หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2554

"3 นักวิชาการ" มองมุมต่างจากบทความ "อากงปลงไม่ตก" ของโฆษกศาลยุติธรรม 






สิทธิศักดิ์ วนะชกิจ โฆษกศาลยุติธรรม



สาวตรี สุขศรี



พิชญ์ พงษ์ส


คดี "อากงส่งเอสเอ็มเอส" ก่อให้เกิดกระแสการวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมอย่างกว้างขวาง กระทั่งล่าสุด เมื่อวันที่ 14 ธันวาคมที่ผ่านมา นายสิทธิศักดิ์ วนะชกิจ โฆษกศาลยุติธรรม ได้เขียนบทความชื่อ "อากงปลงไม่ตก" ซึ่งถูกนำไปเผยแพร่ในสื่อมวลชนออนไลน์-ออฟไลน์จำนวนมาก

เช่นกันกับ "คดีอากง" บทความของโฆษกศาลยุติธรรมได้นำไปสู่ "ความเห็นต่าง" อย่างหลากหลาย มติชนออนไลน์จึงขออนุญาตนำความเห็นบางส่วนเหล่านั้น มาเผยแพร่ ณ ที่นี้ เพื่อให้สอดคล้องกับที่นายสิทธิศักดิ์เขียนไว้ในบทความว่า

"ศาล และกระบวนการยุติธรรมไม่เคยขัดขวางการแสดงความคิดเห็นของบุคคลใดๆ ขอเพียงการแสดงออกตั้งอยู่บนฐานคติที่ปราศจากอคติ ภายใต้หลักวิชาการ หลักกฎหมาย หลักนิติธรรม หลักเหตุผล  หรือหลักความเชื่อส่วนตนที่สุจริตมีข้อมูลครบถ้วนสมบูรณ์" 

นักวิชาการนิติราษฎร์ชี้ โฆษกศาลฯ ไม่ได้พูดถึง "ประเด็นสำคัญ" ของการตัดสินคดี

นางสาวสาวตรี สุขศรี นักวิชาการจากคณะนิติราษฎร์ แสดงทัศนะต่อประเด็นนี้ไว้ในงานเปิดตัวหนังสือ "ก้าวข้ามความกลัว" เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ว่า บทความที่เขียนโดยโฆษกศาลยุติธรรม ถึงแม้จะมีการชี้แจงในเรื่องต่างๆ เช่น อากงจะถูกสันนิษฐานว่าบริสุทธิ์จนกว่าจะถูกตัดสินถึงที่สุด เนื่องจากในขณะนี้คดียังอยู่ในศาลชั้นต้นและสามารถอุทธรณ์ได้ อย่างไรก็ตาม จาก ท่าทีของบทความ กลับสะท้อนว่า ผู้เขียนบทความเองได้ปักใจเชื่อไปแล้วว่า อากงเป็นผู้กระทำความผิดจริง นอกจากนี้ ยังไม่มีการพูดถึงหลักการของภาระการพิสูจน์ความผิด ทั้งๆ ที่เป็นประเด็นที่สำคัญในการตัดสินคดีนี้

(ที่มา "Fearlessness Talk: เสวนาเพื่อก้าวข้ามความกลัว" เว็บไซต์ประชาไท)

(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1324124768&grpid=01&catid=&subcatid=

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น