หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

เบื้องหน้า ที่ไม่เข้าท่า ของคดีสวรรคต (กษัตริย์ภูมิพล กับคดีสวรรคต)

เบื้องหน้า ที่ไม่เข้าท่า ของคดีสวรรคต (กษัตริย์ภูมิพล กับคดีสวรรคต)



หนังสือ The Devil's Discus หรือ "กงจักรปีศาจ" โดย เรน ครูเกอร์ (Rayne Kruger) ได้รับการตีพิมพ์ในภาษาอังกฤษเพียงครั้งเดียวในปี 2507 (1964)
 
ญาสิทธิราชย์จึงต้องมุ่งเน้นแต่ความมั่นคงของสถาบันกษัตริย์ไทย บังคับให้ประชาชนต้องเคารพสักการะ ล่วงละเมิดหรือฟ้องร้องมิได้โดยเด็ดขาด ถ้ากษัตริย์ไทยดีจริงและอยู่ใต้กฎหมายเหมือนกษัตริย์ในประเทศประชาธิปไตยก็คงไม่จำเป็นจะต้องเป็นวัวสันหลังหวะหรือกินปูนร้อนท้องอย่างที่เป็นมาตลอด 




นับตั้งแต่วันแรกที่ครองราชสมบัติซึ่งเป็นค่ำวันเดียวกับที่เกิดกรณีสวรรคต หรือปลงพระชนม์รัชกาลที่ 8ในตอนเช้าวันเดียวกัน ทั้งๆพยานหลักฐานในที่เกิดเหตุชี้ชัดไปที่พระอนุชาว่าเป็นผู้ปลงพระชนม์ อย่างไม่มีทางเป็นอย่างอื่น จะมีก็แต่เพียงข้อโต้แย้งว่าเป็นอุบัติเหตุหรือกระทำโดยเจตนาเท่านั้น แม้จะได้มีการพยายามทำลายหลักฐานตั้งแต่แรก คำให้การที่ขัดแย้งกัน การสร้างพยานเท็จ มุ่งกำจัดนายปรีดีซึ่งเป็นศัตรูคนสำคัญที่เป็นหัวขบวนการปฏิวัติของคณะ ราษฎร 2475 มีการข่มขู่คุกคามบังคับในยุคเผด็จการจอมพลป.และพล.ต.อ.เผ่า ที่ลงท้ายด้วยการกลับคำพิพากษา เพื่อหาทางประหารชีวิตผู้บริสุทธิ์ที่เป็นพยานปากสำคัญรวมทั้งการเชื่อมโยง ไปให้ถึงบุคคลที่ตนเชื่อว่าอยู่ฝ่ายตรงกันข้ามกับพวกฟื้นฟูระบอบเจ้า



 

หลัง กรณีสวรรคตและพระอนุชาได้รับการรับรองจากสภาฯให้ขึ้นครองราชย์ขึ้นเป็น กษัตริย์รัฐบาลปรีดีต้องการให้ประทับในประเทศไทย แต่ทางราชสำนักยืนยันว่ากษัตริย์จะเสด็จกลับยุโรปเพื่อศึกษาต่างประเทศใน เดือนสิงหาคม 2489  รัฐบาลหลวงธำรงของนายปรีดีก็คาดว่า จะเสด็จกลับมาประกอบพระราชพิธีพระราชเพลิงศพพระเชษฐาในไม่กี่เดือนข้างหน้า มีการเริ่มลงมือเตรียมจัดสร้างพระเมรุ เพื่อประกอบพิธีในเดือนมีนาคมปีต่อมา 2490 แต่ราชสำนัก ก็ยังไม่ยืนยันว่าจะเสด็จกลับมาประกอบพิธีไม่ ในเดือนธันวาคม 2489 คณะผู้สำเร็จราชการมีหนังสือขอให้รัฐบาลเลื่อนงานพระ ราชทานเพลิงพระบรมศพออกไป

 


โดยมีเหตุผลข้อหนึ่งว่าการสอบสวนกรณีสวรรคตยังไม่เสร็จสิ้น จะเป็นอุปสรรคต่อการพระราชทานเพลิงศพ ดังมีข้อความว่า  อนึ่ง การกำหนดงานพระราชทาน เพลิงพระบรมศพนั้น ถ้าจะกำหนดแล้ว ก็น่าจะกำหนดให้เหมาะกับโอกาสที่จะเสด็จพระราชดำเนินเพื่อถวายพระเพลิงด้วย แต่โดยที่การสอบสวนกรณีสวรรคตยังเป็นอันควรให้เจ้าหน้าที่ทำการสอบสวนอยู่ ต่อไปอีก และยังหวังไม่ได้ว่า การสอบสวนต่อไปดังว่านั้นจะสำเร็จเสร็จสิ้นเมื่อใดแน่ การที่จะกำหนดให้เสด็จเข้ามาเพื่อถวายพระเพลิงในเดือนมีนาคมหน้า ถ้าการ สอบสวนเช่นว่านั้นยังไม่สำเร็จเด็ดขาดลงไป การขลุกขลักย่อมจะมีขึ้นเกี่ยวกับการจัด ที่ประทับและการจัดผู้คนราชบริพารประจำในที่ประทับเหล่านี้อยู่มาก

