หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

"ธงชัย" ชี้112ถูกใช้เป็นเครื่องมือของนักลัทธิกษัตริย์นิยม ระบุนิติราษฎร์ช่วยเสนอทางออก

"ธงชัย" ชี้112ถูกใช้เป็นเครื่องมือของนักลัทธิกษัตริย์นิยม ระบุนิติราษฎร์ช่วยเสนอทางออก

 



ธงชัย วินิจจะกุล ระบอบสังคมการเมืองที่ฝืนการเปลี่ยนแปลงคืออันตรายที่แท้จริง

http://www.youtube.com/watch?v=tm11QBz0bVI&feature=g-user-u&context=G2c715f5UCGXQYbcTJ33bl2QA7Ix_f6-bMtBN_GU8CgaMRQs_X5P0 


เมื่อวันที่ 11 ก.พ. ที่โรงแรมรัตนโกสินทร์ กลุ่มเพื่อนรัฐธรรมนูญ ได้จัดปาฐกถาในรายการสนทนาเพื่อหารายได้สนับสนุนการแก้ไขมาตรา 112 ตามข้อเสนอของนิติราษฎร์ โดยนายธงชัย วินิจจะกูล ศาสตราจารย์คณะประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-เมดิสัน ได้ปาฐกถาในหัวข้อ “ระบอบสังคมการเมืองที่ขัดฝืนการเปลี่ยนแปลงคืออันตรายที่แท้จริง”



เนื้อหาส่วนหนึ่งของการปาฐกถาระบุว่า นักวิชาการคณะนิติราษฎร์และคณะกรรมการรณรงค์เพื่อแก้ไขมาตรา 112 คือผู้เกิดก่อนกาล ที่พยายามผลักดันการเปลี่ยนแปลง แต่กลับถูกทำร้ายแทบไม่ได้ผุดได้เกิด ทว่าอนาคตกลับพิสูจน์ว่าประวัติศาสตร์จะยืนอยู่ข้างพวกเขา


นายธงชัยกล่าว ถึงประเด็นเรื่องกฎหมายอาญาม.112 ว่า ภายใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ไม่มีการใช้กฎหมายนี้พร่ำเพรื่อนัก และไม่ใช่เครื่องมือบังคับควบคุมความคิดของคน ความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพจึงจัดอยู่ที่การหมิ่นประมาท และแทบไม่มีนัยหรือผลกระทบทางการเมือง


แต่กฎหมายหมิ่นฯ เริ่มเป็นอาวุธทรงพลังก็ต่อเมื่อนักลัทธิกษัตริย์นิยมเอากฎหมายมาตราดัง กล่าวมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อช่วยสถาปนา “ประชาธิปไตยแบบอำมาตย์” เมื่อช่วง 40 ปีที่ผ่านมา โดยถือว่าความผิดนี้ไม่ใช่ความผิดฐานหมิ่นประมาท แต่เป็น “ภัยต่อความมั่นคงของชาติ”

ส่งผลให้คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตกอยู่ใต้กระบวนการยุติธรรมที่ผิดปกติ เช่นเดียวกับบรรดาความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงอื่นๆ ภายใต้ระบอบเผด็จการอันยาวนานของไทย

ความบิดเบี้ยวสำคัญของกระบวนการยุติธรรมที่ผิดปกติ ก็คือ การที่มักถือว่าจำเลยกระทำความผิดร้ายแรงจนกว่าจำเลยจะพิสูจน์ได้ว่าตน บริสุทธิ์ ดังนั้น จึงมักไม่ให้ประกันตัว และภาระการพิสูจน์ตกอยู่กับจำเลยแทนที่จะตกอยู่กับฝ่ายโจทก์ นอกจากนี้ การพิสูจน์ความผิดอาญาโดยปกติต้องเคร่งครัด หากไม่ชัดเจนต้องยกประโยชน์ให้จำเลย แต่คดีความมั่นคงมักตีความกฎหมายอย่างกว้างให้ครอบคลุมการกระทำที่ต้องสงสัย แม้ไม่ชัดเจนก็ตาม ซึ่งคดี “อากง” ช่วยอธิบายความผิดปกติเหล่านี้ได้ดี
 
(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1328970753&grpid=03&catid=&subcatid=

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น