ศาสนา "ดับทุกข์" ให้กับมนุษย์ไม่ได้
"นักมาร์คซิสต์มองว่า แนวทางแก้ปัญหาที่เน้นจาก "ภายใน" ของ
ศาสนา ล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาให้กับมนุษย์
เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ไม่ได้มาจากภายใน
แต่มาจากลักษณะของระบบเศรษฐกิจการที่ถูกสร้างขึ้นจากคนรุ่นก่อน
และใช้ควบคุมสังคม..."
โดย วัฒนะ วรรณ
มนุษย์สร้าง "ศาสนา" ขึ้นมาพร้อมๆ กับการพัฒนาระบบการผลิตเลี้ยงชีพ
แต่เดิมมนุษย์นับถือความศักดิ์สิทธิ์ของธรรมชาติ ดิน ฟ้า แม่น้ำ ต้นไม้
ในรูปแบบของความกลัว แต่เมื่อระบบการผลิตไม่ต้องพึ่งพิงธรรมชาติแบบดิบๆ
มนุษย์ก็เริ่มที่ใช้เหตุผลมากขึ้น
แล้วก็สร้างศาสนาขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาของมนุษย์ในแต่ละยุค โดยที่ ศาสนา
ก็มีการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย และสภาพแวดล้อมสังคมของมนุษย์
ศาสนาจึงไม่ใช่สิ่งหยุดนิ่ง และปราศจากการมีส่วนรวมของมนุษย์
แต่จะถูกใช้โดยมนุษย์กลุ่มต่างๆ ในยุคสมัยต่างๆ ดังนั้นการที่บางคนเสนอว่า
ศาสนาถูกนำไปใช้โดยคนแบบผิดๆ และนั้นไม่ใช่ศาสนาแท้
เป็นเพียงความพยายามในการปกป้องศาสนา จากความล้มเหลวของศาสนาเอง
อย่างเช่น พระไตรปิฎก ที่เป็นคำสอนของสิทธารถ ก็เริ่มมีการบันทึกกันก็เมื่อสิทธารถ ตายไปแล้ว 3 เดือน ผ่านการจดจำของศิษย์แต่ละคน และมีโอกาสมาก ที่จะมีการตีความในคำสอนของสิทธารถ ตามประสบการณ์ และการนำไปใช้ของศิษย์ ซึ่งครั้งนั้นถือว่าเป็นการสังคายนาครั้งแรก และหลังจากนั้นอีกร้อยปี ก็มีการแยกลัทธิกันเป็นสองฝ่าย ฝ่ายที่หนึ่งเห็นว่า ควรแก้ไขคำสอนของสิทธารถได้ เรียกว่า ฝ่ายอาจริยวาท กับอีกฝ่ายที่ไม่เห็นควรให้แก้ไข เรียกว่า ฝ่ายเถรวาท
ดังนั้นการวิเคราะห์ศาสนาจึงต้องรวมเอามนุษย์ ทั้งที่เป็นพระ และผู้ที่นับถือ เขาไปด้วย มิใช่มองแต่เพียงคัมภีร์บริสุทธิ์เพียงอย่างเดียว เพราะคัมภีร์ไม่สามารถสร้างผลกระทบให้กับมนุษย์และสังคมได้ แต่มนุษย์ที่นำศาสนาไปใช้ ผ่านการตีความและขยายแนวคิดศาสนาลงสู่สังคม นั่นแหละคือ "ศาสนา"
