หน้าเว็บ

วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2556

ประเด็นจากเสวนา"เข้าใจสถานการณ์ความขัดแย้ง ปัตตานี-ไทยใต้” มหาวิทยาลัยลุนด์ สวีเดน 31ส.ค.2013

แดงสังคมนิยม

ประเด็นจากเสวนา"เข้าใจสถานการณ์ความขัดแย้ง ปัตตานี-ไทยใต้” มหาวิทยาลัยลุนด์ สวีเดน 31ส.ค.2013



 

จัดโดยองค์กร “เวทีสันติภาพสร้างสรรค์เอเซียตะวันออกเฉียงใต้” มหาวิทยาลัยลุนด์ สวีเดน 31ส.ค.2013
รายงานโดย ใจ อึ๊งภากรณ์

เวทีเสวนาครั้งนี้มีวิทยากรที่เป็นนักวิชาการคือ Prof. Mason Hoadley, Adam John, ใจ อึ๊งภากรณ์ Firdaus Abdulsomad และ Tengku Ismail นอกจากนี้มีประชาชนมาเลย์มุสลิมจากพื้นที่ ปัตตานี-ไทยใต้ ร่วมแสดงความเห็น

สงครามกลางเมืองที่กำลังเกิดขึ้นในพื้นที่นี้ดุเดือดมากและมีการล้มตายสูง รองลงมาจากสงครามในซิเรีย กับ อิรัก รัฐบาลไทยประจำการทหารในพื้นที่คิดเป็นสัดส่วน 45% ของกำลังพลทั้งหมดในประเทศ และมีการทุ่มเทงบประมาณเพื่อ “ปราบกองกำลังต่อต้านรัฐ” และเพื่อสร้างสาธารณูปโภคโดยหน่วยงานของทหารเองถึง 160 พันล้านบาท ซึ่งมากกว่ามูลค่าเศรษฐกิจทั้งหมดของสามจังหวัดที่อยู่ในระดับ 120 พันล้าน แต่งบทั้งหมดนี้ไม่ได้ตกอยู่กับคนในพื้นที่ ไม่ได้สร้างงาน ไม่ได้พัฒนาความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่แต่อย่างใด และที่สำคัญคือไม่ได้สร้างความสงบเลย ตรงกันข้าม มีผลในการยกระดับความรุนแรงเท่านั้น

หลายคนพูดถึงการที่รัฐไทยทำให้พื้นที่สาธารณะ เช่นวัดหรือโรงเรียน กลายเป็นพื้นที่ทหาร องค์กร “แอมเนสตี้อินเตอร์เนชอนเนล” คาดว่าวัดบางแห่งถูกใช้เป็นคุกและมีทรมานนักโทษด้วย ประชาชนธรรมดารู้สึกกลัวตลอดเวลาที่ออกไปข้างนอก ยิ่งเห็นทหารก็ยิ่งกลัว “กลัวสีเขียว” คือกลัวทหารเอง โดยเฉพาะทหารพราน และกลัวว่าจะโดนลูกหลงจากฝ่ายกบฏที่โจมตีทหารด้วย สิ่งเหล่านี้สร้างสภาวะเหมือนกับว่าชาวบ้านติดคุกไม่กล้าออกจากบ้าน สตรีจำนวนมากต้องรับผิดชอบครอบครัวเพราะฝ่ายชายถูกจับ ถูกฆ่า หรือต้องไม่ปรากฏตัวในที่สาธารณะ ประมาณ 7000 ครอบครัวได้รับผลกระทบจาก “คดีความมั่นคง” เด็กก็มีผลกระทบทางเศรษฐกิจและสภาพจิตใจจากความรุนแรงรอบตัว แพทย์รายงานว่ากรณีคนไข้ที่มีอาการ “ความผิดปกติทางจิตใจภายหลังภยันตราย (Post-traumatic stress disorder) มีมากขึ้น และเยาวชนไม่น้อยเมื่อถูกถามว่า “โตขึ้นอยากเป็นอะไร” จะตอบว่า “โตขึ้นอยากฆ่าทหาร”

