสิทธิเป็นพลเมืองอังกฤษเต็มตัวและไม่มีสิทธิ์ย้าย บ้านมาอยู่อังกฤษ สงครามนั้นทำเพื่อหนุนคะแนนเสียงของแทชเชอร์ และ “พิสูจน์ความยิ่งใหญ่” ของชนชั้นปกครองอังกฤษเท่านั้น
 

เมื่อแทชเชอร์ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีอังกฤษ เขากับคณะรัฐมนตรีร่วมกันวางแผนเพื่อที่จะเผชิญหน้ากับขบวนการแรงงาน โดยมีความหวังว่าจะตัดค่าจ้างกรรมาชีพอังกฤษถึง 20% เพื่อ เพิ่มอัตรากำไรของกลุ่มทุนอังกฤษ มีการสร้างสถานการณ์เพื่อแบ่งแยกและจัดการกับสหภาพแรงงานทีละแห่ง คือยอมบางส่วนไปก่อน และเลือกรบเมื่อมีโอกาส สงครามทางชนชั้นครั้งยิ่งใหญ่เกิดขึ้นในปี 1984 เมื่อ แทชเชอร์จงใจประกาศปิดเหมืองแร่ถ่านหินจำนวนมาก ทั้งๆ ที่ยังมีถ่านหินใต้ดินมากมาย ข้ออ้างที่ใช้คือเรื่องของการสร้างกำไรที่ไม่พอ แต่เป้าหมายจริงคือการทำลายสหภาพแรงงานที่เข้มแข็งที่สุด ในชุมชนเหมืองแร่ทางเหนือ มีการส่งตำรวจเข้าไปยึดครองพื้นที่เสมือนภาวะสงคราม และมีการใช้ตำรวจม้าทำลายการชุมนุมของคนงานด้วยความรุนแรงสุดขั้ว