หลังกรณีสวรรคตมีแนวโน้มว่ากษัตริย์ภูมิพลคงหนีไม่รอดคดีปลงพระชนม์ สถาน ทูตและกระทรวงการต่างประเทศอเมริกันได้รับข่าวเรื่องนายควง และพี่น้องปราโมชเตรียมวางแผนจะสถาปนาพระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตรขึ้นเป็น กษัตริย์ เพราะสถานะของกษัตริย์ภูมิพลในช่วงปีแรกๆ มีความไม่แน่นอน หรือไม่มั่นคงสูงในส่วนที่เชื่อมโยงกับกรณีสวรรคตของรัชกาลที่ 8 โดยเฉพาะใน สายตาของวงการทูตและรัฐบาลตะวันตก 




มีรายงานว่ารัฐบาลนายควง กำลังเตรียมตัวที่จะประกาศว่าในหลวงภูมิพล จะทรงสละราชสมบัติ และว่าพระองค์เจ้าจุมภฏ จะขึ้นเป็นกษัตริย์แทน ได้ทำให้เกิดเป็นปัจจัยใหม่ขึ้นมาในสถานการณ์ซึ่งอาจ สร้างความปั่นป่วนอย่างถึงราก การแบ่งขั้วการเมืองในขณะนั้น ทำให้ดูเหมือนนายควงและพี่น้องปราโมชหวังว่า พวกเขาจะสามารถรักษาอำนาจตัวเองไว้ได้หากพระองค์เจ้าจุมภฏขึ้นครอง ราชย์ เพราะพระองค์เจ้าจุมภฏเป็นบุคคลผู้มีวุฒิภาวะ ( ประสูติ 2447 มีพระชนม์52 ปี ขณะที่กษัตริย์ภูมิพลมีพระชนม์เพียง 19 ปี ) จึงมีประสบการณ์ทางการเมืองและมีผู้สนับสนุนจำนวนมาก และทรงได้รับการผลักดันจากพระชายาผู้มีความหลักแหลมทะเยอทะยาน คือ มรว.พันทิพย์ ธิดาคนแรกของพระองค์เจ้าไตรทศพันธ์ กรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย  อดีตเสนาบดีต่างประเทศของสยามผู้ชาญฉลาดที่สุดคนหนึ่ง ซึ่งมีความคุ้นเคยเป็นอย่างดีกับเกมการเมืองทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ แต่ได้เกิดปั่นป่วนทางการเมืองเพิ่มขึ้นจากบทบาทคอร์รัปชั่นของหลวงกา จสงครามผู้ให้การสนับสนุนนายควง และเป็นผู้ควบคุมกำลังทหารบางส่วนสำคัญไว้ด้วย การคอร์รัปชั่นที่เกินหน้าของหลวงกาจสร้างความไม่พอใจให้กับจอมพล ป. ทั้งจอมพล ป.กับปรีดีต่างก็คัดค้านการรื้อฟื้นอำนาจของสถาบันกษัตริย์พอๆกัน 





พวกเขาเห็นว่ากษัตริย์ภูมิพลอายุยังน้อย แค่19 ปี ไม่น่ามีปัญหาและยังไม่มีบริวารและอิทธิพลมากนัก ต่างจากการที่จะให้พระองค์เจ้าจุมภฏขึ้นเป็นกษัตริย์ จอมพล ป.และพล.ต.อ.เผ่าจึงต้องสกัดนายควงและไม่ให้พระองค์จุมภฏขึ้นเป็นกษัตริย์ โดยการช่วยปิดคดีสวรรคตให้กษัตริย์ภูมิพลหลุดพ้นจากคดีให้จงได้ไม่ว่าจะด้วย วิธีการใดๆหลังรัฐประหารโดยพลโทผินปี 2490  ในปีถัดมา 2491 รัฐบาลจอมพล ป. ได้เตรียมงานพระราชเพลิงพระบรมศพใหม่ เป็นเดือนกุมภาพันธ์ 2492 และเตรียมจัดพิธีบรมราชาภิเษกในช่วงเวลาใกล้เคียง กัน โดยทูลเชิญให้เสด็จกลับมาประท้บในประเทศไทยเป็นการถาวร  แต่กษัตริย์ภูมิพลมีจดหมายถึงจอมพล ป. นายกรัฐมนตรี ว่าจะยังไม่เสด็จกลับประเทศไทยเป็นการถาวรจนกว่าการพิจารณาคดีสวรรคตจะเสร็จ สิ้น

จากผู้ต้องสงสัย กลายมาเป็นพยานโจทก์
 

 

