หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เสรีนิยมไปกันได้ด้วยดีกับเศรษฐกิจพอเพียง?

เสรีนิยมไปกันได้ด้วยดีกับเศรษฐกิจพอเพียง?




โดย สามชาย ศรีสันต์



เมื่ออาจารย์คณะพัฒนาเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ยื่นขอให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ โครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลขัดต่อรัฐธรรมนูญฉบับที่มาจากคณะรัฐประหาร พ.ศ.2550 มาตรา  84 (1) ข้อความว่า รัฐต้องดำเนินการตามนโยบายด้านเศรษฐกิจต่อไปนี้ “สนับ สนุนระบบเศรษฐกิจแบบเสรีและเป็นธรรมโดยอาศัยกลไกตลาด และสนับสนุนให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน   โดยต้องยกเลิกและละเว้นการตรากฎหมายและกฎเกณฑ์ที่ควบคุมธุรกิจซึ่งมีบท บัญญัติที่ไม่สอดคล้องกับความจำเป็นทางเศรษฐกิจ และต้องไม่ประกอบกิจการที่มีลักษณะเป็นการแข่งขันกับเอกชน  เว้นแต่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐ...”  ทำให้เกิดความสงสัยอย่างมาก เมื่อเหลียวกลับไปมองมาตราที่อยู่ด้านบนมาตรา 84  เพราะมีข้อความที่ขัดแย้งกันอย่างสิ้นเชิงต่อความรู้สึกที่เคยรับรู้ผ่าน สื่อสารธารณะในสังคมไทยกล่าวคือ มาตรา 83 ของรัฐธรรมนูญเขียนไว้ว่า “รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการดำเนินการตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”

ทั้งสองมาตราเป็นสิ่งที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้รัฐบาลไทยต้องดำเนินนโยบายตาม ที่ระบุไว้นี้ จะทำเป็นอย่างอื่นมิได้  คำถามที่ชวนให้สงสัยก็คือ  เศรษฐกิจพอเพียงกับเสรีนิยมอยู่ด้วยกันได้ด้วยหรือ แล้วหน้าตาของนโยบายการปฏิบัติจะออกมาอย่างไร ในเมื่อฝ่ายหนึ่งบอกให้พอเพียง กินใช้เท่าที่ไม่ทำให้ตนเองเดือดร้อน พอใจกับสิ่งที่มีอยู่ ไม่โลภ ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่เป็นหนี้ กับอีกฝ่ายที่ส่งเสริมการแข่งขัน การค้ากำไร โดยไม่มีเส้นจำกัดขีดกั้น ?

ต่อเมื่อได้คิดทบทวน วิเคราะห์แล้วจึงได้คำตอบว่า ทั้งสองสิ่งไปด้วยกันอย่างลงรอย สอดคล้องสนับสนุนซึ่งกันและกันในบริบทของสังคมไทย ด้วยลักษณะดังต่อไปนี้

เสรีนิยม (libertarian) พวกเสรีนิยมเชื่อว่า มนุษย์เป็นเจ้าของร่างของตนเอง เพราะร่างกายคือสิ่งที่ติดตัวเรามาแต่เกิด อยู่กับเรา และไม่มีใครสามารถพรากไปจากเราได้ มนุษย์จึงมีเสรีอย่างเต็มที่ที่จะกระทำใด ๆ ต่อร่างกาย  การถูกใช้กำลังทำร้าย บังคับ ควบคุมต่อร่างกายถือเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ซึ่งเป็นสิทธิที่ติดตัวมาพร้อมกับร่างกาย  ดังนั้น พวกเสรีนิยมเมื่อได้ลงแรงไปกับการทำงานใด ๆ เพื่อผลิต สร้าง ทางเศรษฐกิจด้วยร่างกายที่ตนเป็นเจ้าของแล้ว  ผลผลิตที่ได้มาจากแรงงานนั้นจะต้องตกแก่ตนผู้เป็นเจ้าของแรงงาน ทรัพย์สินที่เกิดขึ้น   ผลผลิตจากการค้า การลงทุน จึงเป็นทรัพย์สินที่ไม่พึงแบ่งปัน หรือกระจายให้กับใคร เพราะเมื่อผู้อื่นไม่ได้ลงแรงผลิตก็ย่อมไม่มีสิทธิที่จะได้รับ เช่นเดียวกันเมื่อรัฐเข้ามาแทรกแซงกลไกราคาทำให้ผลกำไรที่เคยได้รับน้อยลงไป ทั้งที่ตนเองลงแรงเท่าเดิมตามกลไกตลาด ในทัศนะของพวกเสรีนิยมย่อมไม่สามารถยอมรับได้

ความยุติธรรมของเสรีนิยมจึงเป็นเรื่องของการที่รัฐต้องไม่เข้ามายุ่ง เกี่ยวแทรกแซงกับการจัดโครงสร้างการกระจายรายได้ให้ทั่วถึงและเท่าเทียม  ในสายตาของคนกลุ่มนี้ ความยากจน ความเหลื่อมล้ำ ไม่ได้แสดงให้เห็นว่า สังคมไม่เป็นธรรม ในทางตรงข้าม มันเป็นธรรมดีอยู่แล้ว เพราะคนจนไม่มีความสามารถมากพอที่จะหารายได้หรือทรัพย์สินได้เท่ากับคนรวย  รัฐจึงไม่ควรอย่างยิ่งที่จะมาบังคับด้วยการจัดสรรงบประมาณ หรือจัดเก็บภาษีเพื่อให้นำเงินของคนรวยไปช่วยคนจน เพราะมันละเมิดสิทธิความเป็นเจ้าของทรัพย์สินเสมือนเป็นการขโมยแรงงานไปให้ คนยากจนที่ด้อยกว่า
 
(อ่านต่อ)
http://prachatai.com/journal/2012/10/42932

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น