หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ทางเลือกของเราที่จะข้ามพ้นความบ้าบอของระบบกลไกตลาด

ทางเลือกของเราที่จะข้ามพ้นความบ้าบอของระบบกลไกตลาด 

 

 

หากผลผลิตออกมามีมากจนขายทำกำไรไม่ได้ เทคนิคการผลิตที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิมจะส่งผลให้มีการปลดคนงานและมี ความทุกข์ แทนที่มันจะช่วยให้ลดเวลาที่ต้องทำงานหนักลง หรือแทนที่มันจะช่วยเพิ่มมาตรฐานของชีวิตให้กับทุกคน

โดย อีริก รูเดอร์ : ทำให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ของนักสังคมนิยม ในเรื่องการวางแผนทางเศรษฐกิจ 
แปลโดย ครรชิต พัฒนโภคะ
ที่มา http://socialistworker.org/2012/08/30/our-alternative-to-market-madness


เศรษฐกิจโลกทุกวันนี้ ยังคงได้รับผลกระทบหลายอย่างจากวิกฤตล่าสุด ซึ่งร้ายแรงที่สุดนับตั้งแต่สมัยวิกฤต ในช่วงทศวรรษที่ 1930 เป็นต้นมา มันสร้างความเสียหายต่อเนื่องกระทบไปทั่วโลก การจ้างงานหายไป การเอาเปรียบแรงงานเข้มข้นมากขึ้น สำหรับคนที่ยังมีงานทำอยู่ สวัสดิการสังคม สาธารณูปโภคถูกจำกัดลดลง หรือไม่ก็ถูกแปรรูปการให้บริการไปเป็น บริษัทเอกชน

ขณะเดียวกัน ธนาคารและบริษัทต่างๆ กำลังเพลินกับตัวเลขสถิติผลประกอบการเป็นเงินสด ๒ ล้านล้านดอลล่าร์ ในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ ผลการลงทุนมีกำไร และบ่อยๆ ครั้งที่ได้กำไรสูงทำลายสถิติ ส่วนเรื่องอัตราการเสียภาษีของบริษัท และผู้ประกอบการระดับเศรษฐีก็ทำสถิติเช่นเดียวกัน แต่เป็นอัตราต่ำตั้งแต่สมัยพระเจ้าเหา และนี่เกิดขึ้นในสมัยของรัฐบาลพรรคเดโมแครต ที่สัญญาว่าจะทำให้พวกคนรวยเสียภาษีที่เป็นธรรม

ขอต้อนรับสู่ระบบทุนนิยมในศตวรรษที่ ๒๑ ในโลกที่กลับตาลปัด ที่ความยากจนกระจายออกสู่คนหมู่มาก และความร่ำรวยอย่างเหลือเชื่อกลับกระจุกตัวในคนกลุ่มน้อย มาอยู่เคียงข้างกัน แต่มันไม่เหมือนกันกับในสมัยก่อน ในสังคมไพร่กับศักดินาที่การทำงานต่างๆ ยังไม่มีประสิทธิภาพ และทำให้ เสื้อผ้า อาหาร ที่อยู่อาศัย มีไม่เพียงพอสำหรับทุกๆ คนในสังคม วิกฤตของทุกวันนี้ เป็นผลมาจากความอุดมสมบูรณ์ที่มีมากจนล้นของสินค้าที่ผลิตออกมา ไม่ใช่ว่าจะขาดแคลน 

ขอยกตัวอย่างในสหรัฐอเมริกามีพื้นที่ว่างๆ ที่สามารถจะนำไปทำการค้า การอุตสาหกรรม หรือโรงงานได้ ประมาณหลายร้อยล้านตารางฟุต นับจนถึงเดือนกรกฎาคม การนำที่ดินมาทำประโยชน์ทางอุตสาหกรรม อยู่ที่ ๗๙.๓ เปอร์เซ็นต์ ต่ำกว่ามาตรฐานที่บันทึกไว้ แต่ก็ยังดีกว่าจุดต่ำที่ ๖๖.๘ เปอร์เซ็นต์ ในปี ๒๕๕๒ ที่เริ่มเกิดวิกฤตการเงิน 

ในช่วงเศรษฐกิจขาขึ้นของจีน การผลิตสินค้าออกมามากเกินไปนั้นกลับสร้างปัญหามากขึ้น อย่างที่ นสพ.นิวยอร์คไทม์ รายงานไว้ว่า.... 

