หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ท่านชายทั้งสี่อ้างว่าไม่ได้รับอนุญาตเดินทางกลับบ้านเกิดประเทศไทยเพื่อเคารพพระศพพระสังฆราช

ท่านชายชายทั้งสี่อ้างว่าไม่ได้รับอนุญาตเดินทางกลับบ้านเกิดประเทศไทยเพื่อเคารพพระศพพระสังฆราช



หมายเหตุไทยอีนิวส์:เราได้รับจดหมายทางอีเมล์จากผู้ที่อ้างตัวว่าเป็น"ตระกูลวิวัชรวงศ์"ลงชื่อในจดหมายคือ หม่อมเจ้าจุฑาวัชร มหดิล หม่อมเจ้าวัชเรศร มหิดล หม่อมเจ้าจักรีวัชร มหิดล   และ  หม่อมเจ้าวัชรวีร์ มหิดล (ควรสังเกตว่าจดหมายก่อนหน้านี้ไม่ได้ลงพระยศหม่อมเจ้า และใช้สกุลวิวัชรวงศ์ ไม่ใช่"มหิดล"เหมือนฉบับล่าสุดนี้) ส่งสาส์นแสดงความเสียใจในโอกาสสมเด็จพระสังฆราช ญาณสังวรสิ้นพระชนม์ ทั้งเปิดเผยว่า ทั้ง 4 เคยบวชเป็นพระภิกษุ สามเณร โดยสมเด็จพระสังฆราชเป็นองค์อุปัชฌาย์ พร้อมกับแนบภาพถ่ายหลักฐานมาในจดหมายนี้(ตามที่เผยแพร่ในข่าวนี้) และได้รับการอบรมสั่งสอนจากพระองค์ท่าน ทั้งสี่ปรารถนาจะเดินทางมาเคารพพระศพ แต่ไม่ได้รับอนุญาต ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้





 

ครอบครัววิวัชรวงศ์ส่งสาส์นแสดงความเสียใจอย่างลึกซึ้งต่อการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระสังฆราช

25 ตุลาคม 2556

พวกเราขอร่วมกับราชอาณาจักร และ พุทธศาสนิกชนทั่วทั้งโลก ร่วมไว้ทุกข์ ในการสูญเสียของ สมเด็จพระสังฆราช  สมเด็จพระญาณสังวร

การสิ้นพระชนม์ของพระองค์ท่าน นำมายังความสูญเสีย อันยิ่งใหญ่ของเราทั้งสี่ เมื่อเราทุกคนยังเด็กมาก พระบิดาและพระมารดาของเรา มักจะ นำเราไปที่วัด และได้รับพระเมตตาสั่งสอนจากสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งพระองค์ทรงได้ปลูกฝังให้พวกเราถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า เราแต่ละคนได้บรรพชาเป็นสามเณรโดยพระองค์ท่าน และพวกเรายังจดจำรำลึกคำสอนทางพุทธศาสนา ที่พระองค์ท่านทรงพระเมตตาสั่งสอน อันนับเป็นพระกรุณาธิคุณให้กับพวกเราในวัยเยาวชนเป็นอย่างยิ่ง

เราแต่ละคน ต่างรำลึกถึงพระเมตตาเมื่อครั้งได้ไปบวชในวัด ไม่เพียงแต่การอบรมสั่งสอนในทางพุทธศาสนาของพวกเรา แต่พระองค์ท่านยังทรงสอนอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้นที่อาจจะได้เรียนรู้ ผ่านการสังเกตอย่างใกล้ชิด เช่น ศีลาจาวัตรความประพฤติที่งดงามเหมาะสมของพระภิกษุสงฆ์ เราจะจดจำรึกลึกตลอดไปถึงพระกรุณาธิคุณอันเปี่ยมด้วยพระเมตตาของพระองค์ และจดจำภาพที่พระองค์ก้มกราบพระพุทธรูปในเวลาสวดมนต์ ในฐานะที่เป็นเด็กหนุ่ม พวกเราจึงภูมิใจที่ได้เป็นพระสงฆ์ สามเณร ภายใต้การปกครองของพระองค์ท่าน ขณะนี้พวกเราเติบโตเป็นผู้ใหญ่ พวกเรามีความกตัญญูรู้คุณ ที่พระองค์ท่านทรงให้โอกาสพวกเราที่จะปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์  โดยพวก เราจะ ยึดมั่นตลอดไป ด้วยพระพรที่พระองค์ท่านมอบให้กับพวกเรา จึงขอตั้งจิตอธิษฐานว่า คำสอนของพระองค์  จะสะท้อนให้เห็นในทุกด้านของ ชีวิตประจำวันของพวกเราตลอดไป

พวกเรามีความปรารถนา อย่างจริงใจ ที่จะสามารถเดินทางไปประเทศไทยเพื่อแสดงความเคารพพระองค์ท่านในวาระนี้ในนาม ส่วนบุคคล อย่างไรก็ตามแต่พวกเรา ยังไม่ได้รับ หรือ ได้รับอนุญาต ให้กลับไปที่บ้านเกิดของพวกเรา อย่างไรก็ตามด้วยหัวใจอันเต็มเปี่ยม พวกเราขออธิษฐาน ในความทรงจำ และความเคารพ พวกเราจะพยายามอย่าง ดีที่สุดในการรักษาความสมบูรณ์ของพระพุทธศาสนาเพื่อถวายพระเกียรติแก่สมเด็จ พระสังฆราช    

