หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2555

เม้าท์มอย: งานวิจัยปรองดอง ยูพีอาร์ และทีวีดิจิตอล

เม้าท์มอย: งานวิจัยปรองดอง ยูพีอาร์ และทีวีดิจิตอล

 






เม้าท์ๆ มอยๆ ประจำสัปดาห์ เริ่มจากกรณีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขึ้นโพเดียมปาฐกถาขอรื้องานวิจัยปรองดองของสถาบันพระปกเกล้า เนื่องจากไม่เห็นด้วยในหลายประเด็น น่ายินดีแทนคณะผู้วิจัยที่มีอดีตนายกฯ ขยันขันแข็งลงมาสวมบทอาจารย์ที่ปรึกษาเองเลยทีเดียว ต่อกันด้วยข้อเสนอของนานาชาติผ่าน UN มายังรัฐบาลไทยให้มีการทบทวนสิทธิมนุษยชนประเทศไทย หรือ Universal Periodic Review (UPR) มาดูกันว่ากว่า 170 ข้อเสนอ พี่ไทยรับได้เกือบหมด ยกเว้นเรื่องใหญ่ๆ ที่ขอรักษาความเป็นไทยเอาไว้ คือ มาตรา 112, พรบ.คอมพิวเตอร์, พรก.ฉุกเฉิน, ผู้ลี้ภัย และการควบคุมเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น

ต่อกันด้วยเรื่องราวช็อคคนทำสื่อ เมื่อนสพ.ผู้จัดการ ปลดพนักงานหลายร้อยคน และทยอยปิดสิ่งพิมพ์ ยังคงเหลือทีวีและสื่อออนไลน์ไว้ จะเกี่ยวกันหรือไม่กับการเตรียมปรับระบบโทรทัศน์ของไทยให้เป็นระบบดิจิตอล พร้อมกันทั้งหมดทั้งอาเซียน แต่ก่อนจะถึงวันนั้น คนไทยรู้จักระบบทีวีดิจิตอลกันหรือยัง ชามดองจะมาขานไขให้ฟังว่าทีวีดิจิตอลนั้นคืออะไร

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/03/39779

ว่าด้วยระบบฟาสซิสต์

ว่าด้วยระบบฟาสซิสต์

 

โดย ลีออน ตรอทสกี

 

แปลโดย ใจ อึ๊งภากรณ์

From Leon Trotsky "Fascism, Stalinism and the United Front" Bookmarks, 1989.


เกริ่นนำ


นักรัฐศาสตร์กระแสหลักย่อมเสนอว่าขบวนการฟาสซิสต์เป็นแค่ "แนวชาตินิยมสุดขั้ว" แบบ "คลั่งชาติ" โดยชอบมองว่ามาจากลักษณะพิเศษ เช่นความพิเศษของวัฒนธรรมเยอรมัน หรือความพิเศษของยุคสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง แต่การมองแบบนี้ ที่ไม่ใช้แนวคิดชนชั้นในการวิเคราะห์ ไม่สามารถอธิบายธาตุแท้หรือลักษณะเฉพาะของขบวนการฟาสซิสต์ได้ ไม่สามารถอธิบายว่าทำไมมีการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ และยิ่งกว่านั้นไม่สามารถอธิบายได้ว่าทำไมในยุคนี้มีการรื้อฟื้นขบวนการ ฟาสซิสต์ในหลายประเทศ แต่ที่สำคัญที่สุดนักรัฐศาสตร์กระแสหลักไม่สามารถเสนอวิธีการต่อสู้กับขบวน การนี้ได้นอกเหนือจากการหวังว่าประชาชนจะ “ใช้สติปัญญา”


ในยุคที่การต่อสู้ทางชนชั้นรุนแรงถึงขั้นวิกฤต การปกครองแบบฟาสซิสต์เป็นที่พึ่งสุดท้ายของชนชั้นนายทุน และองค์กรฟาสซิสต์มีหน้าที่หลักในการทำลายความเข้มแข็งของชนชั้นกรรมาชีพโดย อาศัยยุทธศาสตร์ “ม็อบชนม็อบ” โดยที่รากฐานขบวนการสร้างจากกลุ่มชนชั้นนายทุนน้อยและคนตกงาน


