หน้าเว็บ

วันพุธที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2557

วิกฤตยูเครนคงไม่จบง่ายๆ

วิกฤตยูเครนคงไม่จบง่ายๆ


 

หลังจากที่ประธานาธิบดี แยนูโควิช ถูกรัฐสภาปลดออกจากตำแหน่ง และหลบหนีออกจากเมืองหลวง นักการเมืองฝ่ายค้านก็พยายามสร้างรัฐบาลใหม่ แต่ฝ่ายค้านมีความคิดหลากหลายและแตกแยก ที่พอตกลงกันได้คือไม่เอารัฐบาลเก่าและ ประธานาธิบดี แยนูโควิช

แยนูโควิช ต้องลาออกหลังจากที่พวกนักการเมืองมาเฟียที่เคยสนับสนุนเขา มองว่าเขาเป็นภาระ เลยต้องทิ้งให้เป็นแพะรับบาปไป ความพยายาม และความล้มเหลว ของ แยนูโควิช ที่จะปราบมวลชนในจัตุรัสกลางเมืองด้วยความรุนแรง เป็นสาเหตุสำคัญ

ความแตกแยกในยูเครน มาจากการที่ฝ่ายค้านอยากเข้าใกล้ประชาคมยุโรปหรือ “อียู” โดยฝ่ายรัฐบาลอยากมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับรัสเซียแทน มหาอำนาจตะวันตกก็คอยสนับสนุนฝ่ายค้าน และประธานาธิบดี ปูติน ของรัสเซียก็เคยสนับสนุน แยนูโควิช การเมืองภายในยูแครนมีอิทธิพลของพวกนายทุนมาเฟียอีกด้วย

ยูเครนเคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียด และเป็นพื้นที่ที่ถูกกดขี่อย่างหนักสมัยสตาลิน ยูเครนมีสินค้าเกษตรมากมาย ซึ่งเป็นที่ต้องการของรัสเซียสมัยสตาลิน

จริงๆ แล้วยูเครนมีวัฒนธรรมที่หลากหลาย ทางด้านตะวันตกเคยเป็นประเทศเดียวกับโปแลนด์และออสเตรีย ทางด้านตะวันออกมีคนเชื้อสายรัสเซียจำนวนมาก ยิ่งกว่านั้นเมืองหนึ่งทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศเป็นฐานทัพเรือสำคัญของ รัสเซียจนถึงทุกวันนี้ ดังนั้นยูเครนอาจแตกแยกเป็นสองประเทศในอนาคต

รัสเซียคงอยากปกป้องอิทธิพลในยูเครน โดยเฉพาะในส่วนตะวันออก และอาวุธที่สำคัญในการกดดันนักการเมืองยูเครน นอกจากกองทัพแล้ว คือการที่รัสเซียเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติที่ป้อนยูโรปรวมถึงยูเครน ถ้ามีการขึ้นราคาก็จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจยูเครนที่อ่อนแอและติดหนี้มหาศาลอยู่แล้ว 

การที่นักการเมืองในรัฐบาลใหม่หันไปขอความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจจากอียูและไอเอ็มเอฟ อาจสร้างวิกฤตรอบใหม่ เพราะไอเอ็มเอฟแจ้งว่าถ้าจะปล่อยกู้ให้ยูเครน ต้องมีการตัดเงินที่รัฐใช้ในการช่วยประชาชน ซึ่งคาดว่าจะทำให้เชื้อเพลิงแพงขึ้นเท่าตัว และสร้างความโกรธแค้นไม่พอใจในหมู่ประชาชนซึ่งยังชุมนุมกันที่จัตุรัสเพื่อตรวจสอบรัฐบาลใหม่ ในขณะเดียวกันกองกำลังฟาสซิสต์ก็ระดมคนบนท้องถนน เราคงต้องจับตาดูบทบาทของขบวนการแรงงานในอนาคตด้วย

