หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555

ระบบทุนนิยมเสรี เสรีของใครกัน ? : กรณีการเลิกจ้างสมาชิกสหภาพแรงงาน 4 แห่ง AGC, Ricoh, Hoya และ MMI

ระบบทุนนิยมเสรี เสรีของใครกัน ? : กรณีการเลิกจ้างสมาชิกสหภาพแรงงาน 4 แห่ง AGC, Ricoh, Hoya และ MMI

ภาพ:วันกรรมกร2.JPGภาพ:วันกรรมกร3.JPG

พัชณีย์ คำหนัก
นักรณรงค์สิทธิมนุษยชน
โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย 


กรณีที่นายทุนข้ามชาติภาคอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เลิกจ้างพนักงาน 4 แห่งเกิดขึ้นในช่วงภาวะปกติและไม่ปกติ คือ ทั้งก่อนและหลังอุทกภัย ปีพ.ศ. 2554 อีกทั้งสาเหตุของการเลิกจ้างเกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับอุทกภัย  ประเด็นหลักที่จะนำเสนอคือ เมื่อแรงงานรวมตัวกันเรียกร้องผลประโยชน์จากนายจ้าง และมีสหภาพแรงงานในการเจรจาต่อรอง เสรีภาพในการแสดงออกของพวกเขาก็ถูกละเมิด ถูกขัดขวางเพราะถูกเลิกจ้างอย่างเสรีโดยฝ่ายทุน  ซึ่งนำไปสู่การไร้เสถียรภาพของระบบประชาธิปไตย

ผู้เขียนต้องการรณรงค์ปัญหาการเลิกจ้างที่นำไปสู่ภาวะสั่นคลอน/ไร้ เสถียรภาพของสหภาพแรงงาน 4 แห่ง ได้แก่ 1) สหภาพแรงงานเอจีซีสัมพันธ์แห่งประเทศไทย  2) สหภาพแรงงานริโก้ประเทศไทย  3) สหภาพแรงงานอิเลคทรอนิคส์และอุปกรณ์ไฟฟ้าสัมพันธ์  (Hoya) และ 4) สหภาพแรงงานอิเลคทรอนิกส์และชิ้นส่วนยานยนต์ (MMI) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 

1. ให้รัฐแก้ไขปัญหาแรงงาน 4 กรณีอย่างเร่งด่วน  
2. ให้สื่อ สาธารณชน ขบวนการแรงงาน นักศึกษาเข้าใจและตระหนักถึงการปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก  การรวมตัวเจรจาต่อรองผลประโยชน์ของผู้ใช้แรงงานมากขึ้น
3. ตั้งคำถามต่อนายทุนเอกชนถึงความรับผิดชอบต่อชีวิตผู้ใช้

แรงงานซึ่งเป็นคน ส่วนใหญ่ของสังคม การใช้กลไก CSR (Corporate Social Responsibility) จรรยาบรรณทางการค้าของบรรษัทข้ามชาติ รวมถึงกลไกรัฐในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนว่า ทำไมไม่สามารถรองรับปัญหาความไม่เป็นธรรมต่อแรงงานในภาวะปกติและไม่ปกติ

 

(อ่านต่อ) 

http://www.prachatai.com/journal/2012/01/38792

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น