หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

เมื่อขบวนการเคลื่อนไหวเลือกจับอาวุธ

เมื่อขบวนการเคลื่อนไหวเลือกจับอาวุธ

 

 

เมื่อขบวนการเคลื่อนไหวเลือกจับอาวุธ[1]

แปลโดย  
นุ่มนวล  ยัพราช

ไมค์ กอนซาเลซ
เสนอว่าการต่อสู้ที่จับอาวุธมีทางเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อมันเป็นการตอบโต้ต่อ การถูกปราบปรามโดยรัฐ หลายคนมองว่าขบวนการเคลื่อนมวลชนเดินผิดแนวทางโดยเลือกใช้แนวทางการต่อสู้ แบบจับอาวุธ ในทุกมิติของการต่อสู้แบบกองกำลังมันพลิกคว่ำความทรงพลังอันยอดเยี่ยมของมวล ชนไปสู่สงครามกลางเมืองที่เต็มไปด้วยความเจ็บปวด ผู้วิจารณ์มีอารมณ์ความโศกเศร้าแทนที่จะเป็นความโกรธแค้น เขามองว่าขบวนการปฏิวัติได้สูญเสียความชอบธรรม และการหยุดการนองเลือดกลายเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากที่สุด

พวกนี้เสียดายที่ขบวนการปฏิวัติไม่เลือกเดินในแนวทางสันติวิธีเท่านั้น แต่ไมค์ กอนซาเลซ คิดว่าข้อเสนอนี้  ไม่ได้รับการพิสูจน์ในทางประวัติศาสตร์ ขบวนการปฏิวัติไม่ได้เลือกที่จะจับอาวุธง่ายๆ ถ้าเป็นการตัดสินใจภายใต้ยุทธศาสตร์การต่อสู้ปกติ แต่พวกเขาถูกบังคับด้วยสถานการณ์


ทุกรัฐทุนนิยมมันดำรงอยู่ได้ภายใต้เงื่อนไขสุดท้ายคือการใช้กำลังบังคับ หรือที่ แอนโทนีโอ กรัมชี่ นักปฏิวัติชาวอิตาลี่ ได้อธิบายไว้
"กำปั้นเหล็กของรัฐจะถูกปกปิดด้วยถุงมือกำมะหยี่ ภายใต้สถานการณ์ที่เป็นปกติชนชั้นนำเลือกที่จะปกครองด้วยถุงมือกำมะหยี่ภาย ใต้พันธสัญญา หรือ กฎหมาย มากกว่าที่จะใช้กำลังบังคับ แต่เมื่อใดที่รัฐถูกท้าท้ายอย่างหนัก การใช้กำลังบังคับปรามอย่างป่าเถื่อนจะเผยตัวของมันออกมาอย่างเป็นระบบ"

กรณีตัวอย่างที่เกิดขึ้น ในประเทศชีลี ในปี 1973(๒๕๑๖) ชนชั้นกรรมาชีพได้เริ่มเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและสถาบันต่างๆของสังคม และสามารถตั้งคำถามและท้าทายโครงสร้างอำนาจของรัฐเดิมได้อย่างทรงพลัง หลังจากนั้นพวกเขาถูกตอบโต้กลับจากอำนาจรัฐอย่างป่าเถื่อน โดยกองทัพได้ปราบปรามคนงานอย่างเป็นระบบด้วยรัฐประหารขอ
งนายพลปิโนเช่ นายพลเผด็จการ ได้พูดว่าเขากำลังต่อสู้กับศัตรูภายใน –ใครก็ตามที่เป็นและสร้างปัญหาให้กับระเบียบเดิมของชนชั้นปกครองนั่นเอง

ในทศวรรษต่อมา
มาเกเรท แททเชอร์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ได้ใช้ประโยคเดียวกันเพื่อปราบทำลายการนัดหยุดงานของคนงานเหมืองแร่ ผ่านการระดมกองกำลังของรัฐ

