มองนิวเคลียร์ญี่ปุ่น: บทเรียน “การเชื่อฟังแบบอัตโนมัติ” ตัวการ “ฟุกุชิมะ”
เปิดรายงานคณะกรรมการอิสระเพื่อสืบสวนอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ
ดูบทเรียนที่นอกจากความน่ากลัวของกัมมันตรังสี และคำพูดที่ว่า “ขนาดญี่ปุ่นที่มีเทคโนโลยีก้าวหน้าก็ยังเจอวิกฤติ” สังคมไทยได้เรียนรู้อะไร
จากเหตุการณ์ เมื่อวันที่ 11 มี.ค.2554 แผ่นดินไหว 9.0
ริกเตอร์ได้เขย่าผืนแผ่นดินชายฝั่งภาคตะวันออกของเกาะญี่ปุ่น
จนทำให้เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 11 เครื่องของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 4
แห่งหยุดเดินเครื่องโดยอัตโนมัติ แต่ไม่ถึง 1 ชั่วโมงต่อมา
คลื่นยักษ์สึนามิสูง 14 เมตรก็โถมเข้าสู่ชายฝั่ง
สร้างความเสียหายต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิจิ
จนระบบป้องกันภัยเกิดการขัดข้อง
นำไปสู่การระเบิดของอาคารเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์
และปลดปล่อยสารกัมมันตรังสีสู่บรรยากาศจนสร้างความแตกตื่นไปทั่วโลก
ศุภกิจ นันทวรการ นักวิจัยพลังงาน มูลนิธินโยบายสุขภาวะ
ได้หยิบยกเหตุการณ์เกี่ยวกับนิวเคลียร์ญี่ปุ่นดังกล่าว
มานำเสนอถึงการผูกขาดความรู้ด้านพลังงาน กับ “กรณีความ (ไม่)
ปลอดภัยของนิวเคลียร์ญี่ปุ่น”
จากรายงานของคณะกรรมการอิสระเพื่อสืบสวนอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิ
มะ ไดอิจิ ของรัฐสภาญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 3 ก.ค.55
ในเวทีสนทนาสาธารณะเพื่อร่วมสร้างความเป็นธรรม “แก๊สกับน้ำมัน: ทำไมถึงแพง”
ณ ห้องประชุมจุมภฎ-พันธุ์ทิพย์ อาคารประชาธิปก จุฬา เมื่อวันที่ 22
ส.ค.ที่ผ่านมา
นักวิชาการจากมูลนิธินโยบายสุขภาวะ กล่าวว่า
คณะกรรมการอิสระซึ่งจัดตั้งโดยรัฐสภา
เป็นชุดแรกในประวัติศาสตร์รัฐบาลภายใต้รัฐธรรมนูญของประเทศญี่ปุ่น
จัดตั้งโดยกฎหมายเฉพาะ the Act Regarding the Fukushima Nuclear Accident
Independent Investigation Commission มีองค์ประกอบของคณะกรรมการ
ทั้งอดีตประธานสภาวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหว รังสี นักกฎหมาย
อัยการ หมอ การต่างประเทศ หอการค้าและอุตสาหกรรมในพื้นที่
รวมทั้งสื่อมวลชนด้านวิทยาศาสตร์
http://www.prachatai.com/journal/2012/08/42342
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น