หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2555

สารถึงผู้อ่าน - ข้อเสนอฯ ของนิติราษฏร์ยืนอยู่บนหลักการแห่งกฎหมาย



ภายหลังจากคณะนิติราษฎร์เข้าร่วมงานเปิดตัว "คณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112" (ครก. 112) ในวันที่ 15 มกราคม 2555 เพื่ออธิบายรายละเอียดของ ข้อเสนอให้แก้ไขมาตรา 112 เพื่อประโยชน์ต่อการรวบรวมรายชื่อเสนอร่างกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 112 ฉบับที่คณะนิติราษฎร์จัดทำขึ้น เข้าสู่รัฐสภา และภายหลังจากที่คณะนิติราษฎร์จัดงาน อภิปราย “ลบล้างผลพวงรัฐประหาร - นิรโทษกรรม - ปรองดอง” ขึ้น เองในวันที่ 22 มกราคม 2555 เพื่อเสนอรูปแบบองค์กร และกรอบเนื้อหารัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ได้เกิดกระแสเสียงจากสังคมทั้งที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย แต่ปรากฎว่าคำวิพากษ์วิจารณ์ของฝ่ายไม่เห็นด้วยจำนวนมาก ไม่ได้ตั้งอยู่บนเนื้อหาและหลักวิชาการ แต่มุ่งโจมตีและกล่าวหาตัวบุคคลโดยไร้เหตุผลและพยานหลักฐาน หลายกรณีมีการบิดเบือนข้อเท็จจริงและหลักกฎหมาย จนอาจทำให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจผิดพลาดคลาดเคลื่อน 

คณะนิติราษฏร์ขอ แจ้งให้ประชาชนที่เห็นด้วยกับข้อเสนอฯ ทราบและสบายใจว่า ข้อเสนอฯ ทุกข้อเสนอของคณะนิติราษฏร์ เป็นเรื่องที่วางอยู่บนหลักวิชาการและอำนาจตามกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเสนอให้แก้ไข มาตรา 112 นั้น ไม่ถือเป็นความผิดใด ๆ ทั้งสิ้น มาตรา 112 มีสถานะเป็นเพียงบทบัญญัติแห่งกฎหมายอาญามาตราหนึ่งเท่านั้น จึงย่อมเป็นสิทธิและอำนาจโดยชอบธรรมตามรัฐธรรมนูญ ที่ประชาชนผู้เห็นปัญหาของมาตรานี้จะเข้าชื่อเสนอให้รัฐสภา ซึ่งเป็นเพียงตัวแทนประชาชนเจ้าของอำนาจที่แท้จริง ปรับปรุงแก้ไขเสีย 

การรวบรวมรายชื่อจะคงดำเนินต่อไป ไม่ยุติ จนกว่าจะครบ 10,000 ชื่อตามกฎหมาย (หรือมากกว่านั้น) โดยแม่งานผู้รวบรวม คือ คณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 (ครก. 112) ทั้งนี้ ผู้เห็นด้วยและประสงค์ลงชื่อ สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่นี่ โดยคลิ๊ก แบบฟอร์ม ข.ก.๑ กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน แนบ 1) สำเนาบัตรประชาชน และ 2) สำเนาทะเีบียนบ้าน (ที่มีการเซ็นรับรองสำเนาถูกต้องทั้งสองฉบับ) ส่งไปรษณีย์ไปที่ "
คณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112  ตู้ปณ.112 ปณฝ.ราชดำเนิน กรุงเทพฯ 10200"

ท่าน สามารถดูรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับ ขั้นตอนการกรอกข้อมูล สถานที่รับและส่งเอกสารแบบฟอร์มของศูนย์ในต่างจังหวัด (เชียงใหม่ ขอนแก่น และอื่น ๆ) รวมทั้ง กิจกรรมแคมเปญรณรงค์ต่อเนื่องเพื่อรับลงชื่อ โดย ครก. 112  เพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซท์ http://www.ccaa112.org/contact-us.html
หรือ ทาง Facebook https://www.facebook.com/ccaa112
     
คณะนิติราษฎร์ : นิติศาสตร์เพื่อราษฎร



(ที่มา)
http://www.enlightened-jurists.com/

การปฏิวัติเพื่อประชาธิปไตย

การปฏิวัติเพื่อประชาธิปไตย

 

