พลวัตของชนชั้นนำไทย (2)
การนำของนายกฯที่มาจากการเลือกตั้ง ทำให้หลายกลุ่มของชนชั้นนำขัดแย้งกันเอง (เช่นระหว่างนักธุรกิจต่างจังหวัดซึ่งเข้ามาดำรงตำแหน่งทางการเมือง กับนักธุรกิจอุตสาหกรรมกรุงเทพฯ)
ชนชั้นนำอีกหลายกลุ่มไม่มั่นใจว่า ผลประโยชน์ปลูกฝังที่ดำรงอยู่ได้ภายใต้ "กึ่งประชาธิปไตย" ของพลเอกเปรม จะยังดำรงอยู่อย่างมั่นคงสืบไปหรือไม่ (เช่นแม้ว่าฝ่ายรวบอำนาจในกองทัพ ยังสามารถขึ้นดำรงตำแหน่งผู้นำได้เป็นแผง แต่ผู้นำกองทัพก็ถูกนักการเมืองโจมตีโดยตรงในที่สาธารณะ รวมทั้งไม่แน่ใจว่าจะถูกปลดกลางอากาศได้เมื่อไร)
ฝ่ายกษัตริย์นิยมขาด "คนของตัว" ทั้งในสภาผู้แทนฯ และในรัฐบาล มีแต่อำนาจนำทางวัฒนธรรมซึ่งมีอยู่สูงมาก แต่อำนาจนำทางวัฒนธรรมนั้น ใช้มากเกินไปก็สึกหรอได้ ฝ่ายกษัตริย์นิยมจึงรู้สึกว่า ภายใต้สภาวะทางการเมืองเช่นนั้น สถาบันพระมหากษัตริย์ขาดความมั่นคง
รสช.พยายามจะตอบโจทย์เหล่านี้ของชนชั้นนำ แต่เป็นคำตอบที่มักง่ายเกินไป เพราะมองไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดในบ้านเมืองสืบเนื่องมานานแล้ว ผลคือสิ้นสุดลงด้วยการนองเลือด และการตกต่ำด้านความนิยมของกองทัพลงอย่างมาก
ไม่มีกองทัพเป็นแกนกลางในการจัดระเบียบของระบบการเมือง ความรู้สึกปั่นป่วนขาดความมั่นคงของชนชั้นนำทุกกลุ่ม ยิ่งเข้มมากขึ้น นี่คือฐานที่มาของการสนับสนุนรัฐธรรมนูญ 2540
ในหมู่ชนชั้นนำทุกกลุ่ม (ยกเว้นกองทัพ
ซึ่งในช่วงนั้นก็ลดอิทธิพลทางการเมืองไปมาก ซ้ำชนชั้นนำกลุ่มอื่นยังกลับไปสนับสนุนรัฐธรรมนูญเสียอีก
ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่สนับสนุนรัฐธรรมนูญใหม่ก็คือกลุ่มนักธุรกิจต่างจังหวัด
เพราะรัฐธรรมนูญใหม่มีจุดมุ่งหมายจะจำกัดอำนาจทางการเมืองของกลุ่มนี้โดยตรง)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1349659365&grpid=&catid=12&subcatid=1200
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น