ความเท่าเทียมทางเพศเป็นเรื่องชนชั้น
"สำหรับแนวคิดเฟมินิสต์ แม้จะมีจุดมุ่งหมายเพื่อปลดแอกสตรี
แต่นั้นเป็นเสมือนการเกาไม่ถูกที่คัน เนื่องจากแนวคิดเฟมินิสต์นี้
เรียกร้องให้สตรีทุกชนชั้น ร่วมตัวกันต่อสู้กับอิทธิพลเพศชาย"
โดย ฮิปโปน้อย บรมสุขเกษม
เป็นที่แน่นอนว่านักมาร์คซิสต์ไม่เคยแยกประเด็น
ในเรื่องการต่อสู้เพื่อสิทธิสตรีออกจากเรื่องชนชั้น
หากมองอย่างผิวเผินหรือมองในจุดยืนของนักสตรีนิยม (Feminists)
เราอาจคิดว่าการกดขี่ทางเพศ
เกิดจากโครงสร้างระบบที่ถือเพศชายเป็นใหญ่ที่มองว่า
ตำแหน่งและหน้าที่ทำให้สถานะทางสังคมของเพศหญิงและเพศชาย
มีความเหลื่อมล้ำไม่เท่าเทียมเกินไป
เพศชายเป็นศูนย์กลางส่วนผู้หญิงมักไม่มีบทบาท
ด้วยโครงสร้างชายเป็นใหญ่นี้เอง
จึงเอื้ออำนวยให้เพศชายกดขี่ข่มเหงผู้หญิงได้ย่างเป็นระบบ
ในแนวคิดกระแสหลักของเฟมินิสต์แล้ว จะมีแนวคิดอยู่สองหลักคือแนวคิดแบบเสรีนิยม และแนวคิดที่ต้องการเปลี่ยนแปลงระบอบรัฐ เพื่อลดบทบาทการนำของเพศชาย ซึ่งทั้งสองแนวทางนี้จะเน้นแต่การปฏิรูปกฎหมาย ปฏิรูปทางการเมือง ให้ผู้หญิงที่เป็นชนชั้นนำได้มีโอกาสเข้าถึงตำแหน่งทางการเมือง พยายามลดทอนอำนาจและอิทธิพลของเพศชาย และยังคงไว้ซึ่งระบบเศรษฐกิจและการเมืองเอาไว้ ดังนั้นแล้วแนวคิดเฟมินิสต์จึงมองปัญหาการกดขี่สตรี เป็นเรื่องของระบบชายเป็นใหญ่ โดยไม่ได้มองถึงระบบโครงสร้างทางชนชั้นในระบบทุนนิยม เนื่องจากสถาบันครอบครัวในระบบทุนนิยม ทำให้ผู้หญิงต้องทำงานหนักและมีภาระเพิ่ม ทั้งจากการทำงานหารายได้นอกบ้าน และต้องกลับมาดูแลงานในบ้านซึ่งเป็นงานที่ไม่มีมูลค่า รวมถึงการเลี้ยงดูลูกซึ่งเป็นหน้าที่หลักของผู้เป็นแม่
สำหรับแนวคิดเฟมินิสต์ แม้จะมีจุดมุ่งหมายเพื่อปลดแอกสตรี แต่นั้นเป็นเสมือนการเกาไม่ถูกที่คัน เนื่องจากแนวคิดเฟมินิสต์นี้ เรียกร้องให้สตรีทุกชนชั้น ร่วมตัวกันต่อสู้กับอิทธิพลเพศชาย ซึ่งหากเป็นอย่างนั้นเท่ากับว่า กรรมาชีพหญิงและกรรมาชีพชายต่างเข้าสู่สังเวียนที่ฟาดฟันกันเอง และเหตุนี้จะเป็นตัวทำลายความสามัคคีระหว่างกรรมาชีพหญิงและกรรมาชีพชาย ซึ่งอันที่จริงแล้วปัญหาไม่อยู่ที่ระบบชายเป็นใหญ่ แต่อยู่ที่ตัวระบบทุนนิยมที่ผูกขาดปัจจัยการผลิต กรรมาชีพไม่มีสิทธิในการใช้สอย ผลผลิตที่ตัวเองลงมือทำ
ดังนั้นแล้วหากจะแก้ไขปัญหาการกดขี่สตรีคือ การสร้างรัฐสวัสดิการให้ประชาชนอย่างเป็นระบบ แรงงานหญิงสามารถลางานเพื่อคลอดและเลี้ยงดูลูกได้ โดยยังได้รับเงินเดือนตามปกติ และรัฐบาลเองจะต้องจัดสถานที่เลี้ยงเด็กที่มีคุณภาพ รวมถึงการเข้าโรงเรียนฟรีด้วย เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระเรื่องลูกให้เบาลง นอกเหนือจากนั้นรัฐเองต้องดูแลบุคคลที่ไม่พร้อมจะมีลูก หรือตั้งท้องโดยไม่ได้ตั้งใจ ให้ผู้หญิงเหล่านั้นได้เลือกที่จะทำแท้งอย่างปลอดภัย ตามความสมัครใจอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อไม่ให้เด็กที่เกิดมานั้นเป็นภาระของสังคม และพ่อแม่ที่ยังไม่มีความพร้อมในการเลี้ยงดูลูก
