กรรมาชีพ กองหน้าในการสร้างสังคมที่เท่าเทียม
"ดังนั้นนักปฏิวัติที่ก้าวหน้าที่สุด เอาการเอางานมากที่สุด
และมีวินัยมากที่สุด ต้องร่วมมือกันกับกลุ่มอื่นๆ...
สร้างองค์กรใหม่ในรูปแบบพรรคการเมือง เพื่อใช้เป็นเครื่องมือทำงานการเมืองขยายแนวคิดปฏิวัติไปสู้กรรมมาชีพและนัก
ศึกษาให้ได้มากที่สุด"
โดย วัฒนะ วรรณ
กรรมาชีพคือกองหน้า หาใช่เป็นคนชายขอบดั่งคำกล่าวอ้างของนักกิจกรรมบางคน
กรรมาชีพเกิดมาพร้อมๆ กับระบบทุนนิยม ผลประโยชน์ของกรรมาชีพกับนายทุน
ขัดแย้งกันโดยสิ้นเชิง ประนีประนอมกันไม่ได้ เมื่อนายทุนได้มาก
กรรมาชีพย่อมได้น้อย เมื่อนายทุนได้น้อย กรรมาชีพย่อมได้มาก
แต่มูลค่าแต่แรกที่เกิดขึ้นในระบบการผลิตเกิดขึ้นจากลงแรงของกรรมาชีพ
ที่เปลี่ยนทรัพยากรธรรมชาติเป็นสินค้า หาใช่เกิดขึ้นจากนายทุน
ถ้านายทุนหยุดงานกรรมาชีพก็ยังดำเนินการผลิตไปได้ แต่ถ้ากรรมาชีพหยุด
ระบบการผลิตทั้งหมดก็จะหยุดไปด้วย
กรรมาชีพจึงเปรียบเสมือนยืนอยู่ใจกลางการผลิตของระบบทุนนิยม
ระบบการเมืองของทุนนิยมบริหารงานโดย “คณะกรรมการบริหารผลประโยชน์ร่วมของชนชั้นนายทุน” ดังคำกล่าวของ มาร์คซ์และเองเกลส์ นั่นเท่ากับว่าเมื่อระบบการผลิตของกรรมาชีพหยุดทำงาน ชนชั้นปกครองเหล่านี้ก็ไม่สามารถมีอำนาจบริหารการเมืองได้อย่างง่ายๆ และถ้ากรรมาชีพเปลี่ยนแปลงระบบการผลิตจากทุนนิยม ที่เน้นผลประโยชน์ของคนส่วนน้อย มาเป็นระบบการผลิตสังคมนิยม ที่เน้นประโยชน์ของทุกคนในสังคมโดยเท่าเทียมกันแล้วละก็ ระบบชนชั้นที่มีผู้ปกครองเป็นคนส่วนน้อยก็จะหายไป นี่คือพลังของกรรมาชีพในระบบทุนนิยม
ภายใต้การเมืองประชาธิปไตยครึ่งใบหรือน้อยกว่านั้น ในสังคมไทย กรรมาชีพจำเป็นจะต้องเป็นกองหน้าในการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตย เต็มใบ โดยร่วมมือกับกลุ่มเสื้อแดงก้าวหน้า นักวิชาการอย่างนิติราษฎร์ เพราะการมีประชาธิปไตยเต็มใบ ย่อมดีกว่าเผด็จการ ในต่อสู้เปลี่ยนสังคมไปสู่สังคมนิยมที่ปลดปล่อยกรรมาชีพอย่างถาวรในระยะยาว
แต่การต่อสู้ของกรรมาชีพจำเป็นต้องมีองค์กรนำของตนเองในรูปแบบ “พรรคปฏิวัติกรรมาชีพ” ที่ใช้แนวทางสังคมนิยมมาร์คซิสต์ เพราะเป้าหมายของเราคือการปลดปล่อยกรรมาชีพอย่างถาวร การต่อสู้แบบ “ลัทธิสหภาพ” ที่มุ่งเน้นแต่เพียงเรื่องปากท้องในกรอบของทุนนิยม จะไม่สามารถปลดปล่อยกรรมาชีพได้อย่างแท้จริง เพราะตราบใดที่ทุนนิยมยังอยู่ ชนชั้นก็ยังดำรงอยู่ การกดขี่ก็ต้องดำรงอยู่ควบคู่ไปด้วย
แต่ในรูปธรรมปัจจุบันเรายังไม่มีพรรคปฏิวัติกรรมาชีพ มีแต่องค์กรนำในกรอบของรัฐทุนนิยม เช่น สหพันธ์แรงงาน สภาแรงงาน ดังนั้นเราต้องช่วยกันคบคิดว่า องค์กรนำเช่นว่านี้ จะพัฒนาไปเป็นพรรคของกรรมาชีพได้หรือไม่ อย่างไร โดย ใจ อึ๊งภากรณ์ ได้ให้ความเห็นในประเด็นนี้ไว้ว่า...
