หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555

ชำแหละ "อภิมหาเครือข่ายชนชั้นนำ" ผ่านหลักผู้บริหารระดับสูงยอดนิยม จุดจบ "สังคมเสมอหน้า"

ชำแหละ "อภิมหาเครือข่ายชนชั้นนำ" ผ่านหลักผู้บริหารระดับสูงยอดนิยม จุดจบ "สังคมเสมอหน้า"

 


ดร.อักขราทร จุฬารัตน"

 

ก่อนอำลาตำแหน่งประธานศาลปกครองสูงสุด "ดร.อักขราทร จุฬารัตน" เคยกล่าวถึงหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงมากมายหลายหลักสูตรที่ผุดขึ้นเป็นดอก เห็ดในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา อย่างมีนัยว่า

"สังคมไทยเป็นสังคมที่มีพรรคพวกเพื่อนฝูง ยกหูโทรศัพท์ กริ๊ง...เฮ้ย ช่วยหน่อยวะ ขอกัน ถ้าไม่มีคุณธรรม ก็ โอเค...เรียบร้อย ถามว่า มันเลวร้ายมั้ย No ก็ไม่ได้ถึงขนาดนั้น แต่ว่าทำไปโดยไม่ได้คิดว่า คนอื่นเดือดร้อนหรือเปล่า ถ้าเดือดร้อน ยิ่งบาปมหาศาล อันนี้สังคมไทยเป็นมาก นี่คือระบบสังคมไทย ต้องแก้"


สุดยอดหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง ยอดฮิต พ.ศ. นี้ต้อง หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) ของวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร

หลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง (บ.ย.ส.) ของวิทยาลัยการยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม
หลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง (ปปร.) ของสถาบันพระปกเกล้า
หลักสูตรการพัฒนาการเมืองการเลือกตั้งระดับสูง (พตส.) ของสถาบันพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้ง หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน (วตท.) ของสถาบันวิทยาการตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านการค้าและการพาณิชย์ (TEPCoT) ของหอการค้าไทย


กล่าวกันว่า บางหลักสูตร ต้องเข้าคิวรอเป็นปี

แต่ข้อน่าสังเกตคือ ผู้บริหารที่เข้าอบรม ล้วนเป็นคนเดิมๆ หน้าซ้ำๆ มีชื่อโผล่เข้าเรียนหลักสูตรโน้นหลักสูตรนี้ เป็นว่าเล่น ซึ่งส่วนใหญ่ ผู้บริหาร ระดับชนชั้นนำของประเทศ ที่เข้าอบรม ได้แก่ นักธุรกิจ นักการเมือง ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ทหาร ตำรวจ ผู้พิพากษา อัยการ องค์กรอิสระ สื่อมวลชน และนักวิชาการ


เอาเข้าจริง ข้อดีและข้อเสีย ของหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง มีการถกเถียงกันน้อยมาก อาจเป็นเพราะต่างเกรงอกเกรงใจ หรือ ไว้หน้ากัน


ทั้งๆ ที่ด้านมืดของอภิมหาสายสัมพันธ์เหล่านี้ โยงใยเข้าหากันอย่างน่าตกใจ

ล่าสุด มีงานวิจัยที่ศึกษา เจาะลึก เรื่อง "เครือข่ายผู้บริหารระดับสูงผ่านเครือข่ายทางการศึกษา" โดย รศ.ดร.นวลน้อย ตรีรัตน์ จากสำนักเศรษฐศาสตร์การเมือง คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ งานวิจัยดังกล่าว ชี้ประเด็นว่า หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงเป็นช่องทางให้เกิดชนชั้นนำใหม่และทำให้ชนชั้นนำ รวมตัวกันเหนียวแน่น

ในช่วงยี่สิบปีที่ผ่านมา หลักสูตรฝึกอบรมผู้บริหารระดับสูงในวิชาชีพต่างๆ ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ทั้งในแบบทางการและไม่เป็นทางการระหว่างบุคคลในรุ่น เดียวกันและระหว่างรุ่น


การรวมตัวระหว่างชนชั้นนำผ่านการศึกษาในหลักสูตรผู้บริการระดับสูงทำให้ชนชั้นนำมีแนวโน้มสำคัญ 2 ประการคือ
แนวโน้มแรก ทำให้แข่งขันลดลงและเป็นไปได้ที่จะแบ่งปันอำนาจระหว่างชนชั้นนำด้วยกันภาย ใต้ความสัมพันธ์แบบ "พรรคพวกเพื่อนฝูง" การแข่งขันหรือการเข้าถึงจากภายนอกโดยเฉพาะจากประชาชนทั่วไปจึงเป็นไปได้ยาก เพราะ "กำแพงของความเป็นเพื่อน" ผ่านหลักสูตรผู้บริหารดังกล่าว


แนวโน้มที่สอง หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงเป็นเสมือน Fast Track ทำให้คนกลุ่มใหม่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชนชั้นนำได้

เมื่อ เทียบหลักสูตรการศึกษาพิเศษเหล่านี้กับมหาเศรษฐีไทย 40 อันดับ จากการจัดอันดับของนิตยสารฟอร์บส์ พบว่า นักธุรกิจที่มีธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ และไม่เกี่ยวข้องกับนโยบายรัฐ จะไม่นิยมเข้าเรียน

ขณะที่ 40 ตระกูลชื่อดังของสังคมไทย คนในแต่ละตระกูลนิยมเข้าเรียน วตท. 19 ตระกูล วปอ. 13 ตระกูล และ บ.ย.ส. และ ปปร. อย่างละ 6 ตระกูล


นักเศรษฐศาสตร์การเมืองผู้นี้ ชี้ว่า ไม่ว่าจะพิจารณา "เครือข่ายผู้บริหารระดับสูงผ่านเครือข่ายทางการศึกษา" ด้านใด ก็คงไม่ทำให้สังคมไทยเสมอหน้ามากขึ้น

เพราะการเกาะเกี่ยวกันไม่ว่ารูปแบบไหน ทำให้การแสวงหาผลประโยชน์กระจุกตัวอยู่ที่ชนชั้นนำมากขึ้น โดยที่ประชาชนที่อยู่ภายนอกหรือระดับล่างย่อมเข้าไม่ถึง และสิ่งเหล่านี้น่าจะเป็นปัญหาในอนาคต

(ที่มา)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1346493819&grpid=01&catid=&subcatid=

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น