(ที่มา)
http://turnleftthai.blogspot.dk/2014/02/blog-post_2028.html       

บทบาท กองทัพ การชุมนุม ของ สุเทพ ร่วมด้วย ช่วยกัน

บทบาท กองทัพ การชุมนุม ของ สุเทพ ร่วมด้วย ช่วยกัน


 

อาจมิได้เป็นครั้งแรกที่มีการจับกุมรถขนอาวุธและยุทธภัณฑ์อันมาจากลพบุรี อาจมิได้เป็นครั้งแรกที่มีการจับกุมทหาร ประจำการ อย่างคาหนังคาเขา

เพราะก่อนหน้านี้ก็เคยจับได้ หน่วยซีล

ไม่เพียงแต่จะมีนายทหารพระธรรมนูญจากกองทัพเรือมารับตัว อันเท่ากับยืนยันอย่างเป็นทางการถึงต้นสังกัดของ หน่วยซีล

เช่นเดียวกับ ทหารจาก ร.31 พัน 2 รอ.สดๆ ร้อนๆ

ยิ่งกว่านั้น กล่าวสำหรับการขนอาวุธจากลพบุรีแล้วถูกตำรวจตรวจจับได้ก็เคยมีอย่างมหึมามโหฬารมาแล้วที่ปทุมธานี

เพียงแต่ตอนนั้นเป็นพลเรือน มิได้เป็น ทหาร

ความสัมพันธ์ระหว่างกำลังพลของ กองทัพ กับการเคลื่อนไหวของกปปส.จึงเท่ากับได้รับการยืนยันอย่างเป็นรูปธรรมโดยกระบวนการของ ตำรวจ

ที่ว่า สันติ อหิงสา จึงเสมอเพียง น้ำยาบ้วนปาก

"วิสามัญฆาตกรรม" พรบ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท

"วิสามัญฆาตกรรม" พรบ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท


 
โดย อ.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์


พวกเราส่วนมากก็คาดการณ์ล่วงหน้าอยู่แล้วว่า ศาลรธน. ต้อง "วิสามัญฆาตกรรม" พรบ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทแน่นอน แต่ถึงกระนั้น พวกเราหลายคนก็ยังอดโกรธแค้นไม่ได้เพราะคราวนี้ไม่ใช่แค่พวกเผด็จการเล่นงานรัฐบาล แต่พวกเขากำลังทำลายอนาคตของประเทศและของลูกหลานที่จะได้เจริญก้าวหน้าให้ทันโลกอารยะ

ประเทศรอบบ้าน ทั้งเวียดนาม ลาว และพม่า ก็กำลังเริ่มสร้างรถไฟความเร็วสูงกันแล้ว ต่อไปประเทศที่ล้าหลังที่สุดในอาเซียนก็คือ ประเทศไทย คนไทยอยากนั่งรถไฟความเร็วสูง ก็คงต้องไปนั่งที่พม่า ลาว และเวียดนามก็แล้วกัน

เขาต้อง "ฆาตกรรม" โครงการ 2 ล้านล้านบาท ไม่ใช่แค่เพราะเป็นโครงการที่ริเริ่มโดยรัฐบาลเพื่อไทย แต่นี่เป็นแนวคิดคุมกำเนิดความเจริญของประเทศที่ตกทอดมาตั้งแต่ยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ถึงปัจจุบัน คือความเชื่อของพวก "เจ้านาย" ที่ว่า ต้องควบคุมการพัฒนาและความเจริญของประเทศให้อยู่ในวงจำกัด เพราะการพัฒนาและเจริญมากเกินไป เป็นอันตรายต่อการปกครองและอำนาจในระบอบเก่าของเขา