เช่นเดียวกัน เมื่อประธานาธิบดี บาชา อัลอะสัด ของซีเรีย ออกมาประกาศว่าเขาจะใช้อาวุธเคมีและชีวภาพ เพื่อต่อสู้กับฝ่ายกบฏซึ่ง อัลอะสัด อ้างว่าเป็น
“พวกต่างชาติ” มันมีสาระอันเดียวกันอย่างสุดขั้ว

การป้องกันตัวเอง


คำถามเกี่ยวกับวิธีการที่จะปกป้องขบวนการอย่างไรเป็นคำถามที่หลีกเลี่ยงไม่ ได้  ถ้าพวกเรารู้ล่วงหน้าว่ารัฐทุนนิยมจะใช้กองกำลังติดอาวุธปราบปรามเรา


ทุกวันนี้ในซีเรีย ขบวนการเคลื่อนไหวที่เริ่มต้นด้วยความสันติเพื่อเรียกร้องให้มีการปฏิรูป ได้หันมาเลือกใช้แนวทางการจับอาวุธเพื่อตอบโต้การสังหารโหดของรัฐซีเรีย ซึ่งกำลังเกิดขึ้น นี่ไม่ใช่สูตรที่จะนำไปสู่ความพ้ายแพ้ของมวลชน กองกำลังขนาดใหญ่ของรัฐเต็มไปด้วยอาวุธมหาศาลแต่ไม่ได้หมายความว่ามันจะเป็น เครื่องมือที่ปราบปรามประชาชนที่กำลังลุกสู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเสมอไป


ประวัติศาสตร์ได้เสนอหลายช่วงเหตุการณ์ให้เราศึกษา ที่ดุลอำนาจไม่ได้ไปในทิศทางของรัฐ  จาก คอมมูนปารีส 1879 ถึง การปฏิวัติรัฐเซีย และ จากการปฏิวัติสเปน 1936 ถึง การลุกขึ้นสู้ของชาวอาหรับ(อาหรับสปริง) ด้วยเหตุผลที่เฉพาะกับช่วงเวลาหนึ่งๆ ที่ประชาชนธรรมดา ปฏิเสธที่จะถูกปกครองด้วยกติกาเดิมๆ ขบวนการมวลชนได้ผุดขยายขึ้นมา เหมือนกับที่มันได้เกิดขึ้นในช่วงนี้ที่ประเทศซีเรีย



ในคอมมูนปารีส ภายในกำแพงเมืองพวกเขาได้สร้างรัฐบาลของชนชั้นกรรมาชีพเป็นครั้งแรกในโลก แต่พวกเขาได้ถูกบังคับให้ปกป้องตัวเอง จากการบุกเข้ามาของกองทัพปรัสเซียและจากการโจมตีของรัฐบาลทุนนิยมฝรั่งเศส เพื่อปกป้องตนเองคอมมูนปารีสต้องจัดตั้งกองกำลังแห่งชาติขึ้นมา ซึ่งมันเป็นอะไรที่มากกว่ากองทัพ เพราะมันเป็นทั้งกองกำลัง และองค์กรจัดต้องของชนชั้นกรรมาชีพและเป็นรัฐในเวลาเดียวกัน


ปัญหาของคอมมูนปารีสไม่ได้อยู่ที่ว่าพวกเขาจับอาวุธเร็วเกินไปหรือไม่
คาร์ล มาร์ค ได้กล่าวไว้ว่า “กองกำลังปารีสคือกองกำลังติดอาวุธแห่งการปฏิวัติ” แต่คอมมูนปารีสมันถูกทำลายไปเพราะพวกเขาไม่ได้ท้าทายรัฐทุนนิยมโดยตรงและกอง กำลังของรัฐทุนนิยมนี้ อีกตัวอย่างหนึ่งคือสงครามกลางเมืองสเปน หัวหน้าเผด็จการทหารที่ทำรัฐประหารในเดือน กรกฎาคม 1936(๒๔๗๙) มีความมั่นใจมากว่าจะสามารถเอาชนะต่อรัฐบาลสาธารณรัฐสเปนได้ภายในไม่กี่วัน แต่กลับกลายเป็นว่าเกิดสงครามกลางเมืองยาวนานถึง 3 ปี