“ปัญหาของการใช้สหภาพแรงงานเป็นองค์กรต่อสู้อย่างเดียว โดยไม่สร้างพรรค คือในประการแรกเขาไม่สามารถจัดตั้งกลุ่มอื่นๆ ที่ไม่ใช่คนงาน เช่นนักศึกษา คนกลุ่มน้อย หรือคนที่อยากรณรงค์เรื่อง 112 เป็นต้น มันนำไปสู่การเน้นประเด็นการเมืองปากท้องอย่างเดียวด้วย ทั้งๆ ที่ในนามธรรมอาจกล่าวถึง “เลนิน”
ในประการที่สององค์กรสหภาพแรง งานต้องการรับทุกคนในสถานที่ทำงานเข้ามาเป็นสมาชิก ซึ่งแน่นอนรวมถึงคนที่มีความคิดฝ่ายขวาตามชนชั้นปกครองและคนที่ยังขี้เกียจ คิดอีกด้วย และแกนนำของสหภาพจะต้องปกป้องความสามัคคีภายในสหภาพระดับหนึ่ง เพราะกลัวว่าจะแพ้การเลือกตั้งและหลุดจากตำแหน่งในสหภาพ จึงไม่สามารถถกเถียงแนวคิดอย่างตรงไปตรงมาได้ ไม่เหมือนพรรคหรือกลุ่มการเมืองที่ทำงานภายในสหภาพ
ในประการที่สาม ถ้านักลัทธิสหภาพแบบนี้แพ้การเลือกตั้งเขาจะไม่มีองค์กรเหลือเลย ประเด็นนี้เป็นปัญหาด้วยเวลาคนงานไม่มีความมั่นใจในการต่อสู้ ไม่ยอมนัดหยุดงานในช่วงหนึ่ง กิจกรรมทางการเมืองก็ลดลง ไม่เหมือนพรรค
ใน ประการสุดท้ายสหภาพแรงงานไม่สามารถยึดอำนาจรัฐได้ เพราะเป็นองค์กรที่สร้างขึ้นมาเพื่อต่อรองกับนายจ้างในระบบทุนนิยม ไม่สามารถประสารทุกซีกทุกส่วนของสังคมที่ก้าวหน้าเพื่อยึดอำนาจรัฐ”
ระบบการเมืองของทุนนิยมบริหารงานโดย “คณะกรรมการบริหารผลประโยชน์ร่วมของชนชั้นนายทุน” ดังคำกล่าวของ มาร์คซ์และเองเกลส์ นั่นเท่ากับว่าเมื่อระบบการผลิตของกรรมาชีพหยุดทำงาน ชนชั้นปกครองเหล่านี้ก็ไม่สามารถมีอำนาจบริหารการเมืองได้อย่างง่ายๆ และถ้ากรรมาชีพเปลี่ยนแปลงระบบการผลิตจากทุนนิยม ที่เน้นผลประโยชน์ของคนส่วนน้อย มาเป็นระบบการผลิตสังคมนิยม ที่เน้นประโยชน์ของทุกคนในสังคมโดยเท่าเทียมกันแล้วละก็ ระบบชนชั้นที่มีผู้ปกครองเป็นคนส่วนน้อยก็จะหายไป นี่คือพลังของกรรมาชีพในระบบทุนนิยม
ภายใต้การเมืองประชาธิปไตยครึ่งใบหรือน้อยกว่านั้น ในสังคมไทย กรรมาชีพจำเป็นจะต้องเป็นกองหน้าในการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตย เต็มใบ โดยร่วมมือกับกลุ่มเสื้อแดงก้าวหน้า นักวิชาการอย่างนิติราษฎร์ เพราะการมีประชาธิปไตยเต็มใบ ย่อมดีกว่าเผด็จการ ในต่อสู้เปลี่ยนสังคมไปสู่สังคมนิยมที่ปลดปล่อยกรรมาชีพอย่างถาวรในระยะยาว
