หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ทำไมต้อง "ปฏิรูปศาล"

ทำไมต้อง "ปฏิรูปศาล"

 


ทำไมต้อง "ปฏิรูปศาล"
ทำไมต้อง "ปฏิรูปศาล


รายการ Intelligence ตลอดเดือนกันยายนและตุลาคม นำเสนอตอนพิเศษ "อนาคตประเทศไทย" หรือ "Thailland 's Future หลังจากเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม กีฬา บันเทิง เทคโนโลยี มาแล้ว วันนี้จะเจาะลึก"กระบวนการยุติธรรม" ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ "ศาล" โดยตั้งโจทก์ไว้ว่า ทำไมต้อง "ปฏิรูปศาล"

รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเป็นหนึ่งในคณะนักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ ชี้แจงว่า การปฏิรูปศาลเป็นสิ่งจำเป็น เพราะตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ.2475 สถาบันศาลเป็นสถาบันที่แทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงให้ยึดโยงกับประชาชน เหมือนกับฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหาร ที่มีการเลือกตั้ง ทำให้เกิดการยึดโยงกับประชาชน

รศ.ดร.วรเจตน์ มองว่า การปฏิรูปศาล จำเป็นต้องปฏิรูปพร้อมกับ 4 ส่วน คือ ปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ ปฏิรูปสถาบันการเมืองและปฏิรูปองค์กรอิสระ ประเทศไทยเป็นประเทศที่ใช้ระบบศาลคู่ นับตั้งแต่รัฐธรรมนูญปี พ.ศ.2540 เป็นต้นมา มีศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และศาลรัฐธรรมนูญ แต่ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ระบบศาลคู่ หรือศาลเดี่ยว ปัญหาอยู่ที่การยึดโยงกับประชาชน โดยยังคงความอิสระในการทำหน้าที่พิพากษาคดีได้
 
ในประเด็นความเป็นอิสระนั้นรศ.ดร.วรเจตน์ อธิบายไว้เป็น 3 ส่วน คือ

1. อิสระในทางเนื้อหา หมายความว่าพิพากษาคดีไปตามวิชาชีพ ไม่รับใบสั่งจากใคร 
2.อิสระต่ออำนาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ คือศาลไม่จำเป็นต้องผูกพันกับศาลสูงที่เคยตัดสินแล้ว หากมีเหตุผลที่ดีกว่าก็สามารถกลับคำตัดสินได้ 
3.ศาลต้องเป็นอิสระต่ออิทธิพลทางสังคม หลักการนี้ใช้เฉพาะการกระทำการในทางตุลาการเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น