ภาพ : jacobin club

ลองนึกย้อนกลับไปถึงสภาพสังคมก่อนการรัฐประหาร ๑๙ กันยา ก็ได้ สภาพความเป็นอยู่ของคนธรรมดาอาจดีกว่าภายใต้รัฐบาลประชาธิปัตย์ แต่ค่าแรงก็ไม่เคยพอ ไม่มีความมั่นคงของรัฐสวัสดิการ และความเหลื่อมล้ำระหว่างคนจนกับคนรวยสูงมาก ยิ่งกว่านั้นในทางการเมืองก็มีอำนาจนอกรัฐธรรมนูญ สองมาตรฐาน มีการแทรกแซงการเมืองโดยทหาร และนายจ้างใช้กฏหมายเพื่อสร้างอุปสรรค์กับสหภาพแรงงานเสมอ

โดย ลั่นทมขาว

ถ้าเราศึกษาประวัติศาสตร์การต่อสู้ทางชน ชั้นทั่วโลก เราจะพบว่ามีการปฏิวัติสองประเภทคือ (1) การปฏิวัติทาง “สังคม” และ (2) การปฏิวัติทาง “การเมือง”

การปฏิวัติทาง “สังคม”

การปฏิวัติทาง “สังคม” คือการปฏิวัติที่เปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองหมดเลย แต่ไม่ใช่ว่าเปลี่ยนในวันเดียวหรือเปลี่ยนในวันปฏิวัติ มันเป็นเรื่องที่สะสมมานาน จากการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ ในการผลิต และการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ ในสภาพสังคม จนถึงจุดวิกฤตที่เกิดจากการที่โครงสร้างการปกครองเก่าไม่สอดคล้องกับสภาพ เศรษฐกิจและสังคม

อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงไม่ใช่เรื่องอัตโนมัติที่เกิดจากสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่ “ชน” กับ โครงสร้างการปกครอง เหมือนกับว่ามนุษย์ไม่เกี่ยวข้องเลย เพราะโครงสร้างการปกครองประกอบไปด้วยผู้นำและเจ้าหน้าที่ที่เป็นเป็นมนุษย์ กิจกรรมทางเศรษฐกิจก็เป็นการกระทำของมนุษย์ และสังคมประกอบไปด้วยมนุษย์เช่นกัน

ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงที่มาจาก ความขัดแย้งที่พึ่งกล่าวถึงไปแล้วนี้ เกิดจากการรวมตัวกันต่อสู้ระหว่างมนุษย์อย่างน้อยสองฝ่าย หรือสองชนชั้น  ซึ่งไม่มีหลักประกันว่าฝ่ายไหนจะชนะ มีแต่ “แนวโน้มความเป็นไปได้” ของ ความพ่ายแพ้หรือการชนะ ที่ขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจสังคม และการกระทำของมนุษย์บวกกัน ยิ่งกว่านั้น การปฏิวัติไม่ได้จบลงหรือชนะในวันสองวัน บางครั้งใช้เวลาเป็นสิบๆ ปี
   
การปฏิวัติทาง “สังคม” เป็นการปฏิวัติที่เปลี่ยนระบบการปกครองและปูทางไปสู่การเดินหน้าพัฒนาของ ระบบเศรษฐกิจสังคมแบบใหม่ ตัวอย่างคือการปฏิวัติทุนนิยมในอังกฤษ ค.ศ. 1640-1688 ในอเมริกา ค.ศ. 1776-1861 และในฝรั่งเศส ค.ศ. 1789-1848 หรือการปฏิวัติสังคมนิยมในรัสเซีย ค.ศ. 1917-1928 ซึ่งในกรณีหลังถูกล้มโดยการปฏิวัติซ้อนของ สตาลิน ที่ดึงทุน
 

(อ่านต่อ)
http://turnleftthai.blogspot.com/2011/09/blog-post_21.html

2012 01 27 The Daily Dose Voice TV NGV เเละ LPG ต้องปรับกันอย่างเเท้จริง

http://www.youtube.com/watch?v=hcZMR_BAzgg&feature=mfu_in_order&list=UL 

Wake up Thailand 27-01-55

http://www.youtube.com/watch?v=xzusJ56pZJw&feature=related 

จักรภพ เพ็ญแข นปช.อียูสวีเดน 26-01-55

http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=TgOJtFpm6rc

เฉลิมพร้อมลุย หากแก้ม 112 Hot Topic 27 01 55

http://www.youtube.com/watch?v=dcziCO5F4WE&feature=related

กรณีเสกสรรค์ กับ ครก. 112 และการแก้ปัญหาแบบ top down

กรณีเสกสรรค์ กับ ครก. 112 และการแก้ปัญหาแบบ top down

 