แต่การต่อสู้ของกรรมาชีพจำเป็นต้องมีองค์กรนำของตนเองในรูปแบบ “พรรคปฏิวัติกรรมาชีพ” ที่ใช้แนวทางสังคมนิยมมาร์คซิสต์ เพราะเป้าหมายของเราคือการปลดปล่อยกรรมาชีพอย่างถาวร การต่อสู้แบบ “ลัทธิสหภาพ” ที่มุ่งเน้นแต่เพียงเรื่องปากท้องในกรอบของทุนนิยม จะไม่สามารถปลดปล่อยกรรมาชีพได้อย่างแท้จริง เพราะตราบใดที่ทุนนิยมยังอยู่ ชนชั้นก็ยังดำรงอยู่ การกดขี่ก็ต้องดำรงอยู่ควบคู่ไปด้วย
แต่ในรูปธรรมปัจจุบันเรายังไม่มีพรรคปฏิวัติกรรมาชีพ มีแต่องค์กรนำในกรอบของรัฐทุนนิยม เช่น สหพันธ์แรงงาน สภาแรงงาน ดังนั้นเราต้องช่วยกันคบคิดว่า องค์กรนำเช่นว่านี้ จะพัฒนาไปเป็นพรรคของกรรมาชีพได้หรือไม่ อย่างไร โดย ใจ อึ๊งภากรณ์ ได้ให้ความเห็นในประเด็นนี้ไว้ว่า...
“ปัญหาของการใช้สหภาพแรงงานเป็นองค์กรต่อสู้อย่างเดียว โดยไม่สร้างพรรค คือในประการแรกเขาไม่สามารถจัดตั้งกลุ่มอื่นๆ ที่ไม่ใช่คนงาน เช่นนักศึกษา คนกลุ่มน้อย หรือคนที่อยากรณรงค์เรื่อง 112 เป็นต้น มันนำไปสู่การเน้นประเด็นการเมืองปากท้องอย่างเดียวด้วย ทั้งๆ ที่ในนามธรรมอาจกล่าวถึง “เลนิน”
ในประการที่สององค์กรสหภาพแรง งานต้องการรับทุกคนในสถานที่ทำงานเข้ามาเป็นสมาชิก ซึ่งแน่นอนรวมถึงคนที่มีความคิดฝ่ายขวาตามชนชั้นปกครองและคนที่ยังขี้เกียจ คิดอีกด้วย และแกนนำของสหภาพจะต้องปกป้องความสามัคคีภายในสหภาพระดับหนึ่ง เพราะกลัวว่าจะแพ้การเลือกตั้งและหลุดจากตำแหน่งในสหภาพ จึงไม่สามารถถกเถียงแนวคิดอย่างตรงไปตรงมาได้ ไม่เหมือนพรรคหรือกลุ่มการเมืองที่ทำงานภายในสหภาพ
ในประการที่สาม ถ้านักลัทธิสหภาพแบบนี้แพ้การเลือกตั้งเขาจะไม่มีองค์กรเหลือเลย ประเด็นนี้เป็นปัญหาด้วยเวลาคนงานไม่มีความมั่นใจในการต่อสู้ ไม่ยอมนัดหยุดงานในช่วงหนึ่ง กิจกรรมทางการเมืองก็ลดลง ไม่เหมือนพรรค
ใน ประการสุดท้ายสหภาพแรงงานไม่สามารถยึดอำนาจรัฐได้ เพราะเป็นองค์กรที่สร้างขึ้นมาเพื่อต่อรองกับนายจ้างในระบบทุนนิยม ไม่สามารถประสารทุกซีกทุกส่วนของสังคมที่ก้าวหน้าเพื่อยึดอำนาจรัฐ”
