หน้าเว็บ

วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2555

โครงสร้างความสัมพันธ์ของสังคมไทยใน 'แรงเงา'

โครงสร้างความสัมพันธ์ของสังคมไทยใน 'แรงเงา'

 

 
ยุกติ มุกดาวิจิตร: ทำไมพระเอกมันโง่จัง


"สำหรับผู้เขียนนั้นมิได้เป็นแฟนพันธุ์แท้ของละครเรื่องดังกล่าว แต่เนื่องจากบุคคลใกล้ชิดตกอยู่ในสภาพที่เรียกได้ว่า “ติดงอมแงม” ผู้เขียนจึงได้ติดตามละครเรื่องดังอยู่บ้างเป็นครั้งคราว กระนั้นก็ตาม จากการติดตามแบบห่างๆ อย่างห่วงๆ  เช่นนี้กลับพบว่า ละครเรื่องดังกล่าวมีความน่าสนใจมากกว่าประเด็นเรื่องการตบตีแย่งผัว แย่งเมีย แต่พบว่ามันสะท้อนให้เห็นถึงโครงสร้างความสัมพันธ์ของคนกลุ่มต่างๆ ในสังคมไทยได้ดีทีเดียว แม้ว่าจะไม่ชัดเจนและจงใจนักก็ตาม

อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนเองไม่ใช่นักวิจารณ์มืออาชีพ สิ่งที่จะเขียนต่อไปนี้ จึงคล้ายกับการจับแพะชนแกะ พยายามลากเรื่องราวในเนื้อเรื่องให้เข้าสู่โครงเรื่องที่ผู้เขียนวางเอาไว้ ดังนั้น ท่านผู้อ่านจึงอย่าหวังที่จะหาความเป็นวิชาการ หรือบทวิจารณ์ที่เข้มข้นลึกซึ้งจากบทความของผู้เขียนฉบับนี้

ผู้เขียนเห็นว่า “แรงเงา” เป็นภาพสะท้อนความเปลี่ยนแปลงของความสัมพันธ์ระหว่าง “บ้าน” กับ “เมือง” ในช่วง 50 ปีหลังนี้เป็นอย่างดี โดยแสดงผ่านตัวละครต่างๆ ที่สัมพันธ์กันอย่างสับสนวุ่นวายภายในเนื้อเรื่อง ซึ่งผู้เขียนได้แบ่งออกเป็นกลุ่มๆ ดังต่อไปนี้ หนึ่งคือ “พวกผู้ดีเก่า” สะท้อนผ่านตัวละครคือ “ผอ.เจนภพ” สองคือ “พวกผู้ดีใหม่” สะท้อนผ่านครอบครัวเมียหลวง “นพนภา” สามคือ ชนชั้นกลางในเมืองกรุง สะท้อนผ่านพระเอกของเรื่อง “วีกิจ” สี่คือ “ชนบทเก่า” ผ่านตัวละคร “มุตตา” และสุดท้ายคือ “ชนบทใหม่” ผ่านนางเอกสุดร้าย มากฤทธิ์อย่าง “มุนินทร์”"

(อ่านต่อ) 
http://www.prachatai.com/journal/2012/10/43405

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น