  ประวิตร โรจนพฤกษ์
@pravitr




หลังจากเสกสรรค์ ประเสริฐกุล อดีตผู้นำนักศึกษารุ่น 14 ตุลา นามอุโฆษ ออกมาเขียนจดหมายชี้แจงว่า ชื่อเขาไปปรากฏใน 112 ชื่อแรกของคณะกรรมการรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 ได้อย่างไร ซึ่งเสกสรรค์บอกว่า “ถูกขอร้องโดยผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ” แต่ยืนยันว่า เขา “ไม่ใช่แกนนำในการรณรงค์แก้ไข มาตรา 112” หลังจากนั้นผู้คนจำนวนหนึ่งก็เกิดอาการผิดหวัง เศร้าใจ หรือแม้กระทั่งโกรธเสกสรรค์ ทั้งในอินเทอร์เน็ต และนอกอินเทอร์เน็ต และมีการกล่าวหาและวิจารณ์ว่า เสกสรรค์ขี้ขลาด ไร้จุดยืน ชราแล้ว เปลี่ยนไป ฯลฯ


ผู้เขียนเชื่อว่า อาจารย์เสกสรรค์คงต้องรับผิดชอบต่อการที่ชื่อตัวเองไปปรากฏในรายนาม ครก. 112 คน ส่วนจุดยืนของเสกสรรค์เป็นอย่างไรนั้น ไม่ใช่หัวข้อของบทความนี้ หากบทความนี้มุ่งตั้งคำถามว่า การที่เสกสรรค์ออกมาพูดเช่นนี้มันสะท้อนอะไรเกี่ยวกับกระบวนการคัดสรรจัด ตั้ง ครก. 112 รวมถึงคำถามที่ว่า แท้จริงแล้ว กระบวนการคัดสรรโปร่งใสและมีส่วนร่วมจากสาธารณะมากน้อยเพียงใดและทำไม ผู้เขียนจึงขอตั้งข้อสังเกตคร่าวๆ ดังนี้ 

1. กระบวนการคัดสรรรายนาม 112 คนแรกของ ครก. เป็นไปในลักษณะที่ขาดการมีส่วนร่วมอันเป็นประชาธิปไตยของสาธารณะในวงกว้าง ขาดความโปร่งใส 

คำถามก็คือ มีใครรู้บ้างว่า เขาคัดสรรคน 112 คนแรกนี้กันอย่างไร และทำไมถึงเกิดเหตุอย่างกรณีของเสกสรรค์ได้ หากการคัดสรรคน 112 คนเน้นคนดัง คนมีชื่อเสียง มากกว่าคนที่มีจุดยืนอย่างชัดเจนต่อเรื่องมาตรา 112 แล้ว ผู้เขียนเกรงว่า มันคงเป็นกระบวนการที่มิอาจช่วยให้สังคมเป็นประชาธิปไตยได้อย่างแท้จริง และมิต่างจากการเน้นการพึ่งพาชนชั้นนำแบบเก่า หรือเซเลบริตี้/เซเล็บ หรือผู้มีบุญบารมี จะต่างกันก็เพียง กลุ่มนี้คนส่วนใหญ่น่าจะเป็นผู้มีเจตนาดีต่อบ้านเมือง (แต่ก็อย่างว่า อีกฝ่ายที่เอา ม.112 ก็อ้างว่า ผู้นำฝ่ายตนเองที่พวกเขาเทิดทูน นับถือ ก็เป็นคนดี และหวังดีต่อสังคมเหมือนกันมิใช่หรือ)

การที่เสกสรรค์บอกว่า มีผู้ใหญ่ที่เขาเคารพนับถือ ‘ขอร้อง’ นั่นก็แสดงถึงการใช้ระบบอุปถัมภ์ ระบบพี่ ระบบน้อง ในการคัดสรรคน 112 คนแรกเช่นกัน ตรงนี้ถ้ามองในแง่กระบวนการก็มิต่างจากพรรคการเมืองหลายพรรค ที่จัดสรรเก้าอี้รัฐมนตรี

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/01/38979