หน้าเว็บ

วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555

นักกฎหมาย-นักเศรษฐศาสตร์ มองต่างมุม "จำนำข้าว"

นักกฎหมาย-นักเศรษฐศาสตร์ มองต่างมุม "จำนำข้าว"


โดย นายวรากรณ์ สามโกเศศ


การรับจำนำข้าวเปลือกของรัฐบาล เป็นประเด็นร้อนฉ่าขึ้นทันที

หลัง นายอดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา คณบดีคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) นำรายชื่ออาจารย์นิด้า อาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนักศึกษารวม 146 รายชื่อ  ยื่นร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้มีคำวินิจฉัยยับยั้ง หรือยุติโครงการดังกล่าว

ด้วยเหตุผลรัฐบาลได้ปรับเปลี่ยนวิธีการรับซื้อและเข้ามาผูกขาดแต่เพียง ผู้เดียว จนทำลายกลไกการตลาด ซึ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 43 และมาตรา 84 (1) ที่ระบุ รัฐต้องสนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบเสรีและเป็นธรรมโดยอาศัยกลไกตลาด และสนับสนุนให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน และต้องไม่ประกอบกิจการที่มีลักษณะเป็นการแข่งขันกับเอกชน

ขณะที่สมาคมชาวนาไทยเห็นต่างว่าโครงการดังกล่าวประโยชน์ตกอยู่กับชาวนา จึงตั้งข้อสงสัยนักวิชาการที่ออกมาต้านมีนัยยะอะไรหรือไม่

พร้อมทำจดหมายเปิดผนึกถึงผู้คัดค้าน ขณะเดียวกันก็ยื่นจดหมายถึงรัฐบาลให้เดินหน้าโครงการต่อ

ที่ผ่านมาการจำนำข้าวมีการนำเสนอข้อมูลทั้งจากฟาก ของกลุ่มธุรกิจ กลุ่มชาวนา และนักการเมือง ทั้งมีที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย

สำรวจมุมมองในกลุ่มนักวิชาการยังเห็นต่างกันในประเด็นนี้

ในแง่มุมกฎหมาย นายปูนเทพ ศิรินุพงศ์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เห็นว่าการยื่นร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญไม่น่าจะทำได้


ศาลรัฐธรรมนูญไม่สามารถพิจารณาการร้องเรียนเรื่องนโยบายรัฐบาลได้ การยื่นต่อศาลปกครองน่าจะตรงกว่า เข้าใจว่าผู้ยื่นร้องน่าจะทราบดี เข้าใจว่าอาจเป็นการเคลื่อนไหวเพื่อแสดงสัญลักษณ์อะไรหรือไม่


ส่วนเสียงวิจารณ์กรณีรัฐเข้ามาผูกขาด อ.ปูนเทพ เห็นว่า หากนโยบายจำนำข้าวมีเจตนาหรือพิสูจน์ได้ว่าแทรกแซงกลไกการตลาดเพื่อประโยชน์ ของประชาชน เพื่อคุ้มครองชาวนาแล้วรัฐสามารถผูกขาดได้

(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1349254028&grpid=&catid=01&subcatid=0100

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น