หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555

ว่าด้วยทุน: เล่ม 2 ภาคที่ 1 การเปลี่ยนรูปของทุนและวงจรของมัน(บทที่2-4)

ว่าด้วยทุน: เล่ม 2 ภาคที่ 1 การเปลี่ยนรูปของทุนและวงจรของมัน(บทที่2-4)

 
บทที่ 2: การหมุนเวียนของ “ทุนการผลิต”

เราสามารถมองการหมุนเวียนของทุนซึ่งเป็นกระบวนการต่อเนื่องที่ไม่มีจุดจบ โดยเริ่มที่ “ทุนการผลิต” (P)

P...... C’  => M’ => C.....P


เวลาเราพิจารณาส่วนนี้ เราต้องทราบว่าทุนเงินเดิม M กับทุนเงินส่วนเกิน m (ที่รวมกันเป็น M’) ถูกลงทุนใหม่อีกรอบพร้อมกันหรือไม่ เพราะอาจถูกใช้ในการบริโภคโดยนายทุน หรืออาจถูกนำมาลงทุนในที่อื่นก็ได้


• สินค้าที่ถูกบริโภค ต่างจากสินค้าที่เป็นทุนในการหมุนเวียนของทุน


• เศรษฐศาสตร์กระแสหลักมองว่าทุนนิยมเป็นแค่ระบบการผลิตสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการ แต่ทุนนิยมผลิตเพื่อสะสมและเป็นระบบหมุนเวียน


• ปริมาณสินค้าที่ถูกผลิตขึ้น ถูกกำหนดจากอัตราการขยายของกระบวนการผลิต ไม่ได้ถูกกำหนดจากอุปสงค์(ความต้องการ)ในตลาด ในขั้นตอนแรกการที่สินค้าจะถูกบริโภคหรือไม่ มิได้เกี่ยวกับกระบวนการหมุนเวียน เพราะประเด็นหลักคือการขาย


• สถานการณ์นี้นำไปสู่ การผลิตล้นเกิน การตัดราคา การล้มละลาย และวิกฤตเศรษฐกิจ วิกฤตเศรษฐกิจไม่ได้มาจากการลดลงของอุปสงค์ในขั้นตอนแรก แต่มันมาจากการที่สินค้าขายไม่ออก ซึ่งไม่เหมือนกัน


• การที่สินค้าจากการผลิตจะตกอยู่ในมือพ่อค้าคนกลาง ไม่มีผลอะไรต่อการหมุนเวียนของทุนในเบื้องต้น เพราะนายทุนไม่สนใจว่าสินค้าจะถูกบริโภคหรือไม่ แค่ให้ความสำคัญตรงที่มันถูกขายหรือไม่


• ทุนเงินหรือเงิน ไม่ใช่จุดเริ่มต้นและจุดจบของการหมุนเวียน


• ทุนเงินที่จ่ายเป็นค่าจ้างให้กรรมาชีพ เป็นทุนที่นำมาแลกเปลี่ยนจากสินค้าที่กรรมาชีพเคยผลิตเองแต่แรก ไม่ใช่เงินของนายทุน แต่มันอยู่ในมือนายทุน


• ทุนที่เกิดจากระบบการผลิต แปรรูปจากสินค้าที่ถูกผลิต และเป็นตัวแทนของการทำงานในอดีต


• ในขณะเดียวกัน ทุนเงินที่เป็นตัวแทนของการทำงานในอดีต เป็นตัวแทนของสินค้าที่จะผลิตในอนาคตด้วย (ภาพรวมแบบวิภาษวิธีคือ: อดีต ปัจจุบัน อนาคต)


• ค่าจ้างเป็นเงินจากการทำงานของคนงานในอดีต และ เป็นตัวแทนของสินค้าที่คนงานจะซื้อในอนาคตเพื่อเลี้ยงชีพ


• ทุนเงินมีหน้าที่ในการเปลี่ยนแปลงสินค้า ให้เป็นปัจจัยการผลิตใหม่ และแรงงานรับจ้างใหม่


• อย่าลืมว่ามูลค่าของปัจจัยการผลิตเปลี่ยนแปลงตามประสิทธิภาพการผลิตด้วย มันไม่คงที่


• ถ้า
“ทุนเงิน” ค้างอยู่ในสภาพเงิน หรือถูกใช้ในการบริโภค โดยไม่หมุนเวียนเปลี่ยนแปลง มันถือว่าเป็น “ทุน” ไม่ได้ มันเป็นแค่ “เงิน” หรือในกรณีที่ยังไม่นำมาใช้ เป็น “ทุนเงินที่จะใช้ในอนาคต”

• ถ้านายทุนใช้ทุนเงินทีละนิดทีละหน่อยในกระบวนการผลิต จะมีการสะสมเงิน นี่คือบทบาทของทุนเงิน คือเป็นทุนที่ออมไว้ได้ บทบาทอีกอันคือใช้ซื้อปัจจัยการผลิตและพลังการทำงาน(สินค้า)


• เราไม่สามารถเห็น ทุนเงิน ทุนสินค้า และทุนการผลิต แบบแยกส่วนโดดเดี่ยวได้


• เราจะเห็นปรากฏการณ์ของ
“ทุนเงิน” เมื่อมีการหยุดพัก ชะลอ กระบวนการผลิต ไม่ว่าการหยุดนี้จะเป็นเรื่องดีหรือไม่ดี หรือจะมาจากเจตนาของนายทุนหรือไม่

