ซีรีส์จำนำข้าว (2) พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ : จำนำดีกว่าประกันรายได้ รอพิสูจน์ฝีมือรัฐบาล
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคมที่ผ่านมา กลุ่มปฏิญญาหน้าศาล เชิญ พิชิต
ลิขิตกิจสมบูรณ์ อาจารย์จากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มาพูดคุยเรื่องโครงการรับจำนำข้าว
เขาอธิบายเรื่องนี้อย่างเป็นระบบและง่ายต่อการทำความเข้าใจ
มีประเด็นที่น่าสนใจ
โดยเฉพาะรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการประกันรายได้สมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์
และโครงการรับจำนำในสมัยรัฐบาลเพื่อไทย
ซึ่งอาจเป็นมุมมองที่แตกต่างไปจากนักเศรษฐศาสตร์โดยทั่วไป
หรือภาคประชาสังคม
ที่เห็นกันว่าหากมีสองตัวเลือกโครงการประกันรายได้น่าจะเป็นตัวเลือกที่ดี
กว่า
ประชาไทจึงสรุปความในช่วงอภิปรายนี้โดยแบ่งเป็นหัวข้อต่างๆ เพื่อสะดวกต่อการอ่าน พร้อมกับตั้งคำถามเพิ่มเติมในตอนท้ายเกี่ยวกับกลไกตลาด และแนวทางในระยะยาว ซึ่งพิชิต สรุปไว้ว่า หากจะถามว่าเห็นด้วย 100% ไหม ก็คงไม่ใช่เช่นนั้น แต่หากมีตัวเลือกในเชิงนโยบายเพียงเท่านี้ เขาก็ไม่คัดค้านโครงการรับจำนำเพราะผลประโยชน์ที่ตรงและทั่วถึงกับชาวนา มากกว่า พร้อมร่วมลุ้นรอดูฝีมือการบริหารสต๊อกข้าวของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม เขายอมรับว่าถึงที่สุดก็เชื่อว่านโยบายนี้น่าจะเป็นนโยบายระยะสั้นเท่านั้น
อะไรคือเหตุผลของทั้งหมดที่กล่าวมา คำตอบอยู่ในเนื้อหาด้านล่าง
ประชาไทจึงสรุปความในช่วงอภิปรายนี้โดยแบ่งเป็นหัวข้อต่างๆ เพื่อสะดวกต่อการอ่าน พร้อมกับตั้งคำถามเพิ่มเติมในตอนท้ายเกี่ยวกับกลไกตลาด และแนวทางในระยะยาว ซึ่งพิชิต สรุปไว้ว่า หากจะถามว่าเห็นด้วย 100% ไหม ก็คงไม่ใช่เช่นนั้น แต่หากมีตัวเลือกในเชิงนโยบายเพียงเท่านี้ เขาก็ไม่คัดค้านโครงการรับจำนำเพราะผลประโยชน์ที่ตรงและทั่วถึงกับชาวนา มากกว่า พร้อมร่วมลุ้นรอดูฝีมือการบริหารสต๊อกข้าวของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม เขายอมรับว่าถึงที่สุดก็เชื่อว่านโยบายนี้น่าจะเป็นนโยบายระยะสั้นเท่านั้น
อะไรคือเหตุผลของทั้งหมดที่กล่าวมา คำตอบอยู่ในเนื้อหาด้านล่าง
ปูพื้นภาพรวม เกษตรกรรมไทยอยู่ตรงไหน
ภาพ รวม ในประเทศไทย รายได้ประชาชาติ หรือจีดีพี นั้น จะเห็นว่าภาคเกษตรกรรมสำคัญทั้งในแง่รายได้และจำนวนคน ในภาคเกษตรมีรายได้ 10-12% ของรายได้ประชาชาติต่อปี นั่นคือ คนไทยผลิตสิ่งของมาขาย 100 บาทเป็นสินค้าเกษตร 10 กว่าบาท แต่ใน 10 กว่าบาทนั้นมีคนไทยแบ่งรายได้นั้นหรือใช้ชีวิตในภาคเกษตรประมาณ 40% ดังนั้นจะเห็นได้ว่าคนในภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการจะมีรายได้โดยเฉลี่ยสูงก ว่าบริษัทใหญ่ๆ ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการ ลองไปดูรายชื่อผู้ถือหุ้น โดยเฉพาะนามสกุล บริษัทใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์จะพบว่าเกือบทั้งหมดอยู่ในกำมือของกลุ่มเศรษฐี เพียงไม่กี่ตระกูล ในธุรกิจเกือบทุกประเภทมีประมาณ 20 กว่านามสกุล และส่วนที่ใหญ่ที่สุดและมีเกือบในทุกที่คือทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยผ่านบริษัทถือหุ้นเช่น ทุนลดาวัลย์ เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้เปิดเผยเป็นการทั่วไป