ดังนั้นนักปฏิวัติที่ก้าวหน้าที่สุด เอาการเอางานมากที่สุด และมีวินัยมากที่สุด ต้องร่วมมือกันกับกลุ่มอื่นๆ เช่นนักกิจกรรมที่รักประชาธิปไตย กลุ่มคนเสื้อแดง นักศึกษา ชาวนายากจน ฯลฯ สร้างองค์กรใหม่ในรูปแบบพรรคการเมือง(จะเรียกซื่อว่าอย่างไรก็ได้) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือทำงานการเมืองขยายแนวคิดปฏิวัติไปสู้กรรมมาชีพและนัก ศึกษาให้ได้มากที่สุด โดยการแข่งแนวกับพวกฝ่ายขวาและพวกปฏิรูป ในองค์การแรงงานต่างๆ รวมถึงในสังคมภาพกว้างไปพร้อมๆกันด้วย
โดยจะต้องมีนโยบายเฉพาะหน้าที่เป็นรูปธรรมดังนี้
ด้านการเมือง
1. เร่งสร้างพรรคการเมืองของกรรมาชีพและชาวนายากจน
2. ปล่อยนักโทษการเมือง นักโทษ 112 ทุกคน ทันที เพราะระบอบประชาธิปไตย จะต้องไม่มีนักโทษการเมือง
3. นำคนที่ฆ่าประชาชน ในเหตุการณ์เมษา-พฤษภา 53 มาลงโทษทั้งหมด รวมถึงเหตุการณ์อื่นๆ ด้วย เช่น ตากใบ สงครามยาเสพติด พฤษภาคม 35 6 ตุลา 19 14 ตุลา 16 เพื่อเป็นหลักประกันว่าจะไม่มีใครกล้าทำแบบนี้อีกในอนาคต
4. ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม นำระบบลูกขุนมาใช้ เพื่อสร้างความโปร่งใส
5. ยกเลิกกฎหมายเผด็จการทั้งหมด เช่น มาตรา 112 พรบ.คอมพิวเตอร์ พรบ.สถานการณ์ฉุกเฉิน กฎหมายความมั่นคง ฯลฯ และงบประมาณลับของทหาร
6. ผู้แทน(สส)ต้องได้รับค่าจ้างเท่ากับเงินเดือนเฉลี่ยของคนส่วนใหญ่ และยกเลิกสมาชิกวุฒิสภา(สว) โดยคนทำงานต้องสามารถเลือกผู้แทน ในพื้นที่ที่ตนเองทำงานอยู่ได้
7. ต้องมีสภาประชาชนที่มีการพบปะกันเป็นประจำ เพื่อทำหน้าที่ควบคุม ตรวจสอบ และถอดถอน ผู้แทนฯ ได้ตลอดเวลา ถ้าไม่ทำตามมติเสียงส่วนใหญ่ของประชาชน
8. ตำแหน่งสาธารณะทุกตำแหน่ง ต้องผ่านการเลือกตั้ง เช่น ศาล ตำรวจ ทหาร ผู้บริหารโรงเรียน โรงพยาบาล สื่อ และรัฐวิสาหกิจ
9. ยกเลิกการปกครองภูมิภาค ให้มีการเลือกตั้งผู้บริหารจังหวัดโดยตรงจากประชาชนในพื้นที่
ด้านเศรษฐกิจ
1. นำระบบรัฐสวัสดิการมาใช้ ภายใต้หลักการ “ครบวงจร ถ้วนหน้า มาตรฐานเดียว” สำหรับ ทุกคนที่พักอยู่ในประเทศ ผ่านการเก็บภาษีก้าวหน้าในอัตราสูงมากจากคนรวย เช่น ภาษีทรัพย์ ที่ดิน หุ้น ฯลฯ เป็นต้น และยกเลิกการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่เป็นภาระของคนจน เพื่อสร้างระบบบริการสาธารณะฟรีและมีคุณภาพแก่ประชาชน อาทิเช่น รูปแบบเงิน สุขภาพ การศึกษา ที่อยู่อาศัย คมนาคม นักสังคมสงเคราะห์ สันทนาการ ฯลฯ เป็นต้น