ผู้เขียน(ใจ อึ๊งภากรณ์) ได้เสนอประเด็นหลักๆ ต่อเรื่องนี้คือ
  
1.  การเรียกร้องให้ยุติความรุนแรง 

 บ่อยครั้งองค์กรเอ็นจีโอมักจะเรียกร้องให้ “ทั้งสองฝ่ายยุติความรุนแรง” แต่มันเป็นเพียงคำขอนามธรรมโดยไม่วิเคราะห์ว่าต้นกำเนิดความรุนแรงอยู่กับ ฝ่ายไหน เพราะความรุนแรงในการเข้ามาครอบครองพื้นที่โดยฝ่ายรัฐไทย การไม่เคารพ การกดขี่คนในพื้นที่ และการใช้ความรุนแรงในการปรามผู้ประท้วงโดยรัฐไทย เช่นกรณีตากใบหรือกรณีอื่นๆ เป็นต้นกำเนิดแท้ของปัญหา และการที่รัฐไทยพยายามเรียกร้องให้ฝ่ายกองกำลังกบฎหยุดจับอาวุธ เป็นข้อเสนอสองมาตรฐานของฝ่ายที่ถืออาวุธมากที่สุดและก่อเหตุรุนแรงมากที่ สุดแต่แรก ดังนั้นข้อเรียกร้องให้มีการสร้างสันติภาพและยุติความรุนแรง ต้องพุ่งเป้าไปที่รัฐไทยก่อนอื่น โดยเรียกร้องให้ถอนทหารออกจากพื้นที่ไปเลย ในขั้นตอนแรกอาจถอนทหารเข้ากรมกองค่ายทหาร แต่ในขั้นตอนต่อไปต้องถอนออกจาก ปัตตานี-ไทยใต้ ไปเลย

หลายคนที่ไม่เข้าใจสถานการณ์อาจมองว่าการถอนทหารจะทำให้ประชาชน “ไทยพุทธ” อยู่ในสภาพอันตราย แต่ในความเป็นจริงกองกำลังกบฎต่อรัฐไทย ไม่ได้รบกับเพื่อนบ้าน “ไทยพุทธ” เขารบกับเจ้าหน้าที่รัฐไทยต่างหาก มันไม่ใช่สงครามเชื้อชาติหรือสงครามศาสนา และการมีทหารในพื้นที่ และการแจกอาวุธให้ประชาชนจำนวนมาก ยิ่งสร้างบรรยากาศความรุนแรงมากขึ้น และเพิ่มอันตรายให้พลเมืองทุกคนไม่ว่าจะเชื้อชาติศาสนาอะไร

2. ทหารไทยคือปัญหาหลักและอุสรรคต่อสันติภาพ เพราะทหารไทยมีผลประโยชน์ทางการเมืองจากสงครามนี้ 

หลายคนเข้าใจเรื่องของทหารที่ “ดึงงบประมาณ” ลงมาในพื้นที่ ปัตตานี-ไทยใต้ ผ่านการคอร์รับชั่นและการสร้างสถานการณ์ด้วยวิธีต่างๆ แต่ประเด็นนี้เป็นประเด็นรองถ้าพูดถึงผลประโยชน์ของทหาร เพราะผลประโยชน์หลักของทหารไทยในสงคราม ปัตตานี-ไทยใต้ เป็น “ผลประโยชน์ทางการเมือง”

กองทัพไทยต้องการแทรกแซงการเมืองและสังคมไทยตลอดเวลา เช่นผ่านการทำรัฐประหาร ผ่านการคุมสื่อและรัฐวิสาหกิจ ผ่านการฆ่าประชาชนแล้วลอยนวลไม่โดนคดี หรือผ่านการที่นายพลอย่างประยุทธ์คิดว่าตนเองมีสิทธิ์ที่จะแสดงความเห็นเท่า กับนักการเมืองที่ได้รับการเลือกตั้งโดยประชาชน แต่การแทรกแซงการเมืองนี้ของทหารขัดต่อหลักพื้นฐานของประชาธิปไตย ดังนั้นทหารไทยต้องสร้างและแสวงหาความชอบธรรมจอมปลอมด้วยการอ้างว่าเป็น หน่วยงานหลักในการปกป้องสถาบันและปกป้องไม่ให้รัฐไทยถูกแบ่งแยกตามความต้อง การของคนในพื้นที่

นี่คือสาเหตุที่เราต้องลดบทบาทของทหาร ทั้งในแง่ปริมาณงบประมาณ บทบาทในสื่อหรือรัฐวิสาหกิจ บทบาททางการเมือง และบทบาทในการเจรจากับ “บีอาร์เอน” หรือกองกำลังกบฎอื่นๆ ถ้ารัฐไทยจริงใจในการเจรจาสันติภาพและการใช้ “การเมืองนำทหาร” รัฐไทยต้องให้นักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งเป็นคนเจรจา ไม่ใช่ไปยกให้ทหารหรือฝ่ายความมั่นคงเป็นผู้เจรจา การให้ทหารหรือฝ่ายความมั่นคงเป็นผู้เจรจา แปลว่านักการเมืองกลายเป็นลูกน้องของทหารในการกำหนดนโยบายทางการเมือง