แม้ว่าพระอนุชาจะเป็นผู้ต้องสงสัยมากที่สุดในทุกกรณี แต่เนื่องจากนายปรีดีได้เสนอให้แต่งตั้งขึ้นเป็นกษัตริย์ จึงเท่ากับช่วยให้ผู้ต้องหาได้รับอภิสิทธิ์พ้นจากข้อกล่าวหาไปโดยปริยาย เพราะรัฐธรรมนูญไทยบัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ไทยเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะ กล่าวหาหรือฟ้องร้องมิได้ กษัตริย์ภูมิพลจึงได้รับสิทธิพิเศษ ได้ย้ายสถานะจากการเป็นจำเลยหรือผู้ต้องหา มาเป็นพยานโจทก์ ที่ต้องมามีบทบาทปรักปรำใส่ความเพื่อหาผู้บริสุทธิ์มารับโทษ เพื่อปิดคดีให้ตนพ้นมลทินไปโดยสิ้นเชิง แต่หลังเกิดเหตุทั้งกษัตริย์ภูมิพลและพระราชชนนีก็ต้องไปประทับอยู่ สวิตเซอร์แลนด์ไม่ยอมเสด็จกลับมาเพื่อหลบหน้าจนกว่าคดีสวรรคตจะได้ข้อยุติหา คนรับบาปแทนได้เสียก่อน
  



ช่วง ปี2493-94เมื่อเสด็จกลับไปยุโรป หลังจากทรงประกอบพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ พระราชพิธีอภิเษกสมรส และราชาภิเษกแล้ว เมื่อพระราชินีตั้งครรภ์ รัฐบาลจอมพล ป.มีหนังสือทูลเชิญให้เสด็จมาคลอดในประเทศไทย ให้ถูกต้องตามประเพณี แต่ทรงยืนยันปฏิเสธการเสด็จกลับประเทศไทยเป็นการถาวรในปลายเดือน พฤศจิกายน-ต้นธันวาคม 2494 นั้น มีขึ้นหลังจากศาลชั้นต้นได้พิพากษาตัดสินเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2494 ให้ ประหารชีวิตนายชิต สิงหเสนี ในความผิดสมรู้ร่วมคิดปลงพระชนม์ในหลวงอานันท์




กรมอัยการ สังกัดกระทรวงมหาดไทยในรัฐบาลจอมพล ป. ได้ใช้ความพยายามหลายเดือนในปี 2492 ที่จะจัดการให้ศาล อัยการ และจำเลยในคดีสวรรคต เดินทางไปเข้าเฝ้ากษัตริย์ภูมิพลและพระราชชนนีที่สวิตเซอร์แลนด์ เพื่อขอคำให้การในฐานะพยานฝ่ายโจทก์ แต่กษัตริย์ภูมิพลได้เสด็จกลับประเทศไทยเป็นระยะเวลาสั้นๆในต้นปีต่อมาเพื่อ ประกอบพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพในหลวงอานันท์, อภิเษกสมรส และฉัตรมงคล และในระหว่างที่อยู่ในประเทศไทย ได้ให้ศาลและคู่ความเข้าเฝ้า และให้การในฐานะพยานโจทก์เมื่อวันที่ 12 และ 15พฤษภาคม 2493 ต่อหน้าคณะผู้ พิพากษา คณะอัยการโจทก์ จำเลยทั้ง 3 คน และทนายจำเลยในคดีดังกล่าว ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน คือมารับพระราชทานคำให้การเผชิญสืบคือพิจารณาคดีนอกสถานที่ตั้งศาล ในระหว่างที่ทรงเสด็จกลับพระนครชั่วคราว เพื่อประกอบ 3 พระราชพิธีสำคัญ  เป็นครั้งเดียวที่ทรงให้การในศาล  สี่ปีก่อนหน้านั้น คือในปี 2489 หลังการสวรรคตไม่กี่วัน รัฐบาลนายปรีดี ได้ประกาศตั้ง กรรมการสอบสวน มีหัวหน้าผู้พิพากษาทั้งสามศาลและเจ้านายชั้นสูงบางพระองค์เป็นกรรมการ ดำเนินการไต่สวนโดยเปิดเผยต่อสาธารณะในนามศาลกลางเมืองเพื่อยุติกระแสข่าว ลือเกี่ยวกับการสวรรคต โดยเมื่อวันที่ 26กรกฎาคม 2489 คณะกรรมการได้เข้าเฝ้ากษัตริย์ภูมิพลและพระ ราชชนนี ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ซึ่งเป็นสถานที่เกิดเหตุ คำถามของคณะกรรมการฯที่มีนัยยะทางการเมืองมากที่สุด คือส่วนที่เกี่ยวกับความไม่ทรงพอพระทัยของในหลวงอานันท์ต่อผู้อื่น หรือความไม่พอใจของผู้อื่นที่มีต่อในหลวงอานันท์ แต่คำตอบของกษัตริย์ภูมิพล ก็ไม่ได้พาดพิงในเชิงกล่าวโทษผู้ใดทั้งสิ้น 

กษัตริย์ภูมิพลร่วมให้การปรักปรำนายปรีดีและผู้บริสุทธิ์ทั้งสามคน




พระราชดำรัสให้การต่อศาลอาญาในปี 2493 ที่ทรงให้การเป็นพยานโจทก์ในวันศุกร์ที่ 12 และวันจันทร์ที่ 15พฤษภาคม 2493 ตีพิมพ์ในสยามนิกร วันที่ 18พฤษภาคม 2493 เฉพาะที่นัยยะสำคัญมีดังนี้คำให้การพยานโจทก์คดีหมายเลขดำที่1898/2493
ศาลอาญา
วันที่ 12 พฤษภาคม 2493
ความอาญาระหว่าง อัยการ โจทก์นายเฉลียว ปทุมรส กับพวก จำเลย

