หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2554

เศรษฐศาสตร์สามัญสำนึก: ปรัชญาไม่เพียงพอ

"ทำไมชนชั้นนำที่สนับสนุนรัฐประหารจึงนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประชาสัมพันธ์เป็นยุทธศาสตร์การพัฒนา?
ดิฉันคิดว่าเพราะเขาหายุทธศาสตร์การพัฒนาแบบอื่นมาประชาสัมพันธ์ไม่ได้"

"ปรัชญาต่างจากเศรษฐศาสตร์อย่างไร?

ความแตกต่างระหว่างปรัชญาและเศรษฐศาสตร์อยู่ที่คณิตศาสตร์ ปรัชญานำเสนอตรรกะแต่ตรรกะจะสมเหตุสมผลหรือไม่ก็พิสูจน์ไม่ได้ถ้าไม่ใช้ คณิตศาสตร์ หัวใจของการจัดสรรทรัพยากรตามกระบวนการเศรษฐศาสตร์คือ Constrained optimization หรือการหาประโยชน์สูงสุดแบบมีข้อจำกัด เศรษฐศาสตร์ไม่สอนให้บริโภคแบบไม่บันยะบันยัง ข้อจำกัดพื้นฐานคืองบประมาณและเวลา ดังนั้นเศรษฐศาสตร์ร่วมสมัยไม่ใช่ลัทธิบริโภคนิยม ใครอยากบริโภคมากก็ต้องทำงานมาก ใครอยากบริโภคน้อยก็ทำงานน้อย ใครมีความสุขแบบไหนก็เลือกเอาเองตามใจชอบ รัฐอยากจัดสรรทรัพยากรอย่างไรก็ใช้ระบบภาษีเพื่อจูงใจหรือลงโทษได้

คณิตศาสตร์ทำให้นโยบายสาธารณะจับต้องได้และประเมินได้ ที่สำคัญคณิตศาสตร์คือภาษาสากลที่ทำให้คนนอกอาชีพเศรษฐศาสตร์ร่วมประเมิน นโยบายด้วยได้ นโยบายสาธารณะหลายอย่างต้องอาศัยวิชาชีพอื่นนอกเหนือจากเศรษฐศาสตร์ เพราะเศรษฐศาสตร์เป็นศาสตร์ด้านการตัดสินใจจัดสรรทรัพยากร ในระดับบุคคลคือการตัดสินใจบริโภคและแบ่งเวลาทำงาน ในระดับบริษัทคือการตัดสินใจผลิตและใช้ปัจจัยการผลิต ในระดับประเทศคือการตัดสินใจจัดสรรปัจจัยการผลิตและผลผลิต ถ้าไม่ใช้คณิตศาสตร์ก็ยากที่จะให้วิศวกร สถาปนิก นักวิทยาศาสตร์ และแพทย์เข้ามาร่วมวางแผนนโยบายร่วมกับนักเศรษฐศาสตร์ การก้าวพ้นปรัชญาจึงเป็นคุณสมบัติสำคัญของการนำเสนอนโยบายสาธารณะ"

อ่านต่อ....http://www.prachatai.com/journal/2011/10/37197

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น