“หลัง ๓ ทศวรรษของการเติบโตอย่างไม่ลืมหูลืมตา จีนกำลังพบกับปัญหาที่ไม่คุ้นเคย เกี่ยวกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจหลังเปิดประเทศ การเพิ่มจำนวนอย่างมากของสินค้าที่ขายไม่ออกจนไม่มีที่เก็บ ปริมาณที่มากเกินไปของผลผลิตทุกอย่าง ตั้งแต่ พวกโลหะ และของใช้ในบ้าน ไปจนถึงรถยนต์ และอพาร์ทเม้นท์ ทำให้ความพยายามของจีนที่จะฟื้นตัวให้ได้จากภาวะเศรษฐกิจที่กำลังหดตัวลง นั้น ต้องมีอันชะงักไปอีก มันยังส่งผลให้เกิดสงครามราคาในตลาดโลก และชักนำให้ผู้ผลิตทั้งหลาย พากันเพิ่มความพยายามขึ้นอีกเท่าตัว ในการส่งออกสินค้าที่ล้นตลาดและขายไม่ได้ในประเทศ” 

นวัตกรรมใหม่ๆ ทางเทคโนโลยี่ ซึ่งได้สร้างผลผลิตขึ้นอย่างมหาศาล อย่างไม่น่าเชื่อในระบบทุนนิยม สายการประกอบชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์ การใช้หุ่นยนตร์ สามารถจะช่วยให้มนุษย์พ้นไปจากความยากจน ความหิว และความต้องการต่างๆ ได้อย่างถาวร

แต่ในสังคมนายทุน ปัญหาว่าจะผลิตอะไรและเท่าไหร่ไม่ได้ตัดสินกันบนพื้นฐานว่า ผู้คนทั้งหลายต้องการอะไรบ้าง เพื่อการเอาชีวิตให้อยู่รอด มันตัดสินกันที่ว่าอะไรจะทำกำไรได้ให้กับเจ้าของสำนักงาน โรงงาน และกับสถานที่ทำการก่อสร้าง 

บ้านเมืองไม่ใช่ของเรา: ดูการเมืองอเมริกันอย่างไรให้มันส์ ตอนที่ 4 (ตอนจบ)

บ้านเมืองไม่ใช่ของเรา: ดูการเมืองอเมริกันอย่างไรให้มันส์ ตอนที่ 4 (ตอนจบ)

 
 
การเมืองอเมริกัน ตอน 4 (จบ)


ประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ ต้องผ่านสภาตาม ม. 190 หรือไม่

ประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ ต้องผ่านสภาตาม ม. 190 หรือไม่

 

ชื่อ บทความเดิม
การทำคำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศตามข้อ 12(3) ต้องผ่านสภาตามมาตรา 190 วรรคสองแห่งรัฐธรรมนูญหรือไม่



ข้อความเบื้องต้น
ประเด็นเรื่องการทำคำแถลงยอมรับ เขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ (ไม่ใช่ประเด็นเรื่องการให้สัตยาบันธรรมนูญกรุงโรม) ตามข้อที่ 12 (3) นั้นกำลังเป็นประเด็นสำคัญขึ้นมาอีกครั้งหลังจากที่นางฟาทู เบนซูดา (Fatou Bensouda) อัยการของศาลอาญาระหว่างประเทศ มาเยือนประเทศไทยและเข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศนั้น เชื่อแน่ว่าจะต้องเกิดคำถามตามมาว่า การทำคำแถลงหรือคำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศดังกล่าวเป็น หนังสือสัญญาตามมาตรา 190 วรรคสองแห่งรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2550 หรือไม่อันจะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาเสียก่อน  สำหรับประเด็นดังกล่าวผู้เขียนมีความเห็นทางกฎหมายดังต่อไปนี้