ด้วย ความจงรักภักดีตลอดไป

หม่อมเจ้าจุฑาวัชร มหดิล
หม่อมเจ้าวัชเรศร มหิดล
หม่อมเจ้าจักรีวัชร มหิดล
หม่อมเจ้าวัชรี มหิดล


(ต้นฉบับจดหมายภาษาอังกฤษ)

Vivacharawongse Condolences for His Holiness, the Patriarch

October 25, 2013
We join with the Kingdom, and other Buddhist around the world, in mourning the loss of His Holiness the Supreme Patriarch, Somdet Phra Nyanasamvara Suvaddhana Mahathera.

His Holiness’ passing comes as a tremendous loss to the four of us. When we were all very young, our parents often brought us to the temple to receive the gentle guidance of His Holiness so that he could instill in us the teachings of Buddha. Each of us recall being received into the faith as novices by him, and we contemplate the Buddhist teachings he so graciously imparted on us in our youth.

Each of us fondly recall our respective sojourns in the temple as novice monks. His Holiness not only personally supervised the pedagogical aspects of our training, but also taught us the more subtle things that may only be learned through close observation, such as the proper demeanor of a monk. We will always recall the serene grace of His Holiness, and the way he paused to contemplate after bowing to the Buddha Image at prayer time. As young boys, we were so proud to be novice monks under his tutelage. Now, as men, we are grateful to have the opportunity to carry on His Holiness’ teachings. We shall forever cherish the blessings he bestowed upon us, and we pray that His Holiness’ teachings are reflected in all aspects of our daily lives.

We sincerely wish that we could travel to Thailand to pay our respects to His Holiness in person. However, we have not received instructions or permission to return to our homeland. Nonetheless, with heavy hearts, we pray in remembrance and respect. We will do our best in maintaining the integrity of Buddhism in His Holiness’ honor.
With continued loyalty,
 
Mom Chao Juthavachara Mahidol
Mom Chao Vacharaesorn Mahidol
Mom Chao Chakriwat Mahidol                       
Mom Chao Vatchrawee Mahidol   

(ที่มา)

เพิ่มเติม กรณี จดหมายล่าสุดจาก "พี่น้องวิวัชรวงศ์"


สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

เพิ่มเติม กรณี จดหมายล่าสุดจาก "พี่น้องวิวัชรวงศ์"

ผมได้ใช้เวลาคิดและพิจารณาเรื่องจดหมายล่าสุดจาก "พี่น้องวิวัชรวงศ์" (ดูกระทู้ติดกันข้างล่าง)

ผมคิดว่า เรื่องนี้มีความสำคัญกว่าที่ผมตระหนักในตอนแรก

ทำไมผมจึงคิดเช่นนั้น? คำตอบคือ ต้องกลับไปอ่าน จดหมายเมื่อ 2 ปีกอ่น ของ "พี่น้องวิวัชรวงศ์"

จดหมายฉบับนั้น ลงวันที่ 29 เดือนกรกฎาคม 2554 (นัยยะของ timing ต้องคิดกันด้วย) เนื้อหาในจดหมายมีความสำคัญมากทีเดียว

ปัญหาคือ จดหมายปี 54 น้้น ใช่จดหมายจริงหรือไม่ ผมได้กลับไปค้นดู และยืนยันว่า หลังจากมีการเผยแพร่จดหมายดังกล่าวไม่นาน หนังสือพิมพ์ The Times ของอังกฤษ ได้รายงาน โดยได้ verified หรือพิสูจน์ยืนยันว่า เป็นจดหมายจาก "พี่น้องวิวัชรวงศ์" จริงๆ โดยได้สอบถามไปยัง คุณวัชเรศร วิวัชรวงศ์ ซึ่งประกอบอาชีพทนายความในนิวยอร์ค ซึงคุณวัชเรศวร ยืนยันว่าเป็นจดหมายที่พวกเขาเขียน (ดูภาพทีผมเอามาประกอบ ผมจำเป็นต้องเซ็นเซอร์ข้อความบางส่วนออก)

ทีนี้ ในเมื่อจดหมายปี 2554 ดังกล่าว เป็นจดหมายจริง เนื้อหาของจดหมายนั้น ก็สำคัญมาก ผมจะไม่สรุปว่า พูดถึงอะไรบ้าง ขอให้หาอ่านกันเอาเอง (รายงานของ The Times ถ้าหากันดีๆ ตาม facebook ของคนไทยบางท่านในต่างประเทศก็พอจะหาได้อยู่)

ทีนี้ ถ้าเอาเนื้อหาของจดหมายปี 2554 (ที่ยืนยันว่าจริง) นั้น มาเปรียบเทียบกับจดหมายฉบับล่าสุด จะเห็นว่า มีลักษณะ ทีผมขอพูดแบบกว้างๆว่า "เป็นไปในทิศทางเดียวกันมากๆ"