ข้าพเจ้าขอให้การว่าข้าพเจ้าชื่อ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และขอให้การต่อไป

(ทรงตอบโจทก์)[2] ใน เช้าวันที่ 9 มิถุนายนนั้น ฉันกินอาหารเช้าเวลาใดบอกไม่ใคร่ถูก แต่ประมาณราว 8.30 น. กินที่มุขพระที่นั่งชั้นบนด้านหน้า  กินอาหารแล้วฉันได้เดินไปทางห้องบรรทม ในหลวงรัชกาลที่8 ซึ่งเป็นเวลา 9.00 น.ได้พบนายชิตกับนายบุศย์ อยู่ที่หน้าห้องแต่งพระองค์ เห็นนั่งอยู่ นายชิต นายบุศย์ นั่งอยู่เฉยๆ ฉันได้ถามเขาว่า ในหลวงพระอาการเป็นอย่างไร ได้รับตอบว่าพระอาการดีขึ้น ใครเป็นผู้ตอบจำไม่ได้ เขาตอบไปว่าทรงสบายดีขึ้น ได้เสด็จห้องสรงแล้ว ต่อจากนั้น ฉันได้เดินไปยังห้องของฉัน เดินไปตามเฉลียงด้านหลัง ตรงเข้าไปในห้องนอนของฉัน แล้วก็เข้าไปในห้องเครื่องเล่น เดินเข้าๆออกๆอยู่ที่สองห้องนี้ ระหว่างนั้นซึ่งเป็นเวลาประมาณ 9.25 น. ได้ยินเสียงคนร้อง ได้ยินในขณะที่อยู่ในห้องเครื่องเล่น ก่อนได้ยินเสียงร้องได้เห็นคนวิ่งผ่านประตูห้องบันไดซึ่งอยู่ติดกับห้อง เครื่องเล่น เสียงคนร้องเป็นเสียงใครจำไม่ได้ ได้ยินเสียงร้องแล้ว ฉันได้ออกจากห้องเครื่องเล่นไปยังเฉลียงด้านหน้าโดยผ่านทางห้องบันได ได้พบน.ส.จรูญ ที่หน้าห้องข้าหลวง ถาม น.ส.จรูญ ว่ามีอะไรเกิดเรื่องอะไร ได้รับตอบว่าในหลวงยิงพระองค์ ฉันได้ยินดังนั้นก็ตรงไปยังห้องพระบรรทมในหลวงรัชกาลที่ 8



[3] เมื่อเข้าไปถึงห้องพระบรรรทมแล้ว เห็นสมเด็จพระราชชนนีและพระพี่เลี้ยงเนื่องอยู่บนพระแท่นบรรทม สมเด็จพระราชชนนี ประทับอยู่เบื้องปลายพระบาทในหลวง โดยพระองค์อยู่บนพระแท่นครึ่งพระองค์ ส่วนพระพี่เลี้ยงเนื่องอยู่บนพระแท่นบรรทม และอยู่ตอนไปทางด้านพระเศียร

เห็นในหลวงบรรทมอยู่บนพระแท่นในท่าหงายอย่างปรกติ เห็นที่พระนลาตมีรอยโลหิต พระเนตรหลับ สังเกตเห็นพระกรยืดอยู่ข้างพระวรกาย อยู่ท่าคนนอนธรรมดา พระกรแนบพระวรกาย ห่างจากพระวรกายตรงขอบพระหัตถ์ด้านในประมาณ5 ซ.ม. ที่ว่านี้หมายถึงพระกรซ้าย ส่วนพระกรข้างขวาเป็นอย่างไรไม่เห็น สังเกตเห็นพระหัตถ์อยู่ในท่าธรรมดา นิ้วพระหัตถ์ไม่งอแต่พระหัตถ์งอบ้างอย่างธรรมดา คืองอนิดหน่อย มีผ้าคลุมพระบรรทมคลุมอยู่ด้วย พระกรอยู่ภายนอกผ้านั้น เห็นแต่ข้างซ้าย ข้างขวาไม่ได้เห็น ผ้าคลุมพระองค์ขึ้นมาเสมอพระอุระ




[4] เมื่อฉันเห็นเช่นนั้นก็บอกกับคนที่อยู่ที่นั่นให้ไป ตามหมอมา แล้วฉันได้เข้าไปประคองสมเด็จพระราชชนนีมาประทับที่พระเก้าอี้ปลายพระแท่น บรรทม ต่อจากนั้น หลวงนิตย์ฯได้มาถึง จะมาถึงภายหลังที่ฉันเข้าไปในห้องพระบรรทมแล้วนานเท่าใด กะไม่ถูก หลวงนิตย์ฯเข้าไปดูแล้วกก็ไม่ได้พูดว่ากะไร แต่ฉันเห็นหน้าหลวงนิตย์ฯก็รู้ได้ว่าไม่มีหวังแล้ว สมเด็จพระราชชนนีได้เสด็จไปประทับในห้องทรงพระอักษรต่อไป

[5] เมื่อทราบว่าหมดหวังแล้ว ต่อมาได้เรียกพระยาชาติฯขึ้นมาถามว่าจะทำอย่างไรต่อไป พระยาชาติฯบอกถึงพระราชพิธีเกี่ยวกับพระบรมศพแล้ว ฉันก็สั่งให้เขาจัดการไปตามระเบียบ