บทเรียนที่สำคัญที่สุดจากการขึ้นมาของฮิตเลอร์และพรรคนาซีในเยอรมัน คือความอ่อนแอของกรรมาชีพที่แตกแยกระหว่างพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตย กับพรรคคอมมิวนิสต์ ตรอทสกีเรียกร้องแต่แรกให้สององค์กรนี้สร้างแนวร่วมต้านฟาสซิสต์-นาซี แต่สตาลิน ซึ่งตอนนี้รวบอำนาจในรัสเซียและขบวนการคอมมิวนิสต์สากลได้หมด และอยู่ในยุคที่ตนกำลังต้องการ"พิสูจน์ความเป็นซ้ายจัด"เพื่อกำจัดคู่แข่ง เอียงขวาในรัสเซีย เสนอให้พรรคคอมมิวนิสต์เยอรมันมองว่าพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยเยอรมันร้าย พอๆ กับพวกนาซี โดยป้ายร้ายว่าเป็น “ฟาสซิสต์แดง” นโยบายนี้ของสตาลินนำไปสู่ชัยชนะของฮิตเลอร์และการปราบปรามทำลายการจัดตั้ง ทั้งหมดของชนชั้นกรรมาชีพเยอรมัน

ฟาสซิสต์คืออะไร?


ในอดีต ชนชั้นปกครอง ‘เสรีนิยม’ ไม่สามารถล้มระบบขุนนาง ระบบกษัตริย์ และอำนาจศาสนา ได้ตามลำพัง ในปัจจุบันก็เช่นกัน ชนชั้นนายทุนใหญ่ไม่สามารถจัดการกับชนชั้นกรรมาชีพเอง ต้องมีการดึงนายทุนน้อยมาเป็นพวก ต้องมีการปลุกระดม จัดตั้ง และติดอาวุธให้แก่ชนชั้นนี้ แต่วิธีการนี้เต็มไปด้วยภัยสำหรับนายทุนใหญ่ เพราะถึงแม้ว่านายทุนใหญ่พร้อมจะใช้พวกฟาสซิสต์เขาก็เกรงกลัวและเหยี่ยดหยาม มันในเวลาเดียวกัน ... ... ชนชั้นนายทุนใหญ่ ‘ชอบ’ ฟาสซิสต์เหมือนคนปวดฟัน ‘ชอบ’ ให้หมอฟันถอนฟัน ... .และในที่สุดความฝันเรื่องยุคอดีตของนายทุนน้อยก็ถูกแปรไปเป็นตำรวจของทุน

เมื่อฟาสซิสต์ยึดอำนาจได้ มันไม่มีสภาพของการยึดอำนาจโดยชนชั้นนายทุนน้อยหลงเหลืออยู่เลย ตรงกันข้าม มันเป็นเผด็จการป่าเถื่อนที่สุดของทุนผูกขาด

ความฝันเรื่องยุคอดีตของนายทุนน้อยนำไปสู่การเป็นตำรวจของทุน

 