การต่อสู้ทางชนชั้นนั้น ไม่สามารถแยกออกจากการต่อสู้เพื่อสิทธิทางเพศ กรรมาชีพทั้งชายและหญิงต่างเป็นผู้ถูกกดขี่ด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้นจากต่อสู้จึงจำเป็นต้องต่อสู้เพื่อรัฐสวัสดิการก่อน ทั้งด้านการรักษาพยาบาล การดูแลคนชราหลังเกษียรจากการทำงาน ให้การบริการด้านอาหารและที่อยู่อาศัย แก่บุคคลไม่มีรายได้ พิการ หรือตกงาน เพื่อเป็นการลดช่องว่างความเหลื่อล้ำ และสร้างความเป็นธรรมให้กับคนทุกเพศ
ในแนวคิดกระแสหลักของเฟมินิสต์แล้ว จะมีแนวคิดอยู่สองหลักคือแนวคิดแบบเสรีนิยม และแนวคิดที่ต้องการเปลี่ยนแปลงระบอบรัฐ เพื่อลดบทบาทการนำของเพศชาย ซึ่งทั้งสองแนวทางนี้จะเน้นแต่การปฏิรูปกฎหมาย ปฏิรูปทางการเมือง ให้ผู้หญิงที่เป็นชนชั้นนำได้มีโอกาสเข้าถึงตำแหน่งทางการเมือง พยายามลดทอนอำนาจและอิทธิพลของเพศชาย และยังคงไว้ซึ่งระบบเศรษฐกิจและการเมืองเอาไว้ ดังนั้นแล้วแนวคิดเฟมินิสต์จึงมองปัญหาการกดขี่สตรี เป็นเรื่องของระบบชายเป็นใหญ่ โดยไม่ได้มองถึงระบบโครงสร้างทางชนชั้นในระบบทุนนิยม เนื่องจากสถาบันครอบครัวในระบบทุนนิยม ทำให้ผู้หญิงต้องทำงานหนักและมีภาระเพิ่ม ทั้งจากการทำงานหารายได้นอกบ้าน และต้องกลับมาดูแลงานในบ้านซึ่งเป็นงานที่ไม่มีมูลค่า รวมถึงการเลี้ยงดูลูกซึ่งเป็นหน้าที่หลักของผู้เป็นแม่
สำหรับแนวคิดเฟมินิสต์ แม้จะมีจุดมุ่งหมายเพื่อปลดแอกสตรี แต่นั้นเป็นเสมือนการเกาไม่ถูกที่คัน เนื่องจากแนวคิดเฟมินิสต์นี้ เรียกร้องให้สตรีทุกชนชั้น ร่วมตัวกันต่อสู้กับอิทธิพลเพศชาย ซึ่งหากเป็นอย่างนั้นเท่ากับว่า กรรมาชีพหญิงและกรรมาชีพชายต่างเข้าสู่สังเวียนที่ฟาดฟันกันเอง และเหตุนี้จะเป็นตัวทำลายความสามัคคีระหว่างกรรมาชีพหญิงและกรรมาชีพชาย ซึ่งอันที่จริงแล้วปัญหาไม่อยู่ที่ระบบชายเป็นใหญ่ แต่อยู่ที่ตัวระบบทุนนิยมที่ผูกขาดปัจจัยการผลิต กรรมาชีพไม่มีสิทธิในการใช้สอย ผลผลิตที่ตัวเองลงมือทำ
ดังนั้นแล้วหากจะแก้ไขปัญหาการกดขี่สตรีคือ การสร้างรัฐสวัสดิการให้ประชาชนอย่างเป็นระบบ แรงงานหญิงสามารถลางานเพื่อคลอดและเลี้ยงดูลูกได้ โดยยังได้รับเงินเดือนตามปกติ และรัฐบาลเองจะต้องจัดสถานที่เลี้ยงเด็กที่มีคุณภาพ รวมถึงการเข้าโรงเรียนฟรีด้วย เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระเรื่องลูกให้เบาลง นอกเหนือจากนั้นรัฐเองต้องดูแลบุคคลที่ไม่พร้อมจะมีลูก หรือตั้งท้องโดยไม่ได้ตั้งใจ ให้ผู้หญิงเหล่านั้นได้เลือกที่จะทำแท้งอย่างปลอดภัย ตามความสมัครใจอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อไม่ให้เด็กที่เกิดมานั้นเป็นภาระของสังคม และพ่อแม่ที่ยังไม่มีความพร้อมในการเลี้ยงดูลูก
การต่อสู้ทางชนชั้นนั้น ไม่สามารถแยกออกจากการต่อสู้เพื่อสิทธิทางเพศ กรรมาชีพทั้งชายและหญิงต่างเป็นผู้ถูกกดขี่ด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้นจากต่อสู้จึงจำเป็นต้องต่อสู้เพื่อรัฐสวัสดิการก่อน ทั้งด้านการรักษาพยาบาล การดูแลคนชราหลังเกษียรจากการทำงาน ให้การบริการด้านอาหารและที่อยู่อาศัย แก่บุคคลไม่มีรายได้ พิการ หรือตกงาน เพื่อเป็นการลดช่องว่างความเหลื่อล้ำ และสร้างความเป็นธรรมให้กับคนทุกเพศ
(ที่มา)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น