หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

ทำไมต้องมาพูดเรื่องการต้านรัฐประหารอีกครั้ง?

ทำไมต้องมาพูดเรื่องการต้านรัฐประหารอีกครั้ง?




โดย เจษฎา โชติกิจภิวาทย์
        วิทยากร บุญเรือง


เรา จะด่วนสรุปว่า “การเลือกตั้งไม่สำคัญ” ไม่ได้เป็นอันขาด เพราะ “ไม่มีประชาธิปไตยที่ไร้การเลือกตั้ง” การเลือกตั้งเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นที่จะขาดเสียมิได้ในระบอบประชาธิปไตย
                                              Yoshifumi Tamada


รัฐ ประหารครั้งใหม่ก็จะให้ ผลอย่างเดียวกัน และอาจเลวร้ายกว่า เช่นความแตกร้าวในกองทัพซึ่งแสดงออกให้เห็นได้แต่เพียงระเบิดไม่กี่ลูก ก็จะกลายเป็นระเบิดกันทุกวัน และวันละหลายครั้ง อำนาจรัฐอาจไม่ถูกท้าทายที่ราชประสงค์ แต่อาจถูกท้าทายไปทั่วทุกตารางนิ้วของประเทศ
นิธิ เอียวศรีวงศ์
“การเลือกตั้ง” เป็นพื้นฐานสำคัญยิ่งในระบอบประชาธิปไตยและการพัฒนาประชาธิปไตย รัฐบาลที่มาจากการการเลือกตั้งจากประชาชนเจ้าของอำนาจอธิปไตย ขึ้นสู่อำนาจในการบริหารประเทศผ่านความชอบธรรมจากประชาชนผู้เลือกตั้ง ตามหลักการ “หนึ่งสิทธิหนึ่งเสียง” “คนเท่ากัน” ผู้ปกครองมิใช่มาจากชาติกำเนิดและ ฐานันดรศักดิ์ ตลอดทั้ง ระบอบประชาธิปไตย ยังได้เปิดพื้นที่ด้านสิทธิเสรีภาพในการสื่อสาร สิทธิเสรีภาพในการรวมกลุ่มของประชาชนสาขาอาชีพต่างๆ ได้อย่างเสรี มากกว่าระบอบการปกครองแบบอื่นๆเมื่อเปรียบเทียบกัน

สำหรับสังคมการเมืองไทย นอกจากการปฏิวัติ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็น ระบอบประชาธิปไตยแล้ว ยังมีการ “รัฐประหาร” เกิดขึ้น

รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งมักถูกขัดขวางด้วยการรัฐประหารอยู่ตลอดเวลา ในแต่ละช่วงของประวัติศาสตร์การเมืองไทย หรือที่เรียกกันว่า “วงจรอุบาทว์” ทางการเมืองไทย และข้ออ้างในการรัฐประหาร มักอ้างเรื่องเกี่ยวกับ “ความจงรักภักดี” “การคอรัปชั่นของนักการเมือง” “การใช้อำนาจการเมืองแทรกแซงข้าราชการประจำ” เป็นต้น แต่บางครั้งก็เป็นการรัฐประหารในแวดวงกองทัพ เผด็จการอำนาจนิยม กลุ่มอนุรักษ์นิยม เพื่อกระชับอำนาจและหรือแย่งชิงอำนาจกันเองก็มีปรากฏ

ประวัติศาสตร์การรัฐประหารในสังคมการเมืองไทย สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ได้เขียนบทความขึ้นในหนังสือเล่มนี้ ชี้ให้เห็นถึง ตัวละคร บทบาท ข้ออ้าง ความสลับซับซ้อน ความเหมือนและความต่างในแต่ละเงื่อนไขของเหตุการณ์ของการรัฐประหารในประวัติ ศาสตร์ที่เกิดขึ้น หรือ “ประวัติศาสตร์การรัฐประหารในประเทศไทย” และการรัฐประหาร ๑๙  กันยายน ๒๕๔๙ ได้สะท้อนถึงการต่อสู้ระหว่าง “ฝ่ายประชาธิปไตย” กับ “ฝ่ายอำมาตยาธิปไตย” ระหว่าง “ไพร่” กับ “อำมาตย์” ที่ต่อเนื่องมาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน

ขณะที่ ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ ก็ได้ชี้ให้เห็นบริบทการเมืองไทยในช่วงเหตุการณ์พฤษภา ๒๕๓๔ และได้ตั้งประเด็นคำถามส่วนหนึ่งของบทความในหนังสือเล่มนี้ ถึงความย้อนแย้งของคนชั้นกลาง ผู้เอาการเอางานในการต่อสู้กับเผด็จการทหารคณะผู้รักษาความสงบเรียบร้อยแห่ง ชาติ (รสช.) ที่ก่อการรัฐประหาร เมื่อวันที่ ๒๓ กุมพาพันธ์ ๒๕๓๔ และเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง 

ซึ่งต่อมาก็มีกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๔๐ ที่ประชาชนทุกกลุ่มสาขาอาชีพ มีส่วนร่วมมากที่สุดในกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ แต่คนชั้นกลางเหล่านี้ส่วนมากกลับผันผวนสลับข้างหันมาสนับสนุนการรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ ล่าสุด ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม

กระนั้นก็ตามเมื่อมีการรัฐประหาร ก็มีการต่อต้านรัฐประหารควบคู่กัน ทั้งในระดับปัจเจกบุคคล และระดับองค์กร ดั่งบทสัมภาษณ์บุคคลในหนังสือเล่มนี้ ซึ่งได้กล่าวถึงบทบาทการเคลื่อนไหวต้านรัฐประหาร ทัศนคติและวิธีการต้านรัฐประหารในอนาคตถ้าหากมีขึ้น เช่น อุทัย พิมพ์ใจชน นักการเมืองและอดีตประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ, สิริวัฒน์ ไกรสินธุ์ อดีตนายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง และ สมาชิกวุฒิสภาจากการเลือกตั้ง, สมบัติ บุญงามอนงค์ เอ็นจีโอ นักกิจกรรม ตลอดทั้ง นวมทอง ไพรวัลย์ ที่ วัฒน์ วรรลยางกูร ได้เขียนถึงเรื่องราวของเขา รวมทั้งได้ย้อนชวนสนทนาถึงแนวคิดข้อถกเถียงประชาธิปไตยของ กบฏ ร.ศ. ๑๓๐

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/09/42548 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น