จึงกล่าวได้ว่า ระบบเศรษฐกิจของไทยผูกขาดอย่างมาก อยู่ในกลุ่มตระกูลเก่าๆ ไม่กี่ตระกูล เรียกว่า ทุนเก่า หากินด้วยกันมาเกือบร่วมร้อยปี
ในภาคเกษตร มีสินค้าเกษตรหลายตัว แต่ตัวสำคัญจริงๆ คือ ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง ข้าวโพด ปาล์มน้ำมัน แต่ในบรรดาพืชเหล่านี้ กลุ่มเกษตรกรที่เป็นกลุ่มใหญ่และมีความสำคัญในแง่เม็ดเงินคือ ข้าว กับยางพารา ข้าวอยู่ในภาคกลาง เหนือ อีสาน ส่วนยางพารา หลักๆ อยู่ภาคใต้ ในบรรดาสินค้าเหล่านี้ จะมีกลุ่มทุนเกษตรเข้ามากินในลักษณะเป็นพ่อค้าคนกลางเกือบทุกตัว และมักดำเนินธุรกิจส่งออกด้วย
ภาพ รวม ในประเทศไทย รายได้ประชาชาติ หรือจีดีพี นั้น จะเห็นว่าภาคเกษตรกรรมสำคัญทั้งในแง่รายได้และจำนวนคน ในภาคเกษตรมีรายได้ 10-12% ของรายได้ประชาชาติต่อปี นั่นคือ คนไทยผลิตสิ่งของมาขาย 100 บาทเป็นสินค้าเกษตร 10 กว่าบาท แต่ใน 10 กว่าบาทนั้นมีคนไทยแบ่งรายได้นั้นหรือใช้ชีวิตในภาคเกษตรประมาณ 40% ดังนั้นจะเห็นได้ว่าคนในภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการจะมีรายได้โดยเฉลี่ยสูงก ว่าบริษัทใหญ่ๆ ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการ ลองไปดูรายชื่อผู้ถือหุ้น โดยเฉพาะนามสกุล บริษัทใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์จะพบว่าเกือบทั้งหมดอยู่ในกำมือของกลุ่มเศรษฐี เพียงไม่กี่ตระกูล ในธุรกิจเกือบทุกประเภทมีประมาณ 20 กว่านามสกุล และส่วนที่ใหญ่ที่สุดและมีเกือบในทุกที่คือทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยผ่านบริษัทถือหุ้นเช่น ทุนลดาวัลย์ เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้เปิดเผยเป็นการทั่วไป
จึงกล่าวได้ว่า ระบบเศรษฐกิจของไทยผูกขาดอย่างมาก อยู่ในกลุ่มตระกูลเก่าๆ ไม่กี่ตระกูล เรียกว่า ทุนเก่า หากินด้วยกันมาเกือบร่วมร้อยปี
ในภาคเกษตร มีสินค้าเกษตรหลายตัว แต่ตัวสำคัญจริงๆ คือ ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง ข้าวโพด ปาล์มน้ำมัน แต่ในบรรดาพืชเหล่านี้ กลุ่มเกษตรกรที่เป็นกลุ่มใหญ่และมีความสำคัญในแง่เม็ดเงินคือ ข้าว กับยางพารา ข้าวอยู่ในภาคกลาง เหนือ อีสาน ส่วนยางพารา หลักๆ อยู่ภาคใต้ ในบรรดาสินค้าเหล่านี้ จะมีกลุ่มทุนเกษตรเข้ามากินในลักษณะเป็นพ่อค้าคนกลางเกือบทุกตัว และมักดำเนินธุรกิจส่งออกด้วย
(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/10/43117
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น