2. ควบคุมอัตราค่าจ้างของผู้บริหารระดับสูงทั้งของรัฐและเอกชนไม่ให้เกิน 100,000 บาท(สำหรับไทยต้องถกเถียงกันว่าควรเป็นเท่าไร) เพื่อลดความเหลื่อมล้ำระหว่างคนธรรมดากับผู้บริหาร(เป็นเรียกร้องของการ ปฏิวัติที่อียิปต์)
3. สร้างความเสมอภาคทางเพศ สตรีสามารถทำแท้งได้เสรี มีศูนย์เลี้ยงเด็กใกล้สถานที่ทำงาน ฯลฯ
4. ปฏิรูปที่ดิน โดยการกระจายการถือครองที่ดิน ให้กับชาวนายากจน ให้ทำกินตามความต้องการ
หมายเหตุ นโยบายหลายเรื่องอาจเป็นเรื่องใหม่สำหรับสมาชิกบางท่าน ที่คุ้นเคยการต่อสู้ในกรอบ “ลัทธิสหภาพ” มานาน ซึ่งบางข้อสมาชิกส่วนใหญ่อาจจะไม่สนับสนุน แต่ไม่ใช่ปัญหาใหญ่เพราะแค่การนำนโยบายเหล่านี้เพื่อสร้างเป็นประเด็นถก เถียงใหม่ๆ ในองค์การแรงงาน ก็ถือว่าเป็นความก้าวหน้าที่สำคัญ เพราะมันจะช่วยให้สมาชิกได้ฝึกฝนการคิดวิเคราะห์ถึงภาพรวมของสังคมไทย ที่ฝ่ายรัฐทุนนิยมพยายามปิดบังผ่านกฎหมายแรงงานที่ห้ามไม่ให้สหภาพแรงงาน ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง ทั้งๆ ที่การเมืองกับเศรษฐกิจเป็นเรื่องเดียวกัน
แนวทางการดำเนินงาน
1. เร่งสร้างและขยายกลุ่มศึกษาในหลายระดับ เป็นประจำทุกสัปดาห์เพื่อศึกษานโยบายและเรื่องอื่นๆ ที่มากกว่า “ปัญหาปากท้อง” และมีเป้าหมายที่ชัดเจนในการสร้างผู้ปฏิบัติงานรุ่นใหม่ให้สามารถนำตนเองได้ เช่น สามารถดำเนินการประชุมได้ สามารถเป็นผู้นำเสนอหัวข้อศึกษาได้ และสามารถเขียนบทความเพื่อพัฒนากระบวนการคิดได้
2. เร่งสร้าง นสพ.การเมือง ของตนเอง รวมถึงสื่ออื่นๆ เช่นอินเตอร์เน็ต เพื่อใช้เป็นเครื่องมือเผยแพร่นโยบายแนวคิดทางเศรษฐกิจและการเมือง ไปสู่สมาชิก และคนใหม่ๆ นอกจากนี้ยังช่วยทำให้สมาชิกแสดงความ “รับผิดชอบต่อองค์กร” เพราะสมาชิกต้องช่วยนำ นสพ. ไปขาย จึงจำเป็นต้องอ่านเนื้อหาและถกเถียงกับคนอื่นเพื่อปกป้องนโยบายเหล่านี้
3. เร่งสร้างแผนเพื่อขยายฐานสมาชิกไปสู้กรรมาชีพหนุ่มสาวและนักศึกษา เพื่อสร้างความกระตือรือร้นความทันสมัยให้กับองค์กร
(ที่มา)
http://turnleftthai.blogspot.dk/2012/09/blog-post_4884.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น