ไต่สวน 6 ศพวัดปทุมฯ พยานชี้ชุดพรางพยายามฆ่ายิงลงมาจากรางรถไฟ
ประจักษ์พยานยัน ผู้ชุมนุมที่มารวมกันอยู่บริเวณวัด ไม่มีใครมีอาวุธหรือต่อสู้ เชื่อชายชุดพรางที่ยิงลงมาจากรางรถไฟฟ้าเป็นเจ้าหน้าที่ และเป็นการพยายามฆ่า
ข่าวสดรายวัน รายงานว่า เมื่อวันที่ 6 ก.ย. 55 ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลไต่สวนคำร้องชันสูตรการเสียชีวิต ในคดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 4 ยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนชันสูตรการเสียชีวิตของ นายสุวัน ศรีรักษา อายุ 30 ปี อาชีพเกษตรกร ผู้เสียชีวิตที่ 1, นายอัฐชัย ชุมจันทร์ อายุ 28 ปี บัณฑิตคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ผู้เสียชีวิตที่ 2, นายมงคล เข็มทอง อายุ 36 ปี เจ้าหน้าที่อาสามูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ผู้เสียชีวิตที่ 3, นายรพ สุขสถิต อายุ 66 ปี อาชีพพนักงานขับรถรับจ้างในสนามบิน ผู้เสียชีวิตที่ 4, น.ส.กมนเกด ฮัคอาด อายุ 25 ปี อาชีพพยาบาลอาสา ผู้เสียชีวิตที่ 5, และนายอัครเดช ขันแก้ว อาชีพรับจ้าง ผู้เสียชีวิตที่ 6 โดยทั้ง 6 ศพ ถูกยิงเสียชีวิตภายในวัดปทุมวนาราม เมื่อวันที่ 19 พ.ค.2553 ในเหตุการณ์สลายม็อบเสื้อแดง สมัยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี
โดยพนักงานอัยการนำประจักษ์พยานเข้าเบิกความรวม 2 ปาก คือ นายเพิ่มสุข ใจเย็น เบิกความสรุปว่า เข้าร่วมการชุมนุมกับกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ในเดือนพ.ค.2553 ที่แยกราชประสงค์ โดยพักอยู่ที่เต็นท์หน้าโรงแรมโฟร์ซีซั่นส์ ในวันที่ 19 พ.ค.2553 ได้ยินเสียงปืนดังมาจากทางสวนลุมพินี ขณะที่แกนนำประกาศยุติการชุมนุม แล้วบอกให้ทุกคนกลับบ้าน โดยใช้เส้นทางแยกเฉลิมเผ่าไปยังสนามกีฬาแห่งชาติ หรือให้ไปหลบภายในวัดปทุมฯ เพราะเป็นเขตอภัยทาน
นายเพิ่มสุขเบิกความว่า หลังจากนั้นจึงขับรถมาจอดไว้บริเวณทางเข้าวัดปทุมฯ ตอนนั้นมีมวลชนจำนวนมากเข้ามาหลบในวัด ส่วนตนและมวลชนบางส่วนยืนอยู่หน้าวัด กระทั่งเห็นนายอัฐชัยผู้เสียชีวิตที่ 2 ยืนอยู่บริเวณตอม่อรถไฟฟ้าเตรียมจะวิ่งเข้ามาภายในวัด แต่ขณะนั้นมีเสียงปืนดังขึ้น วิถีกระสุนมาจากที่สูง แต่ไม่เห็นตัวคนยิง จึงตะโกนบอกนายอัฐชัยว่าอย่าเพิ่งวิ่งข้ามมา ไม่นานก็เห็นนายอัฐชัยถูกยิงเข้าที่หน้าอกล้มลง ก่อนจะมีคนเข้าไปช่วยเหลือนำเข้ามาในวัด ขณะนั้นนายอัฐชัยยังไม่เสียชีวิต พยาบาลอาสาปั๊มหัวใจ แต่ก็เสียชีวิตในเวลาต่อมา
"ระหว่างนั้นเสียงปืนดังขึ้นต่อเนื่อง ผมหลบอยู่ข้างรถพร้อมกับคนอื่นๆ และได้ยินเสียงตะโกนสั่งว่าให้ออกมา ผมเชื่อว่าเป็นเสียงของเจ้าหน้าที่ เพราะมองขึ้นไปบนรางรถไฟฟ้าจะเห็นคนใส่ชุดลายพรางถือปืนเล็งลงมา ผมกลิ้งตัวหลบกระสุนแต่ก็ถูกยิงบริเวณก้น และโคนขา เช่นกัน จนถึงตอนนี้ผมยังเชื่อว่าการยิงลงมาเป็นการพยายามฆ่า เพราะผมก็ไม่ได้มีอาวุธหรือต่อสู้ ผู้ชุมนุมที่มารวมกันอยู่บริเวณวัด ไม่มีใครมีอาวุธ" พยานคดี 6 ศพวัดปทุมฯ เบิกความ