นอกจากนี้การที่พื้นที่ ปัตตานี-ไทยใต้ กลายเป็นแหล่งที่เต็มไปด้วยคนติดอาวุธ หมายความว่าประชาชนไม่สามารถมีส่วนร่วมในการพูดคุยและกำหนดอนาคตตนเอง เพราะการมีส่วนร่วมทางการเมืองและการแลกเปลี่ยนความคิดระหว่างผู้ที่มีมุม มองที่แตกต่างกันย่อมทำไม่ได้ในสภาพสงคราม หรือในบรรยากาศความกลัว

แน่นอนทหารไทยคงไม่ยอมให้มีการเปลี่ยนรูปแบบพรมแดนหรือการปกครองอย่างง่ายๆ แต่ทหารไม่ควรมีอำนาจผูกขาดเรื่องนี้ นอกจากนี้นายทหารบางคนเข้าใจดีว่าการเอาชนะทางทหารย่อมทำไม่ได้ เพราะขบวนการกบฏต่อรัฐไทยมีฐานสนับสนุนในหมู่บ้านต่างๆ ดังนั้นบางครั้งเราจะเห็นว่านายทหารอย่าง ชวลิต ยงใจยุทธ ออกมาเสนอเรื่องเขตปกครองพิเศษ

3. ความเกี่ยวโยงระหว่างการขาดสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตยในภาคกลาง ภาคอีสานและภาคเหนือ กับการขาดสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตยใน ปัตตานี-ไทยใต้ 

อุปสรรคหลักของการพัฒนาประชาธิปไตยกับสิทธิเสรีภาพในภาคอื่นๆ คือทหารที่ทำรัฐประหาร ฉีกรัฐธรรมนูญ ฆ่าประชาชนมือเปล่าที่เรียกร้องประชาธิปไตย ใช้กฏหมายเผด็จการอย่าง 112 แล้วหลังจากนั้นกดดันให้ตัวเองพ้นโทษทุกครั้ง ดังนั้นจะเห็นว่า “ศัตรู” ของประชาธิปไตยที่ประชาชนภาคกลาง ภาคอีสาน และภาคเหนือ เผชิญหน้าอยู่ คือศัตรูเดียวกันกับที่ประชาชน ปัตตานี-ไทยใต้ เผชิญหน้า

กฏหมายความมั่นคงที่สร้างความเจ็บปวดให้กับชาวบ้านภาคใต้ ไม่ต่างจากกฏหมาย 112 ที่ปิดปากและจำคุกคนเสื้อแดง คนเสื้อแดง กับชาวบ้าน ปัตตานี-ไทยใต้ มีผลประโยชน์ร่วมในการลดบทบาทและอิทธิพลของทหารในสังคม

นอกจากนี้กรอบคิดชาตินิยมสุดขั้วที่ชนชั้นปกครองไทยพยายามใช้เพื่อฝังหัว ประชาชนทั่วประเทศ เช่นการเคารพธงชาติ และการบังคับสอนประวัติศาสตร์เท็จของฝ่ายชาตินิยมไทย เป็นวิธีการบังคับความจงรักภักดีของประชาชน และนำไปสู่การดูถูกไม่เคารพคนหลากหลายเชื้อชาติ ไม่ว่าจะเป็นคนอีสาน คนบนดอย ชนชาติกลุ่มน้อย แรงงานข้ามชาติ หรือคนมาเลย์มุสลิม

ในกรณีคนมาเลย์มุสลิม การพับนกกระดาษของทักษิณหลังการเข่นฆ่าประชาชนที่ตากใบ หรือการที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์อ้างว่า “คืน” ปืนใหญ่ให้กับปัตตานีโดยส่งปืนจำลองไปแทน หรือการพูดว่าคนมาเลย์มุสลิมขาดการศึกษา เป็นตัวอย่างที่ดีของการไม่เคารพคนใน ปัตตานี-ไทยใต้ และการบังคับทำลายวัฒนธรรมกับภาษาของเขาก็ยิ่งซ้ำเติม ในกรณีการกดขี่และห้ามใช้ภาษายะวีในสถานที่ราชการ มันเป็นนโยบายที่โง่เขลา เพราะทำลายความสามารถในการติดต่อกับเพื่อนบ้านที่มาเลเซียกับอินโดนีเซียภาย ใต้ร่มของอาเซี่ยนอีกด้วย และเป็นการสวนทางกับแนวโน้มในอารยะประเทศที่เริ่มส่งเสริมการใช้หลากหลาย ภาษา