ซึงผมคิดว่า ประเด็นนี้ เป็นเหตุผลเสริมสนับสนุนว่า เป็นไปได้มากว่า จดหมายล่าสุด ก็เป็นจดหมายจริงเช่นเดียวกับปี 2554

ซึงถ้าเช่นนั้น ก็หมายความว่า วิธีเขียนชื่อของ "พี่น้อง" ทั้งสี ในจดหมายล่าสุด ก็มีความสำคัญมากๆ คือ ถ้าอ่านในปริบท "รวม" ตั้งแต่จดหมายปี 54 มาถึงจดหมายฉบับล่าสุด

ผมขออภัยทีอภิปรายมากกว่านี้ไม่ได้ ได้แต่แนะนำให้ผู้สนใจ หาจดหมายฉบับเต็มๆปี 2554 อ่านดู โดยระลึกเสมอว่า กำลังอ่านจดหมายจริง (ตามที่ The Times ยืนยัน) แล้วลองอ่านเปรียบเทียบกับจดหมายล่าสุดนี้ดู และคิดถึงนัยยะทีน่าสนใจต่างๆ เกี่ยวกับการลงชื่อดังกล่าวในปริบทของเนื้อหาหรือ "ทิศทาง" ของจดหมายทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว

ผมได้ใช้เวลาคิดและพิจารณาเรื่องจดหมายล่าสุดจาก "พี่น้องวิวัชรวงศ์" (ดูกระทู้ติดกันข้างล่าง)

ผมคิดว่า เรื่องนี้มีความสำคัญกว่าที่ผมตระหนักในตอนแรก

ทำไมผมจึงคิดเช่นนั้น? คำตอบคือ ต้องกลับไปอ่าน จดหมายเมื่อ 2 ปีกอ่น ของ "พี่น้องวิวัชรวงศ์"

จดหมายฉบับนั้น ลงวันที่ 29 เดือนกรกฎาคม 2554 (นัยยะของ timing ต้องคิดกันด้วย) เนื้อหาในจดหมายมีความสำคัญมากทีเดียว

ปัญหาคือ จดหมายปี 54 น้้น ใช่จดหมายจริงหรือไม่ ผมได้กลับไปค้นดู และยืนยันว่า หลังจากมีการเผยแพร่จดหมายดังกล่าว ไม่นาน หนังสือพิมพ์ The Times ของอังกฤษ ได้รายงาน โดยได้ verified หรือพิสูจน์ยืนยันว่า เป็นจดหมายจาก "พี่น้องวิวัชรวงศ์" จริงๆ โดยได้สอบถามไปยัง คุณวัชเรศร วิวัชรวงศ์ ซึ่งประกอบอาชีพทนายความในนิวยอร์ค ซึงคุณวัชเรศวร ยืนยันว่าเป็นจดหมายที่พวกเขาเขียน (ดูภาพทีผมเอามาประกอบ ผมจำเป็นต้องเซ็นเซอร์ข้อความบางส่วนออก)

ทีนี้ ในเมื่อจดหมายปี 2554 ดังกล่าว เป็นจดหมายจริง เนื้อหาของจดหมายนั้น ก็สำคัญมาก ผมจะไม่สรุปว่า พูดถึงอะไรบ้าง ขอให้หาอ่านกันเอาเอง (รายงานของ The Times ถ้าหากันดีๆ ตาม facebook ของคนไทยบางท่านในต่างประเทศก็พอจะหาได้อยู่)

ทีนี้ ถ้าเอาเนื้อหาของจดหมายปี 2554 (ที่ยืนยันว่าจริง) นั้น มาเปรียบเทียบกับจดหมายฉบับล่าสุด จะเห็นว่า มีลักษณะ ทีผมขอพูดแบบกว้างๆว่า "เป็นไปในทิศทางเดียวกันมากๆ"

ซึงผมคิดว่า ประเด็นนี้ เป็นเหตุผลเสริมสนับสนุนว่า เป็นไปได้มากว่า จดหมายล่าสุด ก็เป็นจดหมายจริงเช่นเดียวกับปี 2554

ซึงถ้าเช่นนั้น ก็หมายความว่า วิธีเขียนชื่อของ "พี่น้อง" ทั้งสี ในจดหมายล่าสุด ก็มีความสำคัญมากๆ คือ ถ้าอ่านในปริบท "รวม" ตั้งแต่จดหมายปี 54 มาถึงจดหมายฉบับล่าสุด

ผมขออภัยทีอภิปรายมากกว่านี้ไม่ได้ ได้แต่แนะนำให้ผู้สนใจ หาจดหมายฉบับเต็มๆปี 2554 อ่านดู โดยระลึกเสมอว่า กำลังอ่านจดหมายจริง (ตามที่ The Times ยืนยัน) แล้วลองอ่านเปรียบเทียบกับจดหมายล่าสุดนี้ดู และคิดถึงนัยยะทีน่าสนใจต่างๆ เกี่ยวกับการลงชื่อดังกล่าวในบริบทของเนื้อหาหรือ "ทิศทาง" ของจดหมายทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น