1. มาตรา 190 แห่งรัฐธรรมนูญนั้นเป็นมาตราที่เกี่ยวกับการทำหนังสือสัญญาหรือสนธิสัญญา ซึ่งตามอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ค.ศ 1969 เป็น “ความตกลงระหว่างประเทศ” (international agreement) ส่วนการทำ “คำประกาศ” (Declaration) ยอมรับเขตอำนาจศาลของศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC) ตามข้อที่ 12(3) นั้นเป็นการกระทำฝ่ายเดียวของรัฐ (unilateral act) แม้ในข้อที่ 12 (3) จะมิได้ระบุอย่างชัดเจนว่าเป็นการกระทำฝ่ายเดียวก็ตาม แต่โดยลักษณะของคำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลนี้ย่อมเป็นการกระทำฝ่ายเดียวของ รัฐอยู่ในตัวแล้ว คำตอบยืนยันว่าคำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลโลกเป็นการกระทำฝ่ายเดียวปรากฎอยู่ ในคดี Fisheries case ระหว่างประเทศ Spain กับประเทศ Canada ศาลโลกเห็นว่า คำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลโลกตามมาตรา 36 วรรค 2 แห่งธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเป็นการกระทำฝ่ายเดียว โดยศาลย้ำอย่างชัดเจนว่า “a declaration of acceptance of the compulsory jurisdiction of the Court, whether there are specified limits set to that acceptance or not, is a unilateral act of State sovereignty.” [1] และศาลโลกกล่าวอีกว่า “since a declaration under Article 36, paragraph 2, of the Statute, is a unilaterally drafted instrument, [2]
ฉะนั้น ถ้าหากการทำคำประกาศยอมรับเขตอำนาจ “ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ” (International Court of Justice: I.C.J) เป็นการกระทำฝ่ายเดียว การทำคำประกาศยอมรับเขตอำนาจ “ศาลอาญาระหว่างประเทศ” (International Criminal Court: I.C.C) ก็ต้องมีลักษณะเป็นการกระทำฝ่ายเดียวของรัฐเหมือนกันเพราะต่างก็เป็นศาล ระหว่างประเทศเหมือนกันและทั้งสองศาลก็ยอมรับการทำ “คำประกาศ” ว่าเป็นวิธีการยอมรับเขตอำนาจศาล เหมือนกันด้วย [3] ผู้ เขียนยังมองไม่เห็นเหตุผลทางกฎหมายที่จะมาอธิบายว่าคำประกาศยอมรับเขตอำนาจ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลกเป็น “การกระทำฝ่ายเดียว” แต่พอคำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศกลายเป็น “สนธิสัญญา”

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/11/43468

รายการ Wake up Thailnad ประจำวันที่ 2 พฤศจิกายน 2555

รายการ Wake up Thailnad ประจำวันที่ 2 พฤศจิกายน 2555 



แรงเงาหรือจะเท่าแรงเงิน

(คลิกฟัง)

The Daily Dose ประจำวันที่ 2 พฤศจิกายน 2555

The Daily Dose ประจำวันที่ 2 พฤศจิกายน 2555


ธนาคารยุโรปรับผิดชอบตนเอง


รัฐ Swing มีทั้งหมด 44 คะเเนนเเบบ Electoral 

(คลิกฟัง)
http://www.dailymotion.com/video/xusdbp_y-y-swing

Divas Cafe ประจำวันที่ 2 พฤศจิกายน 2555

Divas Cafe ประจำวันที่ 2 พฤศจิกายน 2555



ไขปัญหาคาใจสนามฟุตซอลโลก
(คลิกฟัง) 
http://www.dailymotion.com/video/xus8n

รายงาน: นโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ไม่มีอะไรต้องเปลี่ยนแปลง

รายงาน: นโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ไม่มีอะไรต้องเปลี่ยนแปลง

 

โดย ประชา  ธรรมดา
รายงาน


คณะกรรมการค่าจ้างกลางหรือบอร์ดค่าจ้าง ได้เคยสำรวจ แรงงานในพื้นที่กรุงเทพฯและจังหวัดปริมณฑลรายรอบพบว่า   ผู้ใช้แรงงานมีรายได้ไม่พอต่อรายจ่ายตามอัตภาพ วันละ 6.8-11 บาท และไม่พอต่อรายจ่ายตามคุณภาพชีวิต วันละ 24-25 บาท ขณะที่โดยภาพรวมรายภาคนั้นแรงงานที่อยู่ในพื้นที่ภาคกลางมีรายได้น้อยกว่ารายจ่ายสูงที่สุด คือมีรายได้ไม่พอต่อรายจ่ายตามอัตภาพ วันละ 32.67 บาท และไม่พอต่อรายจ่ายตามคุณภาพชีวิต วันละ 48.81 บาท


การสำรวจผู้ใช้แรงงานทั่
วประเทศกว่า 23,194 คน ช่วง 1 เม.ย. - 31 พ.ค. 2554 เฉลี่ยค่าใช้จ่ายรายเดือนของแต่ละ คนนั้น ค่าอาหารอยู่ที่ 2,015 บาท, ค่าที่พัก 1,400 บาท, ค่าพาหนะ 649 บาท, ค่าใช้จ่ายส่วนตัว 819 บาท ซึ่งว่ากันเฉพาะค่าใช้จ่ายหลักเหล่านี้ ไม่รวมค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด-สันทนาการ รวมแล้วก็เดือนละ 4,883 บาท