... ผู้ประกอบการรายย่อยที่ใกล้จะล้มละลาย... ลูกหลานของเขาที่จบมหาวิทยาลัยและไม่มีงานทำ... ยินดีรับฟังข้อเสนอของพวกสร้างวินัยด้วยกองกำลัง ... .ข้อเสนอของพวกนี้คืออะไร? ในประการแรกต้องบีบคอทุกคนที่อยู่ข้างใต้ ชนชั้นนายทุนน้อยที่ก้มหัวต่อนายทุนใหญ่หวังจะกู้ศักดิ์ศรีทางสังคมด้วยการ ปรามชนชั้นกรรมาชีพ... นิยายเก่าๆ ที่ลอยอยู่เหนือความจริงและไม่มีวันได้รับการกระทบกระเทือนจากวิกฤตเศรษฐกิจ คือแหล่งที่พึ่งของพวกนี้ การเริ่มต้นใหม่ที่กล้าหาญต้องอาศัยวิธีคิดที่ย้อนยุคย้อนสมัย นายทุนน้อยยากจนมอมเมาตนเองในนิยายเกี่ยวกับความเลิศของเชื้อชาติตนเอง ความเป็นปัจเจกเสรี สำนึกทางชนชั้น เสรีนิยมและลัทธิมาร์คซ์ล้วนแต่เป็นความชั่ว ความดีงามคือชาติ แต่เมื่อเข้าใกล้ทรัพย์สินส่วนตัวแนวคิดนี้ถูกกลับหัวกลับหางเพื่อห้ามไม่ ให้มีการมองว่าทรัพย์สินนายทุนต้องรวบมาเป็นของส่วนรวม

 

ฟาสซิสต์ไม่ใช่แค่รัฐเผด็จการ

 

ในยามที่อาวุธ ‘ปกติ’ ในรูปแบบตำรวจและทหารของเผด็จการชนชั้นนายทุน พร้อมกับฉากบังหน้าของระบบประชาธิปไตยรัฐสภา ไม่สามารถคุมสังคมให้อยู่ในสภาพสมดุลย์ได้ ยุคของการปกครองแบบฟาสซิสต์ก็มาถึง ระบบทุนนิยมใช้ระบบฟาสซิสต์เพื่อปลุกระดมความบ้าคลั่งของชนชั้นนายทุนน้อย และชนชั้นกรรมาชีพจรจัดที่เสียกำลังใจและจิตสำนึกในชนชั้นตนเอง มวลมนุษย์นับไม่ถ้วนทั้งหลายที่ถูกระบบการเงินของทุนนิยมกดดันจนหาทางออกไม่ ได้นั้นเอง และจากระบบฟาสซิสต์ชนชั้นนายทุนเรียกร้องผลงานสมบูรณ์ด้วยวิธีการของสงคราม กลางเมืองเพื่อสร้างสันติภาพทางชนชั้นเป็นปีๆ การปกครองแบบฟาสซิสต์ใช้ชนชั้นนายทุนน้อยเป็นท่อนไม้ใหญ่เพื่อพังทลาย ทุกอย่างที่เป็นอุปสรรค


หลังจากชัยชนะของฟาสซิสต์ ทุนการเงินจะรวบอำนาจทั้งหมดในกำมือเหล็ก จะควบคุมทุกสถาบัน ทุกองค์กร ทุกบทบาทของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอำนาจอธิปไตย การบริหาร หรือระบบการศึกษา ทุกส่วนของรัฐและ กองทัพ เทศบาล มหาวิทยาลัย โรงเรียน สื่อมวลชน สหภาพแรงงานและแม้แต่สหกรณ์จะตกอยู่ภายใต้การควบคุม เมื่อรัฐหนึ่งแปรตัวเป็นรัฐฟาสซิสต์ ใช่ว่าจะเปลี่ยนแปลงแค่รูปแบบของรัฐบาลเท่านั้น แต่ที่สำคัญที่สุดคือต้องมีการสลายองค์กรต่างๆ ของชนชั้นกรรมาชีพให้สิ้นซากไป ต้องมีเครือข่ายอำนาจรัฐที่ฝังรากลึกลงไปในทุกระดับของมวลชน เพื่อให้ชนชั้นกรรมาชีพแปรสภาพไปเป็นอะไรที่ไร้การจัดตั้งอิสระอย่างสิ้น เชิง นั้นคือประเด็นหลักของระบบฟาสซิสต์

ทำไมการต่อสู้กับฟาสซิสต์ต้องอาศัยการสร้างแนวร่วมของกรรมาชีพ?