อย่างเช่น พระไตรปิฎก ที่เป็นคำสอนของสิทธารถ ก็เริ่มมีการบันทึกกันก็เมื่อสิทธารถ ตายไปแล้ว 3 เดือน ผ่านการจดจำของศิษย์แต่ละคน และมีโอกาสมาก ที่จะมีการตีความในคำสอนของสิทธารถ ตามประสบการณ์ และการนำไปใช้ของศิษย์ ซึ่งครั้งนั้นถือว่าเป็นการสังคายนาครั้งแรก และหลังจากนั้นอีกร้อยปี ก็มีการแยกลัทธิกันเป็นสองฝ่าย ฝ่ายที่หนึ่งเห็นว่า ควรแก้ไขคำสอนของสิทธารถได้ เรียกว่า ฝ่ายอาจริยวาท กับอีกฝ่ายที่ไม่เห็นควรให้แก้ไข เรียกว่า ฝ่ายเถรวาท
ดังนั้นการวิเคราะห์ศาสนาจึงต้องรวมเอามนุษย์ ทั้งที่เป็นพระ และผู้ที่นับถือ เขาไปด้วย มิใช่มองแต่เพียงคัมภีร์บริสุทธิ์เพียงอย่างเดียว เพราะคัมภีร์ไม่สามารถสร้างผลกระทบให้กับมนุษย์และสังคมได้ แต่มนุษย์ที่นำศาสนาไปใช้ ผ่านการตีความและขยายแนวคิดศาสนาลงสู่สังคม นั่นแหละคือ "ศาสนา"
ศาสนาพุทธ มักเสนอทางออกให้กับมนุษย์ หรือ "ดับทุกข์" ให้กับมนุษย์ โดยให้พิจารณาจาก "ภายใน" หรือ "จิตใจ" ของมนุษย์เป็นหลัก โดยเสนอว่าถ้ามนุษย์พัฒนา "จิต" ให้เข้มแข็งพอ ก็สามารถตัด "กิเลส" ต่างๆ รัก โลภ โกรธ หลง อยากมี อยากได้ออกไปอยาก "จิตใจ" ได้ ก็จะแก้ไขปัญหาได้
แต่นักมาร์คซิสต์มองว่าแนวทางแก้ปัญหาที่เน้นจาก "ภายใน" ของศาสนา ล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาให้กับมนุษย์ เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ไม่ได้มาจากภายใน แต่มาจากลักษณะของระบบเศรษฐกิจการที่ถูกสร้างขึ้นจากคนรุ่นก่อน และใช้ควบคุมสังคม เช่นในระบบเศรษฐกิจการเมืองทุนนิยมปัจจุบัน ที่สร้างระบบชนชั้นนายทุนที่ "ขูดรีด" เอามูลค่าส่วนค่าส่วนเกินของกรรมาชีพ "ผู้ถูกขูดรีด" ผลิต ได้ไปเป็นของส่วนตน ซึ่งผลของระบบเศรษฐกิจการเมืองเช่นนี้ ได้สร้างโอกาสมากมายให้กับชนชั้นนายทุน ในการหาความสุขสบายให้กับชนชั้นตนเอง รวมถึงพื้นที่ทางเมืองอื่นๆ แต่สำหรับชนชั้นกรรมมาชีพ มันได้สร้างความยากลำบากในการใช้ชีวิตเป็นอย่างมาก นำมาซึ่งการไร้ศักดิ์ศรีในสังคม และถูกกดดันจากปัญหาต่างๆ รอบด้าน
ถึงแม้นักมาร์รซิสต์ จะมองว่าศาสนาจะแก้ปัญหาให้มนุษย์ไม่ได้ แต่ก็มองว่ามนุษย์มีเหตุผลที่จะเลือกนับถือศาสนา ในโลกที่เต็มไปด้วยความหนาวเย็น ศาสนาก็เปรียบเสมือนกับผ้าห่มที่ให้ความอบอุ่น ในโลกที่ไร้ผ้าห่ม ศาสนาสอนให้มนุษย์ "ปล่อยวาง" ในความทุกข์ของตน ซึ่งมีประโยชน์สำหรับผู้ที่กำลังเผชิญหน้ากับความยากลำบากและไร้ทางออก มันช่วยผ่อนคลายความทุกข์ของกรรมาชีพได้ชั่วคราว ดังที่ คาร์ล มาร์คซ์ เคยเขียนไว้...