วันที่ 15 พฤษภาคม 2493 (ทรงตอบโจทก์) ต่อจากวันที่12 พฤษภาคม 2493




[10] ฉันเคยทราบว่านายเฉลียว ได้นั่งรถยนตร์เข้าไปถึงหน้าพระที่นั่งบรมพิมานในหลวงรัชกาลที่ 8 จะทรงพอ พระราชหฤทัยในการกระทำเช่นนั้นหรือไม่ ฉันไม่รู้ เคยมีครั้งหนึ่งที่สมเด็จพระราชชนนีรับสั่งเรียกรถยนตร์ไม่ได้มา เหตุที่ไม่ได้มา เพราะคันหนึ่งไปซ่อม อีกคันหนึ่งเอาไปให้นายปรีดี เขาว่ากันว่า นายเฉลียว เป็นผู้จัดส่งรถไปให้นายปรีดี แล้วนายควง อภัยวงศ์ นายกรัฐมนตรี ได้ส่งรถมาถวายให้ทรงใช้แทน

[11] ในหลวงรัชกาลที่ 8 ไม่เคยรับสั่งอะไรกับฉันถึงการ เข้าเฝ้าของนายเฉลียวว่ามีคารวะหรือไม่ การที่นายเฉลียวพ้นตำแหน่งราชเลขานุการในพระองค์นั้น น่าจะเป็นด้วยในหลวงไม่พอพระราชหฤทัย เหตุที่ไม่พอพระราชหฤทัย เพราะอะไรไม่ได้รับสั่งแก่ฉันให้ทราบ

[12] ในคราวเสด็จประพาสหัวหิน นายปรีดีโดยเสด็จด้วย ในคราวนั้นนายปรีดีได้สั่งเอารถจี๊ปไปใช้ โดยไม่ได้ขออนุญาต และนายปรีดีได้เคยจัดให้มีงานเลี้ยงขึ้นที่นั่น เลี้ยงพวกใต้ดิน จัดเลี้ยงโดยไม่ได้ขอพระบรมราชานุญาต ในการเลี้ยงนั้นมีเสียงเอะอะ[13] นาย ปรีดีเคยว่า จะสั่งให้เอาเปียโนมาถวาย จะสั่งมาจากไหนไม่ได้บอก ขณะนำมาถวายฉันไม่ได้อยู่ด้วย ในขั้นต้นฉันเข้าใจว่า เปียโนนั้นเป็นของนายปรีดี ต่อมาพระยาชาติฯบอกว่าเป็นของสำนักพระราชวัง





 
[14] เกี่ยวกับการตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในการที่ในหลวงรัชกาลที่ 8 จะเสด็จต่างประเทศนั้น ฉันได้รู้บ้าง ความเห็นของนายปรีดีในการจะตั้งผู้สำเร็จราชการ จะตรงกับพระ ราชดำริหรือไม่ ฉันไม่ทราบ

[15] เกี่ยวกับการตั้งราชเลขานุการแทนนายเฉลียวที่พ้น ตำแหน่ง ฉันรู้บ้าง ในหลวงมีพระราชประสงค์จะทรงตั้งท่านนิกรเทวัญ เทวกุล นายปรีดีปฏิบัติการสนองพระราชประสงค์นั้นชักช้า 

[16] ในการที่ในหลวงจะเสด็จกลับสวิสเซอร์แลนด์ โดยผ่านไปทางประเทศอเมริกาและยุโรปนั้น เป็นพระราชประสงค์ของพระองค์ท่าน และทรงพระประสงค์จะได้เสด็จไปโดยเร็ว พระราชประสงค์นี้จนใกล้จะสวรรคตก็มิได้เปลี่ยนแปลง รัฐบาลจัดการเรื่องเสด็จนั้นเร็วช้าประการใดไม่ทราบ ในที่สุด ได้กำหนดเสด็จกลับสวิตเซอร์แลนด์ในวันที่13 มิถุนายน 2489

[17] นายมี พาผล เคยบอกฉันว่า วันที่ 13 จะเสด็จกลับไม่ได้ บอกเมื่อในหลวงเสด็จสวรรคตแล้วราว 2-3 อาทิตย์ ว่านายชิตเป็นผู้พูดว่าในหลวงจะไม่ได้เสด็จกลับวันที่ 13




[18] ตามที่ตอบไว้เมื่อวันก่อนว่า เห็นคนวิ่งผ่านห้อง บันไดไปนั้น ต่อมาฉันได้สอบสวนดูฉันเคยถามนายชิตเขาบอกว่า เขาวิ่งมาทางหน้าพระที่นั่ง และบอกอีกครั้งหนึ่งว่าวิ่งมาทางหลังพระที่นั่งแล้วออกไปทางหน้า เขาไม่แน่ใจ นายชิตบอกและชี้ทางด้วย แต่ก็เป็นเรื่องไม่แน่นอน


 

[24] นายฉันท์ หุ้มแพร เป็นคนจงรักภักดี และเป็นห่วงในความสุขสบายของเรา เกี่ยวกับการปลอดภัย เขาเป็นห่วงเหมือนกัน นายฉันท์ฯไม่เคยพูดกับฉันมาก เป็นแต่เคยบอกกับฉันว่า ต้องระวัง ที่ว่าต้องระวังนั้น เข้าใจว่าระวังคน บอกตั้งแต่ฉันมาถึงเมืองไทย