เขาพลาดไปแล้วครั้งหนึ่งที่เผลอปล่อยให้นายกฯทักษิณสร้างสนามบินสุวรรณภูมิได้สำเร็จ ทำให้ผู้คนยังจำได้ถึงวันนี้ว่า สนามบินสุวรรณภูมิคือสนามบินที่สร้างโดยทักษิณ เป็นผลงานชิ้นโบว์แดงของทักษิณที่ไว้ให้กับประเทศไทย แม้พวกเผด็จการจะพยายามใส่ร้าย ป้ายสีสนามบิน หาว่ามีทุจริต รันเวย์ทรุด ฯลฯ สารพัดเรื่องโกหก ถึงวันนี้ ก็พิสูจน์แล้วว่า ไม่จริงสักเรื่อง แถมสนามบินก็ยังได้รางวัลสนามบินดีเด่นระดับโลกหลายปีติดต่อกัน กลายเป็น "หนามยอกอก" พวกเผด็จการอยู่ทุกวันนี้

เขาจะไม่ผิดพลาดซ้ำเหมือนสนามบินสุวรรณภูมิ จึงต้องล้มโครงการ 2 ล้านล้านบาท ตามมาด้วยการล้มรัฐบาล เพราะขืนปล่อยให้อยู่ทำจนสำเร็จ ประเทศไทยจะเจริญจนหลุดพ้นจากการควบคุมของพวกเขา สถานะของเขาจะยิ่งเสื่อมทรุดยิ่งกว่าตอนทำสนามบินสุวรรณภูมิสำเร็จเสียอีก!


(ที่มา)www.facebook.com/pichitlk

กปปส.บุกตัดไฟ ก.พาณิชย์ การค้าภายในยุติประมูลข้าว 2.4แสนตัน

กปปส.บุกตัดไฟ ก.พาณิชย์ การค้าภายในยุติประมูลข้าว 2.4แสนตัน




 

กปปส.บุกตัดไฟ ก.พาณิชย์ การค้าภายในยุติประมูลข้าว 2.4แสนตัน
http://prachatai.com/journal/2014/03/52234

"ช่วยชาวนา? แต่ล้มประมูลข้าว นี่มันจะช่วยชาวนาหรือฆ่าชาวนากันแน่

ตอนกู้เงิน ก็ขัดขวางไม่ให้กู้ บอกให้เอาข้าวมาขาย พอจะขายข้าว ก็เอาม็อบไปขวาง ทำให้ประมูลไม่ได้

ต้องเอานายกฯ คนกลางเท่านั้นมาจ่ายเงินชาวนา ระหว่างนี้ฆ่าตัวตายไปก่อน

ป.ล.นึกถึงกรณีที่นายเตชะ ทับทอง ตัวแทนทำดีเพื่อพ่อไรนั่น เรี่ยไรตังค์ ข้าวของ ไปช่วยชาวนาที่กระทรวงพาณิชย์ แล้วพอชาวนากลับบ้าน ขนของบริจาคกลับด้วย คนดีโกรธจนลมออกหู"

"โภคิน พลกุล" - พรบ.กู้เงิน 2ล้านล. ขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา169 หรือไม่ ?

"โภคิน พลกุล" - พรบ.กู้เงิน 2ล้านล. ขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา169 หรือไม่ ?

 

 

นายโภคิน พลกุล อดีตประธานรัฐสภา ได้เขียนบทความ "ร่าง พระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ.... ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่" เสนอมุมมองทางกฏหมาย โต้แย้งกรณีพรรคประชาธิปัตย์ที่ระบุว่าร่างกม.ดังกล่าวขัดรัฐธรรมนูญ