"มนุษย์เป็นผู้สร้างศาสนา ไม่ใช่ว่าศาสนาก่อให้เกิดมนุษย์ ดังนั้นศาสนาเป็นสิ่งที่มาจากจิตสำนึกของมนุษย์เองท่ามกลางความพยายามที่จะ แสวงหาตนเอง หรือทางกลางการหลงทางของตนเอง แต่มนุษย์มีตัวตนในโลกจริง ไม่ใช่ผู้ที่ไม่มีตัวตน มนุษย์คือโลกแห่งมนุษย์ คือรัฐของมนุษย์ คือสังคมของมนุษย์ และเนื่องจากรัฐและสังคมดังกล่าวมักดำรงอยู่ในลักษณะที่เบี่ยงเบนหรือไม่ สมบูรณ์ สิ่งเหล่านี้ย่อมผลิตทฤษฎีเพื่อเข้าใจโลก หรือศาสนานั้นเอง ที่เบี่ยงเบนไม่สมบูรณ์ไปด้วย
เวลาศาสนาเอ่ยถึงทุกข์ของมนุษย์ ทุกข์ดังกล่าวเป็นทุกข์จริง และศาสนามักจะประท้วงกับทุกข์จริงดังกล่าว ศาสนาคือการถอนลมหายใจของผู้ถูกกดขี่ ศาสนาคือหัวใจในโลกที่ไร้หัวใจ คือวิญาณในโลกที่ไร้วิญญาณ มันคือฝิ่นของมวลประชา"
แต่เมื่อกรรมาชีพต้องกลับมาสู่โลกจริง ปัญหาต่างๆ ไม่ได้หายไป ดังนั้นการเสนอให้ "ปล่อยว่าง" จึง มีประสิทธิน้อย ถ้าเทียบกับ การรวมตัวกันต่อสู้กับกับโครงสร้างเศรษฐกิจการเมืองที่ไม่เป็นธรรมของระบบ ทุนนิยม เพื่อถึงเอาส่วนเกินที่นายทุนขโมยไปจากกรรมาชีพ เอามาพัฒนาสังคมและแก้ไขปัญหาให้ทุกคนในสังคม ถึงแม้ว่าการต่อสู้ที่ผ่านมาจะมีชนะบ้าง แพ้บ้าง แต่ก็ก็ถูกพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพมากกว่าแนวศาสนา
แต่อีกด้านของศาสนาในบ้างครั้งการเสนอในแก้ปัญหาจาก "ภายใน" "จิตใจ" หรือ "การปล่อยว่าง" ของศาสนาก็มีความเป็นปฏิกิริยาอยู่ด้วย เพราะการเสนอให้กรรมาชีพมองตัวเอง เป็นหลัก เท่ากับว่าปัญหาที่กรรมาชีพเผชิญอยู่มาจากตัวกรรมาชีพเอง แทนที่จะมองไปที่โครงสร้างสังคมที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งเท่ากับเป็นการปกป้องให้ระบบ "ขูดรีด" ดำเนินต่อไป แทนที่จะปลุกระดมให้กรรมาชีพออกมาต่อสู้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตนเอง ซึ่งก็มีความคล้ายกับแนวคิดแบบ "เศรษฐกิจพอเพียง" ที่เสนอให้คนจนฝึกใช้ชีวิตอยู่แบบจนๆ ในขณะที่คนรวยๆ ก็อยู่สุขสบายต่อไป
ดังนั้นเราชาวมาร์ซิสต์ จึงเสนอให้แยกศาสนาออกจากรัฐ ที่มนุษย์สามารถเลือกที่จะเชื่อ นับถือลัทธิใดๆ หรือไม่เชื่อก็ได้ ให้เป็นอิสระส่วนตน โดยที่รัฐต้องไม่เข้าไปบังคับ และเปิดโอกาสให้มนุษย์สามารถที่จะศึกษา ปรัชญาของศาสนาต่างๆ ได้โดยเสรี เช่นเดียวกับแนวคิดอื่นๆ ในสังคม แทนที่จะบังคับสอนศาสนาใดศาสนาหนึ่ง และเลิกการโฆษณาต่างๆ ที่เป็นการกดดันให้พลเมืองต้องนับถือศาสนาหรือมีศาสนา โดยที่เขาไม่โอกาสเสรีที่จะเลือกเอง
เอกสารอ้างอิง
ใจ อึ๊งภากรณ์ และคณะ. (2545). อะไรนะลัทธิมาร์คซ์ เล่ม 2. กรุงเทพฯ: ชมรมหนังสือประชาธิปไตยแรงงาน.
(ที่มา)
http://turnleftthai.blogspot.dk/2012/09/blog-post_6819.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น