[25] รถจี๊ปที่นายปรีดีเอาไปใช้นั้น เป็นรถส่วนพระองค์ 

[33] การที่นายปรีดีโดยเสด็จไปหัวหินด้วยนั้น นายปรีดีไม่มีหน้าที่โดยเสด็จ แต่จะเป็นพระราชประสงค์หรือเปล่า ฉันไม่รู้ 

[34] เรื่องสมเด็จพระราชชนนีทรงเรียกรถใช้ไม่ได้นั้น จะก่อนหรือหลังกลับจากหัวหินจำไม่ได้ ได้ยินเขาพูดกันว่า รถนั้นนายปรีดีเอาไปใช้ โดยนายเฉลียวส่งไปให้

ลงพระปรมาภิไธยภูมิพล ปร.


 


คำ ให้การของกษัตริย์ภูมิพลก็เป็นเพียงการปรักปรำที่หาพยานหลักฐานเชื่อมโยงกับ การปลงพระชนม์ไม่ได้เลย ที่จริงศาลที่ยึดหลักนิติธรรมก็ไม่น่าจะรับฟัง แต่ศาลก็พยายามโยง จับแพะชนแกะเพื่อหาเหตุมาลงโทษจำเลย รวมทั้งการปั้นพยานเท็จขึ้นมารองรับ เรื่องโกหกที่แต่งกันขึ้นมา 

เป็นไปได้ว่ากษัตริย์ภูมิพลก็มี ส่วนรวมในการแสดงละครโกหกเป็นคนให้การเพื่อที่ศาลจะได้อ้างเอาไปเล่นงาน จำเลยผู้บริสุทธิ์ สังเกตได้จากคำพิพากศาลฎีกาที่ว่า....นายเฉลียวเป็นคน สนิทชิดชอบของนายปรีดี เป็นคนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475..ในหลวงกับนายปรีดีมีข้อขัดแย้ง กันในการจะตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ นายปรีดีได้พูดกับนายวงศ์ เชาวนะกวี เมื่อก่อนสวรรคตเพียงวันเดียว ว่าจะไม่คุ้มครองราชบัลลังก์........นายเฉลียวขาดความเคารพยำเกรงต่อพระเจ้า อยู่หัว ส่งรถยนต์ประจำพระองค์ไปให้ผู้อื่นใช้ จนขัดข้องแก่การที่จะทรงใช้ นั่งรถยนต์ไขว่ห้างล่วงล้ำเข้าไปถึงหน้าพระที่นั่ง ถวายหนังสือราชการด้วยอาการขาดคารวะ จูบหญิงพนักงานในที่ทำการซึ่งอยู่ตรงหน้าพระที่นั่งพระบรมพิมานจนพระเจ้า อยู่หัวทรงเห็น เหล่านี้เป็นการเหยียดหยามพระราชประเพณีและพระองค์ท่าน ไม่เป็นที่ต้องพระราชอัธยาศัย ทรงรับสั่งแก่นายปรีดีขอเปลี่ยนราชเลขานุการ ต่อมา นายเฉลียวมีอาการกระด้างกระเดื่องต่อรัชกาลที่ 8 ไม่เกรงพระทัย นายชิตและนายบุศย์เป็นลูกน้องนายเฉลียว


 

ส่วนเรือเอก วัชรชัยมิได้ปฏิบัติงานในหน้าที่ราชองค์รักษ์ตามสมควร ขาดราชการบ่อย ๆ ฝักใฝ่อยู่ทางทำเนียบท่าช้าง ไม่เป็นที่พอพระราชหฤทัย ภายหลังที่ถูกปลดจากตำแหน่งราชองครักษ์แล้ว ก็ได้เป็นเลขานุการนายกรัฐมนตรี  แถมศาลฎีกายังโยงเรื่องไปถึงนายฉันท์ หุ้มแพร ผู้เป็นห่วงในหลวงให้พกปืนและคอยระแวดระวัง แต่นายฉันท์ก็มาตายเสียก่อนเมื่อสวรรคตแล้วไม่ถึงเจ็ดวัน และนายชิตผู้พูดว่าในหลวงจะไม่ได้เสด็จกลับวันที่13 มหาดเล็กคอยเตือนเรื่อง ความปลอดภัย...ซึ่งล้วนมาจากการปะติดปะต่อคำให้การหรือการปรักปรำของ กษัตริย์ภูมิพลทั้งสิ้น เป็นการปรักปรำให้ร้ายใส่ความโดยไม่เกี่ยวกับพยานหลักฐานแม้แต่น้อย


 

