หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2555

ภาษาศีลธรรม/ภาษาอำนาจที่ตอบโต้นิติราษฎร์

ภาษาศีลธรรม/ภาษาอำนาจที่ตอบโต้นิติราษฎร์

 

โดย สุรพศ ทวีศักดิ์


การกล่าวหาข้อเสนอนิติราษฎร์และ ครก.112 เรื่องแก้ ม.112 และข้อเสนอเรื่องแก้รัฐธรรมนูญลบล้างรัฐประหารว่า เป็นการล้มเจ้าบ้าง เป็นการเปลี่ยนระบบการปกครองบ้าง เป็นการสร้างความแตกแยกในสังคมบ้าง

หรือการหยิบยกเรื่องส่วนตัวขึ้นมาโจมตี กล่าวหาว่าเนรคุณ "ทุนอานันทมหิดล" เนรคุณสถาบันกษัตริย์ ไม่รู้ประวัติศาสตร์ชาติไทย ไม่เข้าใจ "ลักษณะพิเศษ" ของสังคมไทย ไปจนถึง "พ่อแม่ไม่อบรมสั่งสอน" กระทั่งจะหาทางใช้กฎหมายเอาผิด หรือหาช่องทางดำเนินการทางกฎหมายเพื่อหยุดการเคลื่อนไหว หรือ "ปิดปาก" นิติราษฎร์ ดังที่เป็นข่าวต่อเนื่องมากว่าสองสัปดาห์นั้น

หากพิจารณาจาก "ปฏิกิริยา" ต่อนิติราษฎร์แทบทั้งหมด จะเห็นว่าภาษาที่ตอบโต้นิติราษฎร์ยังไม่ปรากฏ "ภาษาเหตุผล" ที่หนักแน่นเพียงพอ

กล่าวคือ ขณะที่นิติราษฎร์เสนอ "อุดมการณ์ประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ" ตามเจตนารมณ์ 2475 และอธิบายหลักการ เหตุผล ข้อเท็จจริง องค์ความรู้ต่างๆ ประกอบการเสนอแก้ ม.112 และการลบล้างรัฐประหาร พร้อมกับ "กวักมือเรียก" ให้ฝ่ายที่เห็นต่างมาใช้เหตุผลโต้แย้งกัน

หมายความว่า ขณะที่นิติราษฎร์ใช้ "ภาษาเหตุผล" ในการสื่อสารกับสังคมและทุกฝ่ายเสมอมา แต่ฝ่ายเห็นต่างไม่ได้ใช้ "ภาษาเหตุผล" ในการโต้แย้งอย่างหนักแน่นเพียงพอ กลับไปใช้ "ภาษาศีลธรรม" และ "ภาษาอำนาจ" ตอบโต้นิติราษฎร์

แต่ "ภาษาศีลธรรม" ที่ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของการเปิดใจกว้างรับฟังเหตุผลของอีกฝ่าย หรือไม่มี "ขันติธรรม" (tolerance) ต่อเหตุผลของฝ่ายที่มีจุดยืนต่าง คิดต่างจากตัวเอง มันก็เป็นแค่ภาษาของการประณามหยามหมิ่น หรือพิพากษาตัดสินว่า อีกฝ่ายเลวทรามต่ำช้าเท่านั้นเอง เช่นที่ตัดสินว่า เนรคุณ ล้มเจ้า สร้างความแตกแยกในสังคม กระทั่ง "พ่อแม่ไม่อบรมสั่งสอน" และที่หยาบคายอีกนับไม่ถ้วน

กลายเป็นว่า "ภาษาศีลธรรม" ที่นิยมใช้กันโดยนักวิชาการ ปัญญาชนแถวหน้า สื่อบางฝ่าย ในบ้านเราคือ "ภาษาศีลธรรมเชิงตัดสิน-สาปแช่ง" เหมือนภาษาตัดสิน สาปแช่งในนวนินายเรื่อง "คำพิพากษา" ของชาติ กอบจิตติ จึงเสมือนว่าอีกฝ่ายกำลังพยายามทำให้นิติราษฎร์กลายเป็น "ไอ้ฟัก" ในสังคมไทย

(อ่านต่อ)

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1327748659&grpid=&catid=02&subcatid=0207

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น