การที่รัฐบาลเพื่อไทยไปจับมือกับทหาร พร้อมจะไม่เอาโทษกับทหารมือเปื้อนเลือด หักหลังวีรชนเสื้อแดง และปล่อยให้นักโทษการเมือง โดยเฉพาะนักโทษ 112 ติดคุกต่อไป ทำให้การสร้างสันติภาพใน ปัตตานี-ไทยใต้ ยิ่งยากขึ้น เพราะเป็นการก้มหัวให้ทหาร

4. จุดอ่อนขององค์กร “ภาคประชาชน” ต่อการสร้างสันติภาพ

การ แก้ปัญหาความรุนแรงใน ปัตตานี-ไทยใต้ เป็นภารกิจของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมและองค์กรทางการเมืองรากหญ้า เราหวังอะไรไม่ได้จากฝ่ายรัฐหรือทหาร และเราหวังอะไรไม่ได้จากผู้นำประเทศอื่นหรือสหประชาชาติ แต่องค์กรที่อ้างว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของ “ภาคประชาชน” ในภาคกลาง อีสานและเหนือ โดยเฉพาะ เอ็นจีโอ มีปัญหามาก เพราะองค์กรเหล่านี้ไปทำแนวร่วมกับทหารเผด็จการและฝ่ายเสื้อเหลือง ที่เป็นอุปสรรคต่อประชาธิปไตยและสันติภาพในสังคมโดยรวม และใน ปัตตานี-ไทยใต้ อีกด้วย

จุดออ่อนอีกอันหนึ่งคือการเน้นการเคลื่อนไหวประเด็นเดียว ดังนั้นองค์กรหรือขบวนการที่ไม่ไป “จับ” เรื่องภาคใต้ ก็จะไม่สนใจสงครามกลางเมืองที่กำลังเกิดขึ้น แม้แต่เสื้อแดงก็ไม่สนใจและบางทีไปสนับสนุนทหารกับตำรวจไทยด้วย

ถ้าจะมีการสร้างสันติภาพใน ปัตตานี-ไทยใต้ ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมและองค์กรทางการเมืองที่ก้าวหน้าในภาคอื่น ต้องแสดงความสมานฉันท์กับผู้ที่เคลื่อนไหวต่อสู้กับการกดขี่ของรัฐไทยใน ปัตตานี-ไทยใต้ ต้องมีการเรียกร้องให้ลดบทบาทของทหารในสังคม และให้คนในพื้นที่ ปัตตานี-ไทยใต้ กำหนดอนาคตของตนเองโดยปราศจากการแทรกแซงของรัฐไทย นอกจากนี้รัฐธรรมนูญไทยควรแก้ในมาตราที่เน้นว่าแบ่งแยกประเทศไม่ได้ หรือมาตราที่เน้นอำนาจเผด็จการรูปแบบต่างๆ เพื่อให้รัฐธรรมนูญเปลี่ยนไปเน้นความเป็นประชาธิปไตยโดยอำนาจอยู่ที่ประชาชน อย่างที่รัฐธรรมนูญแรกสมัยปฏิวัติ ๒๔๗๕ เคยเน้น

5. จุดอ่อนของยุทธศาสตร์การจับอาวุธของฝ่ายกบฏต่อรัฐไทย 

ถึงแม้ว่าผู้เขียนเห็นใจและเข้าใจคนที่เลือกแนวทางจับอาวุธ เพื่อสู้กับการกดขี่ของรัฐไทย แต่ยุทธศาสตร์นี้มีจุดอ่อนด้อยมหาศาล เพราะเป็นการปิดพื้นที่เคลื่อนไหวสำหรับขบวนการที่ไม่อยากจับอาวุธ และเป็นการปิดพื้นที่แลกเปลี่ยนแนวทางสู่สังคมใหม่โดยประชาชนจำนวนมาก การปิดพื้นที่ดังกล่าวมาจากสภาพสงครามที่เกิดขึ้น