รศ.ดร.แล ดิลกวิทยรัตน์ ผอ.ศูนย์พัฒนาแรงงานและการจั
ดการ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยแสดงความคิดเห็นไว้ว่า..  การสำรวจอัตราค่าครองชีพกับค่าใช้จ ่ายของแรงงานในแต่ละครั้ง ผลออกมาก็ ’ไม่เคยพอกิน" ยิ่งถ้ามีหนี้สิน กู้เงินนอกระบบมาใช้ ยิ่งมีปัญหา แรงงานต้องทำโอที-ทำงานล่วงเวลา

"ต้อง ทำโอทีอย่างน้อยวันละ 2-4 ชั่วโมง เพื่อให้ได้เงินเพิ่ม การไม่พอกินทำให้เกิดปัญหาสังคม ปัญหาครอบครัวตามมา คือไม่มีเวลากลับบ้านไปหาพ่อ-
แม่ ไม่มีเวลาอยู่กับครอบครัว ลูกเมีย หรือไม่มีเวลาไปเรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อพัฒนาทักษะ ศักยภาพ เพื่อให้ได้ขึ้นค่าแรง ก็เลยต้องทำงานแบบย่ำอยู่กับที่ ไม่ได้ไปไหนไกล"

ดังนั้น กรณี ’ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท" ที่กำลังเป็นประเด็น ถึงขึ้นได้จริง ๆ "ก็ยังคง ไม่เพียงพอกับการดำรงชีวิตอยู่
ดี ซึ่งแต่ละวันลูกจ้างต้องจ่ายค่ารถไปทำงาน บางคนไป-กลับวันละหลายต่อ ไหนจะค่าอาหาร ค่าเช่าบ้าน ค่าสังคมต่าง ๆ บางคนมีลูกมีเมียต้องดูแล ยังไงก็ไม่มีทางพอแน่นอน"

ชีวิตที่เป็นจริงของผู้ใช้
แรงงานมักต้องทำงานมากกว่าวันละแปดชั่วโมง ต้องทำโอที ต้องทำฮอลลิเดย์ ไม่มีวันหยุด ไม่มีเวลาพักผ่อน จึงไม่ได้นั่งสมาธิ จึงไม่ได้สนทนาธรรมกันที่โรงแรมหรู แต่ต้องดิ้นรนเพื่อให้มีเงินพอที่ตนเองและครอบครัวมีชีวิตอยู่รอด

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/11/43460

แรงเงาของประชาชนไทย

แรงเงาของประชาชนไทย







ผมเป็นคนชอบงานเขียนของนันทนา วีระชน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะนันทนาได้รับอิทธิพลจากสตรีนิยมหลัง ๑๔ ตุลามาไม่น้อย ในนวนิยายของนันทนาหลายเรื่องจะเน้นบทบาทความเด่นของตัวละครสตรี ที่มีความกล้าต่อสู้และท้าทายสังคม โดยเฉพาะการตอบโต้กับผู้ชายชั่วที่เอาเปรียบผู้หญิง และในบรรดางานเขียนหลายเรื่องของเธอ แรงเงาถือได้ว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากเรื่องหนึ่ง

เรื่องย่อของแรงเงา เล่าถึงมุตตา ซึ่งเป็นข้าราชการหญิงที่เรียบร้อยและอ่อนต่อโลก จึงตกเป็นภรรยาลับของเจนภพ ซึ่งเป็นชายเจ้าชู้และผู้บังคับบัญชาในที่ทำงาน ต่อมา มุตตาได้ถูกภรรยาของเจนภพชื่อ นพนภา ตามมาตบตีต่อหน้าคนจำนวนมาก และถูกซ้ำเติมโดยเพื่อนข้าราชการ ทำให้เธอต้องอับอายจนต้องหนีกลับบ้านต่างจังหวัด และพบว่าตนเองท้อง ในที่สุด ก็ฆ่าตัวตายหนีปัญหา แต่มุนินทร์พี่สาวฝาแฝด ที่เป็นคนเข้มแข็งไม่ยอมใคร ไม่สามารถจะยอมรับเรื่องความตายของน้องสาวได้ จึงปลอมตัวเป็นมุตตากลับมาแก้แค้น และในที่สุด ก็สามารถที่จะเอาชนะ ทำให้นพนภาและเจนภพได้รับกรรมตามที่ตนเองก่อไว้ และครอบครัวของนพนภาก็ประประสบความแตกแยก ส่วนมุนินทร์ก็ได้แต่งงานกับวีกิจ หลานของเจนภพ ที่เข้าช่วยเหลือมุตตาตลอดมา