ประกอบกับการให้การของพยานที่ไม่มีหัวนอนปลายเท้าที่คือนายตี๋ ศรีสุวรรณที่พระพินิจชนคดีจ้างมาให้การเท็จ ว่านายตี๋แอบไปได้ยินการวางแผนได้ยินเสียงพูดกันในห้องรับแขกของพลเรือตรี กระแสว่า "ผมไม่นึกเลย เด็กตัวนิดเดียว ปัญญาจะเฉียบแหลมถึงเพียงนี้.... พี่ชายว่าจะสละราชสมบัติให้น้อง คิดจะสมัครเป็นผู้แทน เป็นนายกฯ... เขาคิดเรื่องนี้สำเร็จออกไปได้ พวกเราจะเดือดร้อน ไม่ได้ อย่าให้พ้นไปได้ รีบกำจัดเสีย....นั่นตกเป็นพนักงานพวกผมเอง..พวกผมทำสำเร็จแล้ว ขอให้เลี้ยงดูให้ถึงขนาดก็แล้วกัน ...แล้วนายตี๋ก็ให้การว่าเห็นนายปรีดีคนเดียวออกจากบ้านไป พลเรือตรี กระแสตามออกไปส่ง ส่วนพวกที่มากับนายปรีดีอีกห้าคนนั้นออกไปนั่งดื่มสุรากันใต้ต้น มะม่วง...เรื่องปัญญาอ่อนแบบนี้ แต่ศาลฎีกาก็ยังมีเจตนาที่จะเชื่อเรื่องโกหกทุกเรื่อง ทั้งๆที่ไม่เกี่ยวกับการปลงพระชนม์แม้แต่น้อย ที่ฝรั่งเรียกว่าทฤษฎีสมคบคิด หรือ เป็นการสมรู้ร่วมคิดเตรียมการกันมา... โดยมีคนเขียนบท เขียนคำให้การให้กษัตริย์ภูมิพล และเขียนบทให้พระพินิจชนคดีไปจ้างพยานเท็จและเป็นคนเดียวกันที่เขียนคำ พิพากษาให้ศาลฎีกาลงโทษประหารชีวิตผู้บริสุทธิ์เพื่อปิดคดีให้กษัตริย์ภูมิ พลพ้นมลทินจากการเป็นผู้ต้องสงสัย




ก็คงไม่ต่างจากการที่พรรคประชาธิปัตย์สร้างพยานเท็จเพื่อให้ศาลรัดทำมะนวย ที่หาเรื่องยกเลิกการเลือกตั้งยุบพรรคไทยรักไทยและพรรคพลังประชาชน รวมทั้งศาลฎีกาแผนกคดีอาญาสำหรับนักการเมืองที่รับรับเรื่องจากคตส.ให้จำคุก นายกทักษิณสองปีเพราะไปเซ็นรับรองให้ภรรยาไปประมูลซื้อที่ดินจากองทุนฟื้นฟู เป็นเรื่องที่ชี้ให้เห็นว่าศาลไทยที่แขวนรูปพระเจ้าอยู่หัวไว้ในห้องพิจารณา คดี ได้ยึดถือเอาพระเจ้าอยู่หัวเป็นหลัก เหนือกฎหมายและความชอบธรรมใดๆ ตั้งแต่เริ่มต้นรัชกาลที่ 9 เมื่อกว่า 60 ปีมาแล้ว 


ประหารผู้บริสุทธิ์ เพื่อให้ท่านหลุดพ้นจากคดี ได้เป็นกษัตริย์ที่สง่างามสืบต่อไป




เช้ามืด ของวันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ 2498นักโทษชายที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ กลางบางขวาง 3 คน ได้ถูกนำตัวไปยังหลักประหารของเรือนจำ คือ เฉลียว ปทุมรส ชิต สิงหเสนี และบุศย์ ปัทมศริน ผู้ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนลอบปลงพระชนม์ในหลวงอานันท์ รัชกาลที่ 8 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2489หรือเป็นเวลา 8 ปี  8เดือน  8 วัน ก่อนหน้านั้นการสวรรคต ของในหลวงอานันท์ เป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์สังคมและการเมืองไทย แต่เป็นเรื่องสำคัญที่สุดแต่ห้ามพูดถึงโดยเด็ดขาด ก่อนหน้ากรณีสวรรคตไม่กี่ ปี ในช่วงที่คณะราษฎรยังเข้มแข็งสามัคคีกันดี สามารถปราบกบฏบวรเดชลงได้และศาลพิเศษ2482 ยังได้วินิจฉัยว่ารัชกาล ที่ 7 เป็นกบฏด้วยการบ่อนทำลายระบอบใหม่และช่วยเหลือกบฏบวรเดช แต่กรณีสวรรคตเกิดขึ้นในปี 2489 ในเวลาที่เริ่มเกิดการแตกหักระหว่างจอมพล ป.กับนายปรีดี และการเริ่มกลับมีบทบาทของกลุ่มนิยมกษัตริย์ที่เสียอำนาจไปเมื่อ 2475 กรณี สวรรคตจึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นและสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่สร้างประเพณีห้าม พูดเรื่องของกษัตริย์