กองกำลังประชาชนของกรรมาชีพสเปน


การขัดขืนรัฐประหารของกรรมาชีพได้ทำให้สถานการณ์เปลี่ยน คนงานมีอาวุธน้อยกว่าฝ่ายกองทัพ แต่แนวคิดทางการเมืองและการร่วมกันสู้ คือสิ่งที่ทำให้กรรมาชีพสามารถยับยั้งทหารมืออาชีพได้ พวกเขาไม่ได้ต่อสู้เพื่อปกป้องรัฐบาล แต่เป็นการต่อสู้อย่างต่อเนื่องเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม มันเป็นการปฏิวัติที่อยู่บนพื้นฐานประชาธิปไตยของคนงานและความเป็นธรรมทาง สังคม


โศกนาฎกรรมของกรรมาชีพสเปนไม่ได้อยู่ที่ว่าพวกเขาติดอาวุธและต่อสู้กับพวก ฟาสซิสต์ แต่มันอยู่ที่ว่าพวกเขาถูกบังคับให้วางอาวุธของพวกเขาลง พรรคคอมมิวนิสต์(สายสตาลิน)และแนวร่วมของเขาได้บังคับให้องค์กรมวลชนที่ลุก ขึ้นสู้ท่ามกลางบรรยากาศประชาธิปไตย ต้องวางอาวุธและส่งให้รัฐบาลที่ต้องการปกป้องอำนาจของรัฐทุนนิยม


ตอนนี้มันมีเสียงเรียกร้องในทำนองเดียวกันในกรณี ของซีเรียให้มีการหยุดยิง แต่ในสภาวะปัจจุบันและเงื่อนไขแบบนี้ การปลดอาวุธกองกำลังกบฎ จะเป็นการเปิดทางให้รัฐเผด็จการซีเซียแก้แค้นเอาคืนอย่างเหี้ยมโหดเท่านั้น 

พวกเราจะต้องตระหนักว่ารัฐที่ใช้ความรุนแรงภายใต้การถูกท้าทาย มันคือสัญญานของความอ่อนแอ ของการมีวิกฤติอย่างหนัก และการไร้ประสิทธิภาพของรัฐในการเผชิญหน้ากับความท้าทายจากมวลชน แน่นอนมันไม่ได้หมายความว่าพวกเรากำลังเรียกร้องให้ใช้ยุทธศาสตร์การต่อสู้ แบบติดอาวุธ

การปกป้องการปฏิวัติและความก้าวหน้าของมันคือสาระหลักสำคัญ อย่างไรก็ตามอาวุธที่ทรงพลังมากที่สุดในการต่อสู้ของชนชั้นเรา ไม่ใช่ปืนยาว หรือการประท้วงบนท้องถนน แต่มันคือการร่วมกันควบคุมปัจจัยการผลิต
การปฏิวัติ เหนือสิ่งอื่นใดมันคือการเปลี่ยนอำนาจที่อยู่ภายใต้การควบคุมของชนชั้น ปกครองซึ่งเป็นคนส่วนน้อยไปสู่ประชาชนคนส่วนใหญ่ ซึ่งมันไม่ได้หมายถึงแค่การต่อสู้ด้วยอาวุธแต่มันคือการเปลี่ยนแปลงในชีวิต ประจำวัน

การปฏิวัติจะเอาชนะกองทัพได้อย่างไร


อย่างที่พวกเราเห็น กองกำลังติดอาวุธคือแนวป้องกันสุดท้ายของรัฐทุนนิยมเมื่อมันถูกท้าทาย ดังนั้นประเด็นหลักที่เราต้องศึกษาคือ
กองทัพ