ยิ่งกว่านั้นยุทธวิธีการใช้กองกำลังกระจายที่ดูเหมือนไม่มีศูนย์กลาง เพื่อให้ทหารและรัฐไทยต้องสู้กับ “ผี” มีข้อเสียทางการเมืองมากมาย เพราะในสภาพที่มีการยิงกันและวางระเบิด แต่ไม่มีใครออกมาโฆษณารับผิดชอบ เป็นโอกาสทองสำรับวิธีรบแบบสกปรกของรัฐไทย เราทราบดีว่ารัฐไทยใช้หน่วยงานสังหารวิสามัญตลอดเวลา และใช้โจรหรือทหารนอกเครื่องแบบ แต่เมื่อฝ่ายกองกำลังกบฏต่อรัฐไทยไม่ยอมประกาศอย่างชัดเจนว่าเป้าหมายของเขา จะเป็นเพียงเจ้าหน้าที่รัฐ และเมื่อไม่มีการออกมารับผิดชอบต่อปฏิบัติการของกองกำลังแต่ละครั้งอย่าง ชัดเจน ฝ่ายรัฐไทยสามารถสร้างภาพว่า “โจรไม่ทราบฝ่าย” ไปเที่ยวฆ่าชาวบ้านอิสลามและพุทธโดยไม่เลือกหน้า วิธีการปิดลับและรบแบบ “ผี” นี้ ทำให้ประชาชนทุกฝ่ายสับสนและเกรงกลัว มันไม่ช่วยในการสร้างมวลชน หรือในการเรียกร้องให้ประชาชนภาคอื่นๆ เข้ามาสมานฉันท์แต่อย่างใด มันมีบทเรียนเรื่องนี้จากการสู้รบของ “ไออาร์เอ” ในไอร์แลนด์ หรือของขบวนการอิสรภาพในอาเจห์กับทีมอร์

6. ขบวนการต้านรัฐไทยใน ปัตตานี-ไทยใต้ ควรสร้างพรรคมวลชนที่ทำงานอย่างเปิดเผย 

ทั้งนี้เพื่อสร้างฐานในหมู่ประชาชนในพื้นที่อย่างชัดเจน เพื่อเสนอนโยบายการเมือง เศรษฐกิจและสังคม สำหรับประชาชนทุกเชื้อชาติหรือศาสนา และเพื่อเรียกร้องให้มีการลงประชามติเรื่องการปกครอง ว่าประชาชนส่วนใหญ่ต้องการเขตปกครองพิเศษ หรือต้องการแยกรัฐออกไปเลย หรือต้องการอยู่ต่อไปโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง

 พรรคมวลชนแบบนี้สามารถรณรงค์ขอความสมานฉันท์จากประชาชนในภาคอื่นๆ ได้อีกด้วย และสามาระทำแนวร่วมกับกลุ่มที่ถูกกดขี่หรือด้อยโอกาสกลุ่มอื่นๆ ตัวอย่างที่ดีคือพรรคการเมืองถูกกฏหมายของฝ่ายจับอาวุธในไอร์แลนด์ อาเจห์ หรือในแข้วนบาสค์ระหว่างสเปนกับฝรั่งเศส

ความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้คือในทุกกรณีที่มีสงครามกลางเมืองเพื่อแบ่งแยกดิน แดน ฝ่ายจับอาวุธกับฝ่ายทหารของรัฐไม่สามารถเอาชนะกันได้ และการแก้ปัญหาย่อมอยู่ที่กระบวนการทางการเมืองที่โปร่งใส

สรุป
คน ที่กบฏต่อรัฐไทย และผู้ที่รักเสรีภาพและความเป็นธรรมในภาคอื่น ควรเน้นกระบวนการทางการเมืองแบบมวลชน เพื่อเรียกร้องให้มีการถอนทหารออกไปและลดอิทธิพลของทหารในสังคมทั่วประเทศ เราต้องร่วมกันเรียกร้องให้มีการจัดประชามติเรื่องรูปแบบการปกครองสำหรับ ประชาชนในพื้นที่ เราต้องไม่ยึดติดกับกรอบพรมแดนตามความคิดชาตินิยมสุดขั้ว และเราต้องเน้นว่ารัฐไทยกับกองกำลังรัฐไทยเป็นผู้สร้างความรุนแรงและปัญหา แต่แรก

(ที่มา)
http://redthaisocialist.com/2011-01-20-12-40-10/439-q--.html 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น