หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2555

ถ้ายกเลิกมาตรา 309 (บทนิรโทษกรรม) ของรัฐธรรมนูญ 2550 ใครได้ใครเสีย

 

 

 

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน (ฉบับถาวรที่ 18) พ.ศ.2550 มาตรา 309 อ้างถึงรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) ฉบับที่ 17 (พ.ศ.2549) ซึ่งมีบทนิรโทษกรรมอยู่ในมาตรา 37

"มาตรา 37 บรรดาการกระทำทั้งหลาย ซึ่งได้กระทำเนื่องในการยึดและควบคุมอำนาจการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ของหัวหน้าและคณะ...(คปค.หรือ คมช.) ...ไม่ว่ากระทำในฐานะตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำ หรือผู้ถูกใช้ให้กระทำ และไม่ว่ากระทำในวันที่กล่าวนั้นหรือก่อนหรือหลังวันที่กล่าวนั้น หากการกระทำนั้นผิดต่อกฎหมายก็ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดย สิ้นเชิง"

นั่นก็คือ "บทนิรโทษกรรม" ตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวที่ คปค.หรือ คมช.ประกาศใช้เพื่อปกป้องการกระทำอันเป็นการละเมิดต่อกฎหมาย เนื่องจากการกระทำรัฐประหาร เพื่อให้คณะของตนไม่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือไม่ต้องมีความผิด

การบัญญัติบทนิรโทษกรรมเช่นนี้ ได้เคยมีแต่เฉพาะในรัฐธรรมนูญ "ฉบับชั่วคราว" เท่านั้น คือฉบับที่ 9 (พ.ศ.2515) มาตรา 21 ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2519) มาตรา 29 ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2520) มาตรา 32 ฉบับที่ 14 (พ.ศ.2534) มาตรา 32 และฉบับที่ 17 (พ.ศ.2549) คือมาตรา 37 ดังกล่าวมาแล้ว

ในรัฐธรรมนูญ ฉบับถาวรที่ผ่านมาไม่มีฉบับใดบัญญัติบทนิรโทษกรรมเช่นนั้นไว้ พึ่งจะมีให้เห็นในฉบับที่ 18 (พ.ศ.2550) เป็นครั้งแรกของประเทศไทย กล่าวคือ มาตรา 309 อยู่ในบทเฉพาะกาลและเป็นมาตราสุดท้ายของรัฐธรรมนูญฉบับนี้บัญญัติไว้ว่า

"มาตรา 309 บรรดาการใดๆ ที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ว่าเป็นการชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีดังกล่าว ไม่ว่าก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ให้ถือว่าการนั้นและการกระทำนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้"


(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1326366627&grpid=&catid=02&subcatid=0207

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น