หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2554

กรุงเทพฯ จมน้ำ อยู่ใต้ทะเลอ่าวไทย เมื่อหลายพันปีมาแล้ว

 

โดย ผู้สื่อข่าวพิเศษ







(บน) กระดูกหัวปลาวาฬที่ศาลศีรษะปลาวาฬในบริเวณพระราชวังเดิม กองทัพเรือ เป็นกระดูกที่พบอยู่ใต้ถุนศาลสมเด็จพระเจ้าตากสิน (ล่าง) ขวานหินและเศษภาชนะราว 2,500 ปีมาแล้ว งมได้จากแม่น้ำน้อย อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา (ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์หอโสภณศิลป์ วัดเชิงท่า เมืองลพบุรี) แสดงว่าตลอดลำน้ำเก่าก่อนมีแม่น้ำเจ้าพระยาเคยเป็นแหล่งอยู่อาศัยชั่วคราว หรือแสวงหาอาหารผ่านไปมาของคนยุคนั้น
 
กรุงเทพมหานคร (กทม.) ปัจจุบันอยู่ทางเหนือของอ่าวไทย
แต่ ในยุคดึกดำบรรพ์ ราว 12,000 ปีมาแล้ว พื้นที่ของกรุงเทพฯ จมอยู่ใต้ท้องทะเลอ่าวไทย เพราะอ่าวไทยในอดีตมีขอบเขตลึกเข้าไปในแผ่นดินที่ราบลุ่มน้ำเจ้าพระยา

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเคยมีลายพระหัตถ์เล่าว่า "ขุดได้ซากปลาวาฬที่บางเขน ไม่ห่างสะพานพระราม 6 เท่าใดนัก"
เหตุ ที่บริเวณที่ราบลุ่มน้ำเจ้าพระยาเป็นทะเล เมื่อประมาณ 12,000 ปีมาแล้ว เพราะน้ำทะเลมีระดับสูงขึ้นมากจากน้ำแข็งละลาย ทำให้ท้องทะเลแถบอ่าวไทย มีขอบเขตกว้างขวางสูงขึ้นไปถึงลพบุรีหรือเหนือขึ้นไปอีก

ยุคดึกดำ บรรพ์ที่บริเวณกรุงเทพฯ ยังจมเป็นพื้นท้องทะเลอ่าวไทย เขตป่าเขาลำเนาไพรโดยรอบอ่าวไทยมี "มนุษย์อุษาคเนย์" ร่อนเร่เป็นกลุ่มเล็กๆ กระจัดกระจายแสวงหาอาหารตามธรรมชาติด้วยเครื่องมือทำด้วยหินและไม้ บางทีก็เอาเรือไม้แล่นหาอาหารตามทะเลโคลนตม

มีเรื่องราวละเอียดอยู่ในหนังสือกรุงเทพฯ มาจากไหน? (พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2548) จะสรุปสั้นๆ มาดังต่อไปนี้


(อ่านต่อ)
 http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1319088438&grpid=01&catid=&subcatid=

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น