อภิสิทธิ์-สุเทพ เบิกความไต่สวนการตาย "พัน คำกอง"
สุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งรองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง ตอบทนายว่า เมื่อมีการชุมนุมของกลุ่ม นปช. ตั้งเวทีที่ผ่านฟ้า ยึดถนนราชดำเนิน นายกฯ โดยการอนุมัติของ ครม. จึงใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.ความมั่นคง ตั้ง ศอรส. เพื่อคลี่คลายสถานการณ์แต่ต่อมาผู้ชุมนุมไม่ได้ชุมนุมโดยสงบ คุกคามการใช้ชีวิตโดยสงบของประชาชนทั่วไป มีการก่อเหตุร้าย ยิงปืน เอ็ม 79 ระเบิดชนิดขว้าง ใส่สถานที่ราชการและเอกชน จนเกิดความหวาดหวั่น ปลุกระดมด้วยข้อความที่ทำให้ประชาชนกระด้างกระเดื่องต่อรัฐบาลและสถาบันอัน เป็นที่เคารพ หลังจากผู้ชุมนุมบุก ก.ก.ต.และรัฐสภา พร้อมด้วยอาวุธ และเข้ายึดอาวุธจากเจ้าหน้าที่ ครม.จึงเห็นชอบประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรง เมื่อ 7 เม.ย. พร้อมมอบหมายให้ตนเองเป็นผู้อำนวยการ ศอฉ. เพื่อป้องกันเหตุร้าย คลี่คลายสถานการณ์ให้ปกติสุข และดำรงไว้ซึ่งอำนาจรัฐและความมั่นคงปลอดภัยของบ้านเมือง
สุเทพ กล่าวว่า ศอฉ.มีอำนาจตาม พ.ร.ก.ในการระดมกำลังพลเรือน ตำรวจ ทหาร เพื่อป้องกันยับยั้งเหตุร้าย โดยสายบังคับบัญชายังมีอยู่ตามปกติ ทั้งนี้ ยืนยันว่า ศอฉ.ไม่เคยมีคำสั่งสลายการชุมนุมแม้แต่ครั้งเดียว โดยตลอดเวลา 2 เดือนครึ่งที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นการแก้ไขตามสถานการณ์ในแต่ละเวลา เช่น เมื่อ นปช.ตั้งเวทีที่ผ่านฟ้า และยึดราชดำเนินทั้งสาย ทั้งยังยึดสี่แยกราชประสงค์ ก่อให้เกิดปัญหาจราจรในกรุงเทพฯ อย่างรุนแรง ศอฉ.จึงสั่งการให้เจ้าหน้าที่ผลักดันผู้ชุมนุม เพื่อขอคืนพื้นที่บางส่วน เพื่อแก้ปัญหาจราจรตามนโยบายของนายกฯ
สุเทพ อธิบายการผลักดันผู้ชุมนุมว่า ไม่ใช่การสลายการชุมนุม ซึ่งเป็นการใช้กำลังบังคับโดยเจ้าหน้าที่ให้เลิกชุมนุม แต่คือ การดันให้ผู้ชุมนุมถอยร่น เพื่อคืนพื้นที่บางส่วนสำหรับการจราจร
http://www.prachatai.com/journal/2012/08/42375
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น