ร่าง พระราชบัญญัติให้อำนาจฯ หรือที่เรียกกันแบบง่ายๆ ว่า ร่างกฎหมายกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทนั้น มีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ "ให้กระทรวงการคลังโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีมีอำนาจกู้เงินบาทหรือเงินตราต่าง ประเทศในนามรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อนำไปใช้จ่ายในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ ทั้งนี้ ตามยุทธศาสตร์และแผนงาน และภายในวงเงินที่กำหนดไว้ในบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้" (มาตรา 5) ทั้งนี้ เพื่อรองรับการขยายตัวของเมืองและการเพิ่มขึ้นของประชากรที่เกิดขึ้นอย่าง รวดเร็ว การขยายตัวด้านการค้า การลงทุน และเพื่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน รัฐบาลจึงต้องการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนทั้งในพื้นที่ชนบท พื้นที่เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญ รวมทั้งเป็นการเชื่อมโยงฐานการผลิตกับฐานการส่งออกระหว่างภาคต่างๆ ของประเทศ และประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านการคมนาคมขนส่งในระดับภูมิภาค เป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและลดต้นทุนค่าขนส่ง ซึ่งการจะดำเนินการที่กล่าวมาได้จำเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศไทยจะต้องมีแหล่ง เงินแน่นอนที่จะนำมาใช้จ่ายอย่างต่อเนื่อง โดยมีการวางแผนการเงินระยะยาวที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของประเทศและเสริม สร้างความมั่นใจของภาคเอกชนในการจัดทำแผนการลงทุนของตนเองควบคู่ไปกับแนวทาง การลงทุนของรัฐที่กล่าวมา

การลงทุนในวงเงินไม่เกิน 2 ล้านล้านบาทนั้น จะสิ้นสุดกำหนดเวลากู้เงินไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2563 นั่นก็คือถ้าร่างกฎหมายดังกล่าวบังคับใช้เป็นกฎหมายได้ภายใน พ.ศ.2556 และเริ่มดำเนินการได้ใน พ.ศ.2557 การกู้เงินจะใช้ช่วงเวลาประมาณ 7 ปี ซึ่งคิดเฉลี่ยเป็นการกู้ปีละประมาณ 2.85 แสนล้านบาท ในขณะที่งบประมาณรายจ่ายของประเทศใน พ.ศ.2554 เท่ากับ 2,169,967.5 ล้านบาท พ.ศ.2555 เท่ากับ 2,380,000 ล้านบาท พ.ศ.2556 เท่ากับ 2,400,000 ล้านบาท และ พ.ศ.2557 ซึ่งจะเริ่มในเดือนตุลาคม พ.ศ.2556 เท่ากับ 2,525,000 ล้านบาท 

(อ่านต่อ)

มติเอกฉันท์ ตลก.ศาลรธน.ฟัน ‘พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน’ ขัดรัฐธรรมนูญ

มติเอกฉันท์ ตลก.ศาลรธน.ฟัน ‘พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน’ ขัดรัฐธรรมนูญ



Photo  

12 มี.ค.2557 ประชาชาติธุรกิจออนไลน์รายงาน เบื้องต้น ถึงการประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ โดยมีการพิจารณาลงมติในคำร้องที่ประธานรัฐสภาส่งความเห็นของสมาชิกรัฐสภา พรรคประชาธิปัตย์ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 154 วรรคหนึ่ง(1) ว่า ร่างพ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้าน คมนาคมขนส่งของประเทศ มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 169 วรรคหนึ่ง และมาตรา 170 หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญหรือไม่

ทั้งนี้ เบื้องต้นมีรายงานว่า ที่ประชุมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างมากวินิจฉัยว่ากระบวนการพิจารณา กฎหมายไม่ถูกต้อง โดยมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน ขัดรัฐธรรมนูญ

โดยก่อนหน้านี้พรรคเพื่อไทยวิเคราะห์คำวินิจฉัยอาจจะออกมาใน 3 แนวทางใดแนวทางหนึ่งดังนี้ 1.ศาลอาจจะเห็นว่าการตราร่าง พ.ร.บ.ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ 2.ศาลอาจจะวินิจฉัยว่ามีเนื้อหาขัดต่อรัฐธรรมนูญ แต่ไม่ได้ขัดในประเด็นที่สำคัญ จึงทำให้กฏหมายตกไป แต่ยังมีผลบังคับใช้อยู่ 3.ศาลอาจวินิจฉัยว่า ร่าง พ.ร.บ.ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งอาจจะมีคำถามเกี่ยวกับความรับผิดชอบทางการเมืองของรัฐบาล