รัฐไทยกับความรุนแรง (1)
โดย อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์
ดังที่ทราบกันอยู่แล้วว่า
รัฐไทยใช้ความรุนแรงเป็นเครื่องมือในการปกครองอย่างมาก
กระทำทั้งในที่ลับและที่แจ้ง เพื่อรักษาผลประโยชน์และอำนาจของกลุ่มชนชั้นนำ
ผลประโยชน์และอำนาจนั้นฝังตัวอยู่ในระบบกฎหมาย และการจัดการทางสังคม
จนเกิดเป็น "ระเบียบ" ที่ทุกฝ่ายยอมรับหรือต้องยอมรับ
(และดังที่นักวิชาการบางท่านกล่าวไว้ แม้แต่การปฏิวัติของผู้ไร้อำนาจ
ก็จำเป็นต้องใช้ "ระเบียบ" นี้เป็นเครื่องมือต่อสู้)
แต่จะเปรียบรัฐ ไทยกับอาณาจักรไรช์ที่สาม, โซเวียต หรือจีนสมัยเหมาไม่ได้ เพราะรัฐไทยอ่อนแออย่างยิ่ง หรือพูดให้ตรงกว่านั้นก็คือ ผู้ถืออำนาจปกครองรัฐไทยอ่อนแออย่างยิ่ง อ่อนแอเสียจนไม่สามารถหาเครื่องมืออื่นที่มีประสิทธิภาพมากกว่าได้ ความรุนแรงที่ใช้เป็นเครื่องมือปกครองเกิดขึ้นเพราะเป็นเครื่องมืออย่าง เดียวที่มีอยู่
ความอ่อนแอนี้มาจากเหตุสองอย่าง ประการแรกก็คือกลุ่มชนชั้นนำประกอบด้วยหลายกลุ่ม โดยแทบไม่มีกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมีอำนาจพอจะกำกับกลุ่มอื่นได้อย่างเด็ดขาด ประการที่สองก็คือ ชนชั้นนำทุกกลุ่มไม่มีสายสัมพันธ์แผ่ลงไปถึงมวลชนระดับล่างอย่างแนบแน่นเลย สักกลุ่มเดียว หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือทุกกลุ่มไม่มีฐานทางสังคม (รวมแม้แต่พรรคการเมือง เช่น พรรคประชาธิปัตย์ในภาคใต้ มีนักการเมืองจากพรรคอื่นได้รับเลือกตั้งในบางเขตของภาคใต้ตลอดมา)
ขอ ไม่กล่าวถึงการใช้ความรุนแรงของรัฐในทางอ้อม และใช้ในที่ลับ ซึ่งรัฐไทยใช้อยู่เป็นประจำ แต่จะกล่าวถึงการใช้ความรุนแรงในที่แจ้ง 4 ครั้ง คือ 14 ตุลา, 6 ตุลา, พฤษภามหาโหด และความรุนแรงภายใต้รัฐบาลอภิสิทธิ์ เพื่อชี้ให้เห็นว่าความอ่อนแอของชนชั้นนำไทย นำไปสู่การใช้ความรุนแรงเป็นเครื่องมือแห่งอำนาจอย่างไร
14 ตุลามักพาให้นึกถึงบทบาทเด่นของนิสิตนักศึกษา แต่ที่จริงแล้วมีคนอื่นเข้ามาร่วมในการต่อต้านเผด็จการถนอม-ประภาสอีกมาก โดยเฉพาะในหมู่ชนชั้นนำด้วยกันเอง การเคลื่อนไหวของกลุ่มต่างๆ เหล่านี้เห็นได้มาเป็นปีก่อน พ.ศ.2516 แม้แต่แรงกดดันมิให้จอมพลประภาสได้ต่ออายุในฐานะ ผบ.ทบ. จนในที่สุดต้องตั้ง พลเอกกฤษณ์ สีห์วรา ขึ้นดำรงตำแหน่ง ก็เป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวต่อต้านในกองทัพบก การสนับสนุนต่อระบอบปกครองจากสถาบันพระมหากษัตริย์ได้อันตรธานไปให้รู้เห็น ได้มาก่อนหน้าเป็นปีแล้วเช่นกัน เทคโนแครตในราชการถอนความภักดีต่อระบอบ นักการเมืองแม้แต่ในพรรคสหประชาไทยเองก็ถอนการสนับสนุน (จนเป็นเหตุให้ต้องยึดอำนาจตัวเองใน 2514) กำลังส่วนใหญ่ในกองทัพบกปฏิเสธที่จะเข้าร่วมปราบปรามนิสิตนักศึกษาในเดือน ตุลาคม 2516