บ่อยครั้งฝ่ายซ้ายจะอาศัยการแตกแยกในกองทัพท่ามกลางการปฏิวัติ และนายทหารรากหญ้าจะหันไปต่อต้านผู้บังคับบัญชาแทน เรื่องแบบนี้มันเกิดขึ้น แต่มันจะไม่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ ทุกกองกำลังของรัฐจะเต็มไปด้วยชนชั้นกรรมาชีพที่ถูกเกณฑ์ไปเป็นกองกำลัง นายทหารชาวอเมริกันและชาวอังกฤษที่ตายในประเทศอัฟกานิสถาน โดยส่วนใหญ่ก็เป็นชนชั้นกรรมาชีพ ในทางกลับกันการตายของผู้บังคับบัญชาเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นยาก แต่จะกลายเป็นเรื่องที่มีความสำคัญในข่าวภาคค่ำทันที


แต่การจัดตั้งทหารเกณฑ์ในกองทัพของรัฐไม่ง่ายเหมือนการจัดตั้งสหภาพแรงงานใน สถานที่ทำงาน ทหารเกณฑ์จะตกอยู่ภายใต้กระบวนการการกล่อมเกลาเป่าหูให้เชื่อฟัง นักปฏิวัติชาวเยอรมัน
คาร์ล ไลบนิค ได้เคยพูดว่า ลัทธิทหารสมัยใหม่ คือ “การติดอาวุธให้กับประชาชนเพื่อให้ประชาชนสู้กันเอง, กรรมาชีพส่วนหนึ่งถูกบังคับให้กลายเป็นผู้กดขี่”

เขากล่าวต่อว่า
“ทหารได้กลายเป็นศัตรูและเป็นฆาตกรต่อชนชั้นของตัวเอง ต่อสหาย เพื่อน พ่อแม่ พี่สาว น้องสาว และเด็กๆ, พวกเขาได้ฆาตกรรม ทั้งอดีตและอนาคตของตนเอง” หนังฮอลลีวูดได้แสดงให้เราเห็น ทหารเกณฑ์ถูกทำลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และแปลกแยก ทั้งหัวใจและร่างกาย ถูกจับแยกออกไปจากโลกของตนเอง จากชนชั้นของตัวเอง

ในเรื่องลัทธิความคิด ทหารจะถูกเตรียมเพื่อให้ป้องรัฐให้พ้นจากภัยที่มาจากศัตรูข้างนอก ใบหน้าของพวกศัตรูได้เปลี่ยนไปตามกาลเวลาแต่สาระสำคัญยังเหมือนเดิม คือ
“การเป็นคนอื่น” ไม่ว่าจะเป็นกรณีรัสเซียในช่วงสงครามเย็นหรืออาหรับในปัจจุบัน

แต่ในทุกกองทัพมันมีการเตรียมตัว ถ้ามาถึงจุดหนึ่ง รัฐทุนนิยมพร้อมที่จะใช้กำปั้นเหล็กนั้นเพื่อทำลายประชาชนของตนเอง ถ้าประชาชนเหล่านั้นลุกขึ้นมาท้าทายรัฐและระบบของมัน แต่นี่ไม่ได้หมายความว่ามันไม่มีความหวัง ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ว่ามวลชนจะเอาชนะกองกำลังทหารในรูปแบบการต่อสู้ทางการ ถ้าเป็นแบบนี้ นักปฏิวัติคงไม่มีทางสำเร็จ


พวกเรามีอาวุธอย่างอื่น นั่นคือ ความคิด ในการลุกขึ้นสู้ของมวลชน พวกเราไม่ต้องการสู้กับทหารทั้งหมดแต่พวกเราต้องการโน้มน้าวพวกเขาให้ เปลี่ยนใจ ถ้ากองทัพแตกแยก มันเป็นเพราะว่าองค์กรทางการเมืองของชนชั้นกรรมาชีพเอาชนะความคิดกระแสหลัก ในหมู่ทหาร โดยการเสนออนาคตที่ดีกว่าให้กับพวกเขา


(ที่มา)
http://turnleftthai.blogspot.dk/2012/09/blog-post_24.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น