 

ระบบฟาสซิสต์มีบทบาททางประวัติศาสตร์ในการเชิดชูชนชั้นย่อยๆ ที่อยู่เหนือชนชั้นกรรมาชีพ ซึ่งวันต่อวันได้แต่เกรงกลัวว่าตนเองจะถูกกดลดระดับลงไปเป็นกรรมาชีพ ระบบฟาสซิสต์อาศัยทุนสถาบันการเงินในการจัดตั้งทางทหารชนชั้นนายทุนย่อย เหล่านี้ ภายใต้ร่มของรัฐบาลทางการ เพื่อแปรรูปองค์กรต่างๆ ของกรรมาชีพจากองค์กรปฏิวัติก้าวหน้าไปเป็นองค์กรปฏิกิริยาล้าหลัง


การปกครองแบบฟสซิสต์ไม่ได้อาศัยแค่การใช้กำลังหรือระบบตำรวจในการปราบปราม อย่างโหดร้ายเท่านั้น มันเป็นระบบที่ต้องรื้อถอนระบบรัฐสภาประชาธิปไตยของทุนนิยมอย่างถอนรากถอน โคน ภาระกิจสำคัญของระบบฟาสซิสต์ไม่ใช่แค่การทำลายกองหน้าคอมมิวนิสต์ แต่เป็นการทำให้ชนชั้นกรรมาชีพดำรงอยู่ในภาวะกระจัดกระจายถาวร ดังนั้นการทำลายองค์กรปฏิวัติหรือกองหน้าของกรรมาชีพไม่เพียงพอ ต้องมีการปราบปรามองค์กรอิสระทั้งหมดของกรรมาชีพไม่ว่าจะเป็นสหภาพแรงงาน หรือพรรคสังคมนิยมปฏิรูป เพราะในที่สุดเราต้องเข้าใจว่าพรรคคอมมิวนิสต์ยืนอยู่ได้ก็บนรากฐานการมี องค์กรอิสระหลากหลายของกรรมาชีพเหล่านี้



ขอเชิญร่วม
กลุ่มศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมืองมาร์คซิสต์

หัวข้อ "ลีออน ทร็อตสกี้อธิบายฟาสซิสต์ในประเทศไทยว่าอย่างไร"

โดย วิภา ดาวมณี

วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม 55 เวลา 14.00-17.00 น.
ณ ห้องประชุมด้านหน้า(ใต้ดิน) อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา
สี่แยกคอกวัว ราชดำเนิน

จัดโดย องค์กรเลี้ยวซ้าย

ประเด็น
- ฟาสซิสต์คืออะไร?
- ความฝันเรื่องยุคอดีตของนายทุน้อยนำไปสู่การเป็นตำรวจของทุน
- ฟาสซิสต์ไม่ใช่แค่รัฐเผด็จการ
- ทำไมการต่อสู้กับฟาสซิสต์ต้องอาศัยการสร้างแนวร่วมของกรรมาชีพ?

"พล.อ.สนธิ และคณะ" ไม่ลวง ไม่พราง กางบันได "ทักษิณ" กลับบ้าน ?


"พล.อ.สนธิ และคณะ" ไม่ลวง ไม่พราง กางบันได "ทักษิณ" กลับบ้าน ?


 


















ยุทธศาสตร์พา "ทักษิณ ชินวัตร" กลับบ้านของพรรคเพื่อไทย ยังคงขับเคลื่อนไปข้างหน้า

4 แนวทางจากโครงการวิจัย "การสร้างความปรองดองแห่งชาติ" ของสถาบันพระปกเกล้า ชงถึงมือคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่ง ชาติ สภาผู้แทนราษฎร ที่มี "พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน" หัวหน้าพรรคมาตุภูมิ เป็นประธานเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ใช้ขับเคลื่อน

แต่พลันที่ข้อเสนอถูกจุดพลุ กลับมีทั้งเสียง "ขานรับ" และ "ต่อต้าน" ดังไล่หลังตามมา



คลิกอ่านรายละเอียด
 
(ที่มา)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1332392699&grpid=&catid=03&subcatid=0305

เกาะติดปริศนา"ปฎิวัติ 19กันยาฯ" เสธ.หนั่น-มาร์ค ไล่บี้"บิ๊กบัง"เปิดปาก ไฉนเพื่อไทยโดดป้องสุดฤทธิ์

