"ชุดดำ"หรือ"ใจดำ"
ทุกครั้งของการชุมนุมใหญ่ประท้วงรัฐบาลของประชาชนมักจะมี "มือที่ 3" เกิดขึ้นเสมอ
14 ตุลาคม 2516 ก็มี "มือที่ 3"
จนถึงวันนี้ก็ยังไม่มีใครรู้ว่าใครยิงปืนจากกองสลาก ใครสั่งให้ตีนักศึกษาตกน้ำที่บริเวณสวนจิตรลดา
เหตุการณ์พฤษภาคม 2535 ก็มี "มือที่ 3"
ถ้า พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี ไม่ออกมาให้สัมภาษณ์ว่าเขาคือผู้อยู่เบื้องหลังการห้าม พล.ต.จำลอง ศรีเมือง จากสนามหลวงไปยังสะพานผ่านฟ้า
เป็นคนไล่ตีทหาร และเผาโรงพักนางเลิ้ง
เราก็คงไม่รู้ว่ามี "มือที่ 3" ในเหตุการณ์ครั้งนั้น
แต่เพราะเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 หรือ พฤษภาคม 2553 "มวลชน" เป็นผู้ชนะอย่างเด็ดขาด
14 ตุลาคม 2516 ก็มี "มือที่ 3"
จนถึงวันนี้ก็ยังไม่มีใครรู้ว่าใครยิงปืนจากกองสลาก ใครสั่งให้ตีนักศึกษาตกน้ำที่บริเวณสวนจิตรลดา
เหตุการณ์พฤษภาคม 2535 ก็มี "มือที่ 3"
ถ้า พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี ไม่ออกมาให้สัมภาษณ์ว่าเขาคือผู้อยู่เบื้องหลังการห้าม พล.ต.จำลอง ศรีเมือง จากสนามหลวงไปยังสะพานผ่านฟ้า
เป็นคนไล่ตีทหาร และเผาโรงพักนางเลิ้ง
เราก็คงไม่รู้ว่ามี "มือที่ 3" ในเหตุการณ์ครั้งนั้น
แต่เพราะเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 หรือ พฤษภาคม 2553 "มวลชน" เป็นผู้ชนะอย่างเด็ดขาด
พร้อมกับการหรี่ตาให้กับการเผาตึกกองสลาก หรือโรงพักนางเลิ้ง
จำไม่ได้กับวิธีการต่อสู้ของมวลชนด้วยการขับรถเมล์พุ่งชนแนวทหาร
"ผู้ชนะ" คือ "ผู้ถูกต้อง"
แต่เหตุการณ์ เมษา-พฤษภาฯ "มวลชนเสื้อแดง" ไม่ได้เป็นผู้ชนะ
เขาเป็น "ผู้แพ้" เหมือนกับนักศึกษาในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519
แต่ประวัติศาสตร์มักเขียนโดย "ผู้ชนะ"
ตัวละคร "ชายชุดดำ" จึงเกิดขึ้น
ถามว่า "ชายชุดดำ" กับการใช้อาวุธสงครามมีจริงหรือไม่
ตอบว่ามีความเป็นไปได้ที่จะมี "มือที่ 3" กระทำการเช่นนั้นจริง
แต่ไม่ได้มีบทบาทถึงขั้นเป็นกองกำลังระดับ 500 คน
เพราะถ้ายิ่งใหญ่ขนาดนั้น ทหารคงเสียชีวิตมากกว่านี้
และถ้ามีการทำเป็นขบวนการจริง ก็เป็นเรื่องน่าแปลกใจที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ครองอำนาจต่ออีกกว่า 1 ปี กลับไม่สามารถหาหลักฐานเรื่องขบวนการ "ชายชุดดำ" ได้เลย
"ชายชุดดำจึงเหมือนตัวละครในหน้าประวัติศาสตร์ไทยแค่ 1 บรรทัด แต่สามารถสร้างภาพยนตร์ได้ทั้งเรื่อง
ที่สำคัญ "ชายชุดดำ" กลายเป็นเหตุผลสร้างความชอบธรรมให้กับการปราบปรามประชาชนด้วยกระสุนจริง
ซึ่งเป็นตรรกะที่ผิดเพี้ยนอย่างยิ่ง
กรณีที่ละเอียดอ่อนเช่นนี้เราควรตั้งคำถามทีละขั้นตอน
1.ชายชุดดำมีจริงหรือไม่
2.ถ้ามีจริง ชายชุดดำกลุ่มนี้มีบทบาทแค่ไหนในเหตุการณ์ครั้งนี้
ถึงขนาดเป็นกองกำลังจริงหรือ
3.แกนนำ นปช.รู้เห็นเป็นใจกับการกระทำของชายชุดดำหรือเปล่า
ความรับรู้ของ "ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ-จตุพร พรหมพันธุ์" ในเหตุการณ์นี้จะอยู่ในระดับ พล.ต.จำลอง หรือ "ปริญญา เทวานฤมิตร" ในเหตุการณ์ "พฤษภาทมิฬ"
รู้กันหรือไม่รู้เรื่องกับการกระทำของ พล.อ.พัลลภ
แต่คำถามที่ 4 สำคัญที่สุด
ไม่ว่า "ชายชุดดำ" จะมีจริงหรือไม่ หรือเกี่ยวพันกับแกนนำ นปช.ระดับใด รัฐบาลมีสิทธิปราบปรามประชาชนด้วยกระสุนจริงหรือไม่
มีสิทธิใช้ "พลซุ่มยิง" กับการสลายมวลชนหรือไม่
นี่คือ คำถามที่สำคัญที่สุด
และเป็นคำถามที่ "สมชาย หอมละออ" สมควรต้องตอบอย่างยิ่ง
(ที่มา)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1348302351&grpid=&catid=02&subcatid=0200
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น