และเป็นโอกาสที่ฝ่ายนิยมกษัตริย์ได้หวนกลับมารื้อฟื้นทวงคืนอำนาจและอิทธิพล ของระบอบราชาธิปไตยให้แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น ในความเงียบงันของคดีสวรคต ผู้ที่ได้รับผลโดยตรงหนักที่สุดก็คือ ผู้บริสุทธิ์ที่ถูกประหารชีวิตไปทั้ง สามคนนั่นเอง แม้ว่าจะมีการรณรงค์เพื่อกู้ชื่อเสียงของนายปรีดีจนเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป ว่านายปรีดีไม่ได้เกี่ยวข้องกับการสวรรคต นายปรีดีต้องสูญเสียอำนาจทางการเมืองและเสียชื่อเสียงเป็นเวลาหลายปี แต่ก็ไม่ได้สูญเสียอย่างถึงที่สุด คือเสียชีวิตต่างกับผู้ถูกประหารทั้งสามคน  แต่สังคมไทยให้ความสำคัญกับชนชั้นนำอย่างนายปรีดีมากกว่าผู้บริสุทธิ์สามคน ที่ต้องถูกประหารชีวิต ประเทศไทยไม่มีประเพณีการแก้คำตัดสินที่ผิดของศาลฎีกา หรือรื้อฟื้นชื่อเสียงอย่างเป็นทางการให้กับผู้ที่ถูกตัดสินไปผิดๆ โดยเฉพาะถ้าคดีผ่านไปหลายสิบปีอย่างกรณีสวรรคต แต่การที่เฉลียว ชิต และ บุศย์ ถูกตัดสินว่ามีส่วนในการลอบปลงพระชนม์ เป็นการตัดสินที่ผิดอย่างแน่นอน คำพิพากษาคดีสวรรคตควรถือเป็นโมฆะ เพราะทั้งศาลชั้นต้น และศาลฎีกา ได้ทำผิดกระบวนการพิจารณาคดีตามกฎหมาย

 
 

นอกเหนือจากขัดกับหลักกฎหมายแล้ว ในแง่สามัญสำนึก ทุกวันนี้มีใครบ้างที่ยังสติดี จะคิดว่าคนอย่างชิต สิงหเสนี ที่สืบเชื้อสายมาจากตระกูลที่รับใช้ราชวงศ์มาหลายชั่วคน ผู้ซึ่ง “ตอนที่ทรงพระเยาว์อยู่ ในหลวงรัชกาลที่ 8 ทรงขี่ข้าพเจ้าเล่นต่างม้า ” หรือคนอย่างบุศย์ ปัทมศริน ที่ “บางเวลาเข้าที่สรงคืออาบน้ำแล้ว โปรดให้ข้าพเจ้าเช็ดพระวรกายทั่วทุกส่วน และบางทียังโปรดให้ข้าพเจ้าหวีพระเกษาถวายคือหวีผมให้ ” จะมีส่วนร่วมในแผนปลงพระชนม์ แล้วจะมีใครที่วาง “แผนปลงพระชนม์” ได้อย่างโง่เขลาเบาปัญญาเช่นนั้น

 


กรณีนายเฉลียว ปทุมรส ที่เรย์น ครูเกอร์ ผู้เขียนกงจักรปีศาจ พูด ถูกที่ว่า ไม่มีศาลประเทศตะวันตกที่ไหนจะไม่โยนการกล่าวหาที่ไม่มีหลักฐานเชื่อมโยงนาย เฉลียวเข้ากับการสวรรคตเลยนี้ ออกนอกศาลไป แม้แต่ศาลไทยในคดีนี้เอง หลังจากความพยายามทุกวิถีทางรวมทั้งสร้างพยานเท็จของฝ่ายโจทก์ ก็ยังไม่สามารถเอาผิดนายเฉลียวได้ทั้งในระดับศาลอาญาและศาลอุทธรณ์ ต้องรอมาจนถึงศาลฎีกา อาศัยตรรกะที่เหลือเชื่อมาสรุปเอาเองว่านายเฉลียวผิดแต่ก็ยังมีความพยายามจะ ปฏิเสธการเป็นผู้รับผิดชอบต่อที่จะช่วยชีวิตทั้งสามไว้ในโอกาสสุดท้าย ในขั้นตอนการถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ



ในหนังสือชีวประวัติจอมพล ป. พิบูลสงคราม, อนันต์ พิบูลสงคราม ได้เขียนถึงกรณีสวรรคตว่าข้าพเจ้า จึงระงับใจไม่ได้ที่ต้องเรียนถามจอมพล ป. พิบูลสงคราม วันหนึ่งที่ประเทศญี่ปุ่นว่า ในฐานะที่เวลานั้นท่านดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ เหตุใดท่านจึงไม่ขอพระราชทานอภัยโทษให้จำเลยสามคนที่ถูกศาลฎีกาพิพากษา ประหารชีวิต ท่านตอบข้าพเจ้าทันทีอย่างหนักแน่นว่า “ พ่อได้ขอพระราชทานอภัยโทษขึ้นไปถึง สามครั้ง ได้พยายามทำหน้าที่ของพ่อจนที่สุดแล้ว ” ในอดีตที่ผ่านมา มีน้อยครั้งที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม ต้องเสียใจบ้างเมื่อทำอะไรไม่สำเร็จ แต่ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นครั้งใดที่ท่านจะเสียใจหนักยิ่งไปกว่าที่ข้าพเจ้าเห็น ท่านครั้งนั้นขณะเมื่อได้ตอบคำถามของข้าพเจ้าจบ ด้วยใบหน้าที่เคร่งขรึมและสนเท่ห์ใจไม่เปลี่ยนแปลง................

(ที่มา)
FB กงจักร ปีศาจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น