เกาะติดปริศนา"ปฎิวัติ 19กันยาฯ" เสธ.หนั่น-มาร์ค ไล่บี้"บิ๊กบัง"เปิดปาก ไฉนเพื่อไทยโดดป้องสุดฤทธิ์

 



 

อุณหภูมิทางการเมืองวันนี้ ร้อนระอุขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลมาจากคำถามหมัดตรงของพล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ประธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทยพัฒนาพุ่งใส่ "บิ๊กบัง" พล.อ.สนธิ บุณยรัตกลิน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคมาตุภูมิ ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาแนวทางปรองดองแห่งชาติ บนเวทีเสวนาเพื่อรับฟังรายงานผลวิจัยการสร้างความปรองดองแห่งชาติของสถาบันพระปกเกล้า ที่โรงแรมมิราเคิล เมื่อสายของวันที่ 21มีนาคม

คำถามหมัดตรงของ "เสธ.หนั่น" พุ่งใส่ "บิ๊กบัง" มี 3ข้อ

1.ใครอยู่เบื้องหลังการปฎิวัติ พล.อ.สนธิหรือมีเหตุจูงใจส่วนตัว
2.เมื่อปฎิวัติแล้วพล.อ.สนธิและคณะเข้าเฝ้าฯถวายรายงานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เป็นผู้นำพล.อ.สนธิเข้าเฝ้าฯ หรือมีส่วนรู้เห็นกับการปฎิวัติหรือไม่ พล.อ.สนธิเข้าพบพล.อ.เปรมมาก่อนล่วงหน้าหรือไม่
3.หลังเกิดความขัดแย้งแล้ว พล.อ.เปรม เคยขอร้องให้พล.อ.สนธิออกมาพูดความจริงถึงการปฎิวัติผ่านทาง พล.อ.มงคล อัมพรพิสิฎฐ์ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุดถึง 2ครั้งหรือไม่ แล้วพล.อ.สนธิพูดความจริงตามคำขอร้องหรือไม่


"ผมอยากให้พล.อ.สนธิชี้แจงความจริงให้สังคมรับทราบ จะได้คลายความสงสัยต่ออำมาตย์"เสธ.หนั่นปิดท้ายคำถาม

"บิ๊กบัง"ไม่ตอบคำถามทั้งสามข้ออ้างว่า "คำถามแบบนี้ ไม่ควรถาม คำถามบางประการเปิดเผยไม่ได้ แม้ตายแล้วก็เปิดเผยไม่ได้ หากรู้วันนี้แล้วจะมีอะไรดี แต่สักวันความจริงจะเปิดเผยเอง"

พล.อ.สนธิอ้างเหตุผลที่ฟังแล้วยิ่งงง

ก็ในเมื่อคิดจะปรองดองหันหน้ามาสามัคคีกันแล้ว ทำไมยังอุบอิบ ไม่เปิดใจ ตีแผ่ความจริงให้รู้จะๆ ใครอยู่เบื้องหลังการปฎิวัติ?

เช้าวันนี้ พล.ต.สนั่น ไขปริศนาทำไมต้องถาม3ข้อ

 

(อ่านต่อ)

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1332406583&grpid=01&catid=&subcatid=


ส.ส.ร.ควรมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด และคนไม่จบ ป.4 ก็เป็นได้ เพราะ ‘คนเราเท่ากัน’

 



คงมีแต่คนล้าหลังที่คิดขัดขวางการเติบโตของ ‘ประชาธิปไตย’ ในสังคมไทยเท่านั้น ที่ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมญ 50 ฉบับที่มาจากผลพวงการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 

การแก้ไขรัฐธรรมนูญ 50 มาตรา 291 เกิดขึ้น ก็เพื่อเปิดทางให้มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ เป็นผู้ดำเนินการกระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ โดยการระดมความคิดเห็นจากประชาชน เหมือนเช่น รัฐธรรมนูญ 40 และให้ประชาชนลงประชามติอีกครั้งหนึ่ง ภายหลังการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสร็จเรียบร้อยแล้ว

