หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555

เปิดปม ‘ซีเอ็ด’ แบนเรื่องเพศ: มุมมอง LGBT และอื่นๆ-คำขอโทษจากผู้บริหาร

เปิดปม ‘ซีเอ็ด’ แบนเรื่องเพศ: มุมมอง LGBT และอื่นๆ-คำขอโทษจากผู้บริหาร

 

 

โดย มุทิตา เชื้อชั่ง

 

ในโลกยุคใหม่ เรื่องราวท้าทายทางความคิดมักเป็นประเด็นขึ้นมาได้โดยไม่ยากนัก อย่างเช่นกรณีจดหมายจากแผนกรับจัดจำหน่ายของ ‘ซีเอ็ด’ หรือ บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) ถึงคู่ค้า ที่แพร่หลายอยู่ในเฟซบุ๊ก และเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักถึงมาตรฐานใหม่ หรือ ข้อห้ามใหม่ 6 ข้อในการรับหนังสือเข้าพิจารณาจัดจำหน่ายของซีเอ็ด ซึ่งล้วนเกี่ยวพันกับประเด็นทางเพศ

“ทั้งนี้ ในส่วนของเนื้อหาขอให้เป็นความรับผิดชอบของผู้ฝากจัดจำหน่วยในการตรวจสอบ คัดครอง ปรับแก้เพื่อไม่ให้มีเนื้อหาสื่อไปในลักษณะ 6 ข้อดังนี้

1.วรรณกรรมที่มีลักษณะของชายรักชาย หญิงรักหญิง เป็นลักษณะรักร่วมเพศ

2.สื่อไปในทางขายบริการทางเพศ เช่น นักเรียน, นักศึกษา, Sideline ฯลฯ

3.ภาษาและเนื้อหาที่ใช้ หยาบโลนไม่สุภาพ ลามก, สัปดน, ป่าเถื่อน, วิปริต, ซาดิสต์, หยาบคาย ฯลฯ

4.เนื้อหามีการบรรยายถึงการมีเพศสัมพันธ์ อย่างโจ่งแจ้งและในที่สาธารณะ วิปริต ผิดธรรมชาติที่มนุษย์พึงเป็น เช่น ลิฟต์, น้ำตก, ลานจอดรถ ฯลฯ

5.เนื้อหาที่มีการทารุณกรรมทางเพศทั้งที่ เป็นภรรยาและมิใช่ภรรยา หรือทารุณต่อเด็ก, เยาวชน, สตรีและเครือญาติ อันบ่งบอกถึงการขัดต่อกฎหมาย ศีลธรรมอันดี

6.เนื้อหาที่บรรยายขั้นตอนการมีเพศสัมพันธ์ ที่เห็นภาพ และบรรยายให้เห็นภาพทางกายภาพของอวัยวะเพศอย่างชัดเจน จนทำให้สามารถเป็นเครื่องยั่วยุทางเพศ ทำให้เกิดความต้องการมีเพศสัมพันธ์ ไม่ถูกคน ไม่ถูกที่และไม่ถูกเวลา”  ส่วนหนึ่งของจดหมายจากซีเอ็ด

ไม่ทันข้ามคืนก็มีผู้ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นนี้ไว้มากมาย (อ่านตัวอย่างข้อถกเถียงที่น่าสนใจได้ในล้อมกรอบด้านล่าง)
  
ขณะเดียวกัน กลุ่มความหลากหลายทางเพศ หรือ LGBT (Lesbian Gay Bisexual and Transgender) ได้เริ่มต้นทำการรณรงค์คัดค้านมาตรฐานใหม่ดังกล่าวของซีเอ็ด โดยเปิดเพจ “ร่วมลงชื่อคัดค้านข้อกำหนดไม่จัดจำหน่ายหนังสือ ชายรักชาย/หญิงรักหญิง และวรรณกรรมโรแมนติก อิโรติก ในร้านซีเอ็ด” (อ่านรายละเอียดในล้อมกรอบด้านล่าง)

