หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ทำไมคนถึงนับถือศาสนา?

ทำไมคนถึงนับถือศาสนา? 

 
ในประเทศไทย คนส่วนใหญ่อาจพูดว่าเป็น “พุทธ” แต่อาจไม่ร่วมพิธีกรรมทางศาสนาบ่อยนัก ศาสนาเริ่มมีความสำคัญในชีวิตคนธรรมดาน้อยลง แต่ยังไม่ลดลงเหมือนประเทศพัฒนาที่มีรัฐสวัสดิการ

โดย ใจ อึ๊งภากรณ์ 

ถ้าเรานำสถิติของการนับถือศาสนาในโลกปัจจุบันมาพิจารณา เราจะเห็นแนวโน้มอันหนึ่งที่สำคัญ นั้นคือการลดลงของสัดส่วนประชาชนที่นับถือศาสนาตามระดับการพัฒนาของประเทศ ดังนั้นประเทศพัฒนาเช่นในยุโรปตะวันตก หรือญี่ปุ่น มีผู้นับถือศาสนาน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งหมด กรณีอังกฤษ ปัจจุบันเกือบจะไม่มีใครเข้าโบสถ์เลย ในขณะที่ระดับการนับถือศาสนาในประเทศยากจนของอัฟริกา เอเชีย และลาตินอเมริกา มีมาก บางทีถึง 99% ของประชากร
   
แน่นอนการวัดระดับการนับถือศาสนาเป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อน เพราะแค่ถามว่า “คุณนับถือศาสนาหรือไม่” หรือ “คุณนับถือศาสนาอะไร” อาจได้คำตอบว่าคนนั้นคนนี้นับถือศาสนา แต่จะไม่บอกว่าเขาใช้คำสอนหรือปรัชญาศาสนาในชีวิตประจำวันแค่ไหน และจะไม่บ่งบอกว่าคนคนนั้นร่วมพิธีกรรมทางศาสนามากน้อยแค่ไหนอีกด้วย ถ้าเราเข้าใจตรงนี้เราประเมินได้ว่าคนส่วนใหญ่ในประเทศพัฒนา อาจไม่ร่วมพิธีกรรมทางศาสนาเลย
   
ทำไมคนในประเทศยากจนถึงนับถือศาสนา? คำตอบไม่ใช่เรื่องการศึกษาหรือ “ความโง่เขลา” หรือเรื่องการเข้าใจวิทยาศาสตร์มากน้อยแค่ไหน คาร์ล มาร์คซ์ เคยอธิบายว่า “ศาสนาคือหัวใจในโลกที่ไร้หัวใจ” แต่เป็น “ฝิ่นของประชาชน” ซึ่งหมายความว่ามนุษย์ที่อาศัยในสภาพสังคมที่ไร้หัวใจ มีเหตุผลในการพึ่งพาความอบอุ่นจากศาสนา ทั้งๆ ที่ปรัชญาและคำสอนของศาสนาไม่สามารถอธิบายโลกได้

ใครที่ทราบสภาพชีวิตของคนในประเทศยากจน ที่เต็มไปด้วยความยากลำบาก และไร้เสถียรภาพ ไร้มาตรฐานชีวิตที่ดี จะเข้าใจเรื่องนี้ทันที เพราะคนที่ไม่มีความหวังว่าชีวิตจะดีขึ้นได้ง่ายๆ จะรู้สึกว่าตนเองอ่อนแอจนไม่สามารถกำหนดอนาคตตนเองได้ เขามักหันมาพึ่งพิงความวิเศษและความอบอุ่นจากศาสนา
   
ศาสนาพุทธในไทยเป็นศาสนาที่นับถือกันในรูปธรรมด้วยหลายรูปแบบ เช่นมีการผสมศาสนาพราหมณ์-ฮินดู หรือผสมการนับถือผีสางนางไม้ หรืออาจมีนิกายแปลกๆ ของคนชั้นกลางเป็นต้น อย่างไรก็ตามหัวใจสำคัญของปรัชญาศาสนาพุทธคือการพยายาม “ดับทุกข์” และการ “ทำบุญ” ให้ตนเองหรือคนในครอบครัวในลักษณะปัจเจก คือเป็นวิธีการทนอยู่กับโลกที่เต็มไปด้วยทุกข์และความไม่มั่นคงของชีวิต แต่มันไม่ได้เป็นวิธีที่จะเปลี่ยนสังคมอันเป็นต้นเหตุแห่งทุกข์สำหรับคนส่วน ใหญ่

(อ่านต่อ)
http://turnleftthai.blogspot.dk/2013/08/blog-post.html     

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น