อย่างไรก็ตาม กระบวนการได้มาของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ คงได้ข้อสรุปกันแล้วว่า ต้องมาจากการเลือกตั้งเป็นหลัก ซึ่งมีบางความคิดว่า ควรมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด และบางความคิดก็ว่าควรมาจากการเลือกสรร ‘กันเอง’ หรือ ‘ภายใน’ ของคณาจารย์ด้านนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ ในฐานะ ‘ผู้เชี่ยวชาญ’ ด้วย จำนวนถึง 22 คน

ผู้เขียนคิดว่า  บทเรียนจากประวัติศาสตร์ในการผลิตรัฐธรรมนูญในสังคมไทยหลายฉบับที่ผ่านมา มักให้ความสำคัญกับ ‘ผู้เชี่ยวชาญ’ ที่เป็นนักนิติศาสตร์ นักกฎหมายมหาชน
  
แต่รัฐธรรมนูญหลายฉบับที่มาจากคณะรัฐประหาร ซึ่งริดรอนสิทธิเสรีภาพประชาชน และได้ให้อำนาจกับอำนาจนอกระบบประชาธิปไตยครองความเป็นอำนาจนำ ครองความเป็นใหญ่เหนืออำนาจอธิปไตยของประชาชน ก็ปฏิเสธมิได้ว่า ‘ผู้เชี่ยวชาญ’ เป็นผู้มีส่วนร่างด้วย และ ‘ผู้เชี่ยวชาญ’ จำนวนมากก็มักไม่สนับสนุนระบอบประชาธิปไตย

ขณะที่ถ้าเปิดทางให้มีการเลือกสรร ‘กันเอง’ หรือ ‘ภายใน’ ของคณาจารย์ด้านนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ ในฐานะ ‘ผู้เชี่ยวชาญ’ ไม่ว่าผ่านทางสภาอาจารย์ของแต่ละมหาวิทยาลัย หรือกระบวนการเลือกสรรของสถาบันการศึกษา  แล้วเสนอชื่อมาตามกลไกและให้รัฐสภาเลือกอีกครั้ง อาจจะได้รับรายชื่อของ ‘ผู้เชี่ยวชาญ’ ที่ไม่นิยมระบอบประชาธิปไตยเสียเป็นส่วนใหญ่
  
ปฏิเสธมิได้ว่า ภายใต้การครอบงำของอำนาจนำ สภาอาจารย์ของแต่ละมหาวิทยาลัย หรือกระบวนการเลือกสรรของสถาบันการศึกษานั้น ล้วนมิใช่ ‘นักประชาธิปไตย’ และคงได้ ‘ผู้เชี่ยวชาญ’ หน้าเดิมๆ ที่ร่างรัฐธรรมนูญมาหลายฉบับแล้ว รวมทั้งฉบับรัฐประหาร 50

ผู้เขียนจึงคิดว่า สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ควรมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด มิควรปล่อยให้’ผู้เชี่ยวชาญ’ เป็น ‘อภิสิทธิ์ชน’ เหมือนที่ผ่านมา เพราะ ‘คนเราเท่ากัน’

‘ผู้เชี่ยวชาญ’ อาจทำหน้าที่ให้ ‘บริกร’ กับสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเท่านั้น โดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ อาจตั้งเป็นผู้มีหน้าที่ หรือกรรมาธิการ เพื่อทำให้เป็น ‘รัฐธรรมนูญ’ ตามความต้องการของประชาชน ภายหลังกระบวนระดมความคิดเห็นจากประชาชนของ สสร. แต่ไม่ได้มีอำนาจหน้าที่เหมือน สสร.

ถ้า ‘ผู้เชี่ยวชาญ’ ต้องการทำหน้าเช่น สสร. ก็ควรลงสมัครเลือกตั้ง สสร.และให้ประชาชนเลือก

(คลิกอ่าน)
http://www.prachatai.com/journal/2012/03/39771