หลังจากเรื่องแรงเงาเผยแพร่ตั้งแต่ พ.ศ.2529 ได้มีการนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ 4 ครั้ง และขณะนี้ ละครเรื่องนี้ก็ยังออกอากาศอยู่ทางช่อง 3 กลายเป็นเรื่องที่ได้รับความนิยมสูงมาก แม้ว่า ผู้สร้างละครครั้งนี้ จะเน้นฉากตบกันระหว่างผู้หญิงมากไปหน่อย แต่ถ้าดูจากเนื้อหาต้องถือว่า เป็นเรื่องที่ให้บทเรียนแก่สังคมพอสมควร

แต่ที่น่าสนใจคือโครงเรื่องของเรื่องแรงเงา เข้ากันได้กับสถานการณ์การเมืองในประเทศไทย เพราะก่อนหน้านี้ ประชาชนไทยก็ไม่ต่างอะไรกับมุตตา คือไม่เคยมีปากเสียง ยอมจำนนต่อชนชั้นปกครอง และปล่อยชะตากรรมของประเทศไว้ในมือชนชั้นนำจำนวนน้อย ไม่ว่าจะใช้สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ประชาธิปไตยเต็มใบ เผด็จการทหาร ประชาธิปไตยครึ่งใบ ประชาชนที่ตกเป็นเหยื่อก็ไม่เคยบ่น จะรัฐประหารหรือเอาใครมาเป็นรัฐบาลก็ยอมรับโดยดุษณีภาพ แต่ในระยะ 7 ปีที่ผ่านมานี้ ขบวนการประชาชนไทยกลายร่างเป็นมุนินทร์ ลุกขึ้นตอบโต้กับชนชั้นนำอำมาตย์อย่างไม่หวาดหวั่น ไม่ยอมให้ชนชั้นปกครองกำหนดชะตากรรมของประเทศเช่นเดิมอีก จึงสร้างความยากลำบากอย่างมากแก่ชนชั้นนำอำมาตยาธิปไตย

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/11/43459 

เสื้อแดง วงเวียนใหญ่

เสื้อแดง วงเวียนใหญ่
 





สุชาติ นาคบางไทร แดงวงเวียนใหญ่ 03พย55
(คลิกฟัง)
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=oyU3AZpjAvI



อ.ตุ้ม แดงวงเวียนใหญ่ 03พย55
(คลิกฟัง)
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=wEFUtQYWr_8



ทอม ดันดี แดงวงเวียนใหญ่ 03พย55
(คลิกฟัง)
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=Q1pjgjFMJ2s


พลท เฉลิมแสน แดงวงเวียนใหญ่ 03พย55
(คลิกฟัง)

ถึงเวลา พิสูจน์ความจริงใจ "รัฐบาล" ที่มาจากเสียงประชาชน

ถึงเวลา พิสูจน์ความจริงใจ "รัฐบาล" ที่มาจากเสียงประชาชน
 

http://www.youtube.com/watch?v=X-9bizAjbDw&feature=plcp

อ.ปิยบุตร แสงกนกกุล
ธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ

(12 วรรค 3 สามารถถอยหลังได้)
ประเทศไทยสมควรดำเนินการทั้ง 2 ทาง โดยทันที
ทางที่ 1 ประกาศยอมรับเขตอำนาจศาล
ทางที่ 2 ลงนามในสัตยาบันกับศาสอาญาระหว่างประเทศ


(คลิกฟัง)
http://www.youtube.com/watch?v=X-9bizAjbDw&feature=plcp

ตื่นเต้นกับข่าว"ศาลอาญาโลก"

ตื่นเต้นกับข่าว"ศาลอาญาโลก"


วีรพัฒน์ ปริยวงศ์
วีรพัฒน์ ปริยวงศ์

"ช่วงนี้คงมีหลายคนตื่นเต้นกับข่าวว่าไทยจะยอมรับอำนาจ "ศาลอาญาโลก" หรือไม่ บางคนอาจลุ้นว่าจะเข้ามากรณีคุณทักษิณปราบยาเสพติด หรือคุณอภิสิทธิ์สลายการชุมนุม ฯลฯ หรือไม่อย่างไร

จะลุ้นกันอย่างไร ก็โปรดอย่าลืมช่วยกันลุ้นให้ "ศาลไทย" ของเรา เป็นที่พึ่งของประชาชนคนไทยด้วยกันเองด้วยนะครับ !"