• ทุนเงินอาจใช้ในรูปแบบ “สัญญาที่จะจ่ายในอนาคต” ผ่านการกู้ยืม แต่สัญญาดังกล่าวไม่ใช่ทุนเงินจนกว่ามันจะเข้าไปในกระบวนการผลิต


• เวลามีการลงทุนรอบต่อไป 
                                                                                        
 

สัดส่วน L : mp จะมีแนวโน้มลดลง ไม่คงที่


• มูลค่าส่วนเกินที่แปรไปเป็นทุนเงิน อาจไม่นำมาลงทุนใหม่ทันที อาจต้องรอเพื่อสะสมให้เพียงพอก่อน ดังนั้นอาจถูกนำมาฝากในธนาคาร หรือนำไปซื้อหุ้น ซึ่งไม่เกี่ยวกับระบบการผลิตเดิม


• เงินออมบางส่วน ที่เก็บไว้ใช้ในยามลำบากของธุรกิจ ไม่เหมือนทุนเงินที่รอการสะสมเพื่อลงทุนต่อ เพราะมันจะไม่นำไปสู่การขยายการผลิต



บทที่ 3: การหมุนเวียนของ “ทุนสินค้า”


C’ => M’ => C .....P ....C’


• เวลาเราพิจารณาการหมุนเวียนของ
“ทุนสินค้า” จะเห็นว่าทุนสินค้าที่นายทุนคนหนึ่งผลิต กลายเป็น “ต้นทุนสินค้า” ของนายทุนอีกคน เช่นเครื่องจักร

• ซึ่งแปลว่าเราต้องมองการหมุนเวียนของทุนสินค้าในระดับสังคมโดยรวม มองแค่ในระบบหมุนเวียนของนายทุนหนึ่งคนไม่ได้



บทที่ 4: สามวงจรของทุน


สามวงจรของทุน คือการหมุนเวียนของ
“ทุนอุตสาหกรรม” คือ ทุนเงิน-ทุนการผลิต-ทุนสินค้า ในกระบวนการเพิ่มมูลค่า ซึ่งแรงผลักดันหลักคือการพยายามเพิ่มมูลค่า ไม่ใช่การตอบสนองความต้องการของมนุษย์

• ทุนอุตสาหกรรมประกอบไปด้วยสามวงจรที่พูดถึงในบทที่ 1-3 และในสังคมโดยรวมทุนอุตสาหกรรมปรากฏในรูปแบบสามวงจรดังกล่าวในขั้นตอนต่างๆ ตลอดเวลา


• ทุนแยกเป็นส่วนต่างๆ ตามขั้นตอนดังกล่าว แต่ในขณะเดียวกันเป็นองค์รวมของสามวงจรเสมอ


• ระบบทุนนิยมไม่ใช่ภาพนิ่ง มันอธิบายด้วยภาพนิ่งไม่ได้ ต้องมองเป็นภาพเคลื่อนไหวที่เปลี่ยนแปลงเสมอ ส่วนต่างๆเปลี่ยนไปเป็นรูปแบบอื่นเสมออย่างต่อเนื่อง


• ต้องมองทั้งส่วนแยกและองค์รวมพร้อมกัน เช่นนายทุนในฐานะปัจเจก และนายทุนทั้งหมดพร้อมกัน


• การหมุนเวียนนี้ดำเนินต่อได้ต่อเมื่อมีการเพิ่มมูลค่าของทุน แต่ถ้ามีปัญหาตรงนี้ จะเริ่มขาดเสถียรภาพ


• เนื่องจากการเพิ่มมูลค่าเป็นแรงขับเคลื่อนหลัก
“อัตรากำไร” ของนายทุนเป็นเรื่องสำคัญ เพราะการเพิ่มกำไรเป็นเป้าหมาย.... และสัดส่วนทุนแปรผันที่ใช้จ้างงานจะลดลง เมื่อเทียบกับทุนคงที่


“ระบบทุนนิยมดำรงอยู่ไม่ได้ ถ้าการบริโภคเสพสุขส่วนตัวของนายทุนเป็นเป้าหมายในการผลิต”

• ระบบทุนนิยมเป็นระบบโลก มีตลาดโลก มีเงินโลก

• ในยุคเริ่มต้น สินค้าบางอย่างที่ใช้ในระบบทุนนิยม ผลิตในระบบอื่น(เช่นจากทวีปอื่น) แต่มันกลายเป็น “ทุนสินค้า” เมื่อเข้ามาในระบบการผลิตทุนนิยม

• เงินให้กู้ กับเงินจริง ไม่ต่างกัน เพียงแต่ใช้โดยนายทุนในระยะเวลาต่างกันของวงจรการผลิตเท่านั้น
 
• “เงิน” เกิดขึ้นแต่แรกในระบบพาณิชย์ ก่อนทุนนิยม แต่ทุนนิยมพิเศษตรงที่นำ “แรงงาน” มาเป็นสินค้า เพื่อพัฒนาระบบการผลิตอย่างรวดเร็ว

• ถ้าวงจรการหมุนเวียนของทุนเร็วขึ้น เงินจำนวนหนึ่งสามารถขับเคลื่อนการหมุนเวียนของทุนในปริมาณที่มากขึ้น
 
• ถ้าในการผลิต เครื่องจักรใช้ได้ 10 ปี มูลค่ามันจะค่อยๆถูกทำลายผ่านความสึกหรอปีละ 10%

(ที่มา)
http://turnleftthai.blogspot.dk/2012/08/2-1-2-4.html 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น