หน้าเว็บ

วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555

กสม.ปฏิเสธสนับสนุนแก้ ม.112
 
ภาพที่โพสต์
องค์กรสิทธิ์ฯ เพื่อใคร ที่ผ่านมาพฤติกรรมของพวกคุณคือคำตอบชัดเจน...
ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ พวกคุณอย่างหนาหาที่เปรียบเทียบยาก...



คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ปฏิเสธสนับสนุนแก้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112

แถลงการณ์คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ตามที่ปรากฏเป็นข่าวต่อสื่อมวลชนหรือสาธารณะโดยทั่วไป ในทำนองว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) สนับสนุนการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒ นั้น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ขอเรียนว่า เรื่องนี้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เห็นว่า ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒ เป็นบทบัญญัติ ที่ปกป้องพระเกียรติยศของสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขของประเทศ


เฉกเช่นเดียวกับประมุขของรัฐต่างประเทศ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา ๑๓๓ แห่งกฎหมายนี้ และเป็นหลักสากลที่นานาอารยประเทศให้การปกป้องประมุขของประเทศในหลักการ เดียวกัน ดังนั้น ข่าวที่ปรากฏต่อสื่อมวลชนหรือสาธารณะโดยทั่วไปว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติสนับสนุนการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒ นั้น จึงเป็นข่าวที่คลาดเคลื่อนและไม่มีมูลความจริงแต่ประการใด จึงขอทำความเข้าใจต่อทุกฝ่าย มา ณ โอกาสนี้


อนึ่ง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ขอยืนยันว่าจะปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย โดยยึดหลักความสมดุลระหว่างสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นกับการรักษา พระเกียรติยศของสถาบันพระมหากษัตริย์ ตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข


คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

๑๘ มกราคม ๒๕๕๕



(ที่มา)
http://news.voicetv....land/28236.html

อำมาตย์ภาคประชาสังคมกับสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

อำมาตย์ภาคประชาสังคมกับสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

 


หากยังจำกันได้ หลังจากที่ได้สั่ง “กระชับพื้นที่” จนเป็นผลให้ผู้ชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยเสียชีวิตและสูญหายนับร้อยรายและ บาดเจ็บพิการอีกนับพันราย รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้เดินหน้าแผน “ปรองดอง” ที่กำหนดให้การปฏิรูปประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่งของแผน โดยมีชนชั้นนำของภาคประชาสังคมไทย คือ นายอานันท์ ปันยารชุน และนายแพทย์ประเวศ วะสี เป็นประธานคณะกรรมการกำกับการปฏิรูปและประธานคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปตาม ลำดับ ทั้งนี้ โดยมีบุคคล กลุ่ม และองค์กรต่างๆ จากภาคประชาสังคมเข้าร่วมกระบวนการปฏิรูปนี้อย่างกว้างขวาง อย่างไรก็ดี การปฏิรูปประเทศในครั้งนี้ถูกวิจารณ์อย่างหนักว่าเป็นเพียงเครื่องมือที่ รัฐบาลและกองทัพใช้เบี่ยงเบนความสนใจของสังคมต่อข้อเรียกร้องที่ให้มีการ พิสูจน์ข้อเท็จจริงและรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ขณะที่การเข้าร่วมของภาคประชาสังคมไทยก็ถูกคัดค้านจากนักกิจกรรมและนัก วิชาการบางส่วนเนื่องจากเห็นว่าเป็นการสร้างความชอบธรรมให้รัฐบาลและทหารต่อ การใช้ความรุนแรงและใช้อำนาจรัฐอย่างไร้ความเป็นธรรม เป็นการเพิกเฉยต่อการบาดเจ็บล้มตายของประชาชนและต่อกระบวนการอยุติธรรมที่ เกิดขึ้นในสังคมซึ่งนับเป็นความอำมหิตแบบหนึ่ง จนมีคำเรียกการปฏิรูปนี้ว่า กระบวนการปฏิรูปประเทศไทยอำมหิต’ และมีสโลแกนการคัดค้านที่คุ้นหูว่า ‘เสียดายคนตายไม่ได้ปฏิรูป’ อนึ่ง การเข้าร่วมกระบวนการปฏิรูปประเทศนี้ได้สะท้อนถึงอุดมการณ์ของภาคประชาสังคม ไทยที่ค่อนไปในทางอนุรักษ์นิยมและการสนับสนุนสถาบันการเมืองหรืออำนาจแบบ จารีต รวมถึงท่าทีที่ไม่ไว้วางใจและหวาดระแวงต่อระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทนและการ เลือกตั้ง

(อ่านค่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/01/38809