ขณะที่นายจักรพงษ์ พนาสิริวรภัทร์ เบิกความสรุปว่า รู้จักกับนายอัฐชัย ผู้เสียชีวิตที่ 2 เพราะเรียนหนังสือด้วยกันที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง ร่วมชุมนุมมาตั้งแต่เดือนมี.ค.2553 มีหน้าที่เป็นการ์ดนปช. ดูแลบริเวณด้านข้างของเวทีชุมนุม แยกราชประสงค์ ในวันที่ 19 พ.ค.2553 ยังทำหน้าที่การ์ดตามปกติ ช่วงบ่ายเริ่มได้ยินเสียง ปืนมาจากทางสวนลุมฯ จากนั้นไม่นานแกนนำประกาศยุติการชุมนุม ตนกับนายอัฐชัย พร้อมด้วยเพื่อนอีกคน พากันเดินไปทางแยกมาบุญ ครองเพื่อจะกลับบ้าน แต่ได้ยินผู้ชุมนุมคนอื่นบอกว่าเจ้าหน้าที่ไม่ให้ผ่านออกไป จึงพากันกลับมาที่วัดปทุมฯ ขณะนั้นเสียงปืนดังมาจากแยกเฉลิมเผ่า และไม่เห็นว่าใครยิง
นายจักรพงษ์เบิกความต่อว่า จากนั้นเวลา 17.00 น. มีคนบอกว่าให้ข้ามไปอยู่ฝั่ง ร.พ.ตำรวจ จะปลอดภัยกว่า พวกเราตัดสินใจจะข้ามไป ปรากฏว่ามีเสียงปืนดังขึ้น จึงหมอบลงกับพื้น ส่วนนายอัฐชัยวิ่งอยู่บนเกาะกลางถนนใต้รางรถไฟฟ้า จังหวะนั้นได้ยินเสียงคนตะโกนว่ามีคนถูกยิง เมื่อหันไปดูพบว่าเป็นนายอัฐชัย ก่อนมีคนช่วยเหลือนำเข้าไปในวัด จนกระทั่งนายอัฐชัยเสียชีวิต จึงโทรศัพท์แจ้งให้พี่สาวนายอัฐชัยทราบ แม้ไม่เห็นว่าใครเป็นคนยิง แต่ระหว่างที่วิ่งหลบกระสุนอยู่ เห็นคนแต่งกายชุดลายพรางอยู่ตรงแยกเฉลิมเผ่า และถึงแม้ว่าพวกเราจะเป็นการ์ดนปช. แต่ทุกคนไม่พกอาวุธ และไม่ได้ต่อสู้กับเจ้าหน้าที่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังการไต่สวนเสร็จสิ้น ศาลนัดอีกครั้งในวันที่ 27 ก.ย. เวลา 09.00 น. เพื่อหารือกับทนายและอัยการ เพื่อพิจารณาร่วมกันว่าจะนำพยานปากไหนเข้าเบิกความ เนื่องจากมีพยานเป็นจำนวนมาก หากพยานปากไหนที่ไม่สำคัญ ก็อาจจะตัดออกไป เพื่อให้การไต่สวนเป็นไปด้วยความรวดเร็ว
(ที่มา)
http://www.prachatai.com/journal/2012/09/42521
นปช.เปิดเอกสารเทือกเซ็นตั้งพลยิงเมษา-พฤษภา53
เว็บไซต์นปช.แดงทั้งแผ่นดินนำเสนอรายงานข่าวเรื่อง เปิดเอกสารตั้งพลทหารซุ่มยิง เม.ย.-พ.ค. 2553 โดยนำเสนอเอกสารข้างต้น พร้อมกับรายงานว่า สุ
เทพ เทือกสุบรรณ
รองนายกรัฐมนตรีในเวลานั้นได้ลงนามในคำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุก
เฉินที่ 9/2553 เรื่อง โครงสร้างการจัด
และอำนาจหน้าที่ของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
เพื่อแต่งตั้งพลทหารยิงปืนจำนวน 29 นาย เพื่อซุ่มยิงคนเสื้อแดงในเหตุการณ์เดือน เม.ย.-พ.ค. 2553
(อ่านต่อ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น