แต่จะเปรียบรัฐ ไทยกับอาณาจักรไรช์ที่สาม, โซเวียต หรือจีนสมัยเหมาไม่ได้ เพราะรัฐไทยอ่อนแออย่างยิ่ง หรือพูดให้ตรงกว่านั้นก็คือ ผู้ถืออำนาจปกครองรัฐไทยอ่อนแออย่างยิ่ง อ่อนแอเสียจนไม่สามารถหาเครื่องมืออื่นที่มีประสิทธิภาพมากกว่าได้ ความรุนแรงที่ใช้เป็นเครื่องมือปกครองเกิดขึ้นเพราะเป็นเครื่องมืออย่าง เดียวที่มีอยู่
ความอ่อนแอนี้มาจากเหตุสองอย่าง ประการแรกก็คือกลุ่มชนชั้นนำประกอบด้วยหลายกลุ่ม โดยแทบไม่มีกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมีอำนาจพอจะกำกับกลุ่มอื่นได้อย่างเด็ดขาด ประการที่สองก็คือ ชนชั้นนำทุกกลุ่มไม่มีสายสัมพันธ์แผ่ลงไปถึงมวลชนระดับล่างอย่างแนบแน่นเลย สักกลุ่มเดียว หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือทุกกลุ่มไม่มีฐานทางสังคม (รวมแม้แต่พรรคการเมือง เช่น พรรคประชาธิปัตย์ในภาคใต้ มีนักการเมืองจากพรรคอื่นได้รับเลือกตั้งในบางเขตของภาคใต้ตลอดมา)
ขอ ไม่กล่าวถึงการใช้ความรุนแรงของรัฐในทางอ้อม และใช้ในที่ลับ ซึ่งรัฐไทยใช้อยู่เป็นประจำ แต่จะกล่าวถึงการใช้ความรุนแรงในที่แจ้ง 4 ครั้ง คือ 14 ตุลา, 6 ตุลา, พฤษภามหาโหด และความรุนแรงภายใต้รัฐบาลอภิสิทธิ์ เพื่อชี้ให้เห็นว่าความอ่อนแอของชนชั้นนำไทย นำไปสู่การใช้ความรุนแรงเป็นเครื่องมือแห่งอำนาจอย่างไร
14 ตุลามักพาให้นึกถึงบทบาทเด่นของนิสิตนักศึกษา แต่ที่จริงแล้วมีคนอื่นเข้ามาร่วมในการต่อต้านเผด็จการถนอม-ประภาสอีกมาก โดยเฉพาะในหมู่ชนชั้นนำด้วยกันเอง การเคลื่อนไหวของกลุ่มต่างๆ เหล่านี้เห็นได้มาเป็นปีก่อน พ.ศ.2516 แม้แต่แรงกดดันมิให้จอมพลประภาสได้ต่ออายุในฐานะ ผบ.ทบ. จนในที่สุดต้องตั้ง พลเอกกฤษณ์ สีห์วรา ขึ้นดำรงตำแหน่ง ก็เป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวต่อต้านในกองทัพบก การสนับสนุนต่อระบอบปกครองจากสถาบันพระมหากษัตริย์ได้อันตรธานไปให้รู้เห็น ได้มาก่อนหน้าเป็นปีแล้วเช่นกัน เทคโนแครตในราชการถอนความภักดีต่อระบอบ นักการเมืองแม้แต่ในพรรคสหประชาไทยเองก็ถอนการสนับสนุน (จนเป็นเหตุให้ต้องยึดอำนาจตัวเองใน 2514) กำลังส่วนใหญ่ในกองทัพบกปฏิเสธที่จะเข้าร่วมปราบปรามนิสิตนักศึกษาในเดือน ตุลาคม 2516
(อ่านต่อ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น