ฉันทลักษณ์ รักษาอยู่ คือผู้ทำงานรณรงค์เกี่ยวกับสิทธิความหลากหลายทางเพศ เป็นเจ้าของสำนักพิมพ์สะพาน ซึ่งเป็นสำนักพิมพ์ที่พิมพ์เรื่องเกี่ยวกับ LGBT โดยเฉพาะ รวมทั้งเป็นหนึ่งในผู้ริเริ่มรณรงค์ ให้เหตุผลเบื้องหลังในกิจกรรมครั้งนี้ว่า เป็นเพราะอยากแสดงความไม่เห็นด้วยกับข้อกำหนดทั้ง 6 ข้อ ก่อนหน้านี้เมื่อแรกทำเคมเปญก็มีการท้วงติงว่า ทำไมจึงเน้นแต่ประเด็นแรกคือเรื่องชายรักชาย หญิงรักหญิง ซึ่งเราก็ยินดีปรับแถลงการณ์ให้ครอบคลุมเรื่องอื่นๆ ด้วย เพียงแต่ข้อแรกเป็นส่วนที่ค่อนข้างชัดเจนและเราเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง

“ในข้ออื่นๆ นั้น เรื่องการกระทำรุนแรงต่อเด็ก สตรี ก็มีกฎหมายกำหนดอยู่แล้วว่าไม่สามารถพิมพ์ได้ แต่เราก็กังวลกันหลายอย่าง เช่น ภาษาในเรื่องเพศ การเรียนรู้เรื่องความหลากหลายทางเพศจะถูกจำกัดมากเกินไป เซ็กส์นอกสถานที่ หรือการมีเซ็กส์ไม่ถูกที่ถูกเวลา มันไม่ควรจะเป็นเรื่องห้ามเขียน ไม่อย่างนั้นจะเป็นการจำกัดกรอบคนเขียนมากเกินไป ซึ่งกระทบถึงการเรียนรู้ในสังคมด้วย” ฉันทลักษณ์

การเปิดเพจล่ารายชื่อดำเนินมาตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม จนถึงขณะนี้มีผู้ร่วมลงชื่อเกือบ 800 คน โดยฉันทลักษณ์ระบุว่า มาจากหลากหลายอาชีพ ทั้งนักวิชาการ แม่บ้าน นักศึกษา นักเขียน นอกจากนี้ยังไม่ใช่เฉพาะกลุ่ม LGBT เท่านั้น เกือบครึ่งเป็นบุคคลทั่วไปที่ตระหนักถึงสิทธิเหล่านี้ซึ่งนับเป็นปรากฏการณ์ ที่น่าสนใจ เพราะนี่นับเป็นครั้งแรกๆ ที่กลุ่ม LGBT ทดลองรณรงค์ด้วยการใช้สื่อใหม่เพื่อสื่อสารสาธารณะ ที่ผ่านมาเมื่อมีปัญหาก็มักรณรงค์กันอยู่ภายในกลุ่ม

หลังจากทำแคมเปญ ยังไม่มีการติดต่อพูดคุยกับทางซีเอ็ดและยังไม่มีการติดต่อมาเช่นกัน ทางกลุ่มจึงเริ่มเดินหน้ากิจกรรมโดยตั้งใจจะประสานงานกับผู้บริหารเครือซี เอ็ดเพื่อยื่นหนังสือข้อเรียกร้องให้ยกเลิกมาตรการดังกล่าว และอยู่ระหว่างการประสานงานกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเพื่อกำหนดจัด เวทีอภิปรายเรื่องนี้ร่วมกันในวันที่ 17 ธ.ค.นี้ด้วย

“แน่นอน มันเป็นสิทธิของเอกชนที่จะทำได้ แต่หากทำแล้วเราเห็นว่าจะเกิดผลกระทบกับสังคม เราก็น่าจะทำอะไรได้บ้าง เราเกรงว่านี่จะกลายเป็นบรรทัดฐานที่คนอื่นๆ จะทำด้วย”

(อ่านต่อ)  
http://www.prachatai.com/journal/2012/12/44075

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น