ความหมายของการรำลึก 36 ปี 6 ตุลา ปีนี้เราคงไม่ต้องถามว่า “ใครฆ่าเขา หรือเราเห็นคนตาย” อีกแล้ว
โดย อ.วิภา ดาวมณี
วันที่ 6 ตุลาคม ปีนี้ นอกจากเป็นวันครบรอบ 36 ปี ของเหตุการณ์นองเลือดในมหาวิ ทยา
ลัย ธรรมศาสตร์ อันเกิดจากอาชญากรรมรัฐ เมื่อปี พ.ศ.2519 แล้ว
ยังเป็นวันครบรอบ 12 ปี ของชิ้นงานประติมานุสรณ์ 6 ตุลาด้วย
ประติมากรรมชิ้นนี้สร้างขึ้ นมาด้วยน้ำพัก น้ำแรง น้ำใจ และการระดมทุนจากบรรดาผู้ผ่ านเหตุการณ์ และมีประสบการณ์ร่วมกันภายใต้ คำขวัญการจัดงานรำลึก 20 ปี 6 ตุลา ว่า “ขบวนการนักศึกษาประชาชนเดือนตุ ลา..กล้าต่อสู้เพื่อสังคมที่ดี งาม” โดยมติเห็นชอบของสภามหาวิทยาลั ยธรรมศาสตร์ ปี 2539 สร้างเสร็จและเปิดก่อนหน้าอนุ สรณ์สถาน 14 ตุลาถึง 2 ปี นั่นหมายความว่าพื้นที่ทางประวั ติศาสตร์ของสามัญชนในรูปของอนุ สรณ์สถานนั้นไม่ใช่สิ่งที่จะสร้ างได้ง่ายๆในสังคมไทย
ในบันทึกอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ซึ่งดำรงตำแหน่งอธิการบดี ในขณะนั้น ชื่อว่า “ความรุนแรงและรัฐประหาร 6 ตุลาคม 2519” ถ่ายทอดทุกสิ่งที่สังคมไทยตั้ งคำถามกับเหตุการณ์นี้ แจกแจงถึงเจตนาตลอดจนวิธี การของพวกที่รวมตัวกันวางแผนก่ ออาชญากรรมรัฐว่า
“......... เจตนาที่จะทำลายล้างพลังนักศึ กษา และประชาชนที่ใฝ่เสรีภาพนั้นมี อยู่นาน ในการเลือกตั้งเมษายน 2519 ได้มีการปิ ดประกาศและโฆษณาจากพรรคการเมื องบางพรรคว่า “สังคมนิยมทุกชนิดเป็นคอมมิวนิ สต์” และพระกิตติวุฒโฑภิกขุ ยังได้ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ ว่า “การฆ่าคอมมิวนิสต์นั้นไม่เป็ นบาป” ในกันยายน–ตุลาคม 2519 มีผู้กล่าวว่าการฆ่าคนที่มาชุ มนุมประท้วงจอมพลถนอม กิตติขจร สัก 30,000 คน ก็เป็นการลงทุนที่ถูก
ผู้ที่สูญเสียอำนาจทางการเมื องในเดือนตุลาคม 2516 ได้แก่ทหารและตำรวจบางกลุ่ม ผู้ที่เกรงว่าในระบบประชาธิ ปไตยจะสูญเสียอำนาจทางเศรษฐกิ จไป ได้แก่ พวกนายทุนเจ้าของที่ดินบางกลุ่ม และผู้ที่ไม่ประสงค์จะเห็ นระบบประชาธิปไตยในประเทศไทย กลุ่มเหล่านี้ได้พยายามอยู่ ตลอดเวลาที่จะทำลายล้างพลังต่ างๆ ที่เป็นปรปักษ์แก่ตนเองด้วยวิธี ต่างๆ ทางวิทยุและโทรทัศน์ ทางหนังสือพิมพ์ ทางใบปลิวโฆษณา ทางลมปากลือกัน ทางบัตรสนเท่ห์ ทางจดหมายซึ่งเป็นบัตรสนเท่ห์ขู ่เข็ญต่างๆ และได้ก่อตั้งหน่วยต่างๆ
วิธีการของบุคคลกลุ่มเหล่านี้คื อ ใช้การปลุกผีคอมมิวนิสต์โดยทั่ วไป ถ้าไม่ชอบใครก็ป้ายว่าเป็นคอมมิ วนิสต์ แม้ แต่นายกรัฐมนตรีคึกฤทธิ์ หรือเสนีย์ หรือพระราชาคณะบางรูปก็ไม่เว้ นจากการถูกป้ายสี อีกวิธีหนึ่งคือการอ้างถึงชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นเครื่องมือในการป้ายสี ถ้าใครเป็นปรปักษ์ก็แปลว่าไม่รั กชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ….”
ความขัดแย้งทางการเมืองในระหว่ างกลุ่มพลังก้าวหน้า ที่มุ่งให้มีการเปลี่ ยนแปลงทางโครงสร้างกับพลังอนุรั กษ์
นิยมทางการเมือง ลงเอยด้วยการก่ออาชญากรรมรัฐ ในวันที่ 6 ตุลา 2519
เพียง 3 ปี จากเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ความทรงจำที่พร่ามัวบวกกั บความหมายของการตายที่ถูกบิดเบื อนไปทำให้บันทึกประวัติศาสตร์ 6 ตุลา และเจตนารมณ์ 6 ตุลา ต้องผิดเพี้ยนไปจากความจริง วันนี้สังคมไทยยังคงซึมซับกั บประสบการณ์เดิมๆ เรื่องราวเดิมๆ การคุกคาม ปราบปราม เข่นฆ่า และอาชญากรรมของรัฐ ซึ่งดูรุนแรงยิ่งกว่า
แต่ขณะเดียวกันประชาชนก็มี ความตื่นตัว แจ่มชัด ยิ่งขึ้น
ตาสว่างมากขึ้น มีการกระจายตัวอยู่ในทุกจังหวัด
ไม่ได้รวมศูนย์เฉพาะในกรุงเทพฯ การสื่อสารต่างๆจึงไม่ได้ถู กจำกัดอยู่เพียงฝ่ายกุมอำนาจ แม้จะมีความพยายามปิดสื่อทุกทาง ทั้งโทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ เว็บไซต์
ความหมายของการรำลึก 36 ปี 6 ตุลา ปีนี้เราคงจะไม่ต้องถามหาว่า “...ใครฆ่าเขา หรือเราเห็นคนตาย ” อีกแล้ว ความจริงคำถามเหล่านี้ เราตอบได้เพราะฆาตกรในเหตุการณ์ สังหาร
หมู่ 6 ตุลา 2519 กับ เมษา-พฤษภามหาโหด 2553 ก็ไม่ได้ต่างกันเลย
ขบวนการประชาชน ซึ่งรวมคนชนบทและคนในกรุงเทพฯ จำนวนมากเป็นประวัติการณ์
ยิ่งใหญ่กว่าการต่อสู้ 14 ตุลา และการต่อสู้ในเดือนพฤษภาปี 2535
มีการสั่งสมบทเรียน และก่อตัวเป็นอุดมการณ์ การขับเคลื่อนใหม่ๆ
(ที่มา)
http://www.prachatai.com/journal/2012/10/43057
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น